TY - JOUR AU - จินตวิจิต, ทิพย์อนงค์ PY - 2021/06/30 Y2 - 2024/03/28 TI - บรรณาธิการแถลง JF - จันทรเกษมสาร JA - chandrakasemsarn VL - 27 IS - 1 SE - บรรณาธิการแถลง DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/251518 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;สวัสดีค่ะอาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา รวมถึงนักอ่านทุกท่าน ที่กำลังถือวารสารจันทรเกษมสาร ฉบับปีที่ 27 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 อยู่ในมือขณะนี้ ในปีนี้จันทรเกษมสารได้ย่างเข้าสู่อายุ 27 ปี ถ้าเปรียบกับคน เรากำลังอยู่ในวัยที่มีพลัง และมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานอย่างมาก และเป็น ทรัพยากรหลักในการพัฒนาประเทศชาติ พวกเรากองบรรณาธิการจึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการคัดเลือก บทความมานำเสนอให้กับผู้อ่าน รวมถึงการออกแบบหน้าปกในรูปแบบใหม่ เพื่อให้มีความทันสมัย น่าหยิบน่าจับมาอ่านมากขึ้น</p><p>&nbsp; สำหรับบทความพิเศษในฉบับนี้ พวกเราได้รับเกียรติจากท่าน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ในบทความชื่อ ไท / ไทยศึกษาในโลกที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเนื้อหานี้ได้ถูกนำเสนอ ในปาฐกถาบรรจบ พันธุเมธาครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561 ซึ่งอาจารย์ได้กล่าวถึงการศึกษา ไท / ไทยศึกษาในโลกที่เปลี่ยนแปลง ไว้อย่างน่าสนใจ โดยตั้งคำถามไว้ว่า เราจะศึกษาไทยจากบริบทของคนหรือพื้นที่ เพราะในอดีตไทยศึกษาถูกวางไว้ในรูปแบบของอาณาบริเวณ (Area Study) แต่ในยุคปัจจุบันที่โลกไร้พรมแดน จึงเกิดปัญหาว่าอาณาบริเวณศึกษา จะมีลักษณะใดในโลกไร้พรมแดน โดยอาจารย์ได้เสนอให้เราก้าวข้ามการศึกษาในเชิงพื้นที่ที่ถูกจำกัด แต่ให้สนใจในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ชีวิต และ ความเคลื่อนไหวของผู้คน อาจารย์ได้นำเสนอแนวคิดของ อาจารย์ เอ็ดมันด์ ลิช ลูกศิษย์ของปรมาจารย์ ด้านมานุษยวิทยาอย่าง โบรนิสลอฟ มาลิสนอฟสกี ท่านได้พยายามโต้แย้งความเข้าใจที่ว่า ความเป็น ชาติพันธุ์นั้นติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถูกเปลี่ยนไปโดยงานวิจัยภาคสนาม ที่แสดง ให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนชาติพันธุ์ไปตามบริบทของวัฒนธรรม และไทยศึกษาควรให้ความสำคัญกับ พื้นที่ชีวิต และวัฒนธรรมเป็นทิศทางของไทยศึกษาในโลกไร้พรมแดนเฉกเช่นปัจจุบัน</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; จากเรื่องของไทยศึกษาในยุคอดีต มาสู่เรื่องของไทยในยุคปัจจุบัน ใครจะไปคาดคิดว่าเชื้อโรค ที่มีมาแต่นมนาน ฉุดคร่าชีวิตคนมานักต่อนัก อย่างกาฬโรค หรือโรคห่า ที่นับเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดของ สยาม ก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา โดยมีที่มาจากการติดต่อค้าขายทางสำเภากับจีนในยุคนั้น ทำให้มีคน สยามตายเป็นจำนวนหลายพันคน ซึ่งกาฬโรคที่เคยระบาดไปในหลายภูมิภาคในโลก รวมถึงสมัย รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2363 มีการระบาดของอหิวาตกโรคในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง มีคนตาย นับหมื่นคน การระบาดในครั้งนั้น ไม่ต่างจากไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ในทุกวันนี้ ที่ทุกภูมิภาคบนโลก ต่างได้รับผลกระทบจากโรคระบาดชนิดนี้ และมีคนตายนับล้านคนในเกือบทุกภูมิภาคบนโลก ส่งผลให้เรา ต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal รักษาระยะห่าง อยู่บ้าน หยุดเชื้อ และ Work from Home ซึ่งธนชัย ยมจินดาและคณะได้ทำการวิจัยเรื่องความเครียดที่เกิดขึ้นในที่ทำงานของคนในกรุงเทพมหานครฯ ในช่วงโควิดซึ่งพบว่าคนทำงานมีความเครียดในระดับปานกลาง และผู้ชายมีความเครียดมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนกการเงิน/บัญชี การขาย การตลาด และทรัพยากรมนุษย์ แผนกเหล่านี้จะมีความเครียดสูงกว่าแผนกอื่น ๆ</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; ในส่วนของการศึกษา วัยวุฒิ บุญลอย ได้สังเคราะห์แนวทางนิวนอร์มัลในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในช่วงที่มีการระบาดของยุคโควิด-19 ไว้ 4 แนวทาง คือ 1) ด้านการเรียนรู้ในทุกมิติ 2) ด้านการช่วยเหลือ เด็กปฐมวัย 3) ด้านนวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย 4) ด้านการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ซึ่งแนวทาง ทั้ง 4 ด้านนี้เป็นความสำคัญที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันกับครู ผู้ปกครอง รวมถึงหลายหน่วยงาน ในท้องถิ่นในการส่งเสริมให้เด็กในระดับปฐมวัยได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงนิวนอร์มัล</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ในเล่มนี้นอกจากเนื้อหาหลักที่ต้องการนำเสนอเรื่องนิวนอร์มัล เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ เรายังรวบรวมงานที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสอน เช่น การเรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาความคิด และการรำวงมาตรฐานโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ซึ่งพบว่าเทคนิคดังกล่าวส่งผลต่อการเรียนที่ดีขึ้น รวมถึงรูปแบบการสอนแบบเบรนทาร์เก็ตช่วยพัฒนาความสามารถในการสะกดคำภาษาไทยสำหรับเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 การพัฒนาทักษะในการพูดภาษาจีนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก ส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย ในมุมมองของชญาษร จรณโยธิณ และรัตนะ บัวสนธ์ที่นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ อิทธิพลของวิธีการวัดกับความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยพิจารณาจาก 2 ดัชนี คือ Common MethodVarience (CMV) และ Common Method Bias (CMB)</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกจากนี้ยังมีบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อของคนท้องถิ่น ทุ่งหลวงที่มีต่อหลวงพ่อเปี่ยม อินทสุวรรณโณ ซึ่งเป็นพระเกจิที่ได้รับการยกย่องในการใช้คาถาอาคม เวทมนตร์ และการใช้วาจาช่วยเหลือผู้คน ซึ่งสามารถพัฒนาตำบลทุ่งหลวงให้ดีขึ้น รวมถึงการเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ที่มีผู้มาเคารพบูชา และการศึกษาประติมากรรมฤาษีดัดตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รูปแบบศิลปะสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ของอรวรรณ เชื้อน้อย ที่ได้ศึกษารูปร่างหน้าตา สีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ของประติมากรรมฤาษีดัดตน ร่วมกับงานประพันธ์โคลงภาพที่ได้บรรยายลักษณะของ ฤาษีดัดตน พร้อมภาพประกอบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้มีบันทึกลงใน หนังสือสมุดไทยเมื่อครั้งแรกสร้าง &nbsp; สุดท้ายบทความของ ลดาวัลย์ ไข่คำ ที่ได้ศึกษาเรื่องการเมือง การพัฒนา และ PM2.5 ใน ฮานอย จาการ์ตา และปักกิ่ง ตอกย้ำให้เราเห็นว่า มลพิษที่ล่องลอยในอากาศ ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องในทุกปีแบบไร้พรมแดนนั้นขึ้นอยู่กับรัฐที่ออกนโยบายโดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมถึงการตระหนักถึง การแก้ปัญหาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ เพราะปัญหามลพิษนั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่มวลมนุษยชาติ ต้องเผชิญ หากรัฐไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาเราทุกคนต่างต้องเผชิญสภาวะมลพิษ PM 2.5 ร่ำไป</p> ER -