https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/issue/feed
จันทรเกษมสาร
2022-05-09T15:25:00+07:00
ณพัชญ์ปภา สว่างนุวัตรกุล
research.rdi@chandra.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารที่มุ่งเผยแพร่ความรู้และผลงานด้านการศึกษาและวิจัยในแนวทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแนวคิดหรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิชาการ ระหว่างนักวิชาการในมหาวิทยาลัยกับสังคมภายนอก</p>
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/251638
การพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรม
2021-12-07T15:43:53+07:00
วันทนีย์ คำคงศักดิ์
Mod4599@yahoo.co.th
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องและการบริหารจัดการคดีของศาลยุติธรรมไทยกับศาลในต่างประเทศ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรมไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากตําราหนังสือ บทความ และเอกสารอื่น ๆ ข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ การสัมภาษณ์บุคคลผู้เกี่ยวข้อง และการทำแบบสอบถามการวิจัย แล้วนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับศาลในต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรมต่อไป</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลยุติธรรม อันประกอบด้วย 1) การกําหนดจํานวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลชั้นต้น 2) การกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาคดี (Time Standard) 3) การบันทึกคำพยานด้วยภาพและเสียง ในการพิจารณาคดี 4) การไกล่เกลี่ยในทุกขั้นศาลเพื่อลดปริมาณคดี 5) การใช้บทบาทเชิงรุก ในการพิจารณาคดี 6) การนำมาตรการเบี่ยงเบนคดีมาใช้ และ 7) การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทำให้การพิจารณาคดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>
2022-05-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/252753
ผลการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
2021-12-15T13:59:36+07:00
อุษามณี จันทร์มีอ้น
ausamanimuk@gmail.com
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล
ausamanimuk@gmail.com
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จํานวน 27 คน โรงเรียนอนุบาลบ้านบึง (อํานาจคณูปถัมภ์) จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (จํานวน 16 แผน) ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อแบบ ก แปลโดย อารี รังสินันท์ (Torrance Test of Creative Thinking Figural Form A) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีคะแนนทักษะความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวม และรายด้าน</p>
2022-05-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/252941
การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2022-02-08T14:01:51+07:00
มัลลิกา ตั้งความเพียร
maymaymanlika@gmail.com
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล
maymaymanlika@gmail.com
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดหนองกันเกรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีเด็กทั้งหมด 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถ<br />ในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย จำนวน 8 สัปดาห์ 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยเป็นภาพสถานการณ์ จำนวน 16 ข้อ 3) แบบสังเกตความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation<strong>)</strong> <br />และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ผลจากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้ดีขึ้น</p>
2022-05-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม