จันทรเกษมสาร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal <p>วารสารที่มุ่งเผยแพร่ความรู้และผลงานด้านการศึกษาและวิจัยในแนวทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแนวคิดหรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิชาการ ระหว่างนักวิชาการในมหาวิทยาลัยกับสังคมภายนอก</p> สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม th-TH จันทรเกษมสาร 0858-0006 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> บทบรรณาธิการแถลง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/261644 <p>วารสารจันทรเกษมสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) พ.ศ. 2566 เป็นวารสารระดับชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 โดยวารสารจันทรเกษมสารมีความมุ่งหวังเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลทางการวิจัยและข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพสำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ วารสารฉบับนี้ได้นำเสนอบทความทั้งหมด 10 เรื่อง ที่มีประโยชน์ต่อวงวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประกอบไปด้วย</p> <p>บทความวิชาการ จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้ 1) บทความวิชาการเรื่อง “แนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารในอนาคต” นำเสนอแนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหาร 4 เทคนิค ที่คาดการณ์ว่าจะเป็นเครื่องมือของการบริหารที่สำคัญในการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2) เรื่อง “การปรับวงดนตรีไทยตามแนวคิดองค์ประกอบดนตรี” ที่สะท้อนให้เห็นว่าการปรับวงดนตรีต้องอาศัยทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อวางรูปแบบการบรรเลงดนตรีไทยให้เกิดความไพเราะเหมาะสม มีคุณภาพการบรรเลงที่ดีขึ้น</p> <p>บทความวิจัย จำนวน 8 เรื่อง ดังนี้</p> <p>1) เรื่อง “อิทธิพลของกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมต่อการสร้างประสบการณ์ตราสินค้าและความรักในตราสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารในประเทศไทย” ที่จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดประสบการณ์ต่อตราสินค้าในเชิงบวกและเกิดอารมณ์ความรักในตราสินค้า สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้บริโภค</p> <p>2) เรื่อง “คุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครของอาสาสมัครชุมชน” ที่ศึกษาคุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครและความคาดหวังของอาสาสมัครชุมชนต่อค่าตอบแทนในงานอาสาสมัคร เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบและพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนงานอาสาสมัครทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ</p> <p>3) เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง” ที่ศึกษาปัญหาเชิงลึกเกี่ยวกับการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของผู้เรียนในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จนนำมาสู่การพัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้</p> <p>4) เรื่อง “พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท” ที่ได้นำเสนอพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ และการกำหนดชนิดผักที่จะปลูกที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและภูมิสังคม</p> <p>5) เรื่อง “การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนประถมศึกษา” ที่ได้สร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกร ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21</p> <p>6) เรื่อง “รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบในบริบทจังหวัดพะเยา” สะท้อนให้เห็นรูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสถานศึกษา ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนซึ่งคณะครูเลือกอย่างอิสระจากแนวปฏิบัติที่ดีของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบริหาร R A L Model</p> <p>7) เรื่อง “ผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างในตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท” ที่ได้นำแอปพลิเคชันการจัดทำบัญชีครัวเรือนไปใช้กับประชาชนในตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ</p> <p>8) เรื่อง “รูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี” เป้าหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบและหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี และสร้างแนวทางในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย</p> <p>ทางกองบรรณาธิการขอขอบคุณเจ้าของบทความวิชาการและบทความวิจัยทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์ลงเผยแพร่ในวารสารจันทรเกษมสาร รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ในการพิจารณา กลั่นกรอง และให้ข้อเสนอแนะแก่เจ้าของบทความ เพื่อให้วารสารจันทรเกษมสารได้บทความที่มีคุณภาพสำหรับผู้ที่สนใจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป</p> ณพัชญ์ปภา สว่างนุวัตรกุล Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 29 2 อิทธิพลของกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมต่อการสร้างประสบการณ์ตราสินค้าและความรักในตราสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารในประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/257053 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมที่มีต่อการสร้างประสบการณ์ตราสินค้าและความรักในตราสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหารในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคชาวไทย จำนวน 307 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้างด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมมีอิทธิพลต่อการสร้างประสบการณ์ตราสินค้า (β = 0.673; p &lt; 0.01) และความรักในตราสินค้า (β = 0.293; p &lt; 0.01) และ 2) ประสบการณ์ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความรักในตราสินค้า (β = 0.461; p &lt; 0.01) ในเชิงวิชาการ ผลการวิจัยนี้เป็นการยืนยันถึงความสำคัญของปัจจัยกระตุ้นในมิติของกิจกรรมการตลาดผ่านสื่อสังคมที่ช่วยยกระดับการรับรู้เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตราสินค้าและความรักในตราสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร ในเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารธุรกิจให้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารสามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดประสบการณ์ต่อตราสินค้าในเชิงบวก และเกิดอารมณ์ความรักในตราสินค้า ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ให้บริการ</p> บุรินทร์ บัณฑะวงศ์ กมลพงศ์ รัตนสงวนวงศ์ คณิสส์ คณิสราพรพงศ์ ธัญทิพย์ คฤหโยธิน Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-29 2023-09-29 29 2 R10 142 157 คุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครของอาสาสมัครชุมชน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/256330 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครของอาสาสมัครชุมชน และ 2) ศึกษาความคาดหวังของอาสาสมัครชุมชนต่อค่าตอบแทนในการทำงานอาสาสมัคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มีระดับการวิเคราะห์ในระดับปัจเจกบุคคล โดยดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ อาสาสมัครชุมชนที่ทำงานอาสาสมัครทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น ที่ได้รับค่าตอบแทนและไม่ได้รับค่าตอบแทน จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guideline) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าทางสังคมของงานอาสาสมัครนั้นเกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน โดยในระดับบุคคลก่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสารกับบุคคล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการเสริมสร้างเครือข่าย ส่วนในระดับชุมชนก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาภายในชุมชน เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การส่งเสริมภาพลักษณ์ของชุมชน ตลอดจนก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในส่วนของความคาดหวังต่อค่าตอบแทนในการทำงานอาสาสมัคร พบว่า อาสาสมัครชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้คาดหวังค่าตอบแทนในการทำงานอาสาสมัครแต่อย่างใด แต่หากมีการพิจารณาการให้ค่าตอบแทน อาสาสมัครชุมชนก็เล็งเห็นเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ เนื่องจากการทำงานอาสาสมัครมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอาหารและเครื่องดื่ม แต่ถึงไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดในการเข้าร่วมทำงานอาสาสมัคร เนื่องจากอาสาสมัครชุมชนทำงานอาสาสมัครด้วยใจรัก ด้วยความเสียสละ และถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ</p> อภิรดี วงศ์ศิริ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-20 2023-11-20 29 2 R11 158 173 การพัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/255810 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาเชิงลึกด้านการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของผู้เรียนในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา ในตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 2) พัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และ 3) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา รวมจำนวน 23 คน ผู้ปกครอง จำนวน 221 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปัญหาเชิงลึก คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 13 คน ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานมีปัญหาการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนวัตกรรม คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานมีปัญหาการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความสามารถในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของผู้ปกครอง และคู่มือสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Sample t–test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาเชิงลึกด้านการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของผู้เรียน ได้แก่ เด็กขาดการฝึกฝน ผู้ปกครองไม่รู้วิธีการจูงใจและการเสริมแรง ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของตนเองว่ามีส่วนช่วยในการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ 2) นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การให้ความรู้ การเป็นตัวแบบ และการเสริมแรง และ 3) ผลการใช้นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองที่เข้าร่วมการทดลองหลังการทดลองมีความสามารถในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้สูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กิดานันท์ ชำนาญเวช ณัฏฐ์ชุดา สุภาพจน์ รัชนีย์ พลพิบูลย์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-27 2023-11-27 29 2 R12 174 189 พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/255337 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผักปลอดภัยของประชาชนตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ระหว่างผู้เลือกบริโภคผักทั่วไป และผู้เลือกบริโภคผักปลอดภัย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสิ่งที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อผักปลอดภัย กับพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิจัยใช้วิธีการสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อาศัยอยู่ในตำบลบ้านเชี่ยน จาก 12 หมู่บ้าน จำนวน 385 คน ได้มาจากการแทนค่าสูตรของทาโร่ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มอย่างแบบมีชั้นภูมิ (Stratified Sampling) โดยกำหนดสัดส่วนการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้านของตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลังจากนั้น จึงเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ในด้านพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัยของประชาชน ตำบลบ้านเชี่ยน พบว่า คุณลักษณะที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อผัก คือ ความสะอาด มีการล้างผักก่อนบริโภคด้วยน้ำสะอาดเป็นส่วนใหญ่ และผักปลอดภัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามในตำบลบ้านเชี่ยนเลือกซื้อเป็นประจำ 5 อันดับแรก คือ แตงกวา พริก ถั่วฝักยาว มะเขือ และคะน้า ตามลำดับ 2) ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผักปลอดภัยของผู้บริโภคผักทั่วไปและผู้บริโภคผักปลอดภัย พบว่า ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผักปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นเพียงด้านเดียว คือ ด้านผักปลอดภัย ปราศจากการปรับปรุงและตัดต่อพันธุกรรม ที่ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ 3) ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสิ่งที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อผักปลอดภัย กับพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดภัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับผักปลอดภัยที่เลือกซื้อเป็นประจำ (x<sup>2</sup> = 21.685, p = .041) และเหตุผลในการเลือกซื้อผักปลอดภัย (x<sup>2</sup> = 26.881, p = .003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จิตตานันท์ สิทธิสาร อำนาจ สวัสดิ์นะที เพลินพิศ ยะสินธิ์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-21 2023-12-21 29 2 R13 190 205 การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนประถมศึกษา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/256963 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกร 2) ศึกษาสมรรถนะนวัตกรจากการใช้รูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จังหวัดลำปาง จำนวน 48 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะนวัตกร แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกิจกรรม แบบวัดสมรรถนะนวัตกร แบบประเมินผลงานนวัตกรรมและแบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะนวัตกร ด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกร ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ผลิตภัณฑ์ จักสานที่ควรจะเป็น กิจกรรมที่ 2 การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จักสานให้โดนใจคนใช้ กิจกรรมที่ 3 ถูกใจใช่เลย “เครื่องจักสานจากชุมชน” และกิจกรรมที่ 4 ทำอย่างไรให้ขายดี มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกิจกรรมอยู่ในระดับดี 2) สมรรถนะนวัตกรของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนวัตกรสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะนวัตกรหลังและก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 2.17 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนวัตกร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านลักษณะกิจกรรมและด้านประโยชน์ของกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมาก</p> พงศ์วัชร ฟองกันทา ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก อัมเรศ เนตาสิทธิ์ สุวรรณี เครือพึ่ง พิชชา ถนอมเสียง Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-14 2023-12-14 29 2 R14 206 221 ผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างในตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/254380 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของคนในชุมชนตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยใช้แอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือ และ 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการด้านการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแอปพลิเคชันสำหรับบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) จำนวนผู้ที่สามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ครบตามกำหนดมีทั้งสิ้น 17 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 24 คน ร้อยละ 70.83 ในด้านคุณภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 6.64 และ 8.73 คะแนน สำหรับก่อนและหลังการอบรม ตามลำดับ รวมถึงมีความสามารถในการเลือกใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการจัดทำบัญชีได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นด้วย ผลจากการจัดทำบัญชีครัวเรือนและการติดตามผลการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระยะเวลา 2 เดือน พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีหนี้สินลดลง ร้อยละ 22.22 และร้อยละ 29.41 ของจำนวนผู้บันทึกข้อมูลทั้งหมดในสิ้นเดือนที่ 1 และสิ้นเดือนที่ 2 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีค่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.67 เป็นร้อยละ 35.29 ในภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้และใช้แอปพลิเคชันในการจัดทำบัญชีได้อย่างน้อย 1 โปรแกรม และมีวินัยในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นอย่างดี และ 2) ควรมีการสนับสนุนเพื่อต่อยอดสำหรับการจัดทำบัญชีเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ควรมีการแนะนำเครื่องมือสำหรับทำบัญชีครัวเรือนร่วมกันในครอบครัวหรือกลุ่มย่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนการเงินและการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมกันสร้างวินัยทางการเงินแก่คนในชุมชนอย่างรอบด้านและยั่งยืนต่อไป</p> ใจราช พรหมรักษ์ สุชานันท์ ทองมาก Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-26 2023-12-26 29 2 R15 222 237 รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบในบริบทจังหวัดพะเยา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/256915 <div>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสถานศึกษา และ 2) ศึกษาผลการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ ด้วยการวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้เครื่องมือ 11 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลกับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกทำการศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครู จำนวน 24 คน และระยะที่สองทำการศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษาและครูกลุ่มเดิม และนักเรียน จำนวน 395 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการคำนวณคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์</div> <div> </div> <div>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสถานศึกษา ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนซึ่งคณะครูเลือกอย่างอิสระจากแนวปฏิบัติที่ดีของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบริหาร R A L Model เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และ 2) ผลการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ พบว่า สมรรถนะทั่วไปของผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบและกลไกฯ ของทั้ง 2 โรงเรียน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบและกลไกฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมรรถนะของครูและผู้บริหารสถานศึกษาหลังการใช้รูปแบบและกลไกฯ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด</div> วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง วิภาวี ศิริลักษณ์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-18 2023-12-18 29 2 R16 238 253 รูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชลบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/259072 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยมีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 10 คน จากตัวแทนภาคการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวทั้งในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนในจังหวัดชลบุรี และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองลงมา ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดใจ และมาตรฐานคุณภาพด้านที่พัก โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วยไค-สแควร์ (<img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}" />) เท่ากับ 96.548 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em>-value เท่ากับ 0.090 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (<img title="x^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x^{2}" />/df) เท่ากับ 1.265 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 0.997 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.975 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.945 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกําลังสองของการประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.027 และ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพควรมุ่งเน้นการจัดทำเทคโนโลยีการสื่อสารทางการตลาดให้กับชุมชนท่องเที่ยวผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ</p> ดวงพร พุทธวงค์ ฐิติมา พูลเพชร นฤมล จิตรเอื้อ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 29 2 R17 255 270 แนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารในอนาคต https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/257148 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารในอนาคต ซึ่งการบริหารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยใช้การจำแนกตามเกณฑ์หน้าที่ (Function) เพื่อให้เข้าใจการใช้งานของเครื่องมือ และเทคนิคการบริหารได้ดีขึ้น ประกอบด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ 1) เทคนิคการบริหารด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ต้องอาศัยแนวคิดการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ หลักการวิเคราะห์ SOAR และแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) 2) เทคนิคการบริหารด้านการจัดการความรู้ที่ต้องเชื่อมโยงกับปัญญาประดิษฐ์ 3) เทคนิคการบริหารด้านการจัดการคุณภาพที่ต้องมีการผสมผสานระหว่างการจัดการคุณภาพและการปรับรื้อระบบ และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่นำไปสู่ระบบราชการ 4.0 และ 4) เทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการภาวะวิกฤต การบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างมูลค่าให้กับองค์การ และการบริหารความเสี่ยง VUCA</p> <p>สำหรับแนวทางการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคการบริหาร ควรพิจารณาในประเด็นดังนี้ 1) ต้องเข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ที่สำคัญของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารแต่ละอย่าง 2) ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาขององค์การคืออะไร และ 3) ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญ คือ ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของแต่ละองค์การ รวมทั้งต้องศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละองค์การเพื่อหาแนวทางในการประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด</p> พงศกร ศรีรงค์ทอง Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-08-28 2023-08-28 29 2 A02 16 30 การปรับวงดนตรีไทยตามแนวคิดองค์ประกอบดนตรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/257393 <p>การปรับวงดนตรีไทย เป็นการวางรูปแบบการบรรเลงดนตรีไทยให้เกิดความไพเราะเหมาะสม มีคุณภาพการบรรเลงที่ดีขึ้น ผู้ปรับวงพิจารณาแนวการปรับวงดนตรี เทคนิคการบรรเลงจากผู้บรรเลงดนตรี คุณภาพของเครื่องดนตรี ลักษณะของวงดนตรี บทเพลง และโอกาสในการบรรเลง โดยในการปรับวงดนตรีไทยจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1.1) ความรู้ด้านองค์ประกอบทางดนตรี ประกอบด้วย จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน รูปพรรณ สีสัน ลักษณะของเสียง และรูปแบบ 1.2) ความรู้หลักการในเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทย ในเรื่องของประเภทเพลงไทย และประเภทวงดนตรีไทย และ 1.3) เทคนิคเฉพาะตัว และประสบการณ์ของผู้ปรับวงดนตรี 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 2.1) ความพร้อมของนักดนตรี 2.2) ความพร้อมของเครื่องดนตรี 2.3) ความพร้อมของสถานที่ใช้ฝึกซ้อม และ 2.4) ความพร้อมด้านงบประมาณ การสนับสนุนของสถานศึกษา และผู้ปกครอง</p> เสาวภาคย์ อุดมวิชัยวัฒน์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-21 2023-12-21 29 2 A03 31 46