@article{หม่องอ้น_เนตรถาวร_2021, title={ผลของช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต่อชนิดของวัชพืชเด่นและการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ภายใต้การเพาะปลูกแบบนาดำ}, volume={3}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/249726}, abstractNote={<p>     วัชพืชเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการสูญเสียผลผลิตในการผลิตข้าว ความเข้าใจในชนิดและความ เฉพาะเจาะจงในการปรากฏของวัชพืชทำให้สามารถปรับปรุงช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการกำจัดวัชพืชแบบบูรณาการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของช่วงเวลาที่แตกต่างกันในการกำจัดวัชพืชต่อชนิดของวัชพืชและชนิดของวัชพืชเด่น และเพื่อประเมินผลกระทบของช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 ซํ้า ทำการปักดำกล้าข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ในแปลง ที่ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีคือ T1 ปราศจากวัชพืช T2 กำจัดวัชพืชก่อนระยะแตกกอสูงสุด (maximum tillering, MT) T3 กำจัดวัชพืชหลังระยะแตกกอสูงสุด และ T4 ไม่กำจัดวัชพืช เมื่อข้าวถึงระยะสุกแก่ ทำการเก็บข้อมูลวัชพืชโดยบันทึกชนิด ความหนาแน่น และนํ้าหนักแห้งของวัชพืช และคำนวณสัดส่วน ความเด่นรวม (summed dominance ratio: SDR) ของวัชพืชแต่ละชนิด จากนั้นบันทึกการเจริญเติบโต และองค์ประกอบผลผลิตข้าว ผลการทดลองพบว่า T2 มีจำนวนชนิดของวัชพืชมากที่สุด ได้แก่ ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forsk.) ตาลปัตรฤาษี (Limnocharis flava Buch.) แพงพวยนํ้า (Ludwigia adscendens (L.) Hara.) และหญ้าชันกาด (Panicum repens Linn.) ส่วน T3 และ T4 มีผักบุ้ง ชนิดเดียวที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ และ T4 มีความหนาแน่นของวัชพืชมากที่สุด วัชพืชเด่นที่ขึ้นแข่งขันกับ ข้าวนาดำคือผักบุ้งและตาลปัตรฤาษี ซึ่งเป็นวัชพืชนํ้าที่มีความทนทานต่อนํ้าท่วมขัง การแข่งขันของ ข้าวกับวัชพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโตส่งผลให้ข้าวมีการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลงโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อไม่มีการกำจัดวัชพืช การแข่งขันกับวัชพืชก่อนหรือหลังระยะแตกกอสูงสุดไม่ทำให้ข้าว มีความสูง นํ้าหนักแห้ง จำนวนเมล็ดดี จำนวนเมล็ดลีบ และนํ้าหนัก 1,000 เมล็ดแตกต่างกัน แต่การแข่งขันกับวัชพืชก่อนระยะแตกกอสูงสุดส่งผลให้ข้าวมีจำนวนหน่อและนํ้าหนักผลผลิตลดลงมากกว่า การแข่งขันกับวัชพืชหลังระยะแตกกอสูงสุด แสดงให้เห็นว่าระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่อ่อนแอ ต่อวัชพืชคือระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ</p>}, number={2}, journal={วารสารผลิตกรรมการเกษตร}, author={หม่องอ้น เจนจิรา and เนตรถาวร นริศ}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={1–10} }