https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/issue/feed วารสารผลิตกรรมการเกษตร 2024-08-14T00:00:00+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ jap@mju.ac.th Open Journal Systems <p> วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือ Maejo Journal of Agricultural Production (mJAP) จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ของนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกสถาบัน มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ โดยกำหนดออกในเดือนเมษายน สิงหาคม และ ธันวาคมของทุกปี โดยเริ่มตีพิมพ์ฉบับแรก (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) ในเดือนเมษายน 2562</p> <p> รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) แบบเนื้อหาสั้น (Short communication) รวมถึงบทความประมวลความรู้เชิงวิเคราะห์ (Review article) หรือบทความปริทัศน์ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้วกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access) มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,500 บาท ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ดังกล่าว จะไม่ได้รับคืนไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ และไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณภาพเพื่อตอบรับการตีพิมพ์เนื้อหาบทความในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจอ่าน คณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้</p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Journal of Agricultural Production (JAP) เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ตรวจทานก่อนได้รับการตีพิมพ์ จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รับบทความวิชาการและวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระบบไตรมาส (ปีละ 3 ฉบับ) โดยฉบับที่ 1 ตีพิมพ์ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม ของทุกปี แต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความไม่น้อยกว่า 8 เรื่อง รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา โดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access)&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}"><br /><strong>อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ </strong></span></p> <p> </p> <table style="height: 120px;" width="576"> <tbody> <tr> <td width="378"> <p><strong> ค่าธรรมเนียม</strong></p> </td> <td width="85"> <p><strong> แบบปกติ</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="378"> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ<br />วารสารผลิตกรรมการเกษตร</p> </td> <td width="85"> <p> 3,500</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p> </p> <p><a href="http://jap.mju.ac.th/file/Fee.pdf" target="_blank" rel="noopener"><strong>ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ</strong></a></p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264349 ทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง 2024-08-09T21:42:11+07:00 พีระพัฒน์ เพ่งพิศ bigpee.peng@gmail.com อภิญญา รัตนไชย bigpee.peng@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับทัศนคติอาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดตรัง จำนวน 355 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เกรดเฉลี่ย 2.51-3.00 บิดาและมารดามีอาชีพรับจ้าง มีประสบการณ์ทำการเกษตรน้อยกว่า 10 ปี ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตรจึงไม่มีกิจกรรมทางการเกษตร นักเรียนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มด้านการเกษตร นักเรียนต้องการให้โรงเรียนมีการสนับสนุนเกี่ยวกับการทำอาชีพเกษตรกรรมในโรงเรียนระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.08) ในหัวข้อที่เกี่ยวกับ พื้นที่ทำการเกษตร วัสดุอุปกรณ์ และแรงบันดาลใจจากผู้ประสบความสำเร็จทางการเกษตร นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรมในระดับมาก ด้านการพึ่งพาตนเอง (ค่าเฉลี่ย 3.98) ด้านความภาคภูมิใจ (ค่าเฉลี่ย 3.96) ด้านความเชื่อมั่นในอาชีพเกษตรกรรม (ค่าเฉลี่ย 3.93) ด้านความสังคม (ค่าเฉลี่ย 3.90) และด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย 3.75) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลทางบวกต่อทัศนคติที่มีต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียน ได้แก่ ความต้องการประกอบอาชีพ เกรดเฉลี่ย เฟซบุ๊ก นักวิชาการเกษตร ประสบการณ์ทำการเกษตรของครอบครัว และอาชีพของมารดา ส่วนปัจจัยที่มีผลทางลบต่อทัศนคติ ที่มีต่ออาชีพเกษตรกรรม คือ ครูเกษตร โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อาชีพของบิดา</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/255300 ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของมะละกอเหลืองกระบี่ ที่ปลูกในกระถาง 2022-10-05T10:14:28+07:00 วชิราภรณ์ สุขะกูล wachiraporn.suk@ku.th ภาสันต์ ศารทูลทัต parson.s@ku.th เกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์ kriengsak.t@ku.th <p> มะละกอเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ทำให้ไม่เหมาะแก่การนำมาทำเป็นไม้กระถางเพื่อการประดับ จึงได้ทดลองให้สารพาโคลบิวทราโซลกับต้นมะละกอพันธุ์เหลืองกระบี่ที่ปลูกในกระถาง 10 นิ้ว เพื่อให้ทราบระดับปริมาณของสารพาโคลบิวทราโซลที่เหมาะสมต่อการชะลอการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น โดยให้สารปริมาณ 0 2 4 6 8 และ 10 มิลลิกรัม (a.i.)/ต้น ด้วยวิธีรดลงดิน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก ให้สารเมื่ออายุต้นได้ 45 วันหลังย้ายปลูก ครั้งที่ 2 ให้สารหลังจากให้สารครั้งแรกครบ 90 วัน บันทึกความสูงลำต้นความสูงทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความยาวปล้องและความยาวก้านใบในระหว่างการให้สาร และบันทึกน้ำหนักสดส่วนต้น ราก และใบ พื้นที่ใบและค่าความเขียวใบหลังสิ้นสุดการให้สารครั้งที่ 2 แล้ว 13 สัปดาห์ พบว่า สารพาโคลบิวทราโซล มีผลต่อการลดความยาวปล้องและน้ำหนักสดส่วนราก (P ≤ 0.05) ส่วนลักษณะอื่น ๆ รวมทั้งความสูงต้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P &gt; 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าสารพาโคลบิวทาโซลจะเริ่มหมดฤทธิ์ในสัปดาห์ที่ 9 หลังได้รับสารจึงมีข้อเสนอแนะว่าในการสารให้พาโคลบิวทราโซลสำหรับมะละกอพันธุ์เหลืองกระบี่ที่ปลูกในกระถางเพื่อการประดับจึงควรมีระยะการให้สารห่างกันไม่เกิน 8 สัปดาห์</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264350 การพัฒนาผ้าด้ายดิบเคลือบน้ำยางพาราสำหรับการใช้งานคลุมดิน 2024-08-09T22:20:30+07:00 วรวรรณ เพชรอุไร koy_288@hotmail.com นิธดา กระแสร์สุข koy_288@hotmail.com ณัฐติญา ปั้นประสงค์ koy_288@hotmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมผ้าเคลือบน้ำยางพาราสำหรับประยุกต์ใช้ในงานคลุมดิน โดยผสมน้ำยางพารากับสารเคมี เพื่อเตรียมเป็นน้ำยางคอมพาวนด์ และศึกษาปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่ 10 30 และ 50 ส่วนโดยน้ำหนักของเนื้อยาง จากการทดสอบสมบัติของยางวัลคาไนซ์ พบว่าความต้านทานแรงดึงของยางวัลคาไนซ์มีค่าไม่แตกต่างกัน แต่ค่าระยะยืดเมื่อขาดลดลงอย่างชัดเจนตามปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบสมบัติเชิงกลของผ้าเคลือบน้ำยาง พบว่าผ้าเคลือบน้ำยางที่ได้มีค่าความต้านทานแรงดึง ค่าระยะยืดเมื่อขาด และค่าความต้านทานการฉีกขาดสูงกว่าผ้าด้ายดิบที่ไม่ได้เคลือบน้ำยางอย่างชัดเจน นอกจากนี้พบว่า ผ้าเคลือบน้ำยางมีค่าระยะยืดเมื่อขาดและค่าความต้านทานการฉีกขาดเพิ่มขึ้นตามปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้น และเมื่อนำผ้าเคลือบน้ำยางที่ได้มาใช้คลุมแปลงผักสลัดโดยเปรียบเทียบกับแผ่นพลาสติกคลุมดินทางการค้าชนิดพอลิเอทิลีน พบว่าผ้าเคลือบน้ำยางสามารถรักษาความชื้นและค่าความเป็นกรดด่างในดินได้ใกล้เคียงกับพลาสติกคลุมดินทางการค้า แต่ผักสลัดที่ปลูกโดยใช้ผ้าเคลือบน้ำยางแสดงการเจริญเติบโตที่ดีกว่าพลาสติกคลุมดินทางการค้า</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264351 การประเมินองค์ประกอบทางเคมี และผลของตัวทำละลายต่อสารสำคัญ และการต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดเมล็ดกัญชงสายพันธุ์ RPF1 2024-08-09T22:47:03+07:00 กนิษฐา สุขเกิด Lalita_s@rmutt.ac.th ลลิตา ศิริวัฒนานนท์ Lalita_s@rmutt.ac.th <p> การวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับกัญชงในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเน้นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากส่วนของลำต้นและคุณภาพเส้นใยเป็นหลัก ในขณะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับใบ ราก และเมล็ดนั้นยังมีน้อย โดยเมล็ดที่ได้จากการเพาะปลูกจำแนกได้ 2 ประเภท คือ เมล็ดที่สามารถนำไปทำพันธุ์เพาะขยายพันธุ์ได้ และเมล็ดพันธุ์เพื่อการบริโภค โดยเมล็ดพันธุ์เพื่อการบริโภคซึ่งเป็นเมล็ดที่ไม่สามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้ ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กลุ่มสารสำคัญ และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดกัญชง (Cannabis sativa L.) สายพันธุ์ RPF 1 ผลจากการทดลองพบว่า ในเมล็ดกัญชง RPF 1 มีปริมาณความชื้นร้อยละ 5.81 ปริมาณน้ำอิสระ 0.65, โปรตีนร้อยละ 36.87 เถ้าร้อยละ 5.12, เส้นใยร้อยละ 12.04, คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 20.99 และไขมันร้อยละ 24.43 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณกลุ่มสารประกอบฟีนอลิกในสารสกัดเมล็ดกัญชงด้วยตัวทำละลายต่างชนิดกัน ได้แก่ น้ำกลั่น เอทานอล (50%) และเอทานอล (99.99%) โดยใช้เทคนิคซอกเลต (Soxhlet extraction method) และวัดคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระในการขจัดอนุมูลอิสระ DPPH พบว่าการสกัดเมล็ดกัญชงด้วยเอทานอล (99.99%) ให้ผลการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (80.21 mg Trolox eq./g) ปริมาณกลุ่มสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุดในการสกัดด้วยน้ำกลั่น (87.98 mg Gallic acid eq./g) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าเอทานอล (99.99%) เป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถนำไปใช้ในการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดกัญชง แต่ในทางกลับกันหากต้องการสกัดสารฟีนอลิกให้ได้ปริมาณสูง น้ำกลั่นอาจเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264373 Factors Affecting Farmers’ Knowledge Towards the Extension of Organic Vegetable Production in Luangprabang Province, Laos People’s Democratic Republic 2024-08-13T08:46:35+07:00 Chanthavong Lochamyeu lochamyru@gmail.com Phutthisun Kruekum lochamyru@gmail.com Phahol Sakkatat lochamyru@gmail.com Koblap Areesrisom lochamyru@gmail.com <p> This study aimed to: 1) investigate a level of knowledge about the extension of organic vegetable production of farmers in Luangprabang province, Laos People Democratic Republic and 2) analyze factors affecting the knowledge about the extension of organic vegetable production recommended by Department of Agriculture and Forestry, Luangprabang Province. A set of questionnaires was use for data collection administered with a sample group of 246 farmers. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression. Finding showed that most of the respondents (93.5%) had a high level of knowledge about the promotion of organic vegetable production. Agricultural<br />workers contact (organic farming system) and benefit gaining from organic farming were factors effecting the knowledge about organic farming system with a statistical significance level 0.01 and 0.05</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/255567 การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันดำ Hermetia illucens (L.) (Diptera: Stratiomyidae) ที่เลี้ยงด้วยเศษวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรสำหรับการใช้เป็นโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์ 2022-11-07T10:26:16+07:00 ชานุชาญ พันธุ์ทอง chanuchan2539@gmail.com วิกันดา รัตนพันธ์ Chanuchan2539@gmail.com เจษฎา รัตนวุฒิ Chanuchan2539@gmail.com <p> แมลงวันดำ Hermetia illucens (L.) (Diptera: Stratiomyidae) เป็นแมลงที่ไม่นำโรคและไม่เป็นศัตรูพืชแพร่กระจายทั่วไปในธรรมชาติในสภาพภูมิอากาศเขตร้อนและเขตอบอุ่น หนอนแมลงวันดำเป็นแมลงกินซากและย่อยสลายอินทรียวัตถุ โดยเฉพาะเศษอาหารและมูลสัตว์ การศึกษาการเลี้ยงหนอนแมลงวันดำด้วยเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ศึกษาในสูตรอาหาร 4 สูตร ได้แก่ ขี้เค้กปาล์มผสมกับกล้วย (1 : 1) รำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มกับกากมะพร้าว (1 : 1 : 1) ขี้เค้กปาล์มเพียงอย่างเดียว และรำข้าวเพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาพบว่า หนอนแมลงวันดำที่เลี้ยงด้วยรำข้าวและขี้เค้กปาล์มเพียงอย่างเดียว รอดชีวิตจนเข้าดักแด้มากที่สุด ตามลำดับ (P &lt; 0.05) ในขณะที่หนอนแมลงวันดำที่เลี้ยงด้วยรำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มกับกากมะพร้าว รอดชีวิตจนเข้าดักแด้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สูตรอาหารที่ให้น้ำหนักดักแด้รวมเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ รำข้าวเพียงอย่างเดียว ขี้เค้กปาล์มผสมกับกล้วย รำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มกับกากมะพร้าว และขี้เค้กปาล์มเพียงอย่างเดียว ตามลำดับ จากผลการศึกษา แม้ว่าหนอนแมลงวันดำที่เลี้ยงในอาหารสูตรรำข้าวผสมขี้เค้กปาล์มกับกากมะพร้าวมีอัตราการตายสูงที่สุดก่อนเข้าสู่ระยะดักแด้แต่มีน้ำหนักดักแด้ต่อตัวสูงที่สุด และดักแด้มีขนาดโตที่สุด ผลที่ได้นี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้เลี้ยงหนอนแมลงวันดำ เพื่อเป็นโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์ และอาจช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อีกทาง</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264352 บทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ คุณภาพของเถ้า และภาชนะที่ใช้ก่อหม้อห้อม ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกในระหว่างการผลิตสีย้อมห้อม แบบธรรมชาติ เพื่อการผลิตสีย้อมแบบยั่งยืน 2024-08-09T23:26:21+07:00 ณัฐพร จันทร์ฉาย nuttapornchanchay@gmail.com อัญศญา บุญประจวบ nuttapornchanchay@gmail.com รัฐพงศ์ เดชพรม nuttapornchanchay@gmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ที่มีผลต่อกระบวนการก่อหม้อห้อมย้อมสีผ้า โดยคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์จากน้ำก่อหม้อร้านแก้ววรรณา (KW) ร้านผ้าธรรมชาติ (TC) ร้านโฮงฮ่อม (HH) ร้านป้าเหลือง (PL) และร้านป้าเหงี่ยม (PG) จากการศึกษาสามารถคัดแยกเชื้อได้ทั้งหมด 95 ไอโซเลท แต่พบเพียง 17 ไอโซเลท ที่สามารถเปลี่ยนสีอินดิโกไปเป็นลิวโคอินดิโก โดยไอโซเลท TC228 ให้ปริมาณลิวโคอินดิโกมากที่สุด คือ 9.5688 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งคัดแยกได้จากน้ำก่อหม้อร้านผ้าธรรมชาติ เป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างเป็นท่อนสั้น จากการนำ TC228 ไปวิเคราะห์เพื่อระบุชนิด โดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA พบว่ามีความใกล้เคียงกับ Bacillus cereus NR_115714.1 ในฐานข้อมูลที่ความยาว 1535 bp. มีค่าความเหมือน เท่ากับ 99% เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโก พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติม TC228 ให้ประสิทธิภาพของน้ำก่อหม้อดีกว่าตัวอย่างที่ไม่ได้เติมเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นทดสอบภาชนะที่เหมาะสม พบว่า ภาชนะที่ใช้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติต่อกระบวนการเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโกรวมถึงการย้อมติดสีและจากการศึกษาน้ำด่างจากขี้เถ้าไม้ 7 ชนิด พบว่า น้ำด่างจากขี้เถ้าไม้รวมให้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโกสูงที่สุด คือ 157.08 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และให้ค่า L* a* และ b* เท่ากับ 1.030 -0.023 และ 0.367 ตามลำดับ จากงานวิจัยสามารถสร้างความสะดวกในการใช้งาน รวมถึงการควบคุมคุณภาพน้ำย้อมสี นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ห้อมผงหรือชุด Kit ย้อมสีสำเร็จรูป ซึ่่งเป็นการยกระดับสินค้าหม้อห้อม ของจังหวัดแพร่ สู่ระดับสากล</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/255628 การเปรียบเทียบผลผลิตเบื้องต้นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้น ในพื้นที่จังหวัดลำปาง 2022-11-19T08:21:02+07:00 วราวุฒิ แก้วก๋อง warawuth.kaew@gmail.com บุญฤทธิ์ สินค้างาม warawuth.kaew@gmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้น (เก็บเกี่ยว 90-100 วัน) ที่มีศักยภาพสูงและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดลำปาง ทำการปลูกทดสอบ ทั้งหมด 47 คู่ผสม เปรียบเทียบการให้ผลผลิตกับพันธุ์การค้า 16 พันธุ์ ที่แปลงวิจัยของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ลำปาง ในฤดูแล้งตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2565 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ขนาดแปลงย่อย ยาว 5 เมตร โดยการปลูกจำนวน 2 แถว/พันธุ์ พันธุ์ละ 2 ซ้ำ ใช้ระยะปลูก 75 × 20 เซนติเมตร พบว่า คู่ผสมที่ให้ผล ผลิตสูงที่สุด 5 อันดับแรก คือ Ki45 × UPFC066 (1,544 กิโลกรัมต่อไร่) Kei1421 × UPFC024 (1,529 กิโลกรัมต่อไร่) Kei1614 × UPFC019 (1,451 กิโลกรัมต่อไร่) Ki45 × Nei452006 (1,447 กิโลกรัมต่อไร่) และ Ki57 × UPFC019 (1,431 กิโลกรัมต่อไร่) ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบที่มีผลผลิตสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ DK9979C (1,597 กิโลกรัมต่อไร่) SW5821 (1,436 กิโลกรัมต่อไร่) SW5720 (1,376 กิโลกรัมต่อไร่) CP389 (1,361 กิโลกรัมต่อไร่) และ PAC789 (1,355 กิโลกรัมต่อไร่) นอกจากนี้ ความชื้นของคู่ผสมที่ทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่ 28% ในขณะที่พันธุ์การค้าเฉลี่ยอยู่ที่ 30% แสดงให้เห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในงานทดลองคาดว่ามีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264353 การป้องกันการคุกคามป่าไม้ของประชาชนในพื้นที่รอบโครงการพัฒนา พื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางมะโอ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2024-08-10T00:06:40+07:00 ธงชัย วงศ์อยู่ saisakul_tor@yahoo.com สายสกุล ฟองมูล saisakul_tor@yahoo.com พหล ศักดิ์คะทัศน์ saisakul_tor@yahoo.com พุฒิสรรค์ เครือคำ saisakul_tor@yahoo.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมและความรู้การอนุรักษ์ป่าไม้ ระดับการป้องกันการคุกคามป่าไม้ ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันการคุกคามป่าไม้ และแนวทางการป้องกันการคุกคามป่าไม้ ของประชาชนในพื้นที่รอบโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางมะโอ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนครัวเรือนในพื้นที่รอบโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางมะโอ จำนวน 203 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความถี่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนร้อยละ 55.2 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย48.51 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมีสถานภาพสมรส มีสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.2 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 7,061.08 บาท มีที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 12.09 ไร่/ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ ภายในปี พ.ศ. 2563 ประชาชนได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และการป้องกันไฟป่าปีละ 1-2 ครั้ง และไม่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้โดยตรง ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมจากโทรทัศน์มากที่สุด ประชาชนใช้ประโยชน์จากป่าไม้มากที่สุดในเรื่องการหาเก็บของป่าเพื่อบริโภค ประชาชนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้อยู่ที่ 8.87 (จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน) อยู่ในระดับปานกลาง</p> <p> ผลการศึกษาการป้องกันการคุกคามป่าไม้ พบว่า มีระดับการป้องกันการคุกคามป่าไม้อยู่ในระดับมาก (𝛘 = 3.61) โดยมีการป้องกันการคุกคามป่าไม้จากภัยธรรมชาติมากที่สุด (𝛘 = 3.87) การป้องกันการคุกคามป่าไม้ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระ 4 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ การถือครองที่ดิน และการรับข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และนำผลการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันการคุกคามป่าไม้ คือเสริมสร้างความรู้ จิตสำนึก และความตระหนัก เกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้และต้นน้ำลำธารทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า อบรมเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้และสัตว์ป่า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามป่าไม้ ออกกฎระเบียบข้อบังคับและกำหนดเขตพื้นที่ของพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ ที่ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าไม้ได้ให้ชัดเจน สนับสนุนการทำเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวนเกษตร ทั้งนี้แนวทางการป้องกันการคุกคามป่าไม้สามารถช่วยให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากป่าไม้และดูแลป่าไม้ได้อย่างเหมาะสม เจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่โครงการหลวงสามารถวางแผนดำเนินงานในการจัดการพื้นที่ป่าไม้และกำหนดพื้นที่การทำเกษตรของชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น </p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264369 ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมบางประการในแต่ละฤดูกาลต่อคุณภาพการผลิตห้อม ในอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 2024-08-12T22:07:24+07:00 ณัฐพร จันทร์ฉาย nuttapornchanchay@gmail.com พนัชพงษ์พรรณ ทะเกิงกุล nuttapornchanchay@gmail.com อัญศญา บุญประจวบ nuttapornchanchay@gmail.com <p> การศึกษาการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของห้อม ระหว่างฤดูกาล นับว่ามีประโยชน์ต่อการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตวัตถุประสงค์การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมบางประการ ในแต่ละฤดูกาล ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีห้อม โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างห้อม และดินที่ปลูกของห้อมในสามพื้นที่หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาคูหา บ้านเเม่ลัวและบ้านนาตอง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ผลการศึกษาพบว่า ฤดูฝนให้ผลการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด โดยเฉพาะห้อมจากพื้นที่บ้านแม่ลัวที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 798 เมตร มีการเจริญเติบโต ด้านความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เท่ากับ 71.29 เซนติเมตร แต่ผลของปริมาณตะกอนเปียกพบว่า บ้านนาตองให้ปริมาณสูงที่สุด เท่ากับ 15.93 กรัม และในฤดูหนาวสามารถให้ปริมาณน้ำหนักตะกอนแห้งได้สูงที่สุด โดยเฉพาะบ้านนาคูหา และบ้านนาตอง เท่ากับ 1.21 กรัม การศึกษาการให้คุณภาพของสีห้อมในแต่ละฤดูกาลนั้น พบว่า ในฤดูร้อนให้คุณภาพสีดีที่สุด โดยเฉพาะคุณภาพสีห้อมในพื้นที่บ้านแม่ลัว มีความสว่าง (L*) เท่ากับ 29.22 ค่าความเข้มของสีเขียว (a*) เท่ากับ -8.37 และความเข้มของสีน้ำเงิน (b*) เท่ากับ -1.13 รวมถึงการศึกษาคุณภาพดินบางประการต่อการเจริญเติบโตของห้อม พบว่า ดินในพื้นพี่บ้านนาต้องมีปริมาณฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงที่สุด เท่ากับ 51.87 และ 155.12 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามบ้านแม่ลัว มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพสีห้อมที่ดีที่สุด และการส่งเสริมการปลูกห้อมและเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นควรเริ่มปลูกในช่วงปลายฤดูร้อน เพื่อให้ห้อมเจริญเติบโตที่ดีในฤดูฝน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน เพื่อให้การผลิตห้อมมีประสิทธิภาพสูงสุด</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264374 Factors Related to Attitudes about Kai Noi Rice Production under Folk Culture of Farmers in Xiangkhoung Province, Laos P.D.R 2024-08-13T09:02:38+07:00 Phonekeo Anousack phonekeo82@hotmail.com Phutthisun Kruekum phonekeo82@hotmail.com Saisakul Fongmul phonekeo82@hotmail.com Kangsadan Kanokhong phonekeo82@hotmail.com <p> This study was conducted to investigate:1) socio-economic attributes of farmers growing Kai Noi rice; 2) attitude towards Kai Noi rice growing of the farmers; 3) factors related to the attitudes towards Kai Noi rice growing of the farmers. The sample group consisted of 313 farmers growing Kai Noi rice in Xiangkhoung province, Laos P.D.R A set of structured-questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics and multiple regression. Finding showed that about one-half of the respondents (50.8%) were female and 47.42 years old on average. More than one-half of the respondents were elementary school graduates and below. Almost all of the respondents were married with 5.09 household members and 3.236 household workforce on average. The respondents had 10.58 rai of farm land and had farming experience for 15.73 years on average. They had an annual household income for 102,590 baht each on average. As a whole, the respondents had a high level of knowledge and understanding about Kai Noi rice growing. Also, they had a high level of attitudes towards Kai Noi rice production (X = 3.60). The following had a relationship with the attitudes : sex, educational attainment, debt, household members, household income, experience in Kai Noi rice growing, being a group member, and knowledge about Kai Noi rice growing.</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264370 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนม ของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ 2024-08-12T22:30:57+07:00 ศราวุฒิ ปัญญาวัย fsarawut900@gmail.com กังสดาล กนกหงษ์ fsarawut900@gmail.com พหล ศักดิ์คะทัศน์ fsarawut900@gmail.com สายสกุล ฟองมูล fsarawut900@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใน จังหวัดเชียงใหม่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ทายาทเกษตรกรผูเ้ ลี้ยงโคนมจำนวน 160 คน เก็บรวบรวมโดยใชแ้ บบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมของทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พบว่า ระดับการศึกษา จำนวนแรงงานในฟาร์ม แรงงานจ้าง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ สถานภาพ ประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับข้อเสนอแนะปัจจัยที่มีผลต่อการสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนมของทายาทเกษตรกรที่สำคัญ คือ 1) ควรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโคนมนำมาใช้ เพื่อทดแทนแรงงานในฟาร์มที่ปัจจุบันเริ่มขาดแคลนและหายาก 2) ควรมีการจัดทำโครงการหรือหลักสูตรระยะสั้นที่เน้นให้ทายาทเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้มีประสบการณ์จากการเลี้ยงโคนม เพื่อให้เกิดการรับรู้ศักยภาพของตนเอง 3) ควรสร้างเครือข่ายกลุ่มทายาทเกษตรกรที่สืบทอดการเลี้ยงโคนม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการประกอบอาชีพ อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจจากการรวมกลุ่ม 4) ควรหนุนเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานกับอาชีพการเลี้ยงโคนมเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกและเพิ่มรายได้ให้กับอาชีพการเลี้ยงโคนม</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/257165 การยอมรับการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2023-01-16T09:37:35+07:00 ณัฐวุฒิ จั่นทอง theman_vanz@hotmail.com พหล ศักดิ์คะทัศน์ theman_vanz@hotmail.com <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ระดับการยอมรับการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตข้าวอินทรีย์ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการการผลิตข้าวอินทรีย์ กลุ่มตัวอย่าง คือเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 45 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนกันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีการยอมรับการผลิตข้าวอินทรีย์รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผลิตข้าวอินทรีย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งหมด ได้แก่ รายได้จากการผลิตข้าวอินทรีย์ ประสบการณ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์ และการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ระดับการศึกษา และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ ด้านปัญหาของการผลิตข้าวอินทรีย์ พบว่า เกษตรกรมีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติมากที่สุด</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/257519 ผลของถ่านชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินบางประการ ในดินร่วนปนทราย 2023-01-20T11:05:13+07:00 ศรัณย์ จันทร์วงศ์ inthasan@mju.ac.th จักรพงษ์ ไชยวงศ์ inthasan@mju.ac.th สาวิกา กอนแสง inthasan@mju.ac.th จีราภรณ์ อินทสาร inthasan@mju.ac.th <p> ถ่านชีวภาพ คือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่ผ่านกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อนในสภาวะไร้ก๊าซออกซิเจน (pyrolysis) โดยงานวิจัยครั้งนี้ได้นำไบโอชาร์จากซังข้าวโพดและแกลบมาทำ การศึกษาผลของถ่านชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินบางประการด้วยการบ่มในดินร่วนปนทรายในระบบปิด ที่ระยะเวลา 0 60 และ120 วัน วางแผนการทดลองแบบ Split Plot in Completely Randomized Design จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1) ถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด 2) ถ่านชีวภาพจากแกลบ ปัจจัยรองคืออัตราของถ่านชีวภาพ 1) 0% w/w 2) 2.5% w/w และ 3) 5.0% w/w พบว่าการเติมถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด อัตรา 5.0% w/w ทำให้ค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) และค่าสภาพนำไฟฟ้าในดิน (EC) มีค่าสูงสุดทุกระยะเวลาของการบ่มดิน การเติมถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด และแกลบอัตรา 5.0% w/w ทำให้มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงสุดทุกระยะการบ่มดิน การใส่ถ่านชีวภาพจากแกลบอัตรา 5.0% w/w ทำให้มีค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนในดินสูงสุดที่ระยะการบ่ม 120 วัน การเติมถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด และแกลบอัตรา 5.0% w/w ส่งผลให้มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินเพิ่มขึ้นในทุกระยะการบ่มดิน ถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด และแกลบทั้งสองอัตรา 2.5 และ 5.0% w/w ทำให้ปริมาณแคลเซียมแมกนีเซียม และกำมะถันที่แลกเปลี่ยนได้ในดินเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการบ่มดิน การใช้ถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด และแกลบอัตรา 2.5% w/w ส่งผลให้ปริมาณเหล็ก และแมงกานีสที่สกัดได้ในดินมีค่าลดลง การเติมถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพดและแกลบทั้งสองอัตราทำให้ปริมาณสังกะสีที่สกัดได้ในดินเพิ่มขึ้นทุกระยะการบ่มดิน แต่ไม่ส่งผลต่อปริมาณทองแดงที่สกัดได้ในดิน</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/264375 Study on Cooperative Mode of Beef Cattle Breeding of Small Farmers in Mountainous Area of Southwest China: A Case Study of Guangnan County, Yunnan Province 2024-08-13T09:47:05+07:00 Qi Jianling chalermc@mju.ac.th Chalermchai Panyadee chalermc@mju.ac.th Kaewtip Kaewtip chalermc@mju.ac.th Ek-Iem Ek-Iem chalermc@mju.ac.th <p> The production mode of China’s small farmers is mainly based on family management. With the improvement of agricultural production level, the family-based small-scale production mode affects the input and utilization effect of production due to the lack of reasonable production organization system. In this paper, we need to improve the efficiency of cooperation to address the production shortfall of China’s small farmers. Therefore, this study takes the beef cattle breeding of small farmers in Guangnan county, Yunnan Province, China as the research object, and classifies according to the beef cattle breeding cooperation objects. The objects of cooperation between Guangnan county and small farmers described in this paper include the government, enterprises, cooperatives, family farms and neighbors. In order to realize the organic connection between small farmers and the development of modern agriculture, and promote the implementation of the rural revitalization strategy in Guangnan county. The cooperation content and characteristics of the small beef cattle breeding farmers and other agricultural management stakeholders are analyzed, and the different cooperation modes are compared. It is found that the cooperation of small farmers is based on a voluntary basis, and the cooperation motivation is mainly driven by interests. The cooperation is greatly influenced by emotional factors. The cooperation of small beef cattle farmers in Guangnan county reflects a microcosm of the development of Chinese rural society; therefore, the results of this study indicate that the cooperation between small farmers and relevant parties is effective, but its effect is above medium level, but below optimal level. These cooperation phenomena reflect a stage of the process of small-scale peasant economy from market economy to market economy in China (Guangnan county). This finding indicated that all five types of relationships have varying degrees of influence on cooperative subjects, with the relationship with large farmers having a significant positive impact on the government, cooperatives, and large farmers.</p> 2024-08-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร