วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju
<p> วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือ Maejo Journal of Agricultural Production (mJAP) จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ของนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกสถาบัน มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ โดยกำหนดออกในเดือนเมษายน สิงหาคม และ ธันวาคมของทุกปี โดยเริ่มตีพิมพ์ฉบับแรก (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) ในเดือนเมษายน 2562</p> <p> รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) แบบเนื้อหาสั้น (Short communication) รวมถึงบทความประมวลความรู้เชิงวิเคราะห์ (Review article) หรือบทความปริทัศน์ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้วกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access) มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,500 บาท ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ดังกล่าว จะไม่ได้รับคืนไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ และไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณภาพเพื่อตอบรับการตีพิมพ์เนื้อหาบทความในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจอ่าน คณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้</p> <p><span data-sheets-value="{"1":2,"2":"วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Journal of Agricultural Production (JAP) เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ตรวจทานก่อนได้รับการตีพิมพ์ จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รับบทความวิชาการและวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระบบไตรมาส (ปีละ 3 ฉบับ) โดยฉบับที่ 1 ตีพิมพ์ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม ของทุกปี แต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความไม่น้อยกว่า 8 เรื่อง รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา โดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access)"}" data-sheets-userformat="{"2":513,"3":{"1":0},"12":0}"><br /><strong>อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ </strong></span></p> <p> </p> <table style="height: 120px;" width="576"> <tbody> <tr> <td width="378"> <p><strong> ค่าธรรมเนียม</strong></p> </td> <td width="85"> <p><strong> แบบปกติ</strong></p> </td> </tr> <tr> <td width="378"> <p>อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ<br />วารสารผลิตกรรมการเกษตร</p> </td> <td width="85"> <p> 3,500</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p> </p> <p><a href="http://jap.mju.ac.th/file/Fee.pdf" target="_blank" rel="noopener"><strong>ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ</strong></a></p>
Faculty of Agricultural Production, Maejo University
th-TH
วารสารผลิตกรรมการเกษตร
3027-7175
-
การพัฒนาศักยภาพสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน กรณีศึกษาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265184
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชในปัจจุบันของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 2) ทราบความต้องการการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 3) พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และ 4) ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นสมาชิกกลุ่มไมต่ำกวา่ 1 ปี และสมัครใจเข้าร่วม จำนวน 32 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ สอบถาม แบบทดสอบความรู้และทักษะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ T-test ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกมากกว่า 9 ปี มีอายุเฉลี่ย 61 ปี มีการปลูกมังคุดเป็นหลัก ศักยภาพ ในปัจจุบันก่อนการพัฒนา พบว่า ความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชได้อย่างยั่งยืน อยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.38 และ 2.83) ด้านสำรวจและติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช มีความรู้ระดับน้อย และทักษะระดับน้อยมาก (ค่าเฉลี่ย 2.44 และ 1.77) และด้านการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติชีวภัณฑ์เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืช มีความรู้และทักษะในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.47 และ 2.46) สมาชิกมีมติเลือกพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตรเพื่อการบริหารจัดการศัตรูพืชได้อย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ และการมีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้ 4 หัวข้อ ได้แก่ การจัดทำปฏิทินการดูแลมังคุดตลอดระยะ 1 ปี การจำแนกศัตรูพืชศัตรูธรรมชาติเบื้องต้น การจัด การศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และการวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร โดยเรียนรู้ภาคทฤษฎีและมีการฝึกปฏิบัติควบคู่กัน ศักยภาพหลังการพัฒนาด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างยั่งยืน สมาชิกมีความรู้และทักษะ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34 และ 3.76) การเปรียบเทียบผลการพัฒนาพบว่า สมาชิกมีความรู้และทักษะหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ (P<0.05)</p>
สุมลนาถ โสสุทธิ์
ปรารถนา ยศสุข
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
1
10
-
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมะเกี๋ยงอินทรีย์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/258303
<p> โครงการศึกษาพัฒนาการปลูกพืชมะเกี๋ยงในสภาพพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เริ่มปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ระยะเวลา 12 ปี พื้นที่แปลงปลูกมะเกี๋ยงทำหน้าที่เพื่อเป็นแปลงอนุรักษ์ พัฒนาพืชมะเกี๋ยง เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนในการปลูกมะเกี๋ยง โดยใช้เครื่องมือทางในการวิเคราะห์คือ ต้นทุน-ผลตอบแทนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน อัตราส่วนผลตอบ แทนต่อต้นทุน ระยะเวลาคืนทุน ผลการวิจัยพบว่าต้นทุน -ผลตอบแทน ต้นทุนรวมในปีที่ 1-3 อยู่ในช่วง 1,000-1,200 บาท/ปี เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป มีต้นทุนการผลิตรวมอยู่ในช่วง 3,900-4,560 บาท/ปี ผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับในช่วงเริ่มให้ผผลผลิตประมาณ 6,550-6,950 บาท/ปี และเมื่อต้นโตเต็มที่ในปีที่ 10-11 ได้ผลตอบแทนสุทธิประมาณ 21,000-23,000 บาท/ปี เมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ด้านการลงทุน พบมูลค่าปัจจุบันสุทธิผลตอบแทนของการผลิตมะเกี๋ยงเท่ากับ 7,927.32 บาท/ปีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่าเท่ากับ 1.32 แสดงว่าการผลิตมะเกี๋ยงมีความคุ้มค่าที่จะลงทุน และระยะเวลา 5 ปี จะได้คืนทุนจากการผลิต ดังนั้น มะเกี๋ยงสามารถเป็นพืชทางเลือกที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจที่สามารถปลูกและให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นแนวทางช่วยประกอบการตัดสินใจในการวางแผนของเกษตรกร อพ.สธ. หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำส่งเสริมการเพาะปลูกมะเกี๋ยงให้เพิ่มขึ้น สำหรับการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับเป็นพืชทางเลือกต่อไป</p>
ฑีฆา โยธาภักดี
พัชรณัฐ ดาวดึงษ์
กิติพงษ์ วุฒิญาณ
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
11
20
-
ผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265186
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) ผล จากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตจากการระบาดของ COVID-19 ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 170 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ 0.05 และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้ค่า Cronbach’s Alpha Coefficient 0.813 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุแบบคัดเลือกเข้า (Enter multiple regressions analysis) โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 <br /> ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 62.54 ปี ระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนแรงงานในครัวเรือนและว่าจ้างทำเกษตรเฉลี่ย 5.90 คน มีที่ดินในการปลูกข้าวเฉลี่ย 8.25 ไร่ ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 39352.94 บาท ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรมีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 3,852.94 บาทต่อเดือน รายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 10,035.88 บาทต่อเดือน เงินทุนที่ใช้ปลูกข้าวเฉลี่ย 27,567.05 บาทต่อครั้ง โดยเป็นแหล่งเงินทุนส่วนตัวในการปลูกข้าว ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรเข้าร่วมอบรมดูงานด้านเกษตรเฉลี่ย 1.14 ครั้งต่อปี ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 31.61 ปี เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตร 1 กลุ่ม ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เฉลี่ย 43.89 ครั้งต่อเดือน การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรจากสื่อต่าง ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.75 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุดค่าเฉลี่ย 1.25 เช่น ด้านแรงงาน และด้านเงินทุน เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตจากการระบาดของ COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig. <0.05) ได้แก่ จำนวนแรงงานการทำการเกษตร (sig.=0.030) รายจ่ายครัวเรือน (sig.=0.022) แหล่งเงินทุนที่ใช้ปลูกข้าว (sig.=0.011) ประสบการณ์ในการปลูกข้าว (sig.=0.001) และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 (sig.=0.000) </p>
จตุรพล ภิรมย์อัครเดช
พหล ศักดิ์คะทัศน์
ปิยะ พละปัญญา
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
21
29
-
The Level of Information Literacy and its Influencing Factors of Agricultural Students in Higher Education of Yunnan, China
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265187
<p> Exploring the influencing factors in the process of improving college students’ information literacy is the key to effectively improve the level of college students’ information literacy. This paper aimsto determine information literacy level of agriculture students in higher education of Yunnan and analyzes the influencing factors of information literacy of agricultural college students in Yunnan province of China by consulting relevant literature and using constructivism theory, and designs a questionnaire, which has passed the reliability and validity test. The 385 college students were selected by hierarchical random sampling in four university. SPSS 21.0 is used to analyze the survey data. The research results show that the information literacy level of agricultural college students was at the middle level, and the academic research ability and information inquiry ability of college students have the lowest score; The research found that grade, GPA, computer level, educational level, need for success, learning style, Information Literacy (IL) course, digital resources, multimedia assignments, title to information quality, conduct collaborative projects, number of published articles, interaction group of students with friends and colleague 14 factors, such as satisfaction on IL facility, have a significant impact on the level of college students’ information literacy.</p>
Qiu Jing
Chalermchai Panyadee
Somkid Kaewtip
Pradtana Yossuck
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
30
38
-
การเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพจากการเข้าร่วมธุรกิจเกษตรชุมชนในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265188
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพของเกษตรกรจากการเข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรจากอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน จำนวน 225 ราย ประกอบด้วย เกษตรกรจำนวน 111 ราย ที่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชน และเกษตรกรจำนวน 114 รายที่ไม่ได้ร่วมกลุ่ม เกษตรกรทั้งสองกลุ่มจะถูกประเมินทุนดำรงชีพแสดงโดยใช้พื้นฐานทุนดำรงชีพ 5 ด้าน คือ ทุนทางมนุษย์ ทุนทางการเงิน ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และทุนทางกายภาพ ทั้งในปี พ.ศ. 2558 (ก่อนการเข้าร่วมกลุ่ม) และปี พ.ศ. 2562 (หลังการเข้าร่วมกลุ่ม) การศึกษามีการจัดกลุ่มเกษตรกรที่มีลักษณะพื้นฐานของครัวเรือนที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกันโดยใช้วิธี Two Step Cluster Analysis วัดระดับทุนดำรงชีพด้วยมาตรวัด Likert scale 5 ระดับ และวิเคราะห์ภาพรวมทุนดำรงชีพแต่ละด้านด้วยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Mean Score) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชนมีทุนดำรงชีพทุกด้านในอดีต (2558) ต่ำกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ในปัจจุบัน (2562) เกษตรกรที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชนมีระดับทุนดำรงชีพทุกด้านใกล้เคียงกันอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของทุนดำรงชีพในแต่ละด้านในอดีตและปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาการเข้าร่วมกลุ่ม มีส่วนสำคัญช่วยให้เกษตรกรมีทุนดำรงชีพเพิ่มขึ้นในทุนทุกด้าน โดยเฉพาะทุนทางสังคมในการเข้าร่วมกลุ่มของเกษตรกรที่สร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร</p>
ภัทราวดี กันตี
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
นัทธมน ธีระกุล
ประทานทิพย์ กระมล
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
39
50
-
ความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmers) ในภาคเหนือตอนบน
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265193
<p> การสื่อสารเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งการส่งเสริมการเกษตรจำเป็นจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม 2) เพื่อศึกษาการรับข่าวสารทางการเกษตร 3) เพื่อศึกษาความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 5) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสื่อสารด้านการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบน โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบนเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในปี พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.66 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานทางการเกษตรเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 14.62 ไร่ มีรายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 233,771.76 บาทต่อปี ใช้เงินลงทุนในการทำการเกษตรเฉลี่ย 120,674.01 บาทต่อปี เข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer เฉลี่ย 3 ปี ในปี พ.ศ. 2564 มีการเข้าร่วมอบรมและศึกษาดูงานในด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การแปรรูปผลผลิต การทำเกษตรในระบบ GAP และการตลาด เป็นสมาชิกกลุ่มหรือเครือข่ายเฉลี่ย 2 กลุ่ม มีแหล่งข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ย 3 แหล่ง มีความเชื่อถือต่อแหล่งข่าวสารอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.55) มีช่องทางการใช้สื่อในการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ย 14 ช่องทาง มีการรับรู้ข่าวสารทาง การเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.09) มีความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05) โดยต้องการข่าวสารด้านการตลาด (ทักษะการเป็นผู้ประกอบการเกษตร) และต้องการสื่อเฉพาะกลุ่ม (ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย) มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร (P = 0.004) ระดับการศึกษา (P = 0.045) และช่องทางการใช้สื่อในการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตร (P = 0.012) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกัน ระยะเวลาในการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (P = 0.034) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เกษตรกรรุ่นใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารด้านการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10) ให้ความสำคัญไปที่ปัญหาด้านข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะนโยบายภาครัฐไม่ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ข่าวสารทางการเกษตรที่ทันสมัยมีจำนวนน้อย และขาดการให้ข้อมูลเชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยเกษตรกรรุ่น ใหม่มีข้อเสนอแนะ เห็นควรให้ข่าวสารมีการคัดกรองความถูกต้องให้รายละเอียดครบถ้วน มีความน่าเชื่อถือและทันสมัย และควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรรุ่นใหม่กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพิ่มขึ้น</p>
ธีร์ธวัช ปุรินทราภิบาล
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปิยะ พละปัญญา
นภารัศม์ เวชสิทธิ์นิรภัย
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
51
64
-
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของบัวหลวงราชินีในจังหวัดเพชรบุรีด้วยวิธีแบบอาร์เอพีดี
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/258601
<p> การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของบัวหลวง จำนวน 19 ตัวอย่าง ซึ่งเก็บรวบรวมมาจากอำเภอต่างๆใน จังหวัดเพชรบุรี ตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ด้วยเทคนิค Random Amplified polymorphic DNA (RAPD) ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอแบบอาร์เอพีดีจำนวน 159 เครื่องหมาย พบว่าไพรเมอร์ที่แสดงความแตกต่างระหว่างพันธุกรรมบัวหลวง จำนวน 17 ไพรเมอร์ จำนวน 40 ตำแหน่ง นำลายพิมพ์ดีเอ็นเอในแต่ละตำแหน่งมาเปรียบเทียบกัน โดยพิจารณาจากการปรากฏโดยให้สัญลักษณ์การปรากฏของแถบดีเอ็นเอ เป็น (1) และให้สัญลักษณ์การไม่ปรากฏของแถบดีเอ็นเอเป็น (0) ใน ตำแหน่ง Locus เดียวกันการวิเคราะห์ข้อมูลจากโปรแกรมสำเร็จรูป NTSYSpc version 2.01d โดยใช้ค่า Jaccard’s coefficient พบว่า ดัชนีความเหมือนทางพันธุกรรมของบัวทั้ง 19 สายพันธุ์ สามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 1.00 โดยตัวอย่างที่ 7, 8, 11 และ 13 มีค่าดัชนีความเหมือนสูงสุด คือ 1.00 ซึ่งทั้ง 4 ตัวอย่างนี้น่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ส่วนตัวอย่างที่มีค่าดัชนีความเหมือนต่ำสุดอยู่ที่ 0.23 ได้แก่ ตัวอย่างที่ 15 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 และตัวอย่างที่ 2 กับ 3 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 มีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ที่ 0.67</p>
ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส
บุญชาติ คติวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
ุ65
74
-
Local Resource Management to Strengthen the Economy of Agricultural Communities Ban Pok, Mae On District, Chiang Mai Province
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265195
<p> This research was a part of a project to enhance the operational potential and participatory community enterprise marketing for sustainable agriculture. The objectives were to study 1) community context and social and economic conditions, 2) community capital building economic strength, and 3) guidelines for applying community capital to build economic strength in the community. The research was conducted using a qualitative research method to collect information from documents, in-depth interviews, and group discussions. The research is descriptive research with 20 farmers as a sample group.</p> <p> The study found that the Ban Pok Agricultural Community, where Arabica coffee, Assam tea, and temperate and subtropical fruits are grown, is 1,200-1,550 meters from the average sea level and has a suitable temperature to grow plants. It is also a learning center for tourists and interested individuals. The five community capital are (1) human capital (knowledgeable members, local leaders, government leaders, educational institution leaders, private sector leaders, and community organization leaders or community enterprise group members), (2) social capital (knowledge exchange through community learning centers with farmers networks), (3) physical capital (universal access to basic infrastructure), (4) natural capital (an appropriate climate for planting crops and sufficient natural resources), and (5) financial capital (adequate funding sources inside and outside the community). Furthermore, the agriculture community at Ban Pok has been observed to practice the concept of self-reliance and to possess knowledge, community leaders, and strong local authorities. Therefore, the potential of community capital can be maximized.</p>
Nathitakarn Phayakka
Suraphol Sreshthaputra
Panuphan Prapatikul
Priyaphon Khanthabua
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
75
86
-
การศึกษาดินในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265204
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบดินในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง เพื่อให้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีการปลูกดาวเรือง ทำการทดลองที่แปลงเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 กระถาง โดยปลูกดาวเรืองพันธุ์ดับเบิ้ล อีเกิ้ล (Double eagle) ทำการเปรียบเทียบดินที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 แหล่ง ดังนี้ 1) ชุดควบคุม 2) ดินในอำเภอท่ายาง 3) ดินในอำเภอบ้านลาด 4) ดินในอำเภอเมือง และ 5) ดินในอำเภอบ้านแหลม จากการศึกษาพบว่า อัตราการรอดตายของต้นดาวเรืองที่ย้ายปลูก 49 วัน ในสัปดาห์ที่ 1 ร้อยละการรอดตายเท่ากับ 100 เมื่อต้นกล้าดาวเรืองสัปดาห์ที่ 2 ร้อยละการรอดตายเท่ากับ 44 และดาวเรืองที่ปลูกด้วยดินในอำเภอบ้านแหลม หลังย้ายปลูกมีอัตรา การรอดตายได้เพียง 7 วัน ดาวเรืองที่ปลูกด้วยดินในอำเภอเมือง มีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด ในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม และจำนวนดอก (70.11 เซนติเมตร 33.44 เซนติเมตร และ 5.44 ดอก ตามลำดับ) ดังนั้นดินในอำเภอเมือง มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรืองมากที่สุด สามารถเป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีการปลูกดาวเรืองตัดดอก</p>
วรุณยุพา จุ้ดศรี
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
87
95
-
การใช้ประโยชน์จากเศษกะหล่ำปลีเป็นอาหารเลี้ยงโคนมคัดทิ้งในจังหวัดสระแก้ว
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/258045
<p> การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากเศษกะหล่ำปลีเป็นอาหารเลี้ยงโคนมคัดทิ้งในจังหวัดสระแก้ว โดยใช้โคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนลูกผสมเพศเมียคัดทิ้งที่มีสาเหตุการคัดทิ้งเนื่องจากปัญหาระบบสืบพันธุ์ จำนวน 6 ตัว อายุระหว่าง 60-72 เดือน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 3 ตัว ประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 ให้อาหารข้นปริมาณ 1% ของน้ำหนักตัว (กลุ่มควบคุม) และกลุ่มที่ 2 ให้อาหารข้นปริมาณ 1% ของน้ำหนักตัว โดยใช้เศษกะหล่ำปลีหมักทดแทนอาหารข้นในปริมาณ 10 % (กลุ่มทดลอง) โคทุกกลุ่มให้กินฟางข้าวแบบเต็มที่ โดยมีระยะการเลี้ยง 90 วัน พบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้ง ปริมาณการกินอาหารข้น ปริมาณการกินอาหารหยาบ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยโคกลุ่มควบคุมมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 49.33 กิโลกรัม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 0.55 กิโลกรัม/วัน และโคกลุ่มทดลองน้ำหนักเพิ่มขึ้น 53.33 กิโลกรัม และอัตราการเจริญเติบโต 0.59 กิโลกรัม/วัน ด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจพบว่าโคกลุ่มควบคุมมีต้นทุนค่าอาหารในการเพิ่มน้ำหนัก 1 กิโลกรัม 161.28 บาท มากกว่าโคกลุ่มทดลองที่มีค่าเท่ากับ 115.75 บาท จากการทดลองนี้แสดงว่าสามารถใช้เศษกะหล่ำปลีหมักทดแทนอาหารข้นในปริมาณ 10% ในการเลี้ยงโคนมคัดทิ้งเป็นระยะเวลา 90 วันได้โดยไม่ส่งผลต่อปริมาณการกินอาหาร การเจริญเติบโต และสามารถเพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจได้</p>
ปณัท สุขสร้อย
เจนจิรา นามี
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
96
104
-
การชักนำแคลลัสจากอับละอองเรณูของฟ้าทะลายโจรในสภาพปลอดเชื้อ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265205
<p> การศึกษาการชักนำให้เกิดแคลลัสจากอับละอองเรณูของฟ้าทะลายโจรจากแหล่งปลูกในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีด้วยการเพาะเลี้ยงอับละอองเรณูในสภาพปลอดเชื้อ เมื่อศึกษาการพัฒนาของดอกเพื่อนำมาใช้เป็นชิ้นส่วนพืช พบว่าดอกที่มีการพัฒนาในระยะ tetrad อัตราสูงในช่วงอายุ 2-6 วัน หลังจากดอกปรากฏ ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงอับละอองเรณู เมื่อนำไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร NLN ที่เติมสาร BAP ที่ระดับความเข้มข้น 0 0.1 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ที่ระดับความเข้มข้น 0 0.1 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าอาหารสูตร NLN ที่เติม BAP ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีการชักนำให้เกิดแคลลัสสูงสุด และเมื่อนำอับละอองเรณูมาเพิ่มปริมาณแคล ลัสด้วยการบ่มที่อุณหภูมิต่ำ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 และ 3 วัน ต่อเนื่องด้วยการบ่มที่อุณหภูมิ 28 30 และ 32 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 2 3 และ 4 วัน พบว่าการบ่มที่อุณหภูมิต่ำ 4 องศาเซลเซียส 1 วัน ร่วมกับการบ่มที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 วัน สามารถเพิ่มปริมาณการชักนำและน้ำหนักแคลลัสของฟ้าทะลายโจรได้สูงที่สุด</p>
จินทภา อ่วมอ่ำ
ปัทมา หาญนอก
สุเทพ วัชรเวชศฤงคาร
เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
105
115
-
Effects of Dietary Supplementation of Synbiotic Bacillus subtilis and Fructooligosaccharide on Non-specific Immune Responses and Disease Resistance of Juvenile Nile Tilapia (Oreochromis niloticus)
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265208
<p> This study was aimed to evaluate the effects of synbiotics, which was created by Bacillus subtilis and fructooligosaccharide (FOS) combination on growth performances, immunity improvement, and disease resistance of Nile tilapia (Oreochromis niloticus). This study divided the trials into four groups and first trial, juvenile fish (24.5 ± 1.6 g) were fed a basal diet (G1), diets supplemented with 1 g/kg FOS + 1×109 CFU/g B. subtilis (G2), g/kg FOS + 3×109 CFU/g B. subtilis (G3) and 5 g/kg FOS + 5×109 CFU/g B. subtilis (G4) for 56 days. After the feeding trial, the complement C3 gene expressions in the liver were analyzed by a quantitative real-time reverse-transcription polymerase (qRT-PCR), lysozyme activity and respiratory burst activity. Then, fish were infected with Streptococcus agalactiae, and the survival rate was recorded for 14 days. The results showed that fish-fed diets supplemented with synbiotics had significant effect (P < 0.05) on growth performances including average daily gain (ADG) and survival rate compared with a control. Lysozyme activity and respiratory burst activity were significantly greater in the G3 and G4 groups. The gene expressions of complement C3 in the liver were significantly upregulated in tilapia fed with G4 (P < 0.05) synbiotics. And were higher disease resistance with S. agalactiae and survival rates were higher than compare with the control group.</p>
Arporn Panase
Mongkol Thirabunyanon
Jongkon Promya
Dusan Palic
Chanagun Chitmanat
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
116
126
-
ผลของการให้ขี้แดดนาเกลือและปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพทางเคมีกายภาพของผลฝรั่งพันธุ์กิมจู
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/258613
<p> ต้นฝรั่งต้องการปุ๋ยเคมีปริมาณมากที่ใช้ตั้งแต่ปลูกจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้แดดนาเกลือ) ยังไม่ค่อยมีการใช้ในการปลูกฝรั่งและมีเอกสารที่เกี่ยวข้องน้อยมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้แดดนาเกลือ) และปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลฝรั่งกิมจูสด วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ที่มีการใส่ปุ๋ย 6 กรรมวิธี (T1: ควบคุม, ไม่ใส่ปุ๋ย; T2: ปุ๋ยเคมีตามแบบเกษตรกร; T3: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 750 กรัม/ต้น; T4: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 1,000 กรัม/ต้น; T5: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 1,250 กรัม/ต้น และ T6: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 1,500 กรัม/ต้น) การตอบสนองที่ดีที่สุดสำหรับขนาดและน้ำหนักของผล คือ การได้รับปุ๋ยเคมีซึ่งช่วยให้ผลฝรั่งมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นพร้อมกับความแน่นเนื้อแน่นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามน้ำหนักผลเฉลี่ยของการใช้ขี้แดดนาเกลือที่ 1,250 และ 1,500 กรัม/ต้น ใกล้เคียงกับการให้ปุ๋ยแบบดั้งเดิมซึ่งจัดอยู่ในชั้นมาตรฐานเดียวกัน การใช้ขี้แดดนาเกลือไม่มีผลเพิ่มกรดแอสคอร์บิกและความเป็นกรดที่ไทเทรตได้เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี แต่เพิ่มความหวานอย่างมีนัยสำคัญซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ที่อัตรา 1,500 กรัม/ต้น</p>
บุญชาติ คติวัฒน์
ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส
กิตติมา ลีละพงศ์วัฒนา
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
127
137
-
ระบบการผลิตถั่วลิสงและความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วลิสงของเกษตรกรในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/258775
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาระบบการผลิตถั่วลิสงในอำเภอภูเวียง และ 3) ศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตถั่วลิสง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากผู้ปลูกถั่วลิสงในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นในฤดูการผลิต ปี 2563/2564 จำนวน 125 ราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า อำเภอภูเวียง มีเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอายุเฉลี่ย 56.9 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกถั่วลิสง 5-10 ปี ในการปลูกถั่วลิสง ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก เกษตรกรมีรายได้จากถั่วลิสงเฉลี่ย 7,806 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.6 ของรายได้ทั้งหมด ในการผลิตถั่วลิสง แบ่งเป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูแล้ง มีผลผลิตเฉลี่ย 216.74 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้สุทธิ 2,575.85 บาทต่อไร่ และฤดูฝน มีผลผลิตเฉลี่ย 196.41 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้สุทธิ 2,135.80 บาทต่อไร่ ความต้องการการส่งเสริมการผลิต พบว่า ไม่พบประเด็นการส่งเสริมในระดับมาก แต่มี 4 ประเด็นที่มีความต้องการในการส่งเสริมการผลิตถั่วลิสงอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อการผลิตถั่วลิสง การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี การป้องกันและกำจัดโรคและแมลง และการวางแผนการผลิตถั่วลิสง ประเด็นปัญหาหลักที่พบในการผลิตถั่วลิสง คือ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่ำ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่ดี และการจัดการโรคและแมลงในแปลงถั่วลิสง ผลผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับการแปรรูป จึงส่งผลให้ผลผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการแปรรูปและถั่วลิสงขาดแคลนในพื้นที่</p>
ขนิษฐา อินอิ่ม
สุกัลยา เชิญขวัญ
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
138
150
-
ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรเพื่อสร้างนวัตกรรมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/265209
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 2) ความรู้ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมของเกษตรกรในพื้นที่ประเทศไทย และ 3) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมต่อระดับการปฏิบัติมาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรเพื่อการสร้างนวัตกรรมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมพื้นที่ประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 53.26 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีสถานะสมรสเป็นส่วนใหญ่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1-4 คน ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 10.85 ปี พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 1-10 ไร่ ผลผลิตจากการปลูกเฉลี่ย 4,959.78 ลูก/ไร่/ปี รายได้จากการจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 42,706.52 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่การใช้แรงงานในครอบครัว แหล่งเงินทุนส่วนตัวมีช่องทางรับข่าวสารจากบุคคล/เพื่อน/ญาติ และความรู้ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีระดับการศึกษา และสถานภาพ มีการใช้มาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างนวัตกรรมการปลูกมะพร้าวน้ำหอมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนการใช้มาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างนวัตกรรมการปลูกมะพร้าวน้ำหอมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัญหาที่พบเรื่องโรค และแมลงศัตรูมะพร้าวน้ำหอมและขาดแคลนแรงงานในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม สำหรับมาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรยังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือในการปลูกมะพร้าวน้ำหอม</p>
วัชรพล ประทุมทอง
ชลาธร จูเจริญ
สุภาภรณ์ เลิศศิริ
สุพัตรา ศรีสุวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
151
159
-
การยอมรับเทคโนโลยีและส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเจเนอเรชั่น C จังหวัดเชียงใหม่
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/263274
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ 2) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การยอมรับเทคโนโลยี ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ เจเนอเรชั่น C ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ<br /> ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 27 ปี การศึกษา ระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นนิสิต/นักศึกษา มีรายได้รายเดือนไม่เกิน 10,000 บาท พฤติกรรมการซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ ซื้อสินค้าจากต่างจังหวัดที่ตนพักอาศัย ซื้อสินค้าในช่วงเวลาที่ต้องการซื้อ ประเภทของสินค้าที่ซื้อ คือ อาหาร ครอบคลุมไปถึงอาหารสดและอาหารแห้ง เลือกซื้อสินค้าที่ตราผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายของสินค้า ซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์จากแอปพลิเคชัน Facebook ความถี่ในการซื้อ จำนวน 1-2 ครั้ง/เดือน ราคาโดยเฉลี่ยในการซื้อน้อยกว่า 1,000 บาท เลือกซื้อสินค้าในช่วงวันเสาร์-วันอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เองส่วนตัว ใช้เวลาตัดสินใจหลังรับข้อมูล (ภาพ, ข้อความ, เสียง) ภายใน 1 วัน ช่องทางการชำระเงินชำระผ่านระบบธนาคารออนไลน์ e-Banking หรือ แอปพลิเคชันของธนาคาร ช่องทางการรับสินค้าผ่านบริษัทขนส่งเอกชน ส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยตนเอง<br /> พฤติกรรมการใช้ 5C’s ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.00) การยอมรับเทคโนโลยี ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.16) ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ในภาพรวมพบว่ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.14) สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น C ในจังหวัดเชียงใหม่ มีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงบวก ได้แก่ พฤติกรรมผู้บริโภค (5C’s) (P = 0.000) การยอมรับเทคโนโลยี (P = 0.000) และส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (P = 0.000) ปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบได้แก่ อายุ (P = 0.019) และระดับการศึกษา (P = 0.040)</p>
กังสดาล กนกหงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-28
2024-11-28
6 3
160
171