วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju <p> วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือ Maejo Journal of Agricultural Production (mJAP) จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ของนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกสถาบัน มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ โดยกำหนดออกในเดือนเมษายน สิงหาคม และ ธันวาคมของทุกปี โดยเริ่มตีพิมพ์ฉบับแรก (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) ในเดือนเมษายน 2562</p> <p> รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) แบบเนื้อหาสั้น (Short communication) รวมถึงบทความประมวลความรู้เชิงวิเคราะห์ (Review article) หรือบทความปริทัศน์ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้วกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access) มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,500 บาท ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ดังกล่าว จะไม่ได้รับคืนไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ และไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณภาพเพื่อตอบรับการตีพิมพ์เนื้อหาบทความในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจอ่าน คณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้</p> <p><span data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Journal of Agricultural Production (JAP) เป็นวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviews) ตรวจทานก่อนได้รับการตีพิมพ์ จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รับบทความวิชาการและวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่เป็นระบบไตรมาส (ปีละ 3 ฉบับ) โดยฉบับที่ 1 ตีพิมพ์ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม ของทุกปี แต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความไม่น้อยกว่า 8 เรื่อง รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา โดยบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access)&quot;}" data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:513,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;12&quot;:0}"><br /><strong>อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ</strong><br /></span></p> <table class="table table-bordered"> <thead> <tr> <th>ค่าธรรมเนียม</th> <th>แบบปกติ</th> <th>แบบเร่งด่วน (Fast Track)</th> </tr> </thead> <tbody> <tr> <td>อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ<br />วารสารผลิตกรรมการเกษตร</td> <td align="center">3,500</td> <td align="center">7,000<br />(ชะลอการรับบทความ)</td> </tr> </tbody> </table> <p><strong><em>***เริ่มต้นเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบทความที่ส่งเข้ามาหลังวันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป***</em></strong></p> <p><a href="http://jap.mju.ac.th/file/Fee.pdf" target="_blank" rel="noopener"><strong>ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ</strong></a></p> th-TH [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ) [email protected] (สำนักงานวารสารผลิตกรรมการเกษตร (mJAP Team)) Wed, 17 Apr 2024 13:30:59 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262877 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาระดับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักของเกษตรกรที่มี ต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่แจ่ม จำนวน 191 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัม ภาษณ์ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 - เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.26 ปี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 21.05 ปี เกษตรกร มีรายได้ทั้งหมดในครัวเรือนเฉลี่ย 75,607.85 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 70,088.48 บาท ทั้งนี้เกษตรกรมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงเฉลี่ย 2.40 ครั้งต่อเดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตรเฉลี่ย 1.32 ครั้งต่อปี และเกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเฉลี่ย 0.67 ครั้งต่อปี นอกจากนั้นเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 16.95 โดยภาพรวมเกษตรกรมีความตระหนักต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงอยู่ในระดับเฉย ๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง ได้แก่ เพศ และอายุ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ข่าวสารมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ</p> เหมือนฝัน อุประ, ณฐิตากานต์ พยัคฆา, ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล, ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262877 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262886 <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ จำนวน 191 ราย ซึ่งได้จากคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลากรายชื่อ เก็บรวบ รวมข้อ มูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีความเชื่อมั่นที่ 0.99 ร่วมกับการจัดสนทนากลุ่มตัวแทนกลุ่มเกษตรกร และการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อ มูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร่วมกับการใช้เทคนิค SWOT analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรมีจุดแข็ง คือ การมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนมีการสร้างค่านิยมการออมทรัพย์ให้กับสมาชิก และมีการใช้กลยุทธ์ตลาดนำการผลิต จุดอ่อน คือ คณะกรรมการส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการบริหารจัดกลุ่ม และผลผลิตข้าวอินทรีย์ ของเกษตรกรบางรายยังไม่ผ่านการรับรองมาตร ฐานข้าวอินทรีย์ โอกาสพบว่าจังหวัดพะเยากำหนดยุทธศาสตร์ให้อำเภอจุนเป็นแหล่งการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก ตลอดจนความต้องการข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและอุปสรรค คือ นโยบายส่งเสริมข้าวอินทรีย์ของภาครัฐไม่มีความชัดเจนและต่อเนื่อง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการและให้ความสำคัญกับกระบวนการกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านการผลิตและการตลาด ตลอดจนการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ไปพร้อมกัน</p> อัญชลี ปัญญากวาว, ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล, สุรพล เศรษฐบุตร, วรทัศน์ อินทรัคคัมพร Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262886 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262937 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมบางประ การของผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิต อะโวคาโดตามมาตรฐานหลักการ เกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของผู้ปลูกอะโวคาโดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากเกษตรกรที่เป็น สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ อะโวคาโด จำนวน 148 คน วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มี อายุเฉลี่ย 46.09 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแรงงานเกษตรภายในครอบครัวเฉลี่ย 2.90 คน และแรงงานที่ใช้ในการผลิตอะโวคาโดเฉลี่ย 3.62 คน มีประสบ การณ์ในการปลูกอะโวคาโดเฉลี่ย 4.55 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 9.18 ไร่ และมีรายได้จากการขายอะโวคาโดต่อพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 2,479.20 บาทต่อไร่ ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจาก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ย 3.07 ครั้งต่อปี และมีการติดต่อกับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 3.74 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 10.11 คะแนน และเกษตรกรไม่แน่ใจต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.14 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร พบว่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การเข้ารับการฝึกอบรม และระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 แรง งานที่ใช้ในการผลิต อะโวคาโด และการถือครองที่ดินและพื้นที่ปลูกมีผลต่อการยอมรับการผลิตอะโวคาโดตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม</p> นภัสสร เนื่องกลิ่น, จุฑาทิพย์ เฉลิมผล, รุจ ศิริสัญลักษณ์, ธนะชัย พันธ์เกษมสุข Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262937 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของอนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพของผลส้มในต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262887 <p> จากการศึกษาการใช้ซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพของผลส้มในต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการใช้แอมพิซิลลิน ทำการทดลอง ณ สวนส้ม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลอง แบบ Completely randomized design (CRD) มี 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ต้น ประกอบด้วย การฉีดแอมพิซิลลิน ความเข้มข้น 15,000 ppm และการฉีดซิลเวอร์นาโน ความเข้มข้น 30, 60, 90, 120 และ 300 ppm ผลการทดลองพบว่า หลังการฉีดซิลเวอร์นาโน ความเข้มข้น 300 ppm ส่งผลให้ต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งมีอัตราการร่วงของผลเพียง 6.98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นรอบวง น้ำหนักสด ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) อัตราส่วนของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) และวิตามินซีภายในผล พบว่า การฉีดแอมพิซิลลินและซิลเวอร์นาโนในทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยการใช้ซิลเวอร์นาโน ความเข้มข้น 90 ppm มีแนวโน้มให้ผลใกล้เคียงกับการใช้แอมพิซิลลินจากการทดลองจะเห็นได้ว่าการใช้ซิลเวอร์นาโนอาจเป็นตัวเลือกสำหรับการรักษาต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งได้ในอนาคต</p> อำพล สอนสระเกษ, นพพร บุญปลอด, ระพีพันธ์ แดงตันกี, Wolfram Spreer, ประนอม ยังคำมั่น, ดรุณี นาพรหม Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262887 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/254536 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามโดยเก็บจากผู้เคยซื้อข้าวอินทรีย์ของตำบลลวงเหนือ จำนวน 400 คน ใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละในการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ และใช้ Pearson Chi Square ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด ได้แก่ ซื้อเดือนละครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค ซื้อ 2-6 วันต่อครั้ง ซื้อเพราะอยากลองชิม สถานที่ซื้อที่ตลาดนัดในตำบล ซื้อตามช่องทางที่เพื่อนบอก ซื้อ 1-5 กิโลกรัมต่อครั้ง ซื้อแบบตักเป็นกิโล ซื้อที่ราคามากกว่า 35 บาทต่อกิโลกรัม และเต็มใจที่จ่ายที่ราคา 41-50 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ อาชีพสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค และลักษณะการซื้อ ที่อยู่อาศัยสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค ลักษณะการซื้อ และราคาที่ซื้อ อายุและรายได้สัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค ปริมาณการซื้อ ลักษณะการซื้อ และราคาซื้อ ส่วนการศึกษาและสถานภาพสมรสสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อ ความถี่ในการบริโภค ลักษณะการซื้อ และราคาซื้อ ข้อเสนอแนะเพื่อการวางแผนการตลาด ได้แก่ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดนัดท้องถิ่น การกำหนดราคาที่หลากหลายตามพื้นที่ใกล้และไกลและกำลังซื้อของคนทุกกลุ่ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่กำหนดปริมาณได้ น้ำหนักน้อย และเก็บได้นาน</p> เกศสุดา สิทธิสันติกุล, บัญจรัตน์ โจลานันท์, จรีวรรณ จันทร์คง Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/254536 Fri, 09 Feb 2024 00:00:00 +0700 ผลของระยะเวลาเก็บเกี่ยวและสภาพการเก็บรักษาที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/254931 <p> การศึกษาผลของระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์สุวรรณ 5819 วางแผนการทดลองแบบ split-split plot in completely randomized design จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยหลัก คือ 2 สภาพการเก็บรักษาที่ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 45 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิห้อง ปัจจัยรอง คือ ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 6 ระยะ และ ปัจจัยย่อย คือ ระยะเวลาเก็บรักษา 7 ระยะที่ 0 2 4 6 8 10 และ 12 เดือน พบว่า การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 45 เปอร์เซ็นต์ มีความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุสูงกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์สุวรรณ 5819 ทุกระยะเวลาเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 45 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 12 เดือน ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สุวรรณ 5819 ที่เก็บเกี่ยวที่ 39 และ 44 – 64 วันหลังออกไหม สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นาน 4 และ 6 เดือน โดยยังคงมีความงอกและความแข็งแรงสูงกว่า 90 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ</p> ใยไหม ช่วยหนู, ณัฐวุฒิ นิสสัย, ประเสริฐ ถาหล้า, กัณทิมา ทองศรี, สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/254931 Fri, 09 Feb 2024 00:00:00 +0700 การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262890 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี การปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน จำนวน 235 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า (Enter multiple regression analysis)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.63 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.76 คน มีแรงงานในการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 8.17 คน มีพื้นที่ถือครองที่ดินในครัวเรือน เฉลี่ย 14.11 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 147,131.91 บาทต่อปี มีจำ นวน หนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 249,208.51 บาท มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 13.68 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2.76 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 5.52 ครั้งต่อปี มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 5.10 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร และ มีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน (Sig.=0.000) และทางบวก ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดหวาน (Sig.=0.023)</p> <p> เกษตรกรประสบปัญหาในการปลูกข้าวโพดหวาน คือ 1) ปัญหาโรคและแมลง ซึ่งการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการปลูกข้าวโพดหวาน 2) การได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และ 3) ราคาผล ผลิตต่ำในการรับซื้อของบริษัทและจำนวนการรับซื้อของบริษัทที่ลดลง โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้</p> <p> 1) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสารกำจัดศัตรูพืชแบบชีวภาพ และลดการใช้การเคมี 2) ควรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ และ 3) การกำหนดราคาที่เป็นราคากลางในการรับซื้อผลผลิตทั้งหมด</p> ณรงค์ฤทธิ์ วงษ์แย้ม, นคเรศ รังควัต, พุฒิสรรค์ เครือคำ, ปิยะ พละปัญญา Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262890 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262891 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมบางประการ และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ 2) ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เลี้ยงไก่ไข่จังหวัดเชียงใหม่ 317 คน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้แบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (78.2%) อายุเฉลี่ย 47.46 ปี สมรสแล้ว จบปริญญาตรี มีสมาชิกครัวเรือน 4.47 คน แรงงาน 4.85 คน รายได้ 66,754.89 บาทต่อเดือน รายได้จากไข่ไก่ 61,280.75 บาทต่อเดือน จากมูลไก่ไข่ 2,436.27 บาทต่อเดือน จากไก่ไข่ปลดระวาง 3,037.85 บาทต่อเดือน หนี้สินเฉลี่ย 174,889.59 บาท พื้นที่ 7.55 ไร่ จำนวนไก่ไข่เฉลี่ย 27,260.23 ตัว ประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่ 17.58 ปี รับรู้ข่าวสารการเลี้ยงไก่ไข่จากการอบรม และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้านสุขภาพสัตว์ ติดต่อกับผู้ค้าสมาคมไก่ไข่ 8.06 ครั้งต่อปี มีความรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่อยู่ในระดับมาก ความต้องการในการส่งเสริมเฉลี่ย 2.72 อยู่ในระดับปานกลางพบ 12 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ (61.70%) คือจำนวนไก่ไข่ในฟาร์ม หนี้สิน ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ เพศ การศึกษา แรงงาน การติดต่อเจ้าหน้าที่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ สมาชิกในครัวเรือน การติดต่อกับผู้ค้าสมาคมไก่ไข่ และอายุ เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง มีข้อเสนอแนะจากเกษตรกรว่าควรจัดอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ และมีการตรวจสุขภาพไก่ไข่สม่ำเสมอ</p> กชพร ธาราสมบัติ, นคเรศ รังควัต, พุฒิสรรค์ เครือคำ, สายสกุล ฟองมูล Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262891 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262894 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การปฏิบัติในการประเมินศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 297 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นรายบุคคล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.89 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา หรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรส โดยมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.42 คน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.98 คน มีรายได้จากการเข้าร่วมประกอบกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 75,409.09 บาทต่อปี มีรายได้นอกเหนือจากการเข้าร่วมประกอบกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุม ชน 120,929.63 บาทต่อปี โดยมีรายได้จากการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุม ชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 13.23 ครั้งต่อปี โดยรับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นหลัก ได้รับการส่งเสริมในเรื่องการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1.30 ครั้ง ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาได้เข้ารับการอบรมเรื่องการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 1.05 ครั้ง ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน 1.42 ครั้ง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ยที่ 5.94 ปี และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนมากไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมากโดยปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรส และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน </p> <p> สำหรับปัญหาในการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน คือ ผู้นำมีภา ระงานมากส่งผลให้การบริหารเวลาไม่มีประสิทธิภาพ, ผู้นำและสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยขาดความรู้และความเข้าใจในหลักเกณฑ์การประ เมินและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิด ปัญหาในการรวมกลุ่มเพื่อวางแผนร่วมกันและไม่มีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1) หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องควรจัดอบรม/ชี้แจง ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญ ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และประโยชน์ที่ได้จากการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน 2) ผู้นำ/คณะกรรมการกลุ่มควรอธิบายหลักเกณฑ์การประเมินให้สมาชิกเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนทำการประ เมิน 3) ให้มีการประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์</p> เกษร อักษรรัตน์, กังสดาล กนกหงษ์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์ Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262894 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262897 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อ ในด้านความรู้และการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 309 ราย โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้และการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกร โดยสถิติถดถอยพหุคูณ โดยมีตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อด้านความรู้ตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัวแปรมีอิทธิพลต่อความรู้ของเกษตรกรอยู่ร้อยละ 41.8 (R2 = 0.418)โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้ง หมด 4 ปัจจัยได้แก่ ระดับการศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ การเข้าร่วมฝึกอบรม มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติได้ตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัวแปร มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติของเกษตรกรอยู่ร้อยละ57.10 (R2 = 0.571) ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งหมด 5 ปัจจัยได้แก่ ระดับการศึกษารายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อ การเข้าร่วมการฝึกอบรม ประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อ มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 ส่วนการได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.05</p> ทะนูสิน กันดี, พหล ศักดิ์คะทัศน์, กังสดาล กนกหงษ์, สายสกุล ฟองมูล Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262897 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของหน่อกะลา ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262899 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม 2) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกหน่อกะลาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย 3) ความคิดเห็นต่อการขึ้นทะ เบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมกับความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกหน่อกะลาในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 123 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.71 ปี การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาระยะเวลาที่ปลูกหน่อกะลาเฉลี่ย 10.76 ปี ขนาดพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 0.81 ไร่ ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 160.44 กิโลกรัมต่อปี รายได้จากการจำหน่ายเฉลี่ย 13,572.36 บาทต่อปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกหน่อกะลาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยในระดับมากเฉลี่ย 26.63 คะแนน และมีความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิ ศาสตร์ไทยโดยรวมในระดับมาก<br />เฉลี่ย 2.97 คะแนน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระยะเวลาที่ปลูกหน่อกะลาและขนาดพื้นที่ปลูกมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ความรู้เกี่ยวกับการปลูกหน่อกะลาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ปัญหาที่พบคือ เกษตรกรขาดความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ </p> เกศสุรีย์ เปียงสืบ, ชลาธร จูเจริญ, สุภาภรณ์ เลิศศิริ Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262899 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลทางอัลลีโลพาธีของสารสกัดปืนนกไส้ (Bidens pilosa L.) ต่อการงอกและการเจริญของต้นอ่อนข้าววัชพืช (Oryza sativa f. spontanea Roshev.) และไมยราบเลื้อย (Mimosa diplotricha C.Wright ex Sauvalle) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262901 <p> การศึกษาครั้งนี้ได้นำ ปืนนกไส้ (Bidens pilosa L.) วัชพืชในวงศ์ Asteraceae มาศึกษาผลต่อการงอกและการเจริญของต้นอ่อนข้าววัชพืช (Oryza sativa f.spontanea Roshev.) และไมยราบเลื้อย (Mimosa diplotricha C.Wright ex Sauvalle) โดยสกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิด ได้แก่ เอทานอล 80% และไดคลอโรมีเทน ใช้สารสกัด 4 ความเข้มข้น (5, 10, 25 และ 50 mg mL-1) ทดสอบกับเมล็ดวัชพืชทดสอบทั้ง 2 ชนิด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design; CRD) และทำการทดลองทั้งหมด 4 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้เมล็ดพืชทดสอบ 25 เมล็ด สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นับจำนวนเมล็ดที่งอก <br />วัดความยาวลำต้นและราก คำนวณดัชนีความแข็งแรงของต้นกล้าเปอร์เซ็นต์การงอก และเปอร์เซ็นต์การยับยั้งความยาวลำต้นและราก</p> <p> จากการทดลองพบว่า สารสกัดเอทานอล 80% ความเข้มข้น 50 mg mL-1 สามารถยับยั้งการงอกและการเจริญของต้นอ่อนข้าววัชพืชได้ดีที่สุด คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับ ยั้งความยาวลำต้นและรากเท่ากับ 66.39% และ 85.96% ตามลำดับ แต่เมื่อทดสอบกับไมยราบเลื้อยพบว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทน 50 mg mL-1 สามารถยับยั้งการงอกและการเจริญของต้นอ่อนไมยราบเลื้อยได้ดีที่สุดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งความยาวลำต้นและรากเท่ากับ 95.14% และ 83.80% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า สารอัลลีโลเคมิคอลในปืนนกไส้ที่ยับยั้งการงอกและการเจริญของข้าววัชพืชและไมยราบเลื้อยอาจเป็นสารคนละกลุ่ม ซึ่งผลการทดลองที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ทางอัลลีโลพาธีจากปืนนกไส้ เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดวัชพืชในอนาคต</p> พรธิตา เดชโคบุตร, กุลชา ชยรพ Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262901 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการเสริมผงเปลือกมะนาวในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262910 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ผงเปลือกมะนาวต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของไก่ไข่ที่อายุแตกต่างกันสองอายุ การทดลองที่ 1 ศึกษาการเสริมผงเปลือกมะนาวต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของไก่ไข่อายุ 22 สัปดาห์ (สายพันธุ์อีซ่าบราวน์) งานวิจัยนี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) ใช้ไก่ไข่จำนวน 200 ตัว แบ่งไก่ทดลองออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ไก่กลุ่มควบคุม (กลุ่ม 1, control group) ได้รับอาหารทดลองสำเร็จ รูปชนิดผงที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 17% ส่วนไก่ทดลองกลุ่ม 2-4 ได้รับอาหารสำเร็จรูปเสริมผงเปลือกมะนาวระดับ 10, 12.5 และ 15 กรัม/กิโลกรัม ทดลองเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ การทดลองที่ 2 ศึกษาการเสริมผงเปลือกมะนาวต่อปริมาณแคลเซียมในเปลือกไข่ ของไก่ไข่อายุ 73 สัปดาห์ (สายพันธุ์ไฮไลน์บราวน์) ไก่ไข่ จำนวน 160 ตัว แบ่งไก่ทดลองออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ได้รับอาหารทดลองเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 ปรากฏว่าปริมาณอาหารที่กินของไก่ไข่ที่ได้รับอาหารผสมผงเปลือกมะนาวมีปริมาณอาหารที่กินลดลงทุกระดับ ไก่กลุ่มที่ได้รับการเสริมผงเปลือกมะนาวระดับ 10 กรัม/กิโลกรัม มีค่าต่ำสุด (P&lt;0.05) ไข่ ของไก่ที่ได้รับอาหารผสมผงเปลือกมะนาวที่ระดับ 15 กรัม/กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในไข่สูงที่สุด แต่ระดับโปรตีนในไข่ขาว พบมีค่าสูงในไก่ที่ได้รับอาหารผสมผงเปลือกมะนาวที่ระดับ 0 และ 10 กรัม/กิโลกรัม และคอเลสเตอรอลรวมมีค่าต่ำสุดในไข่ไก่กลุ่มควบคุม (P&lt;0.05) ระดับแคลเซียมในเปลือกไขมีค่าสูงที่สุดในกลุ่มควบคุม (P&lt;0.05) แต่ ความหนาของเปลือกไข่ของไข่ไก่กลุ่มควบคุมมีค่าต่ำที่สุด (P&gt;0.05) จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการเสริมผงเปลือกมะนาวสำหรับไก่ไข่ทุกระดับไม่ส่งผลเชิงลบต่อสมรรถนะการผลิตยกเว้นปริมาณอาหารที่กินได้ลดลง ส่วนคุณภาพไข่ระดับที่เหมาะสมต่อการใช้คือที่ระดับ 10 กรัม/กิโลกรัม เนื่องจากเป็นระดับการใช้ต่ำสุดที่ส่งผลให้เปลือกไข่หนาขึ้น ส่งผลดีต่อค่าโปรตีนในไข่แดงเพิ่มขึ้น (P&gt;0.05)</p> สำรวย มะลิถอด, สมาวรรณ์ หล่ำหุ่น, สโรชา ตนุเลิศ, เจนตินา แต้มเรืองอิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262910 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี จังหวัดหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/257279 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 2) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการดำเนินการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าต้นน้ำ จำนวน 208 ครัวเรือน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำและใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามากที่สุด ค่าน้อยที่สุดค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูป่า โดยร่วมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 96.23 ในนั้นมากที่สุดคือ กิจกรรมการปลูกฟื้นฟูป่า ร้อยละ 98.10 ส่วนจำนวนครั้งที่เข้าร่วมเฉลี่ย 7.86 ครั้งต่อปี และปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการฟื้นฟูป่าประกอบมี 3 ด้าน คือ ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และปัญหาขาดเครื่องมือที่ใช้ในการฟื้นฟูป่า ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการฟื้นฟูป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี คือการสนองงบประมาณ และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการฟื้นฟูป่า</p> บุญเชี่ยน เพชลำพัน, พหล ศักดิ์คะทัศน์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, กังสดาล กนกหงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/257279 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 การรับรู้สารสนเทศทางการเกษตรผ่านสื่อของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262906 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาพฤติกรรมในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรผ่านสื่อของเกษตรกร 3) ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อด้านความเหมาะสมของเนื้อหาข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและทัศนคติที่มีต่อสื่อของเกษตรกร 4) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกรจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 400 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีจำนวนสมาชิกและแรงงานในครัวเรือน 1-2 คน และมีที่ดินทำกินประมาณ 1-5 ไร่ต่อครัวเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแล้ว 1-10 ปี ฝึกอบรมด้านการเกษตรปีละ 1-2 ครั้ง มีการติดต่อ พบปะเจ้าหน้าที่เกษตร มาเยี่ยมเยือนปีละประมาณ 1-2 ครั้ง พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรของเกษตรกร ผ่านสื่อประเภทบุคคล เช่น จากการประชุม บรรยายเกี่ยวกับข้อมูลด้านการผลิตพืช รับข่าวสาร 1-5 ครั้งต่อเดือนจากการอ่านหนังสือบทความเกี่ยวกับวิชาการใหม่ เกษตรกรรับชมช่อง Thai PBS เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ เกือบทุกวัน ส่วนสื่อออนไลน์ เกษตรกรใช้ Youtube มากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อหาการผลิตพืช</p> <p> ส่วนการรับรู้ความเหมาะสมของเนื้อหาและข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรจากสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้ง 6 ประเภทได้แก่ สื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่รัฐ) สื่อบุคคล (ภาคเอกชน) วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ พบว่าในภาพรวมมีระดับการรับรู้ปานกลาง โดยระดับการรับรู้ด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยมาก คือ สื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่รัฐ) รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ สื่อบุคคล (ภาคเอกชน) สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุ และน้อยที่สุดคือ สื่อสิ่งพิมพ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกรพบว่า ระดับการศึกษา สื่อบุคคล สถานภาพ จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร และความถี่ในการรับสื่อ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรโดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000, 0.001, 0.002, 0.0015 และ 0.0016 ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%</p> <p> ปัญหาในการเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ทำให้เป็นอุปสรรคในการอ่านข้อมูลข่าวสาร ประกอบกับพื้นที่มีจุดให้บริการข่าวสารด้วยสื่อสิ่งพิมพ์น้อยส่วนของโทรทัศน์ เกษตรกรไม่ทราบเวลาออกอากาศรายการเกษตร</p> <p> </p> ภัสสรา สุขกาญจนะ, นคเรศ รังควัต, พุฒิสรรค์ เครือคำ, ปิยะ พละปัญญา Copyright (c) 2024 วารสารผลิตกรรมการเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/262906 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700