https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/issue/feed
วารสารเกษตร
2023-09-29T00:00:00+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐา โพธาภรณ์
agjournal22@gmail.com
Open Journal Systems
<p> "<strong>วารสารเกษตร</strong>" เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br /> โดยวารสารออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) เพื่อเผยแพร่<br /> ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตร และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภายในและภายนอก<br /> มหาวิทยาลัย</p> <p> <br /><strong> <a href="https://tci-thailand.org/" target="_blank" rel="noopener">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a></strong></p> <p><strong> </strong><strong><a href="https://www.kmutt.ac.th/jif/Impact/impact_s.php" target="_blank" rel="noopener">Thai-Jounal Impact factor ประจำปี 2561 = 0.701</a></strong></p>
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257576
ผลของการเสริมยีสต์ที่มีวิตามินดีสูงต่อผลผลิตน้ำนม องค์ประกอบน้ำนม และระดับไขมันในกระแสเลือดในโคนม
2023-01-16T20:40:50+07:00
ปฏิภาณ หน่อแก้ว
patipanhnokaew@gmail.com
อภิชาติ ศรีภัย
apichart.s@cmu.ac.th
สิริพร อ่ำสุข
siriporn130237@gmail.com
ประหยัด ทิราวงศ์
agrpyt@ku.ac.th
เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ
saowaluck.y@cmu.ac.th
<p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อประเมินผลของการเสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงต่อผลผลิตน้ำนม องค์ประกอบน้ำนม และระดับไขมันในกระแสเลือดในโคนม โดยใช้โคนมลูกผสมสายพันธุ์ Holstein Friesian อายุ 3.0 ± 0.5 ปี, น้ำหนักตัว 420.0 ± 35.0 กิโลกรัม ช่วงระยะการให้น้ำนม 95.0 ± 15.0 วัน ให้น้ำนม 11.5 ± 2.5 กิโลกรัมต่อวัน จำนวน 6 ตัว วางแผนการทดลองแบบ Latin square design 3 x 3 replicated แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเสริมยีสต์ (T1) กลุ่มที่เสริมยีสต์มีชีวิต 5 กรัมต่อตัวต่อวัน (T2) และกลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง (160,000 IU/ตัว/วัน) 5 กรัมต่อตัวต่อวัน (T3) จดบันทึกปริมาณผลผลิตน้ำนมทุกวัน เก็บตัวอย่างน้ำนมในวันที่ 21 ของแต่ละระยะการทดลอง และเก็บตัวอย่างเลือดในวันที่ 0, 7, 14 และ 21 ของแต่ละระยะการทดลอง เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำนม วิตามินดีในน้ำนม และระดับไขมันในกระแสเลือด พบว่า กลุ่ม T2 และ T3 มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนมสูงกว่ากลุ่ม T1 (4.12 และ 4.15 เทียบกับ 3.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> < 0.05) ปริมาณวิตามินดีในน้ำนมของกลุ่ม T3 สูงกว่ากลุ่ม T1 และ T2 (646.84 เทียบกับ 523.82 และ 552.31ng/L ตามลำดับ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> < 0.05) นอกจากนี้ กลุ่มที่เสริมยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูง มีปริมาณ 25-hydroxyvitamin D ในกระแสเลือดในวันที่ 7, 14 และ 21 ของการทดลองสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> < 0.05) ดังนั้น การใช้ยีสต์ที่มีปริมาณวิตามินดีสูงเสริมร่วมกับอาหารโคนมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตน้ำนม เปอร์เซ็นต์ไขมันและปริมาณวิตามินดีในน้ำนม</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257945
ผลของการเสริมใบกระท่อมแห้งและยีสต์ (<I>Candida tropicalis</I> KKU20) ในอาหารผสมสูตรรวมต่อ ปริมาณการกินได้ กระบวนการหมัก และประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของแพะ
2023-02-15T14:47:33+07:00
Soklin Va
porlim12345@gmail.com
ชนะดล สุภาพงษ์
chanadol.s@rmutsv.ac.th
ปิ่น จันจุฬา
pin.c@psu.ac.th
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมยีสต์ (<em>Candida tropicalis </em>KKU20) (yeast, Y) 2 ระดับ (0 และ 0.5 กรัมต่อกิโลกรัมวัตถุแห้ง และใบกระท่อมแห้ง (dried Kratom leaves, DKTL) 2 ระดับ (0 และ 4.44 กรัมต่อกิโลกรัมวัตถุแห้ง) ในอาหารผสมสูตรรวมต่อปริมาณการกินได้ กระบวนการหมัก และประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนของแพะ โดยศึกษาในแพะน้ำหนักเฉลี่ย 20 ± 0.13 กิโลกรัม โดยจัดทรีทเมนต์แบบ 2 x 2 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบ 4 x 4 จัตุรัสละติน แพะได้รับอาหารผสมสูตรรวมที่มีระดับยีสต์ และใบกระท่อมแห้ง ในสูตรอาหาร 4 สูตร T<sup>1</sup>= 0Y-0DKTL, T<sub>2</sub> = 0Y- 4.44DKTL, T<sub>3</sub> = 0.5Y- 0DKTL และ T<sub>4</sub> = 0.5Y- 4.44DKTL ตามลำดับ ให้แพะได้รับอาหารผสมสูตรรวมอย่างเต็มที่ ผลการทดลองพบว่า แพะกลุ่มที่ไม่เสริมยีสต์ (0 g/kg DM Y) มีค่าปริมาณการกินได้ทั้งหมด (g/d and g/kg BW <sup>0.75</sup>) และความเข้มข้นของกรดโพรพิโอเนตต่ำกว่ากลุ่มอื่น (<em>P</em> < 0.05) ยกเว้นมีค่าอะซิเตทและสัดส่วนของอะซิเตทและรวมกับบิวทีเรตต่อโพรพิโอเนตสูงกว่า (<em>P</em> < 0.05) และกลุ่มที่เสริม 4.44 g/kg DM ใบกระท่อมแห้ง มีค่าประชากรโปรโตซัวต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เสริมใบกระท่อมแห้ง (<em>P</em> < 0.01) ขณะที่ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน และประชากรจุลินทรีย์ (แบคทีเรีย และประชากรสปอร์เชื้อรา) มีค่าไม่แตกต่างกัน (<em>P </em>> 0.05) จากผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้ยีสต์ (0.5 กรัมต่อกิโลกรัมวัตถุแห้ง) ร่วมกับใบกระท่อมแห้ง (4.44 กรัมต่อกิโลกรัมวัตถุแห้ง) ในอาหารผสมสูตรรวมของแพะ</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258475
ผลของการเสริมสารสกัดกัญชงในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อโคแช่แข็ง ต่อคุณภาพของอสุจิหลังการละลาย
2023-03-31T15:16:59+07:00
กรัณฑรัตน์ ในเวียง
karantarat2315@gmail.com
วาที คงบรรทัด
Wateenaka@gmail.com
พชรพร ตาดี
Phacharaporn.boonkhot@gmail.com
ตะวัน ฉัตรสูงเนิน
Tawan@mju.ac.th
วรรณลักษณ์ ถาวร
Wannaluk.333@gmail.com
พัชรี พรมตัน
Patcharee.somruk@gmail.com
วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์
wpattanawong@gmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสารสกัดกัญชงในน้ำยาแช่แข็งน้ำเชื้อโคต่อคุณภาพอสุจิโคหลังการละลาย โดยมีน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อโคพื้นฐานที่ใช้ไข่แดง (Tris-egg yolk: EG) เป็นกลุ่มควบคุม แบ่งออกเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 การทดสอบการเปลี่ยนแปลงของค่าความดันออสโมติกของน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อโคที่เสริมสารสกัดกัญชงที่ระดับ 5, 10, 50 และ 100 µg CBD/mL ตามลำดับ ในการเก็บรักษาน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อโคที่อุณหภูมิ 4องศาเซลเซียส ระยะเวลาการเก็บรักษาที่ 0, 12, 24, 48, 72, 96, 120, 144 ชั่วโมง และ 1 สัปดาห์ พบว่า ค่าความดันออสโมติกของทุกกลุ่มการทดลองมีค่าความดันออสโมติกที่เหมาะสำหรับแช่แข็งอสุจิของโคและไม่กระทบต่อคุณภาพการผลิตน้ำเชื้อโคแช่แข็ง การทดลองที่ 2 การเสริมสารสกัดกัญชงในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อโคแช่แข็งต่อคุณภาพตัวอสุจิภายหลังการละลาย ที่ระดับความเข้มข้น 5, 10, 50 และ 100 µg CBD/mL ตามลำดับโดยทดสอบในน้ำเชื้อพ่อโคนมพันธุ์ทรอปปิคอลโฮลสไตน์ (Tropical Holstein: TH) จำนวน 3 ตัว ทำการเจือจางน้ำเชื้อที่ระดับความเข้มข้นอสุจิ 20 ล้านตัวต่อหลอด และบรรจุใส่หลอดน้ำเชื้อ (ministraw) ขนาด 0.25 มิลลิลิตร บ่มที่อุณหภูมิ 4 และ -121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และ 15 นาที ตามลำดับ และเก็บรักษาน้ำเชื้อในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการประเมินคุณภาพน้ำเชื้อด้วยเครื่อง Computer Assisted Sperm Analysis (CASA) ที่เวลา 24 ชั่วโมง 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ และ 1 เดือน หลังแช่แข็ง พบว่า การเสริมสารสกัดจากกัญชงระดับ CBD 5 µg/mL ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของอสุจิ (49.43 เปอร์เซ็นต์) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> < 0.05) สำหรับผลสัณฐานวิทยาของอสุจิ การเสริมสารสกัดจากกัญชงระดับ CBD 5 µg/mL ในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อ พบว่า มีอสุจิที่มีความผิดปกติในลักษณะหางคดและอสุจิที่มีหยดน้ำเกาะที่บริเวณกลางตัว น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> < 0.05) สรุปการใช้น้ำยาเจือจางน้ำเชื้อโคที่มีสารสกัดจากกัญชงเป็นส่วนประกอบที่ระดับความเข้มข้น CBD 5 µg/mL มีแนวโน้มคุณภาพอสุจิที่ดีในการนำมาใช้เป็นสารเสริมในการทำน้ำยาแช่แข็งน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนม</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256964
การประเมินความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ในดินปลูกอ้อยที่มีเนื้อดินต่างกันโดยใช้โปรแกรม RETC
2022-11-21T16:34:13+07:00
บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์
bhannapitch.s@ku.th
ณัฐพล จิตมาตย์
fagrnpc@ku.ac.th
สุรเชษฎ์ อร่ามรักษ์
agrscar@ku.ac.th
<p>การประเมินความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ (θ<sub>AWC</sub>) ของดินเขตร้อน พบว่ามีความผันแปรและคลาดเคลื่อนจากการกำหนดจุดความจุความชื้นสนาม (θ<sub>FC</sub>) ไม่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อดิน ซึ่งมีผลต่อการประเมินความชื้นวิกฤตและการให้น้ำ การศึกษานี้เป็นการประเมินความจุความชื้นสนามของดินด้วยตัวแปรชลศาสตร์จากกราฟเส้นโค้งการยึดน้ำของดิน (SWRC) กับ θ<sub>FC</sub> ที่ pF 2.0 ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ได้จากเครื่องอัดแรงดันให้กับน้ำในตัวอย่างดินภายในหม้อความดัน เพื่อใช้ประเมิน θ<sub>AWC</sub> ในดินปลูกอ้อยที่มีลักษณะเนื้อดินและ SWRC แตกต่างกัน ในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ กลุ่มดินเนื้อหยาบ ปานกลาง ละเอียด และปนกรวด อย่างละ 3 บริเวณ ที่ช่วงความลึก ได้แก่ 0-Ap, Ap-60 และ 60 - 100 เซนติเมตร ทำการวิเคราะห์การกระจายอนุภาคดิน ความหนาแน่นรวมของดิน (ρ<sub>b</sub>) และความชื้นดินโดยปริมาตร (θ<sub>v</sub>) ที่แรงดึงน้ำของดินที่ pF 0, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5, 3.0, 4.2 จากนั้นทำการประเมิน θ<sub>FC </sub>จาก SWRC โดยประเมิน θ<sub>FC </sub>ณ ความจุชลศาสตร์สูงสุด (C<sub>w</sub>(h)) ที่คำนวณจากตัวแปรชลศาสตร์จากโมเดล van Genuchten ในโปรแกรม RETC พบว่าค่า θ<sub>FC </sub>ณ C<sub>w</sub>(h) อยู่ต่ำกว่า pF 2.0 ซึ่งอยู่ในช่วง pF 0.85 - 1.78 ดังนั้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า θ<sub>FC </sub>ณ C<sub>w</sub>(h) ขึ้นกับลักษณะเนื้อดิน และสามารถนำไปปรับใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อกำหนดค่าความชื้นวิกฤต ช่วงระยะเวลา และการให้น้ำสำหรับอ้อยได้แม่นยำขึ้น</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258050
อิทธิพลการรุกล้ำน้ำเค็มต่อคุณภาพน้ำในสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
2023-02-26T14:14:46+07:00
ทราย ห้วยหงษ์ทอง
63604008@kmitl.ac.th
สุกัญญา แย้มประชา
sukunya.ya@kmitl.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบการรุกล้ำน้ำทะเลต่อคุณภาพน้ำในสวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยเก็บตัวอย่างน้ำ 7 สวน ในตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ห่างจากปากแม่น้ำบางปะกง 88 - 93 กิโลเมตร ศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ผลการศึกษาพบว่า สวนที่ 1, 2, 4 และ 5 เริ่มมีสัดส่วนการรุกล้ำน้ำเค็มเกิน 2 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้สภาพการนำไฟฟ้า ความเค็ม ความเข้มข้นของโซเดียมไอออน สัดส่วนการดูดซับโซเดียม และเปอร์เซ็นต์โซเดียมที่ละลายได้ เกินค่าที่ยอมรับได้ของน้ำใช้เพื่อการเกษตร สวนที่ 3 และ 7 มีสัดส่วนการรุกล้ำน้ำเค็มเท่ากับ 1.20 และ 1.87 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามสภาพการนำไฟฟ้า ความเค็ม ความเข้มข้นของโซเดียม-ไอออน สัดส่วนการดูดซับโซเดียม เปอร์เซ็นต์โซเดียมที่ละลายได้เกินค่าที่ยอมรับได้ของน้ำให้เพื่อการเกษตร ในขณะที่สวนที่ 6 มีสัดส่วนการรุกล้ำน้ำเค็มเท่ากับ 0.57 เปอร์เซ็นต์ สมบัติของน้ำที่ใช้ในการประเมินคุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรไม่เกินค่าที่ยอมรับได้ ยกเว้นสภาพการนำไฟฟ้า จึงอาจสรุปได้ว่าหากสัดส่วนของน้ำเค็มในสวนมะม่วงมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้สมบัติของน้ำที่เกี่ยวข้องกับความเค็มไม่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258051
การเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์และการทำนายปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน
2023-02-26T16:46:34+07:00
จวรรชนก ปรีสงค์
jawanchanok.pr@kmitl.ac.th
อารดา บุญอาจ
arada21114@hotmail.com
นันทนัช ชาวพะเยาว์
62604019@kmitl.ac.th
ทราย ห้วยหงษ์ทอง
62604019@kmitl.ac.th
สุกัญญา แย้มประชา
sukunya.ya@kmitl.ac.th
<p>คาร์บอนอินทรีย์ในดิน (soil organic carbon; SOC) สามารถวิเคราะห์ได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสหสัมพันธ์ของวิธีวิเคราะห์คาร์บอนอินทรีย์ที่แตกต่างกันและสร้างสมการทำนายปริมาณคาร์บอนอินทรีย์โดยวิธี dry combustion ด้วยวิธี wet oxidation และ loss on ignition (LOI) และ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์และสร้างสมการทำนายปริมาณคาร์บอนอินทรีย์โดยวิธี dry combustion ด้วยสมบัติดินเบื้องต้น โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินพื้นที่ลุ่มและดอน 158 ตัวอย่าง มาวิเคราะห์สมบัติดินเบื้องต้นและปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ 3 วิธี ดังนี้ 1) wet oxidation 2) dry combustion และ 3) LOI ผลการศึกษา พบว่า คาร์บอนอินทรีย์ที่วิเคราะห์ด้วยวิธี dry combustion (dry combustion-SOC) มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ วิธี wet oxidation และ LOI ทั้งพื้นที่ลุ่มและดอน โดยวิธี wet oxidation มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (<em>r</em>) เท่ากับ 0.91** และ 0.81** ตามลำดับ วิธี LOI มีค่า <em>r</em> เท่ากับ 0.95** และ 0.77** ตามลำดับ สมการถดถอยเพื่อทำนาย dry combustion-SOC ด้วยวิธี wet oxidation ของพื้นที่ลุ่มและดอนมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.83** และ 0.66** ตามลำดับ ค่า R<sup>2</sup> การทำนาย dry combustion-SOC ด้วยวิธี LOI ของพื้นที่ลุ่มและดอน มีค่าเท่ากับ 0.90** และ 0.59** ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจากสมการที่ได้สามารถเปลี่ยนค่าวิเคราะห์จากวิธี wet oxidation และ LOI ให้เป็นวิธี dry combustion ได้ จึงเป็นประโยชน์ในการแปลผลวิเคราะห์คาร์บอนอินทรีย์ด้วยวิธี dry combustion dry combustion-SOC มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณอนุภาคดินเหนียว (clay) และความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC) และมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณอนุภาคดินทราย (sand) และความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density, BD)</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256548
การใช้กรดจิบเบอเรลลิคเพื่อยืดช่อดอก ชักนำให้ไร้เมล็ด และเพิ่มขนาดของผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา
2022-10-10T12:47:46+07:00
สุวรรณา วันคำ
suwanna.wa@ku.th
เกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์
kriengsak.t@ku.ac.th
ภาสันต์ ศารทูลทัต
parson.s@ku.ac.th
<p>องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา (White Malaga) ได้รับความนิยมรับประทานผลสดมานาน แต่การแก้ปัญหาช่อดอกสั้น ผลมีเมล็ด ผลขนาดเล็กและไม่สม่ำเสมอ ยังมีข้อมูลจำกัด งานวิจัยนี้จึงทำเพื่อหาวิธีใช้สาร GA<sub>3</sub> เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทำการทดลอง 1) การยืดช่อดอกด้วยการพ่นสาร GA<sub>3</sub> เข้มข้น 2, 4 หรือ 6 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อช่อดอกมีอายุ 15, 20 หรือ 25 วันหลังตัดแต่งกิ่ง เปรียบเทียบกับไม่พ่นสาร (กรรมวิธีควบคุม) พบว่า การพ่น GA<sub>3</sub> 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่อายุ 20 วันหลังตัดแต่งกิ่ง ทำให้ช่อดอกยืดยาวเพิ่มขึ้น 119<sup> </sup>เปอร์เซ็นต์ 2) การชักนำให้ไร้เมล็ดด้วยการพ่น GA<sub>3 </sub>เข้มข้น 25, 50 หรือ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะดอกบาน -3, 0, 3 หรือ 6 วัน เปรียบเทียบกับไม่พ่นสาร (กรรมวิธีควบคุม) พบว่า การพ่น GA<sub>3</sub> ที่ระยะดอกบานทุกความเข้มข้นสามารถชักนำให้ไร้เมล็ดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 3) การเพิ่มขนาดผลองุ่นด้วยการพ่น GA<sub>3</sub> เข้มข้น 25, 50 หรือ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร อย่างเดียว หรือร่วมกับ CPPU 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะหลังดอกบานสองสัปดาห์ พบว่า การพ่น GA<sub>3</sub> 50 + CPPU 5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้ผลองุ่นมีขนาดใหญ่ที่สุด ผลกว้าง 1.82 เซนติเมตร ยาว 3.35 เซนติเมตร มีน้ำหนักผล 7.58 กรัม น้ำหนักช่อ 376.37 กรัม TSS 20.37 เปอร์เซ็นต์ และ TA 0.80 เปอร์เซ็นต์ จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการใช้ GA<sub>3 </sub>ที่ความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มความยาวช่อ ชักนำผลไร้เมล็ด และเพิ่มขนาดผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาได้</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256215
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลัง ของเกษตรกรในอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
2022-11-28T14:27:01+07:00
ขวัญสุดา ขันบุตร
khuansuda@kkumail.com
อนันต์ พลธานี
panan@kku.ac.th
ไกรเลิศ ทวีกุล
tkrail@kku.ac.th
ยศ บริสุทธิ์
yosboris@kku.ac.th
ไชยธีระ พันธุ์ภักดี
chaitpa@kku.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ จากกลุ่มตัวอย่าง 359 คน ใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลห้วยแย้ และตำบลโคกสะอาด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 62.7 มีอายุเฉลี่ย 52.8 ปี มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 26.1 ปี มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 34.3 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 3.2 ตันต่อไร่ ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลังจากเจ้าหน้าที่ เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลังอยู่ในระดับปานกลาง ก่อนปลูกและการดูแลรักษามันสำปะหลัง พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการป้องกันการเกิดโรคใบด่างคือ ไม่นำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์มันสำปะหลังจากต่างประเทศเข้ามา คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สะอาด เมื่อเกิดโรคใบด่าง พบว่า ส่วนใหญ่จะป้องกันโดยทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังอย่างมีนัยสำคัญ (<em>P</em> < 0.05) ได้แก่ ต้นทุนการผลิต รายได้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลัง</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257673
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ ของสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝางจำกัด อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2023-01-24T23:39:34+07:00
วรางคณา ติ๊บโปธา
warangkana_ti@cmu.ac.th
สุกิจ กันจินะ
sukit.ka@cmu.ac.th
รุจ ศิริสัญลักษณ์
ruth.si@cmu.ac.th
พิมพ์ใจ สีหะนาม
pimjai.s@cmu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการดังกล่าวของเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด จำนวน 188 ราย ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 53.09 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยเกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 19.96 ปี และมีรายได้จากการปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 99,930.85 บาทต่อปี มีพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 5.36 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองและการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ เช่น สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด และกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการผลิตหอมหัวใหญ่ เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งมีแหล่งจำหน่ายหอมหัวใหญ่เพียงแหล่งเดียวและได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ยจาก 2 ช่องทาง ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรม (ร้อยละ 67.60) และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านการผลิตหอมหัวใหญ่ (ร้อยละ 67.00) ในส่วนของการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ พบว่า เกษตรกรมีระดับการจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ พบว่า ความรู้ในด้านการจัดการการผลิตและพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกหอมหัวใหญ่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ (<em>P</em> < 0.01 และ <em>P</em> < 0.05 ตามลำดับ) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่แก่เกษตรกร อาทิ การผลิต และการตลาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ของตนให้ดียิ่งขึ้น</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257495
การศึกษาดีเอ็นเอบาร์โคดและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเพื่อการจำแนกชนิด ที่เชื่อถือได้ของแมลงวันหนอนชอนใบ (Diptera: Agromyzidae) ในประเทศไทย
2023-01-09T09:44:12+07:00
ยุวรินทร์ บุญทบ
yuvarin9320@gmail.com
สุนัดดา เชาวลิต
Sunadda_chaovalit@hotmail.co.th
ชมัยพร บัวมาศ
c.buamas@gmail.com
เกศสุดา สนศิริ
kess_s13@hotmail.co.th
เฉลิมวุธ สมปาก
Chalermwoots@gmail.com
<p>แมลงวันหนอนชอนใบวงศ์ Agromyzidae จัดได้ว่าเป็นกลุ่มศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อพืชผักและความท้าทายที่สำคัญยิ่งต่องานด้านการกักกันพืช การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ดจากส่วนของยีน cytochrome<em> c </em>oxidase subunit 1 mitochondrial gene (<em>Cox1</em>) มาช่วยในการจำแนกชนิดแมลงวันหนอนชอนใบวงศ์ Agromyzidae ซึ่งเป็นศัตรูพืชผักที่สำคัญในประเทศไทย ลำดับนิวคลีโอไทด์ของแมลงวันหนอนชอนใบได้ถูกรวบรวมภายในประเทศและนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นดีเอ็นเอบาร์โค้ดในการจำแนกชนิดแมลงวันหนอนชอนใบกับลำดับนิวคลีโอไทด์มาตรฐานในฐานข้อมูล GenBank ผลการทดลองพบว่า แมลงวันหนอนชอนใบ <em>Liriomyza</em> sp. จำนวน 5 ชนิด จากลำดับนิวคลีโอไทด์ 20 ตัวอย่าง ถูกระบุและบันทึกไว้ในฐานข้อมูล GenBank ว่าเป็นชนิดพันธุ์ <em>Liriomyza brassicae</em> Riley, 1884; <em>Liriomyza chinensis</em> Kato, 1949; <em>Liriomyza huidobrensis</em> Blanchard, 1926; <em>Liriomyza sativae</em> Blanchard, 1938 และ <em>Liriomyza trifolii</em> Burgess, 1880 การศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ จากลำดับนิวคลีโอไทด์ของตำแหน่งยีน <em>Cox1 </em>จากแมลงวันหนอนชอนใบจำนวน 5 ชนิด มาวิเคราะห์ด้วย Maximum likelihood และ Bayesian analysis พบว่า แผนภูมิความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการจากทั้งสองวิธีการมีผลที่สอดคล้องกันยีน <em>Cox1 </em>แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้จำแนกชนิดแมลงวันหนอนชอนใบ โดยความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่าแมลงวันหนอนชอนใบ <em>L.chinensis</em> นั้น มีความแตกต่างกับแมลงวันหนอนชอนใบชนิดอื่นๆ และยังพบว่า แมลงวันหนอนชอนใบ <em>L. chinensis </em>ที่พบในประเทศไทยนั้นมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ haplotype A ที่พบในประเทศญี่ปุ่น และแผนภูมิวิวัฒนาการยังแสดงให้เห็นว่า แมลงวันหนอนชอนใบ <em>L. sativae </em>นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแมลงวันหนอนชอนใบ <em>L. trifolii </em>มากกว่าแมลงวันหนอนชอนใบชนิดอื่น ๆ การศึกษานี้ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนชนิดของแมลงวันหนอนชอนใบสกุล <em>Liriomyza</em> ในประเทศไทย และลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน <em>Cox1 </em>ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการระบุชนิดของแมลงวันหนอนชอนใบ</p>
2023-09-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตร