วารสารเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu <p> "<strong>วารสารเกษตร</strong>" เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br /> โดยวารสารออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) เพื่อเผยแพร่<br /> ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตร และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภายในและภายนอก<br /> มหาวิทยาลัย</p> <p> <br /><strong> <a href="https://tci-thailand.org/" target="_blank" rel="noopener">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a></strong></p> <p><strong> </strong><strong><a href="https://www.kmutt.ac.th/jif/Impact/impact_s.php" target="_blank" rel="noopener">Thai-Jounal Impact factor ประจำปี 2561 = 0.701</a></strong></p> คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ th-TH วารสารเกษตร 0857-0841 ผลของปุ๋ยหมักถ่านชีวภาพมูลแพะต่อกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินที่สัมพันธ์กับการกักเก็บคาร์บอนในดิน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258452 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองของจุลินทรีย์ในดินที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเอนไซม์หมุนเวียนคาร์บอนต่อการใช้ปุ๋ยเคมีหรือวัสดุอินทรีย์ที่สัมพันธ์กับการสะสมคาร์บอนอินทรีย์ในดิน กรรมวิธีทดลองประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ควบคุม (ไม่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี) 2) ปุ๋ยเคมี (CF) (N-P-K = 15-15-15) 3) มูลแพะ (GM) และ 4) ปุ๋ยหมักถ่านมูลแพะ (GMBC) ผลการศึกษาพบว่า ภายหลัง 3 ชั่วโมงของการใส่วัสดุอินทรีย์ค่าการหายใจของจุลินทรีย์ต่อมวลชีวภาพจุลินทรีย์คาร์บอน (<em>q</em>CO<sub>2</sub>) สูงสุดในกรรมวิธี GM ตามด้วยกรรมวิธี GMBC มีค่าเท่ากับ 0.3617 และ 0.26 mg CO<sub>2</sub>-C/g MBC/day ตามลำดับ การปลดปล่อย CO<sub>2</sub>-C สะสมมีค่าสูงสุดในกรรมวิธี GM ภายหลัง112 วันหลังการใส่ (2,578 mg CO<sub>2</sub>-C/m<sup>2</sup>/day) ตามด้วยกรรมวิธี GMBC CF และกรรมวิธีควบคุมมีค่าเท่ากับ 1,481 685 และ 613 mg CO<sub>2</sub>-C/m<sup>2</sup>/day ตามลำดับ ทั้งนี้ภายหลัง 21 วันหลังการใส่พบกิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์บีตา-กลูโคสิเดสเพิ่มขึ้นสูงภายใต้กรรมวิธี GM มีค่าเท่ากับ 878 µg <em>p</em>-nitrophenol/g MBC/h ขณะเดียวกันพบว่า กิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดสมีค่าสูงสุดในวันที่ 21 และ77 (0.044 และ 0.036 µmol dicq/g MBC/h) ทั้งนี้พบสหสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกิจกรรมของบีตา-กลูโคสิเดส และการปลดปล่อย CO<sub>2</sub> (r = 0.6648***) รวมถึงมวลชีวภาพจุลินทรีย์คาร์บอน (r = 0.6438***) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ารูปของคาร์บอนจากวัสดุอินทรีย์ส่งผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์หมุนเวียนคาร์บอนในดินมากกว่าไนโตรเจนที่เป็นองค์ประกอบ ปุ๋ยหมักถ่านมูลแพะเหมาะสมใช้การปรับปรุงดินทรายจากการมีคาร์บอนทั้งรูปที่ง่ายและยากต่อการย่อยสลาย และมีค่า C/N ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้โดยจุลินทรีย์</p> ภาณุเดชา กมลมานิทย์ ศิวพร แพงคำ ณัฏฐกิตติยา ไพบูลย์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 1 16 ผลของฟอสฟอรัสต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของโป๊ยเซียน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259067 <p>ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของไม้ประดับ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพดอกของโป๊ยเซียน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ 6 ตำรับทดลอง ดังนี้ ตำรับทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ตำรับทดลองที่ 2 ถึง 6 ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตรา 25, 50, 100, 200 ละ 400 มิลลิกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5</sub> ต่อกิโลกรัม (วัสดุปลูก) ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตราที่แตกต่างกันมีผลให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์รวมในโป๊ยเซียนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) ขณะที่ความสูงและความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในใบพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (<em>P </em>&gt; 0.05) การให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสในอัตราที่สูงขึ้นส่งผลให้จำนวนดอกต่อต้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 400 มิลลิกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5 </sub>ต่อกิโลกรัม (วัสดุปลูก) ให้จำนวนดอกต่อต้นมากที่สุด (8.67 ± 2.31 ดอกต่อต้น) ในทางตรงข้ามอัตราการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่เพิ่มสูงขึ้นกลับมีผลให้ดอกโป๊ยเซียนมีขนาดเล็กลง ทั้งนี้การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 100 มิลลิกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5</sub> ต่อกิโลกรัม (วัสดุปลูก) ให้ค่าความกว้างดอก จำนวนช่อดอก และจำนวนดอกต่อต้นไม่แตกต่างจากตำรับทดลองที่ให้ค่าดังกล่าวสูงที่สุด ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 100 มิลลิกรัม P<sub>2</sub>O<sub>5</sub> ต่อกิโลกรัม (วัสดุปลูก) จึงเป็นอัตราการใส่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกโป๊ยเซียน</p> วุฒิพงษ์ แปงใจ สายชล สุขญาณกิจ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 17 27 ความเข้มข้นของโลหะหนักในพื้นที่ปลูกฟ้าทะลายโจร จังหวัดนครปฐม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259702 <p>การปนเปื้อนด้วยโลหะหนักในดินเป็นภัยคุกคามร้ายแรงในการเพาะปลูกสมุนไพรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การปลูกพืชในดินที่มีสารหนู (As) ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม (Cd) ปนเปื้อนนั้น ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หลังจากการบริโภคอีกด้วย ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญใช้ในการป้องกันและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจและมีฤทธิ์ในการต้านไวรัส วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความเข้มข้นของโลหะหนัก (สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว) ในดินที่ปลูกฟ้าทะลายโจร จังหวัดนครปฐม จำนวน 10 แหล่ง ผลการศึกษา พบว่า ความเข้มข้นของสารหนู (7.74 - 18.94 มก./กก.) แคดเมียม (0.55 - 1.67 มก./กก.) และตะกั่ว (3.67 - 72.42 มก./กก.) ในดินทุกบริเวณไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพดินเพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2564 และค่าความเข้มข้นวิกฤตที่มีผลต่อพืช อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นตะกั่ว (6 บริเวณ) และแคดเมียม (9 บริเวณ) ในฟ้าทะลายโจร มีค่าเกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 และองค์การอนามัยโลก ในขณะที่ความเข้มข้นของสารหนูอยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนของโลหะหนักทั้ง 3 ชนิด พบว่า ความเข้มข้นของตะกั่วในดินและพืชมีความเข้มข้นสูงสุดในทุกพื้นที่ รองลงมาเป็นสารหนู และแคดเมียม ตามลำดับ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ของโลหะหนักกับสมบัติทางเคมีของดินพบว่า แคดเมียม (r = -0.835) และตะกั่วในดิน (r = -0.547) มีความสัมพันธ์เชิงลบปานกลางกับปริมาณดินเหนียวและค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน กล่าวคือ ดินที่มีปริมาณดินเหนียวสูง มีปริมาณแคดเมียมและตะกั่วน้อยกว่าดินชนิดอื่น ในขณะที่ ตะกั่วและแคดเมียมในดิน (r = 0.456) มีความสัมพันธ์เชิงบวกปานกลางต่อกัน เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโลหะหนักในดินและพืช สังเกตได้ว่า สารหนู (r = 0.573) และแคดเมียมในพืช (r = 0.361) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับดิน ยกเว้นตะกั่ว ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและพัฒนาแนวทางการจัดการทางการเกษตรสำหรับการเพาะปลูกพืชสมุนไพรเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม</p> เกวลิน ศรีจันทร์ ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย ศิริสุดา บุตรเพชร ธรรมธวัช แสงงาม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 29 45 ผลของแสงแอลอีดีและการกระตุ้นตาดอกด้วยอุณหภูมิต่ำต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257399 <p> ปัจจุบันระบบโรงงานผลิตพืชภายใต้แสงแอลอีดีได้ถูกนำมาใช้ในการปลูกสตรอว์เบอร์รี เนื่องจากประสบปัญหาความแปรปรวนของภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ผลผลิตของต้นสตรอว์เบอร์รีลดลง ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาให้แสงแอลอีดีและการกระตุ้นตาดอกด้วยอุณหภูมิต่ำต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ผลของระยะเวลาให้แสงแอลอีดีต่อการผลิตไหลของสตรอว์เบอร์รี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5 กรรมวิธี คือ แสงจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ (กรรมวิธีควบคุม) และการให้แอลอีดีที่จำนวนชั่วโมงต่างกัน 4 กรรมวิธี (9, 12, 15 และ 18 ชั่วโมงต่อวัน) พบว่า ทุกระยะเวลาการให้แสงแอลอีดีไม่มีผลต่อระยะเวลาเกิดไหล และความกว้างใบ แต่กรรมวิธีที่ให้แสงแอลอีดี 15 และ 18 ชั่วโมง ทำให้จำนวนเส้นไหล ต้นไหล ก้านใบ และค่าคลอโรฟิลล์ในใบสูงกว่าทุกกรรมวิธีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะเดียวกันการให้แสงแอลอีดี 9 ชั่วโมง ทำให้ต้นไหลมีความสูงมากที่สุด ส่วนการทดลองที่ 2 ผลของระยะเวลาให้แสงแอลอีดีและการชักนำตาดอกด้วยอุณหภูมิต่ำต่อการออกดอกและการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของสตรอว์เบอร์รี วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียลในสุ่มสมบูรณ์ คือ ระยะเวลาให้แสงแอลอีดี 3 วิธี (6, 9 และ 12 ชั่วโมงต่อวัน) และการให้สภาพอุณหภูมิต่างกัน 2 วิธี (ไม่กระตุ้นตาดอกด้วยอุณหภูมิต่ำ และกระตุ้นตาดอกด้วยอุณหภูมิต่ำ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 สัปดาห์) เปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ (กรรมวิธีควบคุม) ผลการทดลองพบว่าทั้งสองปัจจัยไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน กรรมวิธีที่ให้แสงแอลอีดี 9 ชั่วโมง และการกระตุ้นด้วยอุณหภูมิต่ำ ทำให้ต้นสตรอว์เบอร์รีออกดอกเร็ว และมีจำนวนดอกมากกว่าทุกกรรมวิธีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกรรมวิธีดังกล่าวลดการสังเคราะห์และสะสมออกซิน (IAA) ในขณะที่ส่งเสริมการสร้างและสะสมไซโตไค-นิน (zeatin และ zeatin riboside) ซึ่งสามารถชักนำการออกดอกและการพัฒนาดอกของต้นสตรอว์เบอร์รีได้</p> ยศธร เพ็ชรทอง ดรุณี นาพรหม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 47 59 สารสกัดด้วยน้ำจากวัชพืชเถาเลื้อยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะอ้วน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257472 <p>ปัจจุบันวัชพืชบางชนิดได้รับความสนใจนำมาใช้ประโยชน์เป็นพืชสมุนไพร เนื่องจากมีสารพฤกษเคมีที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์รักษาความผิดปกติของร่างกายมนุษย์ได้ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดด้วยน้ำจากใบวัชพืชเถาเลื้อย จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ กะทกรก กระพังโหม ขยุ้มตีนหมา โคกกระออม ตำลึง ถั่วเซนโตร ถั่วเซอราโต้ มะระขี้นก และสะอึก ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยปฏิกิริยา DPPH, ABTS, NO radical scavenging และ LDL oxidation และทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (ได้แก่ a -amylase และ a-glucosidase) และภาวะอ้วน (ได้แก่ pancreatic lipase และ 15-lipoxygenase) ผลการทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำจากใบกะทกรก ถั่วเซนโตร มะระขี้นก และโคกกระออมมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของ DPPH<sup>·</sup>, ABTS<sup>·+</sup>, NO<sup>·</sup> และ ox-LDL ได้สูงที่สุด ตามลำดับ นอกจากนี้ สารสกัดด้วยน้ำจากใบวัชพืชทุกชนิดยังแสดงประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระของ ABTS<sup>·+</sup> ได้มากกว่า 79 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะอ้วนนั้น สารสกัดด้วยน้ำจากใบของตำลึงมีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ a-glucosidase และ pancreatic lipase ได้สูง ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำจากใบโคกกะออมมีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ a-amylase ได้สูง จากผลการทดลองวัชพืชท้องถิ่น เช่น ตำลึง โคกกะออม กะทกรก ถั่วเซนโตร และมะระขี้นก สามารถนำมาแปรรูปเพื่อประกอบอาหารหรือเครื่องดื่มสมุนไพรได้ ทั้งนี้จะทำการศึกษาการจำแนกชนิดของสารพฤกษเคมีในสารสกัดด้วยน้ำจากวัชพืชดังกล่าวต่อไป</p> จำเนียร ชมภู บุญขวัญ คิดสม วราภรณ์ ทิพย์โกศลวงศ์ มนสิชา คำกองแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 61 74 ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของพืชพรรณและความชอบต่อพื้นที่ดูดซับน้ำฝน: บทบาทของความรับรู้เชิงธรรมชาติและความปลอดภัยในสหรัฐอเมริกา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258801 <p>ในปัจจุบัน กลยุทธ์ในการจัดการสภาพแวดล้อมคือการแนะนำให้ใช้พืชและกระบวนการทางธรรมชาติในการจัดการน้ำท่วมขังและน้ำฝนที่ไหลบ่ามากยิ่งขึ้น หนึ่งในกลยุทธ์นั้นคือ การใช้พื้นที่ซับน้ำฝนทางชีวภาพ (bioretention) ซึ่งเริ่มมีการนำมาใช้ประโยชน์ในหลายประเทศแล้ว ในประเทศไทย เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ความเข้าใจในเรื่องของการรับรู้และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ซับน้ำฝนทางชีวภาพ ของผู้ออกแบบภูมิทัศน์ นักวางผัง และวิศวกร ยังมีอยู่น้อย ส่งผลต่อการยอมรับและการทำให้เกิดความยั่งยืนของการใช้พื้นที่ในลักษณะนี้ ได้มีรายงานถึงพื้นที่ภูมิทัศน์ที่มีจำนวนพืชพรรณในปริมาณที่มาก เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบในทางบวก ในขณะที่กลไกที่จะอธิบายว่าทำไมมนุษย์ชอบพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของพืชพรรณมากกว่าพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของพืชพรรณน้อยกว่า ยังไม่ชัดเจน ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบสอบถามความคิดเห็นกับบุคคลทั่วไป โดยใช้ภาพจำนวน 54 ภาพ หาความสัมพันธ์เปลี่ยนถ่าย (mediation) ระหว่างความหนาแน่นของพืชพรรณ การรับรู้ในความเป็นธรรมชาติและความปลอดภัย และความชอบในรูปแบบของพื้นที่ซับน้ำฝนทางชีวภาพ ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ในความเป็นธรรมชาติเป็นตัวแปรเปลี่ยนถ่ายที่มีอิทธิพลสูงระหว่างความหนาแน่นของพืชพรรณและความชอบ ในขณะที่การรับรู้ในความปลอดภัยเป็นตัวแปรเปลี่ยนถ่ายที่มีอิทธิพลต่ำ ผู้ออกแบบภูมิทัศน์ นักวางผัง และวิศวกร ควรใช้ความรู้นี้เป็นเครื่องมือในการประเมินการออกแบบพื้นที่ซับน้ำฝนชีวภาพ ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นเรื่องใหม่ ที่ช่วยทำให้เข้าใจถึงการรับรู้ของมนุษย์ต่อการออกแบบภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ในอนาคต ควรวิจัยความสัมพันธ์ของความ-หลากหลายของพื้นที่ซับน้ำฝนชีวภาพ ความแตกต่างของวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของพื้นที่แต่ละแห่งต่อไป</p> พงศกร ศุภกิจไพศาล เอกชัย ใยพิมล จุฬาลักษณ์ วณิชยาไพสิฐ วิภาวี สุรินทร์เซ็ง ณัทธ์ชวัล เจริญเลิศธนกิจ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 75 83 การตรวจพบไวรัสสาเหตุโรคใบจุดและใบย่นในสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 ที่ปลูกในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257947 <p>การปลูกสตรอว์เบอร์รีด้วยการใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่อไหลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ส่งผลต่อการเจริญเติบโต การติดดอก ปริมาณและคุณภาพของผลสตรอว์เบอร์รี งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและตรวจหาการเข้าทำลายของเชื้อไวรัสในสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ที่เพาะปลูกใน 3 พื้นที่ได้แก่ บ้านหนองเต่า บ้านขอบด้ง ตำบลม่อนปิ่น และบ้านแม่งอนขี้เหล็ก ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บตัวอย่างใบสตรอว์เบอร์รี จำนวน 175 ตัวอย่าง จากต้นที่แสดงอาการของโรค จำนวน 43 ตัวอย่าง และไม่แสดงอาการของโรคจำนวน 132 ตัวอย่าง นำมาศึกษาและตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยเทคนิค Reverse transcription - polymerase chain reaction (RT-PCR) ผลการวินิจฉัยพบไวรัสรวม จำนวน 134 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 76.57 ของตัวอย่างทั้งหมด แบ่งเป็น การเข้าทำลายแบบเดี่ยว ร้อยละ 52.57 จากไวรัส strawberry latent ringspot virus (SLRSV) จำนวน 80 ตัวอย่าง และไวรัส strawberry crinkle virus (SCV) จำนวน 12 ตัวอย่าง และพบการเข้าทำลายร่วมกันของเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิด ข้างต้น จำนวน 42 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 24 โดยแบ่งการตรวจพบในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ บ้านหนองเต่า จำนวน 58 ตัวอย่าง (77.33 %) บ้านขอบด้ง จำนวน 59 ตัวอย่าง (78.67 %) และบ้านแม่งอนขี้เหล็ก จำนวน 17 ตัวอย่าง (68 %) ผลการสังเคราะห์ดีเอ็นเอตำแหน่ง <em>CP</em> gene – RNA 2 (SLRSV) และ <em>L</em> protein gene (SCV) จากผลผลิตดีเอ็นเอของปฏิกิริยา PCR ได้ลำดับนิวคลีโอไทด์ 497 คู่เบส และ 345 คู่เบส ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล GenBank พบว่า ลำดับนิวคลีโอไทด์ 497 คู่เบส มีความคล้ายกับลำดับนิวคลีโอไทด์ของเชื้อไวรัส SLRSV จำนวน 5 ไอโซเลท (Mint 454, NCGR MEN, Eg, Mint-CP2 และ W16) ที่ระดับความเหมือน 89.21 - 99.8 % และลำดับนิวคลีโอไทด์ 345 คู่เบส มีความคล้ายกับเชื้อไวรัส SCV จำนวน 4 ไอโซเลท (1554, KG, H2399 และ H2395) ที่ระดับความเหมือน 94.4 - 100 % งานวิจัยนี้จึงนับเป็นการตรวจพบเชื้อไวรัส SLRSV และ SCV ในสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 เป็นครั้งแรกของประเทศไทย</p> นพดล ปนธะรังษี ศิรินภา ไชยพล ประไพพิศ สุวิทย์ชยานนท์ เกวลิน คุณาศักดากุล นิวัฒน์ ขันโท Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 85 99 ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดบุรีรัมย์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258857 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร ในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรในพื้นที่อำเภอหนองหงส์ อำเภอหนองกี่ และอำเภอลำปลายมาศ จำนวน 76 คน จากจำนวน 94 คน ที่ได้ใบรับรองระบบการผลิตตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรจากกรมวิชาการเกษตร ตามฐานข้อมูลปี พ.ศ. 2565 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Krejcie and Morgan เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการทดสอบคุณภาพด้วยการทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุด้วยวิธีปกติ (enter) ผลการวิเคราะห์พบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และ 0.05 ได้แก่ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและความหลากหลายของช่องทางการได้รับข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์จะนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ในการวางแผน ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชสมุนไพรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป</p> ปาริชาติ บัวแก้ว ไชยธีระ พันธุ์ภักดี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 101 111 การรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258975 <p>การศึกษาการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกร ดังนี้ 1. ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ สภาพการผลิตข้าว 2. ศึกษาการรับรู้ของเกษตรกรต่อผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว และ 3. เปรียบเทียบการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรที่มีสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการผลิตข้าวที่แตกต่างกัน ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 1,394 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 15 ของประชากร เท่ากับ จำนวน 210 ราย คัดเลือกเกษตรกรโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2565 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และ LSD ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 61.9 มีการจัดการตอซังและฟางข้าวด้วยการเผา เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวก (ร้อยละ 45.4) และ ร้อยละ 34.4 เป็นข้อตกลงของผู้ประกอบการรถไถเตรียมดิน ส่วนร้อยละ 38.9 มีการจัดการโดยปลอดการเผา โดยใช้การไถกลบตอซัง (ร้อยละ 60) นำไปปรับปรุงบำรุงดินหรือคลุมโคนต้นไม้ (ร้อยละ 13.8) และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (ร้อยละ 13.8) ทั้งนี้ การรับรู้ผลกระทบต่อภาคการเกษตร สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และกฎหมาย อยู่ในระดับมากทุกประเด็น มีเพียงข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ที่เกษตรกรไม่มีการรับรู้ถึงร้อยละ 49.5 ส่วนการเปรียบเทียบการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าว จำนวน 4 ด้าน คือ การเกษตร สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ โดยจำแนกตาม ประสบการณ์การทำนา การได้รับการประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดความรู้ ภาระหนี้สิน การมีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้ของสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร และการจัดการตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรที่แตกต่างกัน พบว่า เกษตรกรมีการรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P&lt;0.001, P &lt; 0.01 และ P &lt; 0.05) ในบางประเด็น</p> วีรนุช กุดแถลง สุกัลยา เชิญขวัญ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 113 126 การประเมินศักยภาพของเชื้อราก่อโรคแมลงครั้งแรกในห้องปฏิบัติการ ต่อการควบคุมหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยสีชมพู <I>Sesamia inferens</I> (Walker) (Lepidoptera: Noctuidae) ในประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259541 <p>เชื้อราสาเหตุโรคแมลงเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของแมลงศัตรูพืช รวมถึงหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อยสีชมพู (<em>Sesamia inferens</em> (Walker) (Lepidoptera: Noctuidae)) ซึ่งจัดเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของอ้อยในประเทศ-ไทย ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมหนอน <em>S. inferens</em> ขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการก่อโรคและความรุนแรงของเชื้อราสาเหตุโรคแมลง 4 ชนิด 7 ไอโซเลท เชื้อรา <em>Beauveria</em> <em>bassiana</em> ไอโซเลท B001 เชื้อรา <em>B</em>. <em>bassiana</em> ไอโซเลท B002 เชื้อรา <em>Fusarium </em>sp. ไอโซเลท FSS เชื้อรา <em>Metarhizium anisopliae</em> ไอโซเลท M001 เชื้อรา<em> M</em>.<em> anisopliae</em> ไอโซเลท M002 เชื้อรา <em>M</em>.<em> anisopliae</em> ไอโซเลท MSS และ เชื้อรา <em>Purpureocillium</em><em> lilacinum</em> ไอโซเลท PSS ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ในการควบคุมหนอน <em>S. inferens</em> ด้วยวิธีสัมผัสตาย ด้วยการหยดสารแขวนลอยโคนิเดียของเชื้อราสาเหตุโรคแมลงลงเฉพาะที่บริเวณเนื้อเยื่อปล้องอกระหว่างปล้องที่ 1 และปล้องที่ 2 ของหนอน<em> S. inferens</em> วัยที่ 4 ในระดับห้องปฏิบัติการ ในขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการคัดกรองการเกิดโรคกับหนอน <em>S. inferens </em> จากเชื้อราที่ทดสอบทั้งหมด ผลจากการทดสอบมีเพียงเชื้อรา 2 ชนิด 3 ไอโซเลท ที่สามารถก่อโรคกับหนอน <em>S inferens</em> ได้แก่เชื้อรา <em>B. bassiana </em>ไอโซเลท B001 เชื้อรา <em>M. anisopliae </em>ไอโซเลท M001และ เชื้อรา <em>M. anisopliae </em>ไอโซเลท MSS ซึ่งทำให้หนอนมีอัตราการตาย 37.50 ± 5.80, 72.50 ± 9.60 และ 85.00 ± 5.80 เปอร์เซ็นต์ และค่า LT<sub>50</sub> 18.12, 6.03 และ 2.93 วัน ตามลำดับ จากนั้นนำผลการคัดกรองการเกิดโรคกับหนอน <em>S. inferens </em>ที่ทำให้มีอัตราการตายมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ มาทำการทดสอบความ-รุนแรงของเชื้อราสาเหตุโรคแมลง พบว่า เชื้อรา <em>M. anisopliae </em>ไอโซเลท MSS มีความรุนแรงในการเข้าก่อโรคกับหนอน <em>S. inferens </em>ได้ดีกว่าเชื้อรา <em>M. anisopliae </em>ไอโซเลท M001 มีค่า LC<sub>50</sub> เท่ากับ 4.73 x 10<sup>5 </sup>และ 3.69 x 10<sup>6 </sup>โคนิเดียต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขั้นสุดท้ายเป็นการนำเชื้อรา <em>M. anisopliae </em>ไอโซเลท MSS ซึ่งมีความรุนแรงที่สุดในการก่อโรคของเชื้อราทั้งหมดที่ใช้ทดสอบ มาทดสอบกับหนอน<em> S. inferens </em>วัย 2 - 3, 4 - 5 และ 6 - 7 เชื้อรา <em>M. anisopliae</em> ไอโซเลท MSS ดังกล่าวสามารถเข้าก่อโรคกับหนอน<em> S.</em><em> inferens </em>มีค่า LC<sub>50</sub> เท่ากับ 9.26x10<sup>4</sup>, 6.02x10<sup>5</sup> และ 5.12 x 10<sup>6 </sup>โคนิเดียต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ</p> สิริญา คัมภิโร โสภณ อุไรชื่น Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 127 137 ผลของการเสริมสารสกัดกัญชงในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อต่อคุณภาพน้ำเชื้อสุกรที่อุณหภูมิเย็น https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258485 <p>ปัญหาหลักของกระบวนการผสมเทียมในฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยคือ การเก็บรักษาน้ำเชื้อสุกรแช่เย็น ซึ่งเกิดจาก oxidative stress ทำให้ลดคุณภาพน้ำเชื้อหลังการเก็บรักษา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเสริมสารสกัดกัญชงที่ประกอบด้วยสารกลุ่มแคนนาบินอยด์มีคุณสมบัติเป็น antioxidants ในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อสุกรแช่เย็น โดยทำการรีดน้ำเชื้อสุกรพ่อพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี จำนวน 2 ตัว มาเจือจางด้วยน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อสูตรมาตรฐาน (Beltsville thawing solution extender; BTS) ที่เสริมสารสกัดกัญชงโดยคำนวณจากระดับความเข้มข้นของสาร cannabidiol (CBD)ที่เหมาะสม 5 ระดับได้แก่ 0, 5, 10, 25 และ 50 µg CBD/ml จากนั้นนำตัวอย่างน้ำเชื้อมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 17 <sup>°</sup>C เป็นระยะเวลา 0, 12, 24, 48, และ 72 ชั่วโมง ศึกษาวิเคราะห์ร้อยละการเคลื่อนที่ของอสุจิ (motile) ร้อยละการตายของอสุจิ (static) ร้อยละของอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า (progressive) ด้วย computer assisted sperm analysis; CASA พบว่า ร้อยละการตายของอสุจิในกลุ่มที่เสริมสารสกัดกัญชงที่ความเข้มข้น 5 µg CBD/ml มีแนวโน้มต่ำที่สุด และร้อยละของอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าในกลุ่มที่เสริมสารสกัดกัญชงที่ความเข้มข้น 5 µg/ml มีแนวโน้มสูงที่สุด โดยเฉพาะค่าวิเคราะห์หลังการเก็บรักษาที่ 12 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) โดยสารสกัดกัญชงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในน้ำเชื้อสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำเชื้อสุกรแช่เย็นได้</p> กัญญาณัฐ ไชยวรรณ์ วาที คงบรรทัด พชรพร ตาดี ตะวัน ฉัตรสูงเนิน วรรณลักษณ์ ถาวร พัชรี พรมตัน วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 139 151 องค์ประกอบทางโภชนะและพลังงานใช้ประโยชน์ได้ของเศษเหลือเครื่องในสัตว์ปีกในไก่ประดู่หางดำและไก่กระดูกดำโครงการหลวง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259142 <p>วัตถุประสงค์เพื่อหาองค์ประกอบทางโภชนะและพลังงานใช้ประโยชน์ (Metabolizable energy; ME) ของเศษเหลือเครื่องในสัตว์ปีก (Poultry offal waste; POW) เมื่อฆ่าเชื้อ POW โดยใช้หม้อนึ่งแรงดัน พบว่า มีโภชนะคิดเป็นร้อยละวัตถุแห้ง (% DM) ดังนี้ โปรตีน (crude protein; CP), ไขมัน (ether extract; EE), เยื่อใย (crude fiber; CF), เถ้า (ash) และสารไร้ไนโตรเจนที่ละลายได้ในน้ำ (nitrogen free extract; NFE) เท่ากับ 66.57, 23.35, 1.01, 4.90 และ 4.16% ตามลำดับ โดยมีพลังงานรวม (Gross energy; GE) เท่ากับ 6.520 kcal/g DM หาค่า ME โดยแบ่งเป็น 2 การทดลองใช้ไก่เพศผู้โตเต็มวัย 2 สายพันธุ์ คือ ไก่พื้นเมืองประดู่หางดำกับไก่กระดูกดำมูลนิธิโครงการหลวงการทดลองที่ 1 ใช้วิธีบังคับให้กินวัตถุดิบทดสอบ (POW) เพียงอย่างเดียวด้วย (single force-feeding method) การทดลองที่ 2 ใช้วิธีแทนที่อาหารพื้นฐาน (substitution method) ด้วย POW ที่ระดับ 0, 2, 4 และ 8 % จากนั้นใช้สมการถดถอย (linear regression equation) ทำนายค่า ME ผลพบว่า ค่า ME จากไก่ทั้ง 2 สายพันธุ์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (<em>P</em> <em>&gt;</em> 0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีการ พบว่า การบังคับให้กิน POW มีค่า ME สูงกว่าการทำนายโดยใช้สมการถดถอย (4.226 ± 0.079 vs. 4.073 ± 0.015 kcal/g DM, R- square = 0.99) และพบว่า ค่า ME ที่ได้จากการ-ทำนายใกล้เคียงกับค่า ME เมื่อใช้ POW แทนที่อาหารพื้นฐานที่ระดับ 8 % (4.059 kcal/g DM) ซึ่งอาจบ่งบอกระดับการใช้ที่เหมาะสมในอาหารสัตว์ปีกได้</p> ธีรเจต พิงคะสัน วรันทร์ธร สิทธิสอน บุญล้อม ชีวะอิสระกุล สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 153 167 ผลของการเสริมกรดแกมมาแอมิโนบิวทีริกในอาหารต่อความเครียดจากการขนส่งและการเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม (<I>Litopenaeus vannamei</I>) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258943 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (GABA) 0 %, 0.2 % และ 0.4 %ในอาหารต่อคุณภาพกุ้งขาวแวนนาไม PL25 ที่ได้รับความเครียดจากการขนส่ง และการเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไมในช่วงระยะ PL27 - PL87 การทดลองที่ 1 การจัดชุดการทดลองแบบ 2 x 3 แฟกทอเรียล ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ทำการเสริม GABA 3 ระดับในอาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 39 % และไขมัน 7 % เคลือบด้วยสารละลายพูลลูแลน อัตราส่วน 20 มิลลิลิตรต่ออาหาร 1 กิโลกรัม นำมาเลี้ยงกุ้งระยะ PL12 นาน 14 วัน จากนั้นบรรจุกุ้งขาวแวนนาไม ระยะ PL25 ลงในถุงพลาสติกขนาด 45 x 75 เซนติเมตร ความหนาแน่น 100 และ 500 ตัวต่อลิตร ระยะเวลาที่ใช้การขนส่ง 3 ชั่วโมง ประเมินคุณภาพกุ้งภายหลังการขนส่งทันที การทดลองที่ 2 วางแผนแบบ CRD นำกุ้งหลังขนส่งชุด 500 ตัวต่อลิตร มาปรับสภาพ 2 วัน สุ่มลงในตู้กระจกขนาด 100 ลิตร และเลี้ยงด้วยอาหารเสริม GABA ต่อเนื่องเป็นเวลา 60 วัน เพื่อศึกษาการเติบโต และการต้านทานเชื้อ <em>Vibrio parahaemolyticus</em> AHPND นาน 12 วัน ผลการวิจัย พบว่า ระดับ GABA ในอาหารสัมพันธ์กับคุณภาพกุ้งและอัตราการรอดตายหลังขนส่งที่ความหนาแน่น 100 ตัวต่อลิตร สูงกว่า 500 ตัวต่อลิตร (<em>P</em> &lt; 0.05) การเติบโตของกุ้งระยะ PL27 - PL87 ที่เสริม GABA 0.4 % มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด 2.367 ± 0.110 กรัม (<em>P</em> &lt; 0.05) และภายใต้สภาวะเครียดจากเชื้อก่อโรคในน้ำ กุ้งที่เสริมด้วย GABA 0.4 % มีปริมาณเชื้อวิบริโอในตับและตับอ่อนของกุ้งต่ำสุด และมีอัตราการรอดตายสูงกว่ากลุ่มอื่น (<em>P</em> &lt; 0.05) ดังนั้น การเสริม GABA 0.4 % ในอาหาร ช่วยส่งเสริมคุณภาพกุ้งภายใต้ความเครียดในการขนส่ง และเพิ่มอัตราการรอดตายในสภาวะความเครียดจากเชื้อก่อโรค รวมถึงเติบโตดีขึ้นภายใต้สภาวะติดเชื้อ EHP</p> ยุพรัตน์ อินบำรุง อรพินท์ จินตสถาพร ศรีน้อย ชุ่มคำ ศุภวิทย์ ไตรวุฒานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 169 183 ผลของการเสริมยีสต์ออโตไลเซทในอาหารต่อการเติบโตและระบบภูมิคุ้มกันภายใต้สภาวะความเครียดภายหลังการเหนี่ยวนำด้วยโรควิบริโอ ในกุ้งขาวแวนนาไม (<I>Litopenaeus vannamei</I>) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259058 <p>การศึกษาผลการเสริมยีสต์ออโตไลเซทในอาหารต่อการเติบโตและภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม วางแผนทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) จำนวน 3 ชุดทดลอง ชุดทดลองละ 5 ซ้ำ โดยเสริมยีสต์ออโตไลเซทที่ระดับ 0, 0.1 และ 0.2 % ในอาหารสำเร็จรูปที่ถูกเคลือบด้วยพลูลูแลน เลี้ยงในถังไฟเบอร์กลาสที่ความหนาแน่น 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร จำนวน 15 ถัง มีปริมาตรน้ำ 500 ลิตรต่อถัง เป็นเวลา 65 วัน จากนั้นเหนี่ยวนำความเครียดโดยฉีดเชื้อวิบริโอซิส โดยใช้เชื้อ <em>Vibrio parahaemolyticus</em> ความเข้มข้น 2.6 x 10<sup>4</sup> CFU /ml เป็นเวลา 8 ชั่วโมง ผลพบว่า การเสริมยีสต์ออโตไลเซทที่ระดับ 0 - 0.2 % มีผลให้กุ้งขาวแวนนาไมมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน (<em>P</em> &gt; 0.05) มีค่าเฉลี่ย 10.67 - 11.41 กรัมต่อตัว ในสภาวะปกติกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับอาหารเสริมยีสต์ออโตไลเซทมีปริมาณเม็ดเลือด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) โดยกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับอาหารเสริมยีสต์ 0.2 % มีปริมาณเม็ดเลือดรวมสูงที่สุด 10.40 ± 0.44 x 10<sup>6</sup> เซลล์ต่อมิลลิลิตร ภายหลังได้รับความเครียดจากเชื้อวิบริโอซิส กุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับอาหารเสริมยีสต์ออโตไลเซทมีกิจกรรมซูเปอร์ออกไซด์ดิสมูเตสสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) ดังนั้น การเสริมยีสต์ออโตไลเซทในอาหารที่ปริมาณ 0.1 -<sup> </sup>0.2 % สามารถส่งเสริมประสิทธิภาพในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในสภาวะปกติและภายหลังได้รับเชื้อวิบริโอพาราฮีไมไลติคัส</p> พัชรพร จันทร์รอด อรพินท์ จินตสถาพร ศรีน้อย ชุ่มคำ ศุภวิทย์ ไตรวุฒานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 185 197 การเอนแคปซูเลชันสารสกัดแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายเกลียวทองด้วยการทำแห้งแบบพ่นฝอย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258706 <p>สาหร่ายเกลียวทองเป็นไซยาโนแบคทีเรียที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังเป็นแหล่งของแคโรทีนอยด์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เนื่องจากแคโรทีนอยด์มีความไวต่อแสง และอุณหภูมิ ทำให้สลายตัวได้ง่ายจึงทำการเอนแคปซูเลชันสารสกัดแคโรทีนอยด์จากสาหร่ายเกลียวทองที่สกัดด้วยวิธีการสกัดแบบไมโครเวฟ โดยศึกษาชนิดของสารห่อหุ้ม (มอลโตเด็กซ์ตรินต่อกัมอะราบิก) ในอัตราส่วนโดยมวล 2.0 : 0.0, 1.5 : 0.5 และ 1.0 : 1.0 และอุณหภูมิขาเข้าในการทำแห้งแบบพ่นฝอย 140 และ 180 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและทางเคมี รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานของอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่า อุณหภูมิขาเข้าและอัตราส่วนของสารห่อหุ้มส่งผลต่อร้อยละผลผลิต ปริมาณความชื้น ปริมาณบีตาแคโรทีน ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดและประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) โดยการใช้มอลโตเด็กซ์ตริน และ กัมอะราบิก ในอัตราส่วน 1.0:1.0 ที่อุณหภูมิขาเข้า 180 องศาเซลเซียส ทำให้มีประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลชันดีที่สุดคิดเป็นร้อยละ 47.34 ± 2.96 โดยมีร้อยละผลผลิต ร้อยละ 22.07 ± 0.50 มีปริมาณบีตา - แคโรทีน 6.97 ± 0.52 µg/g dry powder และมีปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมด 2.50 ± 0.16 mg/g dry powder ซึ่งผงตัวอย่างที่ผ่านการเอนแคปซูเลชันมีปริมาณความชื้น คิดเป็นร้อยละ 1.03 ± 0.21 และค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ 0.068 ± 0.008</p> สุภาวดี พลโยธา สุทัศน์ สุระวัง Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-31 2024-01-31 40 1 199 209