วารสารเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu <p> "<strong>วารสารเกษตร</strong>" เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br /> โดยวารสารออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) เพื่อเผยแพร่<br /> ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตร และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภายในและภายนอก<br /> มหาวิทยาลัย</p> <p> <br /><strong> <a href="https://tci-thailand.org/" target="_blank" rel="noopener">ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)</a></strong></p> <p><strong> </strong><strong><a href="https://www.kmutt.ac.th/jif/Impact/impact_s.php" target="_blank" rel="noopener">Thai-Jounal Impact factor ประจำปี 2561 = 0.701</a></strong></p> th-TH agjournal22@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐา โพธาภรณ์) agjournal22@gmail.com (นางสาววันวิสา บุตรอินทร์ (เจ้าหน้าที่วารสารเกษตร)) Fri, 31 May 2024 16:40:48 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประสิทธิภาพและผลกระทบต่อศัตรูธรรมชาติของสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิด เพื่อควบคุมเพลี้ยไฟในนาข้าวโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259847 <p>เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle, UAV)) หรือโดรน (drone) ถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีบทบาทมากขึ้นในการทำเกษตรแบบแม่นยำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟและผลกระทบต่อความหลากหลายของศัตรูธรรมชาติในนาข้าวด้วยอากาศยานไร้คนขับพ่นสาร ในแปลงเกษตรกรที่พบการระบาดของเพลี้ยไฟ ฤดูนาปรังและฤดูนาปี พ.ศ. 2564 จังหวัดสุพรรณบุรีและเชียงราย วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block ใช้โดรนการเกษตร รุ่น AGRAS 16 และรุ่น DJI MG-1P พ่นสารตามอัตราแนะนำต่อน้ำ 3 ลิตรต่อไร่ บินพ่นสารอยู่เหนือต้นข้าว 2 เมตร ผลการทดลองพบว่า หลังพ่นสาร 14 วัน สารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟส่วนใหญ่ควบคุมเพลี้ยไฟได้ดี ประสิทธิภาพร้อยละ 79.12 - 97.36 เมื่อพิจารณาอัตราความเสียหายของใบข้าว ค่าเฉลี่ยจำนวนเพลี้ยไฟที่ลงทำลายข้าวต่อต้น ประสิทธิภาพ ความหลากหลายของศัตรูธรรมชาติ ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener และราคาของสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟที่ใช้ต่อไร่ การพ่นสารด้วยอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ สาร carbaryl 85 % WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 3 ลิตร และสาร dinotefuran 10 % WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 3 ลิตร เป็นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟที่มีประสิทธิภาพ ควรแนะนำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการรับจ้างพ่นสารได้เลือกใช้</p> สุกัญญา อรัญมิตร, กัลยา บุญสง่า, รัตติกาล อินทมา, อภิรดี มานะสุวรรณผล, สมฤดี พันธ์สน, จิราพัชร ทะสี, ปิยะพันธ์ ศรีคุ้ม, สุภาพร มีประเสริฐ, กมลวรรณ แย้มบุญทับ, คณิตา อินทะเล, นพดล ประยูรสุข Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259847 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของการเข้าทำลายและการเลี้ยงเพิ่มจำนวนของมอดฟันเลื่อยใหญ่ในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 4 ลักษณะ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258878 <p>มอดฟันเลื่อยใหญ่ (<em>Oryzaephilus mercator</em> (Fauvel)) เป็นแมลงที่เข้าทำลายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (<em>Anacardium occidentale (L.)</em>) ในโรงเก็บ โดยข้อมูลเบื้องต้นของการเข้าทำลายมอดฟันเลื่อยใหญ่ในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ยังไม่มีการศึกษามากนัก ทั้งที่มอดฟันเลื่อยใหญ่เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์หลังการเก็บเกี่ยวเป็นอย่างมาก การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการเจริญเติบโตของมอดฟันเลื่อยใหญ่ และเปรียบเทียบการเพิ่มจำนวนเมื่อเลี้ยงในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในแต่ละลักษณะเมล็ดทางการค้า จากการเก็บข้อมูล พบว่า ลักษณะเมล็ดทางการค้ามีทั้งหมด 4 แบบได้แก่ เมล็ดเต็ม เมล็ดซีก เมล็ดหัก และเมล็ดป่น เมื่อทำการเลี้ยงแมลง พบว่า มอดฟันเลื่อยใหญ่เมื่อเลี้ยงในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ป่นใช้ระยะเวลาการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาเฉลี่ย 29.14 ± 3.09 วัน และเมื่อทำการเลี้ยงแมลงในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ทั้ง 4 ลักษณะโดยใส่แมลงจำนวน 50 ตัว เลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า แมลงเพิ่มจำนวนในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในเมล็ดป่นและเมล็ดหัก มีการเพิ่มปริมาณของมอดฟันเลื่อยใหญ่ 4,775.50 และ 4,789.11 ตัว มากกว่าเมล็ดซีกและเมล็ดเต็ม 2,883.61 และ 2,650.44 ตัว ตามลำดับ คิดเป็น 9,451.00, 9,478.22, 5,667.22 และ 5,200.88 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และการเก็บรักษาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า มีการเพิ่มปริมาณแมลงสูงสุด มีปริมาณมอดฟันเลื่อยใหญ่เฉลี่ยเท่ากับ 6,745.58 ตัว, รองลงมาคือ ระยะเวลา 2 และ 1 เดือน เท่ากับ 3,324.00 และ 1,254.42 ตัว อัตราการเพิ่มขึ้นจากมอดฟันเลื่อยเริ่มต้น 50 ตัว ระหว่างเดือน 1 ,เดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 เท่ากับ 2,.0408.84, 6,548.00 และ 13,391.16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการทดลองสรุปได้ว่า มอดฟันเลื่อยใหญ่เป็นแมลงที่สามารถทำให้ผลผลิตเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทุกรูปแบบเสียหายได้โดยตรง</p> จิตรกานต์ ภควัฒนะ, อภิชญา จากโคกสูง, เยาวลักษณ์ จันทร์บาง Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/258878 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของอุณหภูมิสูงต่อโคนิเดียเชื้อราเมตาไรเซียมที่มีศักยภาพก่อโรคกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/260679 <p>เชื้อรา<em> Metarhizium anisopliae</em> เป็นเชื้อราที่ดำรงชีพในดิน สามารถก่อโรคกับแมลงได้และนิยมใช้เป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงอย่างแพร่หลาย ในช่วงที่ผ่านมาได้ทำการคัดแยกเชื้อราเมตาไรเซียมจากดินป่าของจังหวัดเพชรบูรณ์ พบเชื้อราจำนวน 16 ไอโซเลทมีศักยภาพสูงสามารถทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตายร้อยละ 100 ภายใน 6 วัน หลังสัมผัสเชื้อ ประกอบด้วย PB-01, PB-02, PB-10, PB-19, PB-28, PB-47, PB-51, PB-71, PB-75, PB-76, PB-95, PB-101, PB-114, PB-117, PB-123 และ PB-125 จึงได้ทำการศึกษาถึงผลของอุณหภูมิสูงต่อโคนิเดียของเชื้อรานี้ขึ้นเพื่อคัดเลือกไอโซเลทที่มีความทนทานต่อความร้อนได้ดี โดยทำการเก็บรักษาโคนิเดียของเชื้อราแต่ละไอโซเลทในดินอินทรีย์ที่มีอุณหภูมิ 40, 45 และ 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 21 วัน ทำการตรวจสอบโคนิเดียที่รอดชีวิตจากจำนวนโคโลนีของเชื้อราที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ภายหลังการเก็บรักษาที่ 7, 14 และ 21 วันตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า โคนิเดียของไอโซเลทเชื้อราส่วนใหญ่ภายใต้การเก็บรักษาสามารถรอดและเจริญขึ้นเป็นโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนโคโลนีที่พบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อระดับของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น โคนิเดียเชื้อรา <em>M. anisopliae</em> จากสองไอโซเลทคือ PB-02 และ PB-75 สามารถคงความมีชีวิตได้ดีที่สุดที่ 3.8x10<sup>4</sup> และ 3.9x10<sup>4</sup> โคโลนีต่อมิลลิลิตร ภายใต้สภาพการเก็บรักษาในดินที่มีอุณหภูมิสูง 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 วัน</p> อารยา บุญศักดิ์, สุพรรณิกา อินต๊ะนนท์, วิภา หอมหวล, คณิตา เกิดสุข Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/260679 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มอัตราการตั้งท้องด้วยเทคนิคการกำหนดเวลาผสมเทียมในฝูงโคเนื้อแม่พันธุ์ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259159 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ที่พบในการเลี้ยงโคและเพิ่มอัตราการตั้งท้องในโคเนื้อแม่พันธุ์ของเกษตรกรเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคเนื้อยั่งยืนจังหวัดศรีสะเกษด้วยเทคนิคการกำหนดเวลาผสมเทียม การวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การสำรวจปัญหาระบบสืบพันธุ์ในฝูงโคเนื้อของเกษตรกร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 100 ราย ที่เลี้ยงโคแม่พันธุ์จำนวน 450 ตัว และการทดลองที่ 2 การเพิ่มอัตราการตั้งท้องในโคเนื้อแม่พันธุ์ ใช้โคเนื้อเพศเมียลูกผสมสายพันธุ์ยุโรป จำนวน 26 ตัว และลูกผสมสายพันธุ์อินเดีย จำนวน 170 ตัว อายุมากกว่า 20 เดือน ถูกใช้เพื่อเพิ่มอัตราการตั้งท้องในฝูงโคแม่พันธุ์ด้วยเทคนิคการกำหนดเวลาผสมเทียม โคเนื้อทั้งหมดเป็นโคที่มีสุขภาพดี ไม่ปรากฏความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ และมีรังไข่ที่สมบูรณ์โดยพิจารณาจากการล้วงตรวจตรวจระบบสืบพันธุ์ควบคู่กับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ โคแม่พันธุ์ทุกตัวได้รับการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและการกำหนดเวลาผสมเทียมด้วยโปรแกรม P - sync โดยในวันที่กำหนดเวลาผสมเทียม โคแม่พันธุ์ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามขนาดของฟอลลิเคิลที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด &lt; 4.9 มม, 5.0 - 7.9 มม, 8.0 - 10.9 มม, 11.0 - 13.9 มม, และ มากกว่า 14 มม วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและร้อยละ แบบลีสแควร์ โดยใช้ ขนาดฟอลลิเคิลวันผสม อัตราการตั้งท้อง เปอร์เซ็นต์โคตั้งท้องทั้งหมด เป็นดัชนีด้านระบบสืบพันธุ์ พบว่า แม่โคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์ของฟอลลิเคิลที่ 11.0 - 13.9 มม. และ มากกว่า 14 มม. มีอัตราการตั้งท้องสูงกว่าแม่โคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์ของฟอลลิเคิลที่น้อยกว่า โคเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05)</p> เกริกวิทย์ วงศ์จันทร์, วาที คงบรรทัด, พัชรี พรมตัน, วรรณลักษณ์ ถาวร, กฤดา ชูเกียรติศิริ, วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259159 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของการเสริมสารสกัดเห็ดหลินจือ และผงกะเพราแดงในสูตรอาหารไก่ไข่ที่มีหนอนแมลงวันลายเป็นส่วนประกอบ ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ สารต้านอนุมูลอิสระ และองค์ประกอบกรดไขมันในไข่แดง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259451 <p>การปรับปรุงสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ สารต้านอนุมูลอิสระ และกรดไขมันในไข่แดง โดยใช้หนอนแมลงวันลายร่วมกับการเสริมสารสกัดเห็ดหลินจือ หรือผงกะเพราแดงในสูตรอาหาร ได้ศึกษาในไก่ไข่สายพันธุ์ไฮไลน์- บราวน์ อายุ 30 สัปดาห์ จำนวน 144 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design) แบ่งไก่ทดลองออกโดยสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 กลุ่มอาหารควบคุม กลุ่มที่ 2 และ 3 กลุ่มอาหารที่ใช้หนอนแมลงวันลายระดับ 1.00 % ร่วมกับการเสริมด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ 0.01 % (BSFL) หรือร่วมกับการเสริมด้วยผงกะเพราแดง 0.50 % (BSFR) ตามลำดับ ทดลองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า สมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ สารต้านอนุมูลอิสระ และกรดไขมันโดยรวมของทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &gt; 0.05) ยกเว้นค่าความเป็นสีแดงหรือสีเขียว (a*) ของกลุ่ม BSFL มีค่าสูงกว่า BSFR และกลุ่มควบคุม (<em>P</em> &lt; 0.01) ในขณะที่กรดไขมันชนิด โอเมก้า 6 ของกลุ่ม BSFL มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม BSFR และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) ดังนั้นการใช้หนอนแมลงวันลายร่วมกับการเสริมสารสกัดเห็ดหลินจือ หรือผงกะเพราแดงไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ รวมถึงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณกรดไขมันในไข่แดงทั้งชนิดอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และการใช้หนอนแมลงวันลายร่วมกับการเสริมสารสกัดเห็ดหลินจือสามารถเพิ่มค่าความเป็นสีแดงหรือสีเขียวของไข่แดง และทำให้ปริมาณกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 ลดลง</p> สโรชา ยะแสง, ทองเลียน บัวจูม, บัวเรียม มณีวรรณ์, วศิน เจริญตัณธนกุล, วงค์พันธ์ พรหมวงค์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259451 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของสารสกัดรวมของกระเทียม ออริกาโน และอาติโชค ต่อการย่อยได้ของอาหารและสมรรถภาพการเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม (<I>Litopenaeus vannamei</I>) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/260752 <p>การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรรวมที่ประกอบด้วยสารสกัดกระเทียม15 เปอร์เซ็นต์ สารสกัดออริกาโน 10 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัดอาติโชค 5 เปอร์เซ็นต์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตของอาหารกุ้งขาวแวนนาไม ผลการศึกษาพบว่าอาหารกุ้งที่เสริมสารสกัดจากสมุนไพรรวมดังกล่าวในระดับ 0.05, 0.15 และ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ส่งเสริมการย่อยคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) ในขณะที่การย่อยโปรตีนไม่มีความแตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &gt; 0.05) โดยมีการปลดปล่อยน้ำตาลรีดิวซ์มากกว่าอาหารชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em> &lt; 0.05) การศึกษาผลของสารสกัดจากสมุนไพรรวมต่อประสิทธิภาพการเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม โดยทำการศึกษาโดยใช้อาหาร 4 ชุดการทดลองของสารสกัดสมุนไพรรวมที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันในระดับ 0, 0.05, 0.15 และ 0.25 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากสมุนไพรรวมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไมอย่างมีนัยสำคัญ (<em>P</em> &lt; 0.05) เมื่อพิจารณาจากน้ำหนักสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโตเฉพาะ น้ำหนักเฉลี่ยต่อวัน และประสิทธิภาพของโปรตีน ดังนั้นการเสริมสารสกัดจากสมุนไพรรวมที่ประกอบด้วยสารสกัดกระเทียม 15 เปอร์เซ็นต์ สารสกัดออริกาโน 10 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัดอาติโชค 5 เปอร์เซ็นต์ เพียง 0.05 เปอร์เซ็นต์ มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและส่งผลให้กุ้งขาวแวนาไมเติบโตดีขึ้น</p> วัชรินทร์ สุทธิพงศ์, ศุภวิทย์ ไตรวุฒานนท์, ศรีน้อย ชุมคำ, อรพินท์ จินตสถาพร Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/260752 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่นกกระทาต้มด้วยสมุนไพรไทย 9 ชนิด https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259568 <p>การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไข่นกกระทาต้มสมุนไพรไทย 9 ชนิด โดยใช้ ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง หอมใหญ่ กะเพรา สาระแหน่ และขมิ้นชัน ด้วยกรรมวิธีการสกัดสมุนไพรที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 2 ซ้ำ ๆ ละ 200 ฟอง คือ กลุ่มการทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุมไข่นกกระทาต้ม (CON) กลุ่มการทดลองที่ 2 กลุ่มไข่นกกระทาต้มสมุนไพรไทย 9 ชนิดจากกรรมวิธีการสกัดสมุนไพรด้วยวิธีการชง (INF) กลุ่มการทดลองที่ 3 กลุ่มไข่นกกระทาต้มสมุนไพรไทย 9 ชนิดจากกรรมวิธีการสกัดสมุนไพรด้วยวิธีการตุ๋น (DIG) และกลุ่มการทดลองที่ 4 กลุ่มไข่นกกระทาต้มสมุนไพรไทย 9 ชนิดจากกรรมวิธีการสกัดสมุนไพรด้วยวิธีการต้ม (DEC) ผลการทดลองพบว่า ลักษณะทางกายภาพเคมี ได้แก่ โปรตีน ไขมัน ความชื้น และพลังงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>&gt;0.05) แต่คาร์โบไฮเดรต คอเลสเตอรอล เถ้า ค่าสี ปริมาณฟีนอลิก และสารต้านออกซิเดชัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>&lt;0.05) โดยกลุมการทดลองที่ 4 DEC มีปริมาณคอเลสเตอรอล ปริมาณฟีนอลิก และสารต้านออกซิเดชัน สูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่น คุณภาพเนื้อสัมผัส ค่าความแข็ง ค่าการแตกตัวพร้อมกลืน ค่าความเคี้ยวได้ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>&gt;0.05) แต่ค่าการเกาะติด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>&lt;0.05) ในกลุ่มการทดลองที่ 3 DIG ค่าการเกาะติดสูงกว่ากลุ่มการทดลองอื่น ผลการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า ความแข็ง รสชาติ และความชอบโดยรวม แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>&gt;0.05) แต่ลักษณะปรากฏ (สี) ความรู้สึกขณะกลืน และกลิ่น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>P</em>&lt;0.05) ในกลุ่มการทดลองที่ 1 CON</p> ปฐมา แทนนาค, ภาวิณี จำปาคำ, นริศรา ยิ่งกำแหง, ศศิธร นาคทอง, ใยไหม ช่วยหนู, ธรรมธวัช แสงงาม, วันวิสาข์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259568 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของอัตราการใช้ปุ๋ยและการให้น้ำต่อการเติบโตของต้นซากุระ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256694 <p>ซากุระ (<em>Prunus serrulata</em>) เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าต้นซากุระจากต่างประเทศมาปลูกในพื้นที่สูงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกซากุระในประเทศไทยยังมีจำกัด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการให้ปุ๋ย และการให้น้ำที่เหมาะสมต่อการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของต้นซากุระ วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียลในสุ่มสมบูรณ์ขนาด 4x3 กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยที่ 1 คือ ความถี่การให้น้ำ จำนวน 4 แบบ ได้แก่ 1) ให้น้ำทุกวัน 2) ให้น้ำทุก 2 วัน 3) ให้น้ำทุก 4 วัน และ 4) ให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้พืชได้รับน้ำ 1 ลิตรต่อครั้งต่อต้น และ ปัจจัยที่ 2 คือ อัตราการให้ปุ๋ย จำนวน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ย 15-15-15 (N-P<sub>2</sub>O-K<sub>2</sub>O) อัตรา 5 กรัม/กระถาง และ 3) ใส่ปุ๋ย 15-15-15 (N-P<sub>2</sub>O-K<sub>2</sub>O) อัตรา 10 กรัม/กระถาง บันทึกข้อมูล ด้านความสูงของต้น (เซนติเมตร) จำนวนกิ่งต่อต้น (กิ่ง) ความยาวกิ่ง (เซนติเมตร) อัตราการสังเคราะห์แสง (µmol m<sup>-2</sup>s<sup>-1</sup>) การเปิดปากใบ (mol m<sup>-2</sup>s<sup>-1</sup>) และการคายน้ำของพืช (mmol m<sup>-2</sup>s<sup>-1</sup>) ผลการทดลองพบว่า เดือนที่ 4 หลังให้กรรมวิธีทดลอง อัตราการให้ปุ๋ย และความถี่การให้น้ำ ไม่มีผลต่อการเติบโตของซากุระ ในด้านความสูงของต้น จำนวนกิ่งต่อต้น และความยาวกิ่ง นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอีกด้วย ส่วนผลด้านการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาพบว่า การให้น้ำสัปดาห์ละครั้งมีผลต่อค่าเฉลี่ยการคายน้ำสูงสุดคือ 1.99 mmol m<sup>-2</sup>s<sup>-1</sup> อย่างไรก็ตามพบว่าปฏิกิริยาสัมพันธ์ร่วมระหว่างปัจจัยมีผลต่อค่าเฉลี่ยของการเปิดปากใบ และการคายน้ำของพืช</p> นวรัตน์ ก่อเจดีย์, ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ, โสระยา ร่วมรังษี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256694 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257628 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 บนพื้นที่สูง การทดลองได้ดำเนินการในพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 4 ซ้ำ และมีกรรมวิธีการจัดการปุ๋ย 4 กรรมวิธี ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ใส่ปุ๋ยในอัตราแนะนำที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติในพื้นที่ (F-RS; N=68.48 P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>=185.09 และ K<sub>2</sub>O=120.57 กก./ไร่) 2) ใส่ปุ๋ยตามความต้องการธาตุอาหารหลักของสตรอว์เบอร์รี (F-NR; N=25.02 P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>=8.25 และK<sub>2</sub>O=41.89 กก./ไร่) 3) ใส่ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่ (SSNM; N=25.02 กก./ไร่) และ 4) ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธีควบคุม (control) ผลการศึกษาพบว่า การใส่ปุ๋ยกรรมวิธี 1 - 3 ไม่ทำให้การเจริญเติบโต (ความสูงและความกว้างทรงพุ่ม) ความเข้มข้นธาตุอาหารหลักในส่วนเหนือดิน ปริมาณผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของสตรอว์เบอร์รี (น้ำหนักผลสด, กรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ (TA), ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) และปริมาณกรดแอสคอร์บิก) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 3 (SSNM)ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 3,015.90 กก./ไร่, น้ำหนักผลสด 8.53 กรัม, ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ 1.14 %, ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 11.49 <sup>๐</sup>Brix และปริมาณกรดแอสคอร์บิก 1.72 มก./100 ก. ข้อมูลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การปลูกสตรอว์เบอร์รี ในดินที่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (329 มก./กก.) และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (574 มก./กก.) ในระดับสูง ธาตุอาหารทั้งสองมีปริมาณเพียงพอสำหรับความต้องการของสตรอว์เบอร์รี การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 25.02 กก./ไร่ เป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 บนพื้นที่สูง</p> สุรีย์พร วงษ์พูล, ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ, พิมพ์ใจ สีหะนาม, ชูชาติ สันธทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/257628 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อการเติบโต คุณภาพและผลผลิตกาแฟอะราบิกาที่ปลูกบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259601 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินผลของการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกันต่อการเติบโต, ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตกาแฟอะราบิกาที่ปลูกบนพื้นที่สูง ซึ่งได้ดำเนินการทดลอง ณ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนไร่หน้า (site A) อำเภอเมืองเชียงใหม่ และสถานีเกษตรที่สูงหนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (randomized complete block design: RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกรรมวิธีการจัดการปุ๋ย 4 กรรมวิธี คือ 1) ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติในพื้นที่ (ไนโตรเจน 54.00 กรัม/ต้น ฟอสฟอรัส 54.00 กรัม/ต้น และโพแทสเซียม 54.00 กรัม/ต้น) 2) ใส่ปุ๋ยหมัก (3.00 กิโลกรัม/ต้น) 3) ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่ประเมินจากความต้องการธาตุอาหารหลักของกาแฟและความอุดมสมบูรณ์ดิน (ไนโตรเจน 49.98 กรัม/ต้น) 4) กรรมวิธีควบคุม ไม่ใส่ปุ๋ย ผลการศึกษาพบว่าการจัดการปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 1-3 ไม่ทำให้ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ธาตุอาหารหลักในใบ ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของกาแฟอะราบิกาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามการจัดการปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 3 (ไนโตรเจน 49.98 กรัม/ต้น) มีแนวโน้มช่วยส่งเสริมการเติบโตและปริมาณผลผลิตได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ต้นกาแฟอะราบิกาทั้ง 2 พื้นที่ มีความสูงเฉลี่ย 236.67 และ 252.84 เซนติเมตร น้ำหนักสดผลเฉลี่ย 1.75 และ 1.49 กรัม/ผล เส้นผ่านศูนย์กลางผลเฉลี่ย 14.55 และ 13.14 เซนติเมตร ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้เฉลี่ย 0.16 และ 0.13 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตเฉลี่ย 8.38 และ 6.36 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ</p> ลลิชา พานทอง, ยุพา จอมแก้ว, ณัฐชนน สันธทรัพย์, ชูชาติ สันธทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259601 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของระดับอินทรียวัตถุต่อรูปคาร์บอนอินทรีย์ในดิน การดูดใช้ธาตุอาหาร และการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256966 <p style="font-weight: 400;">อินทรียวัตถุ (OM) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์บอนอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนอินทรีย์รูปที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย (labile) และรูปที่ย่อยสลายได้ยากและมีความเสถียร (recalcitrant) คาร์บอนอินทรีย์แต่ละรูปในดินมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสมบัติดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และผลิตภาพดินที่แตกต่างกัน จึงศึกษาผลของระดับอินทรียวัตถุต่อสมบัติดิน รูปคาร์บอนอินทรีย์ การดูดใช้ธาตุอาหารพืช และการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานในกระถาง โดยเก็บตัวอย่างดินที่มีอินทรียวัตถุระดับต่ำและปรับอินทรียวัตถุในดินให้มีระดับที่แตกต่างกันด้วยมูลวัว (2, 3 และ 4 % OM) จำนวน 5 ซ้ำ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อระดับอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นรวมของดินลดลง ในขณะที่ความจุความชื้นสนาม ความเป็นกรด-ด่างของดิน ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่สกัดได้ คาร์บอนอินทรีย์รูปที่ย่อยสลายได้ง่ายมากและย่อยสลายได้ง่ายในดินเพิ่มขึ้น อีกทั้งส่งผลให้การดูดใช้ธาตุอาหารพืช และการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ไม่เติมอินทรียวัตถุ ดังนั้น จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มอินทรียวัตถุในดินในไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของข้าวโพด แต่ยังช่วยปรับปรุงสมบัติดิน เพิ่มคาร์บอนอินทรีย์ในรูปที่ย่อยสลายได้ง่าย และเพิ่มระดับธาตุอาหารให้แก่พืช</p> สุทธิพันธ์ เพชรช่วย, จำเป็น อ่อนทอง, จักรกฤษณ์ พูนภักดี, ขวัญตา ขาวมี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/256966 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700 ผลของตำแหน่งคู่ใบและมาตรฐานการเพาะปลูกต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตพืชกระท่อม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259260 <p>กระท่อมเป็นพืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาอย่างยาวนานในประเทศไทย การเพาะปลูกพืชภายใต้มาตรฐานทางการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก ตลอดจนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตำแหน่งคู่ใบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตใบกระท่อมภายใต้การเพาะปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยเก็บตัวอย่างคู่ใบที่ 2, 3, 4 และ 5 จากแปลงปลูกทั้ง 2 มาตรฐาน จากการศึกษา พบว่า ใบจากแปลงปลูกมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้น้ำหนักแห้งเฉลี่ย พื้นที่ใบเฉลี่ย และค่าสีเขียวใบเฉลี่ย (a*) สูงกว่ามาตรฐาน GAP สำหรับตำแหน่งคู่ใบ พบว่า คู่ใบที่ 2 มีปริมาณน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ย และพื้นที่ใบเฉลี่ยไม่แตกต่างทางสถิติกับคู่ใบที่ 3 และ 4 สำหรับการเปรียบเทียบผลผลิตใบทั้งหมดภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐาน GAP เมื่อพืชกระท่อมอายุ 8 และ 10 เดือน หลังย้ายปลูก พบว่า พืชกระท่อมที่ปลูกตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อายุ 8 เดือน ให้จำนวนใบเฉลี่ย น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงกว่ากระท่อมที่ปลูกตามมาตรฐาน GAP สำหรับปริมาณสารไมทราไจนีนของทั้งสองมาตรฐานไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ</p> จิรภรณ์ หนูในน้ำ, ธีรศักดิ์ สุขดี, สมชาย ศรีวิริยะจันทร์, ทัศนี ขาวเนียม Copyright (c) 2024 วารสารเกษตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/259260 Fri, 31 May 2024 00:00:00 +0700