@article{แก้วพรม_หนาน หลิน_ตัง โฉว_2021, title={การทดสอบความเป็นพิษของพืชสมุนไพร 17 ชนิดของเอเชียต่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด MARC-145 cells ด้วยวิธี MTT Assay}, volume={13}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/248774}, DOI={10.14456/paj.2016.5}, abstractNote={<p>โรค PRRS ในสุกรเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวของระบบสืบพันธุ์ในแม่สุกรและก่อให้ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของลูกสุกรในระยะอนุบาลและกำลังเจริญเติบโต ปัจจุบันแนวทางการในการจัดการส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันการติดเชื้อโดยการฉีดวัคซีนแต่ไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัสและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ได้ค้นพบว่ามีสารสกัดจากธรรมชาติและองค์ประกอบของสารบางชนิดมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส PRRSV ได้ ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้คือ ประเมินความเป็นพิษของพืชสมุนไพรจากธรรมชาติที่พบในเอเชีย จำนวน 17 ชนิด ต่อเซลล์เพาะเลี้ยง MARC-145 ด้วยวิธีMTT assay ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการต้านเชื้อไวรัส PRRSV ต่อไป โดยประเมินระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง (MNCT) ที่ระดับการมีชีวิตของเซลล์ 90% ผลการศึกษาพบว่าความเป็นพิษของสารสกัดจากพืชสมุนไพรมีความแตกต่างกันที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ กัน โดยพืชสมุนไพร3 ชนิด ได้แก่ Houttuyniacordata, Artemisia argyi และ Pogostemoncablin มีความเป็นพิษต่ำที่ระดับความเข้มข้น 2-2. พืชสมุนไพรจ านวน 11 ชนิด มีความเป็นพิษปานกลางที่ระดับความเข้มข้น 2-3-2-6 ในขณะที่พืชสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่Curcuma longa, Acorusmacrospadiceus (stem) และ Acorusmacrospadiceus (leaf) มีระดับความเป็นพิษสูงที่ระดับ ความเข้มข้นที่มากกว่า 2-11 ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดMARC-145 และจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในการทดสอบความสามารถในการป้องกันโรค PRRSV ในระดับห้องปฏิบัติการต่อไป</p>}, number={1}, journal={วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม}, author={แก้วพรม ไกรจักร and หนาน หลิน ฉาว and ตัง โฉว หมิง}, year={2021}, month={ม.ค.}, pages={40–48} }