@article{บุญกุศล_2021, title={ผลของสารสกัดสมุนไพรต่อการตายของตัวอ่อนพยาธิในกลุ่ม strongyles ของแพะ}, volume={14}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/248806}, DOI={10.14456/paj.2017.9}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดหยาบจากเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica) ใบแก้ว (Murraya paniculata) ใบขี้เหล็ก (Senna siamea) และผลมะเกลือ (Diospyros mollis) ในการฆ่าตัวอ่อนพยาธิในกลุ่ม strongyles ของแพะนอกตัวสัตว์ (in vitro) การตรวจสอบผลของสกัดหยาบจากเมล็ดมะขาม ใบแก้ว ใบขี้เหล็ก และผลมะเกลือ ที่ความเข้มข้น 1, 10, 20 และ 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เปรียบเทียบกับยาถ่ายพยาธิไอเวอร์เม็คติน® ที่ความเข้มข้น 0.25,0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ต่อการตายของตัวอ่อนของพยาธิ stronglyes ของแพะ หลังจากบ่มในสารต่างๆ ในหลอดทดลอง เป็นระยะเวลา 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากเมล็ดมะขามและสารสกัดจากใบแก้วเป็นสารสกัดที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการตายของตัวอ่อนพยาธิในกลุ่ม strongyles สูงสุด (100% ที่ 12 ชั่วโมง) รองลงมาคือสารสกัดจากใบขี้เหล็ก (100% ที่ 24 ชั่วโมง) และสารสกัดจากผลมะเกลือ (90% ที่ 24 ชั่วโมง) อย่างไรก็ตามสารสกัดจากสมุนไพร 4 ชนิดยังมีประสิทธิภาพในการฆ่าตัวอ่อนพยาธิต่ ากว่ายาถ่ายพยาธิไอเวอร์เม็คติน® (100% ที่ 3 ชั่วโมง) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า<br>สามารถน าสารสกัดจากเมล็ดมะขาม และใบแก้วมาใช้ทดแทนการใช้ยาถ่ายพยาธิจึงเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งในการควบคุมพยาธิตัวกลมในกลุ่ม strongyles ของแพะ</p>}, number={2}, journal={วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม}, author={บุญกุศล ดวงใจ}, year={2021}, month={ม.ค.}, pages={208–216} }