@article{สะทองรอด_วรรณะ_2021, title={ความเป็นพิษของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ}, volume={18}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/248943}, DOI={10.14456/paj.2021.14}, abstractNote={<p>การใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) ที่มีคุณสมบัติความเป็นพิษทางการเป็นสารสัมผัส (contact) สารรม (fumigant) และสารไล่ (repellency) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บหลายชนิด ได้แก่ ด้วงงวงข้าวสาลี มอดแป้ง ด้วงถั่วเขียว  และมอดข้าวเปลือก ผลการศึกษาความเป็นพิษของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์กะเพรา ได้แก่ ลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ ไธม์ โหระพา สเปียร์มิ้นต์ และมิ้นต์ พบว่าน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์มีความเป็นพิษทางการสัมผัสต่อด้วงงวงข้าวสาลีที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 449.05 µg/adult มีความเป็นพิษทางการรมในกรณีไม่มีข้าวสาลีบรรจุอยู่เท่ากับ 11.88 mg/L และในกรณีมีข้าวสาลีบรรจุอยู่ 100 g เท่ากับ 47.52 mg/L ซึ่งให้ค่าการตาย 100% และมีความเป็นพิษทางการไล่ด้วงงวงข้าวสาลีมากกว่า 80% ที่ความเข้มข้น 0.441 mg/cm2 ขึ้นไป สำหรับน้ำมันหอมระเหยโรสแมรี่ 60 µL/mL ก่อให้เกิดการตายของมอดแป้ง 100% และด้วงถั่วเขียว 50% ส่วนประสิทธิภาพการเป็นสารรมฆ่าของน้ำมันหอมระเหยไธม์ที่ความเข้มข้น 28.12 µL/L air ทำให้ด้วงถั่วเขียวตายสูงถึง 90% แต่พบการตาย 75% สำหรับด้วงงวงข้าวสาลี หลังจากการสัมผัส 4.5 ชั่วโมง ทั้งนี้ยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยโหระพา 30 และ 40 µL/L air ก่อให้เกิดการตาย 100% ของมอดข้าวเปลือก น้ำมันหอมระเหยสเปียร์มิ้นต์ 20 µL/L air ก่อให้เกิดการตาย 70% ของมอดข้าวเปลือก สำหรับน้ำมันหอมระเหยมิ้นต์ 50 µL/L air มีประสิทธิภาพในการไล่มอดแป้ง จะเห็นได้ว่าน้ำมันหอมระเหยพืชวงศ์กะเพราบางชนิดมีศักยภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บได้ และสามารถนำมาพัฒนาใช้ในการเป็นสารฆ่าแมลงได้เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตราย</p> <p> </p>}, number={1}, journal={วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม}, author={สะทองรอด บุญยาพร and วรรณะ ฤชุอร}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={112–119} }