@article{คำสุนทร_แข็งขัน_ศรีสะอาด_2021, title={การศึกษาปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP ในพื้นที่จังหวัดยโสธร}, volume={14}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/249118}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP ซึ่งประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัย ปี 2557/2558 ของจังหวัดยโสธร  โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) และใช้สูตรของ Yamane ในการค านวณตัวอย่างเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP ในพื้นที่อ าเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จ านวน 57 ราย ได้เกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP จ านวน 17 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ (interview schedule) เก็บรวบรวมข้อมูลสภาพทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและแรงจูงใจของเกษตรกร จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตข้าวเป็นนาลุ่ม เป็นดินทรายและดินร่วนปนทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง การผลิตข้าวอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก เกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิ 105 เป็นส่วนใหญ่ด้วยการปักด า และการหว่านข้าวแห้ง สาเหตุที่ท าให้เกษตรบางรายไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน และเก็บเกี่ยวข้าวด้วยรถเกี่ยวนวด ซึ่งท าให้มีข้าวพันธุ์อื่นปนมา เกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าว GAP ส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการก าจัดข้าวปน คิดเป็นร้อยละ 98.24 ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าว GAP มีความรู้และเข้าใจบางส่วนหรือขาดความรู้ในเรื่องการก าจัดข้าวปน คิดเป็นร้อยละ 88.24 เช่นเดียวกันกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องจ านวนข้าวพันธุ์ปนในแปลงปลูกข้าวไม่เกิน 2% เกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าว GAP ส่วนมากมีความรู้และเข้าใจว่าต้องไม่ให้มีข้าวพันธุ์ปนในแปลงปลูกข้าวไม่เกิน 2% ในขณะที่เกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานข้าว GAP ส่วนน้อยมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ร้อยละ 35.29 และเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ในเรื่องดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 64.71 เช่นเดียวกันกับการเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง และความชื้นในเมล็ดข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP ขาดความรู้ความเข้าใจว่าต้องเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง (ร้อยละ 94.12) และเมล็ดข้าวเปลือกแห้งส าหรับการซื้อขายต้องมีความชื้นไม่เกิน 15% (ร้อยละ 64.71) นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องราคาข้าว ปุ๋ยและสารเคมีราคาแพง รวมทั้งขาดเงินทุนในการผลิตข้าว ซึ่งเกษตรกรบางส่วนที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP มีทัศนคติว่ามีความยุ่งยากต่อการปฏิบัติเพื่อการตรวจรับรองข้าว</p>}, number={1}, journal={วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม}, author={คำสุนทร จุฑามาศ and แข็งขัน พีระยศ and ศรีสะอาด กิตติ}, year={2021}, month={ก.พ.}, pages={82–94} }