@article{แสนมาโนช_2021, title={การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักก้อนเชื้อเห็ดเก่าด้วยแอคติโนมัยสีทต่อการเจริญ และการเกิดโรคของต้นหอม (Allium cepa var. aggregatum) ที่เกิดจากเชื้อรา}, volume={18}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/251645}, DOI={10.14456/paj.2021.21}, abstractNote={<p style="text-align: left;">การปรับปรุงคุณภาพของก้อนเชื้อเห็ดเก่าจากการเพาะเห็ดนางฟ้า (Pleurotus pulmonarius) โดยนำก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาผ่านกระบวนการหมักแบบกองปุ๋ยร่วมกับเชื้อแอคติโนมัยสีท จำนวน 2 ไอโซเลท ที่แยกจากดินรอบรากต้นหอมในแปลงปลูกแบบอินทรีย์ พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Sclerotium rolfsii และ Fusaruim oxysporum สาเหตุโรคพืชในดิน ร้อยละ 63 และ 80 ตามลำดับ หลังเสร็จสิ้นกระบวกการหมัก 45 วัน ปุ๋ยหมักจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าที่ได้มีลักษณะทางกายภาพและมีปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นหอม ปุ๋ยหมักมีสีน้ำตาลดำ ร่วนซุย ค่าความเป็นกรด – ด่าง เท่ากับ 8.0 ค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) เท่ากับ 16.5 ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 0.52, 0.19 และ 0.54 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่งผลที่ดีต่อการเจริญและการป้องกันกำจัดเชื้อราก่อโรคพืชของต้นหอมได้มากกว่าการใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่าที่ไม่ผ่านการหมักและไม่เติมแอคติโนมัยสีท ในสภาพโรงเรือนทดลอง</p>}, number={2}, journal={วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม}, author={แสนมาโนช วารีรัตน์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={56–62} }