TY - JOUR AU - จันทร์ฉาย, ณัฐพร PY - 2021/01/27 Y2 - 2024/03/29 TI - สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตแคโรทีนอยด์โดย Rhodotorula rubra ร่วมกับสารเสริมชีวนะ จากเชื้อ Lactobacillus acidophilus ในฝุ่นข้าวโพดอาหารสัตว์ JF - วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม JA - pajrmu VL - 13 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/paj.2016.7 UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/248778 SP - 61-69 AB - <p>ในปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปีทำให้ในแต่ละปีมีส่วนเหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะเปลือก ซัง ต้น และเมล็ดที่แตกหัก และส่วนที่เป็นฝุ่นผงหลังจากสีเมล็ดออกซึ่งทั้งหมดมีเหลือเป็นจำนวนมากและเกษตรกรนิยมเผาทำลายซึ่งเป็นผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์สามารถนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเหล่านี้น ามาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารสัตว์แต่ฝุ่นข้าวโพดที่นำมาทำอาหารสัตว์ต้องทำการฆ่าเชื้อซึ่งมีความยุ่งยาก อาจมีค่าใช้จ่ายสูงและสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์โดยการผลิตรงควัตถุแคโรทีนอยด์จากเชื้อยีสต์Rhodotorula rubra จากฝุ่นข้าวโพดภายหลังหมักร่วมกับสารเสริมชีวนะโดย Lactobacillus acidophilus ที่สภาวะเป็นกรดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง มีจ านวนเชื้อ L. acidophilus เพิ่มขึ้น 3.5×105 CFU/g จากเชื้อเริ่มต้นที่ 2.02×105 CFU/g สามารถป้องกันจุลินทรีย์อื่นๆ ปนเปื้อนในฝุ่นข้าวโพดได้ พร้อมศึกษาสภาวะที่เหมาะสม เช่น ระยะเวลาในการเจริญเติบโตความชื้นคาร์บอน ไนโตรเจน และสารส่งเสริมการเจริญเติบโตต่อการสังเคราะห์แคโรทีนอยด์และการอยู่รอดของเชื้อ R. rubra จากการศึกษาพบว่าที่ระยะเวลาที่48 ชั่วโมงโดยมีความชื้นเริ่มต้นที่ 60 เปอร์เซ็นต์ปริมาณคาร์บอนจากกากน้ำตาลต่อน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 20 ที่ปริมาณ15 เปอร์เซ็นต์(w/w) ร่วมกับไนโตรเจนจากแอมโมเนียมซัลเฟต เท่ากับ 1.0 เปอร์เซ็นต์(w/w) และ Yeast Extract เท่ากับ 1.5 เปอร์เซ็นต์(w/w) ภายหลังหมักร่วมกับสารเสริมชีวนะให้ปริมาณแคโรทีนอยด์สูงสุด เท่ากับ62.63 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ าหนักฝุ่นข้าวโพดแห้ง</p> ER -