TY - JOUR AU - อรุณกมล, ทรงทรัพย์ AU - จิตจักร, ธราดล AU - พัชณีย์, นพรัตน์ AU - เจนศิริวงศ์, สกลสุภา PY - 2021/01/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Aeromonas hydrophila ที่แยกได้จากกบนา (Hoplobatrachus rugulosus) ที่แสดงอาการป่วย ในจังหวัดสกลนคร JF - วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม JA - pajrmu VL - 14 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/paj.2017.13 UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/248813 SP - 238-246 AB - <p>การศึกษาความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Aeromonas hydrophila ที่แยกได้จากกบนาที่แสดงอาการป่วย ในพื้นที่จังหวัด สกลนคร ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สามารถแยกเชื้อ A. hydrophila จากตัวอย่างกบป่วยได้ทั้งหมด 51 ไอโซเลท โดยเชื้อมีลักษณะกลมขอบเรียบในอาหารเลี้ยงเชื้อ TSA ย้อมติดสีแกรมลบ รูปร่างแท่งสั้น สร้างเอนไซม์<br>catalase และ oxidase ไม่สามารถเจริญได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มี 4% โซเดียมคลอไรด์ เมื่อน ามาทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ พบว่าสามารถแบ่งระดับความไวต่อยาได้ 2 กลุ่มดังนี้คือ กลุ่มที่ให้ผลการดื้อยา (resistance: R) พบว่ามี 4 ตัวยาคือ Amoxicillin,Ampicillin, Erythromycin และ Penicillin G มีอัตราการดื้อยา 100, 100, 96.08 และ 100% ตามล าดับ กลุ่มที่ให้ผลพบว่ามีความไวต่อยาปฏิชีวนะ (sensitive: S) มี 11 ตัวยา คือ Chloramphenicol, Ciprofloxacin, Enrofloxacin, Gentamicin,Kanamycin, Nitrofurantoin, Norfloxacin,Sulfamethoxazole/Trimethoprim, Tetracycline, Oxytetracycline และ Streptomycin โดยมีอัตราการความไวต่อยา 94.12, 98.04, 96.08, 98.04, 92.16, 100.00, 96.08, 98.04, 39.22, 41.18 และ 92.16% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การใช้ยา Oxytetracycline และ Tetracycline มีค่าความไวต่อยาที่อัตราส่วนความไวต่อยาต่ำ<br>และมีแนวโน้มการดื้อต่อยาปฏิชีวนะซึ่งตรงกับการให้ข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่ที่พบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งสองชนิดนี้มาเป็นระยะเวลานานจึงควรมีการเฝ้าระวังการใช้ยา 2 ชนิดนี้อย่างใกล้ชิด</p> ER -