https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/issue/feed วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2024-06-11T11:19:09+07:00 Dr.Wantanee Polviset prawarun.j@rmu.ac.th Open Journal Systems <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์บทความในวารสารเกษตรพระวรุณ </strong></p> <p>1. เป็นบทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) หรือบทความทางวิชาการ (Academic article) ทางด้านเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ ประมง วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ วิทยาศาสตร์การอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจการเกษตร ส่งเสริมการเกษตร สารสนเทศการเกษตร นวัตกรรมการเกษตร และนวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น </p> <p>2. ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน (ต้นฉบับหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นฉบับ) และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด</p> <p><strong>การตรวจสอบการตีพิมพ์ </strong></p> <p>บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเกษตรพระวรุณต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อตอบรับการตีพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการประกอบด้วย</p> <p>กระบวนการที่ 1: กลั่นกรองเบื้องต้นในรูปแบบการพิมพ์ ขอบเขตของเนื้อหา และความสมบูรณ์ของบทความ </p> <p>กระบวนการที่ 2: กลั่นกรองต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒิประจำกองบรรณาธิการวารสาร จำนวน 3 ท่าน ในประเด็นความเหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพของบทความแต่ละประเภทรวมถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบในรูปแบบ <strong>"DOUBLE BLINED REVIEW"</strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 2 ฉบับ </strong></p> <p><strong>- ฉบับที่ 1: เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน</strong></p> <p><strong>- ฉบับที่ 2: เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม </strong></p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260439 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกล้วยหอมทองเสริมสับปะรดศรีราชา 2023-10-11T08:47:07+07:00 ศริสา ทวีแสง sarisa248@hotmail.com ศรัญญา วอขวา annasesus@yahoo.com ธนวรรณ เพ็งชัย Tanawan28@yahoo.com ศยามน ปริยาจารย์ spariyajarn@yahoo.com เอกชัย จารุเนตรวิลาส akachai04@gmail.com กษมา ชารีโคตร kasama99ja@gmail.com เพลินพิศ แจ้งโพธิ์นาค ploenpit.ja@udru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกล้วยหอมทองเสริมสับปะรดศรีราชา โดยศึกษาปริมาณการเสริมสับปะรดที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์แยมกล้วยหอมทอง ร้อยละ 0 26.50 42 และ 59.25 โดยน้ำหนักของกล้วยหอมทอง ผลการวิเคราะห์การยอมรับของผู้บริโภคทางด้านประสาทสัมผัส คุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และอายุการเก็บรักษา พบว่า การเสริมสับปะรดที่เหมาะสมในการผลิตแยมกล้วยหอมทอง คือ การเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด มีคะแนนความชอบโดยรวมเท่ากับ 7.97 หรือระดับความชอบปานกลาง (9-point hedonic scale โดย 9 = ชอบมากที่สุด 1 = ไม่ชอบมากที่สุด) มีค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ที่มีค่าใกล้เคียงกับสูตรควบคุม การเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 ทำให้ค่าความแข็งของเจล (Hardness) มีค่าต่ำกว่าสูตรควบคุม ขณะที่ค่าการเกาะกันของเจล (Adhesiveness) สูงกว่า และเมื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณกรดในรูปกรดซิตริก มีค่าร้อยละ 1.13 และการเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 ส่งผลให้มีปริมาณความชื้นเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับร้อยละ 37.31 โดยมีปริมาณเส้นใยและปริมาณเถ้าไม่แตกต่างกันกับสูตรควบคุม แยมกล้วยหอมทองเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 มีอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส ได้มากกว่า 28 วัน จากผลการศึกษานำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและแปรรูปให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยไทดอนบาก ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี สามารถผลิตแยมจากกล้วยหอมทองเสริมสับปะรด ซึ่งสามารถจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของวิสาหกิจชุมชนได้</p> 2024-03-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261229 อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) เพื่อเพิ่มผลผลิตและสารสำคัญของกะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) 2023-12-04T10:25:05+07:00 รณรงค์ คนชม Ronnarong.K14@gmail.com ภูมิศักดิ์ อินทนนท์ pumisak_2182566@hotmail.com ชวลิต รักษาริกรณ์ Chwlit235@gmail.com <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) มีผลต่อคุณสมบัติของดิน การเจริญเติบโต ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสารสำคัญของกะเพรา <em>(</em><em>Ocimum tenuiflorum L.)</em><strong> </strong> วางแผนการทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี จำนวน 4 บล็อค ใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีดังนี้ T1) ไม่ใส่ปุ๋ย (control) T2) ปุ๋ยเคมี 15-15-15 T3) ปุ๋ยอินทรีย์ T4) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-1 (HO-1) T5) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-2 (HO-2) และ T6) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-3 (HO-3) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยนำต้นกล้ากะเพราปลูกในแปลง และใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธี พบว่าดินหลังการทดลองในกลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมหรือกลุ่มปุ๋ย HO (T4 T5 และ T6) ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) เพิ่มความพรุน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ และกลุ่มปุ๋ย HO มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อิทธิพลของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบของกะเพรา พบว่ากลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO ทำให้กะเพรามีขนาดลำต้นใหญ่ขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ และมีขนาดทรงพุ่มไม่แตกต่างกับปุ๋ยเคมี ด้านผลผลิตกลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO ส่วนใหญ่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใน T5 (HO-2) 1,736.30 กิโลกรัมต่อไร่ และ T2 (ปุ๋ยเคมี15-15-15) 1,735.80 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีอื่น ๆ ปริมาณสารสำคัญยูจินอล และเมทิลยูจินอล ใน T5 (HO-2) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ จึงสรุปได้ว่าปุ๋ย HO โดยเฉพาะ T5 (HO-2) สามารถปรับปรุงโครงสร้างดิน และช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินได้พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย</p> 2024-03-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260314 การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนเพื่อการเกษตรโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ ในจังหวัดมหาสารคาม 2023-12-01T23:09:43+07:00 นิวัตร สุวรรณะ niwat_su@yahoo.com <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณน้ำฝนรายเดือนเพื่อการเกษตรในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ และเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวแบบ ได้แก่ วิธีของโฮลท์-วินเทอร์ และวิธีของบ็อกซ์-เจนกินส์ ซึ่งพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean absolute percentage error, MAPE) โดยศึกษาตัวแบบจากข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 120 เดือน เพื่อใช้ในการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในเดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2565 จากการศึกษาตัวแบบทั้ง 2 ตัวแบบ พบว่าตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดมหาสารคาม คือตัวแบบวิธีของบ็อกซ์-เจนกินส์ เพราะให้ค่าร้อยละของค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 288.68</p> 2024-03-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261367 การเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2023-12-12T11:25:24+07:00 ปริยากร บุญส่ง priyakorn_bs@hotmail.com พิไลวรรณ ประพฤติ priyakorn_bs@hotmail.com ศรัณยู กาญจนสุวรรณ priyakorn_bs@hotmail.com <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบทและสถานการณ์ปัจจุบันในการผลิตข้าว (2) แรงจูงใจในการเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ (3) ปัจจัยเชิงสาเหตุในการเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้ทั้งข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องซึ่งรวบรวมไว้โดยหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน และใช้ข้อมูลปฐมภูมิกลุ่มเกษตรที่ทำนาอินทรีย์ จำนวน 37 ราย และเจ้าหน้าที่และนักวิชาการ จำนวน 3 ราย รวมทั้งสิ้น 40 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตการณ์ ใช้สถิติอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ ผลการศึกษาพบว่า มีการผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 1 ของพื้นที่นาทั้งหมด โดยได้รับการรับรองในระยะการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ (T3) แรงจูงใจในการเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ประกอบด้วย (1) นโยบายในการส่งเสริมของภาครัฐและภาคเอกชน (2) สภาพแวดล้อม (3) ราคาพืชทดแทน และ (4) ราคาปัจจัยการผลิต ปัจจัยเชิงสาเหตุในการเข้าสู่การผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ประกอบด้วย (1) ความมุ่งมั่นและตั้งใจของเกษตรกร (2) การส่งเสริมของภาครัฐ (3) ผู้นำชุมชน และ (4) การสนับสนุนจากโครงการของภาครัฐ ปัจจัยเชิงสาเหตุในการไม่เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ประกอบด้วย (1) ความยุ่งยากในระบบการตรวจรับการประเมิน (2) ความล่าช้าของเงินอุดหนุน (3) การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ (4) การขาดแคลนแรงงาน (5) การจัดจำหน่ายผลผลิต การแก้ปัญหาข้างต้นและการทำให้เกษตรกรเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จะส่งผลให้แนวโน้มการผลิตข้าวอินทรีย์ในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพิ่มมากขึ้น</p> 2024-04-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261281 ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีการค้า 2023-12-08T19:49:33+07:00 บรรจง อูปแก้ว landscape@rmutl.ac.th อนุชา จันทรบูรณ์ landscape@rmutl.ac.th วราวุฒิ โล๊ะสุข landscape@rmutl.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศเชอร์รีการค้า ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม–กันยายน พ.ศ. 2566 ดำเนินการทดลอง ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยศึกษามะเขือเทศเชอร์รีการค้าที่เหมาะสมในการผลิตเชิงปริมาณและคุณภาพสำหรับปลูกในพื้นที่จังหวัดน่านและภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีการค้าลูกผสมเดี่ยว จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์โซลาริโน่ พันธุ์คิงฟิชเชอร์ พันธุ์โนว่า พันธุ์ฟาร์วิโอ้ พันธุ์ส้มฮอลแลนด์และพันธุ์ซันเซอร์รี โดยใช้พันธุ์โซลาริโน่ ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ (พันธุ์ควบคุม) ภายใต้สภาพโรงเรือนพลาสติกตาข่าย ผลการทดลองพบว่า พันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีทั้ง 6 พันธุ์ ให้ผลผลิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.01) โดยพันธุ์คิงฟิชเชอร์และพันธุ์โซลาริโน่ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด โดยให้ผลผลิต 4,327.50 และ 4,092.30 กิโลกรัมต่อไร่ และการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่า พันธุ์คิงฟิชเชอร์เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณสารไลโคปีนและปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูง และแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์อื่น ๆ โดยมีปริมาณสารไลโคปีน 234±0.08 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด และมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 9.35±0.80 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด จากการศึกษาในครั้งนี้พันธุ์คิงฟิชเชอร์และพันธุ์โซลาริโน่ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมในฤดูกาลนี้ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและเพิ่มความก้าวหน้าในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพที่ส่งเสริมให้เกษตรกรในการปลูก รวมถึงใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเปรียบเทียบกับฤดูกาลอื่น เพื่อพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีให้มีสารไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนที่สูงต่อไป</p> 2024-04-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260610 ผลของคุณสมบัติดินต่อสารสกัดมะแขว่นในการเสริมรสเค็ม 2024-02-23T10:32:20+07:00 ปภากร สุทธิภาศิลป์ Paphakorn6159@gmail.com อภิรดา พรปัณณวิชญ์ ratchaneeporn_sut@cmru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติดินที่มีผลต่อสารสกัดมะแขว่นในการเสริมรสเค็มใน 2 พื้นที่ คือตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง และตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พร้อมทั้งประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและประเมินทางประสาทสัมผัสเพื่อทดสอบความเค็ม พบว่าดินตำบลป่าแป๋มีลักษณะเป็นดินเหนียวและดินตำบลสะลวงเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีความหนาแน่นรวม 0.97 g cm<sup>-3</sup> และ 1.10 g cm<sup>-3</sup> ความจุความชื้นภาคสนาม 2.21 % และ 2.28 % และการนำน้ำของดินในสภาพที่อิ่มตัวด้วยน้ำ 57.75 cm h<sup>-1</sup> และ 52.80 cm h<sup>-1</sup> ค่า pH ของดินคือ 5.27 เป็นกรดจัด และ 4.30 เป็นกรดรุนแรงมาก มีอินทรียวัตถุ 4,530 g kg<sup>-1</sup> และ 4,560 g kg<sup>-1</sup> ไนโตรเจนทั้งหมด 0.23 % และ 0.23 % ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 12.23 mg kg<sup>-1</sup> และ 8.97 mg kg<sup>-1</sup> โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 320 mg kg<sup>-1 </sup>และ 140.04 mg kg<sup>-1 </sup>แคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้ 466.94 48.56 mg kg<sup>-1 </sup>และ 156.32 25.54 mg kg<sup>-1 </sup>ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก 6.22 cmol kg<sup>-1</sup> และ 2.49 cmol kg<sup>-1</sup> ค่าการนำไฟฟ้า 0.08 dS m<sup>-1</sup> และ 0.04 dS m<sup>-1</sup> และอัตรา % ความอิ่มตัวเบส 56.80 % และ 54.81 % ตามลำดับ เมื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์พบว่าดินตำบลป่าแป๋เป็นดินที่ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง และดินตำบลสะลวงเป็นดินที่มีความอุดสมบูรณ์ปานกลาง การประเมินทางประสาทสัมผัสเพื่อทดสอบความเค็มพบว่าสารสกัดมะแขว่นจากตำบลป่าแป๋อัตรา 3 % ให้ความรู้สึกเค็มมากที่สุด (p&lt;0.05) และขนาดอนุภาคดินตำบลสะลวงมีความสัมพันธ์กับการประเมินทางประสาทสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p&lt;0.01)</p> 2024-04-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261418 ผลของการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วง ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ 2024-01-29T20:00:40+07:00 ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร chaiyapruek.hon@lru.ac.th ชมภูนาฏ ชมภูพันธ์ chomphunat.cho@lru.ac.th ปานฤทัย พุทธทองศรี panruethai.put@lru.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์อาร์เบอร์ เอเคอร์ส อายุ 1 วัน จำนวน 200 ตัว สุ่มไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา (ระดับการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงในอาหาร ร้อยละ 0.00 0.25 0.50 0.75 และ 1.00) ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ปัจจัยละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้ไก่เนื้อได้รับอาหารและน้ำอย่างเต็มที่ จนกระทั่งอายุ 42 วัน ผลการศึกษาพบว่าไก่เนื้อที่ได้รับอาหารเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงร้อยละ 0.25 0.50 0.75 และ 1.00 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าไก่เนื้อที่ได้รับอาหารไม่เสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วง มีค่าเป็น 62.40 62.72 63.17 62.51 และ 60.39 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (2.15 2.17 2.16 2.18 และ 2.22 ตามลำดับ) ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน (2.25 2.23 2.24 2.22 และ 2.19 ตามลำดับ) และดัชนีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น (283.17 282.44 284.73 281.79 และ 260.87 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p &gt; 0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงมีแนวโน้มทำให้สมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อดีขึ้น</p> 2024-04-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/262872 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวชนิดแท่งเสริมปลาซิวแก้วตากแห้ง 2024-04-17T14:51:48+07:00 จักรินทร์ ตรีอินทอง jukkarin.tr@ksu.ac.th อ้อยทิพย์ สมานรส aoitip@sut.ac.th ปิยะฉัตร วิริยะอำไพวงศ์ piyachat.wi@ksu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวชนิดแท่งเสริมปลาซิวแก้วตากแห้ง (snack bar enriched with dried Thai river sprat, SB-TRS) โดยการสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ SB-TRS ซึ่งใช้ต้นแบบจากธัญพืชแท่งที่จำหน่ายทางการค้า จากนั้นศึกษาสูตรต้นแบบ การพัฒนาสูตร การทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค และการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผลการสำรวจทัศนคติพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 90 สนใจผลิตภัณฑ์ SB-TRS และร้อยละ 51 ต้องการให้เสริมปลาซิวแก้วตากแห้งแบบตัว สำหรับสูตร SB-TRS ที่พัฒนาได้ประกอบด้วย ปลาซิวแก้วตากแห้งทอด ข้าวพอง น้ำผึ้ง กลูโคสไซรัป เมล็ดฟักทอง งาขาว และงาดำร้อยละ 20 16 19 10 13 13 และ 9 ตามลำดับ มีคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ที่ระดับชอบปานกลาง (7.57 คะแนน) การตัดสินใจซื้อและการยอมรับคิดเป็นร้อยละ 93 และ 94 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ SB-TRS มีความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 1.20 21.61 30.49 2.92 และ 41.75 ตามลำดับ มีค่าความแข็ง (hardness) ค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) ค่าสีเหลือง(b*) และ water activity เท่ากับ 41.02 นิวตัน 58.38 0.71 13.63 และ 0.39 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 25 CFU/g และไม่พบยีสต์และราในผลิตภัณฑ์ คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (23 กรัม) พบว่า ให้พลังงาน 110 กิโลแคลอรี ไขมัน 5 กรัมโคเลสเตอรอล 20 มิลลิกรัม โปรตีน 5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม เหล็ก 0.77 มิลลิกรัม และแคลเซียม 105.91 มิลลิกรัม ดังนั้นผลิตภัณฑ์ SB-TRS จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ต้องการความสะดวกในการบริโภคและช่วยเสริมแคลเซียมให้กับร่างกาย</p> 2024-05-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/262191 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ในจังหวัดเชียงราย 2024-03-05T20:29:11+07:00 ศศิวิมล ภู่พวง sasiwimon.pup@crru.ac.th <p>การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวนาปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคและปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคในการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับตัวแทนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี จำนวน 300 คน ใน 3 อำเภอ ได้แก่ 1) อำเภอพาน 2) อำเภอเมืองเชียงราย และ 3) อำเภอเทิง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยตัวแบบวิเคราะห์ขอบเขตเชิงเฟ้นสุ่ม Stochastic Frontier Approach (SFA) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวนาปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ค่าการดูแลรักษา ค่าปัจจัยการผลิต และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน ส่วนการประมาณค่าประสิทธิภาพทางเทคนิค (Technical Efficiency, TE) พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีประสิทธิภาพในการผลิตอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูงสุด มีค่าประสิทธิภาพการผลิตเชิงเทคนิคเฉลี่ย 0.9169 หรือได้ผลผลิตข้าวต่ำกว่าระดับประสิทธิภาพสูงสุดที่ควรจะได้รับประมาณร้อยละ 8.31 และปัจจัยพื้นที่ปลูกข้าว ภาระหนี้สิน ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปลูกข้าว และการเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตข้าวนาปีในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งหากเพิ่มปัจจัยเหล่านี้มากขึ้นจะส่งผลให้ความไม่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคในการผลิตข้าวนาปีลดลง</p> 2024-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261087 ผลของอุณหภูมิและเวลาในการทอดสำหรับแขนกลทอดอัตโนมัติ 2024-03-26T16:07:35+07:00 คมสัน ตันติชูเกียรติ komsan.ta@udru.ac.th อภิชาติ ศรีชาติ saphichat@udru.ac.th อิทธิพล สิงห์คำ kaweepong_h@kkumail.com ชัยยันต์ จันทร์ศิริ chaich@kku.ac.th สหัสวรรษ ภูจีระ sahassawas.po@rmuti.ac.th ศักรินทร์ วังคะฮาต sakkarin@udru.ac.th กวีพงษ์ หงส์ทอง kaweepong_h@kkumail.com วุฒิพงษ์ ทองแห้ว kaweepong_h@kkumail.com <p>การพัฒนาแขนกลสำหรับทอดอาหารต้นแบบที่ควบคุมด้วยบอร์ด Arduino เพื่อทำการทอดอาหารแทนการใช้คนทอด ในการทดลองใช้อาหารจำนวน 2 ชนิดที่มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน คือ เฟรนช์ฟรายส์ และ ปีกบนไก่ ที่อุณหภูมิเท่ากันและน้ำหนักของวัตถุดิบเท่ากัน การทอดที่เหมาะสมโดยกำหนดน้ำหนักวัตถุดิบเริ่มต้น 100 กรัม เท่ากัน กำหนดอุณหภูมิทอด 3 ระดับ 120 140 และ 160 องศาเซลเซียส ตามลำดับ โดยจากการทดลองใช้แขนกลต้นแบบสำหรับทอดอาหาร ในการทอดอาหารโดยการทอดเฟรนช์ฟรายส์ น้ำหนัก 100 กรัม ให้มีความสุกพอดี กรอบ มีสีเหลืองทอง และไม่อมน้ำมัน พบว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุดจะเท่ากับ 300 วินาทีหรืออาจจะบวกลบไม่เกิน 30 วินาที ที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ระยะเวลาคืนทุนใช้เวลาในการขายเฟรนช์ฟรายส์ทั้งสิ้น 8 วัน จึงจะได้ทุนคืนในส่วนของค่าอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ และยังคงเหลือกำไรสุทธิอยู่ที่ 688.48 บาท ในกรณีการทอดปีกบนไก่น้ำหนัก 100 กรัม พบว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุดจะเท่ากับ 1200 วินาทีหรืออาจจะบวกลบไม่เกิน 30 วินาที ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ระยะเวลาคืนทุนใช้เวลาในการขายไก่ทอดโดยประมาณ 24 วัน จึงจะได้ทุนคืนในส่วนของค่าอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆ และยังคงเหลือกำไรสุทธิอยู่ที่ 144.64 บาท ซึ่งมีระยะเวลาคืนทุนที่ค่อนข้างสั้นและสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงงานคนประกอบอาหารอีกด้วย</p> 2024-05-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263189 ผลการเสริมกรดอินทรีย์ แก่นตะวัน และการใช้ร่วมกันในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ 2024-05-13T12:43:12+07:00 เจษฎา รัตนวุฒิ jassada.r@psu.ac.th บดี คำสีเขียว bodee.k@psu.ac.th อุมาพร แพทย์ศาสตร์ umaporn.p@psu.ac.th อารีรัตน์ ทศดี areerat.to@psu.ac.th <p>จากการประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ จึงจำเป็นต้องหาสารเสริมที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดหรือทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบผลของการเสริมกรดอินทรีย์รวม แก่นตะวัน และการใช้ร่วมกันในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ การทดลองใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และใช้ไก่ไข่พันธุ์ไฮเซก-บราวน์ อายุ 70 สัปดาห์ จำนวน 32 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ซ้ำ ๆ ละ 2 ตัว โดยใช้อาหารในการทดลอง ดังนี้ 1) อาหารควบคุม 2) อาหารควบคุม + กรดอินทรีย์รวม 0.3 % 3) อาหารควบคุม + แก่นตะวัน 1 % 4) อาหารควบคุม + กรดอินทรีย์รวม 0.3 % + แก่นตะวัน 1 % ทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการบันทึกน้ำหนักตัว ผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ และตรวจสอบคุณภาพไข่ในวันสุดท้ายของการทดลอง ผลการทดลองพบว่า การเสริมกรดอินทรีย์ และการเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตไข่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p = 0.059) การเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันมีผลทำให้มวลไข่เพิ่มขึ้นมากที่สุด (p &lt; 0.05) ในด้านคุณภาพไข่ พบว่า การใช้สารเสริมทุกกลุ่มมีแนวโน้มทำให้ความหนาเปลือกไข่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p = 0.075) การเสริมกรดอินทรีย์ และการเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันมีผลทำให้ความแข็งแรงของเปลือกไข่เพิ่มขึ้น (p &lt; 0.01) ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันในอาหารไก่ไข่มีผลช่วยเพิ่มสมรรถภาพการผลิตไข่ การเสริมกรดอินทรีย์เพียงอย่างเดียวและการใช้ร่วมกับแก่นตะวันมีผลทำให้คุณภาพของเปลือกไข่เพิ่มขึ้น</p> 2024-05-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/262485 การพัฒนาผลิตภัณฑ์มาการองจากกากมะพร้าวเหลือใช้ 2024-04-25T10:49:41+07:00 กรวิทย์ สักแกแก้ว korawit.sa@dtc.ac.th โชษณ ศรีเกตุ psriket@hotmail.com <p>การวิจัยนี้ศึกษาการนำกากมะพร้าวเหลือใช้มาพัฒนามาการอง โดยวิเคราะห์ลักษณะเคมีกายภาพ ประเภทเมอแร็งก์ ผลต่อคุณภาพ คุณค่าโภชนาการ และการยอมรับจากผู้บริโภค พบว่า กากมะพร้าวมีค่าสี <em>L* a*</em> และ <em>b*</em> เท่ากับ 89.77 0.41 และ 9.51 ตามลำดับ และมีค่าความชื้น เถ้า ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยอาหารคิดเป็นร้อยละ 4.10 1.21 42.41 4.27 48.01 และ 36.27 ตามลำดับ นอกกจากนี้ยังพบว่าเทคนิคการตีเมอแร็งก์อิตาเลี่ยนมีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างไข่ขาว จากการประเมินทางด้านประสาทสัมผัสเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า เมอแร็งก์อิตาเลี่ยนได้คะแนนยอมรับสูงกว่าเมอแร็งก์ประเภทอื่น เช่น เฟรนช์และสวิส การเพิ่มกากมะพร้าวในสูตรมาการองทำให้ค่า <em>L*</em> ลดลง ขณะที่ค่า <em>a*</em> และ <em>b*</em> เพิ่มขึ้น โดยไม่ส่งผลต่อค่าความชื้นและค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (a<sub>w</sub>) เมื่อเทียบกับสูตรควบคุม ส่วนค่าความแข็ง (Hardness) มีค่าสูงขึ้น และค่าความกรอบ (Crispness) ลดลงตามสัดส่วนของกากมะพร้าวที่เพิ่มขึ้น และยังพบการเพิ่มขึ้นของใยอาหารในตัวอย่างมาการองที่มีปริมาณกากมะพร้าวสูงขึ้น การทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่ามาการองที่มีอัตราส่วน 2:1 (อัลมอนด์ป่นต่อกากมะพร้าว) ได้รับการยอมรับโดยไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนกากมะพร้าวสูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้การยอมรับลดลง ดังนั้นการใช้อัลมอนด์ป่นต่อกากมะพร้าวที่อัตราส่วน 2:1 ในการผลิตมาการองเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งนอกจากจะเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงสุด ทำให้การพัฒนามาการองจากกากมะพร้าวเป็นแนวทางใหม่ในการนำวัตถุดิบเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์อย่างมีคุณภาพ</p> 2024-05-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261802 การสังเคราะห์ระดับค่าเซ็นเซอร์ในระบบ IoT เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติของน้ำในกระชังปลานิลผ่านแอปพลิเคชัน 2024-02-20T09:17:12+07:00 สามารถ สินทร sinton45@gmail.com ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี jjjjintakan@hotmail.com ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี Sutamdee_22@hotmail.com อุมาวดี เดชธำรงค์ umawadee.d@gmail.com ชนัญชิดา ซองผม yupa_kho@cpru.ac.th <p>ผลวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ระดับค่าเซ็นเซอร์เฝ้าระวังความผิดปกติน้ำในกระชังปลานิลผ่าน Application ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมการเลี้ยงปลาแบบแม่นยำด้วย Internet of Things เพื่อเพิ่มผลผลิตปลานิลกระชังเขื่อนลำประทาว จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการโดยสังเคราะห์ค่าเซ็นเซอร์วัดออกซิเจน อุณหภูมิ กรด-เบสของน้ำที่เปลี่ยนแปลงบ่อยไปสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิล ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสังเคราะห์ระดับค่าเซ็นเซอร์ 3 ชุดในการเฝ้าระวังความผิดปกติของน้ำ ดังนี้ 1.1 ชุดเซ็นเซอร์วัดกรด-ด่าง (pH) ช่วงค่าที่เหมาะสมที่สุด 6.0 ถึง 9.0 pH มีความเหมาะสมมาก ( = 4.20) 1.2 ชุดเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (°C) ช่วงค่าที่เหมาะสมที่สุด 23°C ถึง 30°C มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.80) 1.3 ชุดเซ็นเซอร์วัดออกซิเจนในน้ำ (DO) ค่าที่เหมาะสมคือมากกว่าหรือเท่ากับ 2.5 mg/L มีความเหมาะสมมาก ( = 4.40) 2. ผลการพัฒนา Application แจ้งเตือนเข้ามือถือเกษตรกรหากพบน้ำมีค่าผิดปกติ ดังนี้ 2.1 ตั้งค่าเซ็นเซอร์วัดกรด-ด่าง(pH) ไว้ในระบบ IoT เมื่อพบค่าต่ำกว่า 6.0 หรือค่าสูงกว่า 9.0 pH มีความเหมาะสมมาก ( = 4.40) 2.2 ตั้งค่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ไว้ในระบบ IoT เมื่อพบค่าต่ำกว่า 23°C หรือค่าสูงกว่า 30°C มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.60) 2.3 ตั้งค่าเซ็นเซอร์วัดออกซิเจนในน้ำ (DO) ไว้ในระบบ IoT เมื่อพบค่าน้อยกว่า 2.5 mg/L มีความเหมาะสมมาก ( = 4.20) สรุปได้ว่า องค์ความรู้ที่ได้เป็นค่าเซ็นเซอร์ที่สามารถนำไปใช้ในเทคโนโลยี IoT ในการเฝ้าระวังความผิดปกติกของน้ำผ่าน App บนมือถือไปสนับสนุนการตัดสินใจการป้องกันก่อนที่ปลาน็อคน้ำ ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตปลามากขึ้นเกิดรายได้เพิ่มขึ้นของเกษตรกร</p> 2024-06-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263187 ผลของสารให้ความหวานต่างชนิดต่อคุณภาพของเครื่องดื่มจากปลีกล้วย 2024-05-04T16:28:14+07:00 พรพรรณ พัวไพบูลย์ phuapaiboon@yahoo.com ธนิษฐ์นันท์ บุญศรีชนะ thanitnandh@gmail.com ปาริชาติ ราชมณี parichat.ra@rmu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารให้ความหวานต่างชนิดต่อคุณภาพของเครื่องดื่มจากปลีกล้วย ผลิตน้ำปลีกล้วยด้วยการสกัดด้วยน้ำจากการต้มและปั่นละเอียด ปรับปรุงรสชาติหวานโดยผันแปรสารให้ความหวานจากธรรมชาติ จำนวน 5 สิ่งทดลอง คือ สูตรไม่ใส่สารให้ความหวาน (สูตรควบคุม) สูตรผสมน้ำตาลทรายแดงร้อยละ 5 สูตรผสมน้ำอินทผลัมร้อยละ 12 สูตรผสมน้ำตาลหล่อฮังก๊วยร้อยละ 4 และสูตรผสมน้ำเชื่อมหญ้าหวานร้อยละ 2 (w/w) ผลการศึกษา พบว่าสูตรผสมสารให้ความหวานมีของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้และปริมาณของแข็งทั้งหมดสูงกว่าสูตรควบคุม ทุกสูตรของเครื่องดื่มมีความเป็นกรด มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และปริมาณกรดทั้งหมด (กรดซิตริก) อยู่ระหว่าง 4.55 – 4.78 และร้อยละ 0.20 – 0.24 ตามลำดับ โดยสูตรผสมสารให้ความหวานมีค่า pH ต่ำกว่าสูตรควบคุม และทุกสูตรของเครื่องดื่มมีสีแดงอ่อน คล้ำเล็กน้อย มีค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) อยู่ระหว่าง 38.99 – 44.60, 10.22 – 14.49 และ 15.47 – 16.66 ตามลำดับ โดยสูตรผสมน้ำอินทผลัมมีค่าความสว่างต่ำกว่าสูตรอื่น ๆ ขณะที่ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสูตรผสมสารให้ความหวานไม่แตกต่างทางสถิติกับสูตรควบคุม (p&gt;0.05) โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 1,260.71 – 1,385.71 mg GAE/L 20.11 – 22.30 และ 1,981.54 – 2,197 mg TEAC/L ตามลำดับ ปริมาณสารแทนนินของทุกสูตรอยู่ระหว่าง 608.84 – 1,221.99 g/L สูตรผสมน้ำเชื่อมหญ้าหวานมีปริมาณแทนนินสูงกว่าสูตรอื่น ๆ (p≤0.05) ผลการประเมินทางประสาทสัมผัส พบว่า สูตรผสมน้ำเชื่อมหญ้าหวาน และสูตรผสมน้ำตาลหล่อฮังก๊วย ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอยู่ในระดับชอบเล็กน้อย ซึ่งทั้ง 2 สูตรเป็นสูตรที่ให้พลังงานต่ำเหมาะกับคนที่ห่วงใยในสุขภาพและเหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าต่อไป</p> 2024-06-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263199 ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับค่าขนาดร่างกายและการประมาณน้ำหนักตัวใน กระบือปลักเพศเมีย 2024-05-14T17:40:35+07:00 อารีย์ ไกรสูรย์ aree.kri@srru.ac.th นิรุจน์ พันธ์ศรี nirut.ph24@gmail.com <p>น้ำหนักตัวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินราคาซื้อขายหรือการคัดเลือกพันธุ์สัตว์ กระบือเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ที่บางครั้งการชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งดิจิทัลเป็นไปได้ค่อนข้างยาก วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับค่าขนาดร่างกายส่วนต่าง ๆ และประมาณน้ำหนักตัวกระบือ ทำการศึกษากระบือปลักเพศเมียอายุประมาณ 2 ปี จำนวน 145 ตัว ถูกหาค่าน้ำหนักตัวด้วยเครื่องชั่งดิจิทัลและสายวัดน้ำหนัก ทำการวัดค่าขนาดร่างกายส่วนต่าง ๆ (เซนติเมตร) คือ รอบอก (HG) ความสูงของขาหน้า (SH) ความยาวลำตัว (BL) ความสูงของสะโพก (HH) และรอบเอว (UG) ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวและขนาดร่างกายส่วนต่าง ๆ ถูกนำมาวิเคราะห์และสร้างสมการประเมินน้ำหนักตัว ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนักโดยเครื่องชั่งดิจิทัล สายวัดขนาดร่างกายและน้ำหนักจากสมการ ผลการศึกษา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของขนาดร่างกายส่วนต่าง ๆ เป็นเชิงบวก พบว่า HG และ UH มีค่าสัมพันธ์ระดับสูงกับน้ำหนักตัว เมื่อใช้สมการถดถอยเชิงเส้นจะได้ BW = -421.532 + 1.709 (HG) + 0.841 (SH) + 0.434 (BL) + 0.175 (HH) + 1.335 (UG) (R<sup>2</sup> = 0.794, P &lt; 0.0001) ) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของสายวัดขนาดร่างกายสูงกว่าเครื่องชั่งดิจิทัลและน้ำหนักจากการคำนวณสมการอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.001) อย่างไรก็ตาม ไม่มีความแตกต่างระหว่างน้ำหนักจากเครื่องชั่งดิจิทัลและจากสมการ แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ค่าขนาดร่างกายส่วนต่าง ๆ ทำนายน้ำหนักของกระบือปลักเพศเมียร่วมกับการใช้ประโยชน์จากสายวัดขนาดร่างกายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประมาณน้ำหนักกระบือปลักเพศเมีย</p> 2024-06-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/259974 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองด้วยต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล 2023-11-17T15:55:01+07:00 สุธาพร เกตุพันธ์ Sutaporn.g@rmutsv.ac.th ณปภัช ช่วยชูหนู Napapach.c@rmutsv.ac.th จรีวรรณ จันทร์คง Jareewan.c@rmutsv.ac.th ปิติพัฒน์ บุตรโคตร Bootkote.p@gmail.com พงษ์พันธ์ ราชภักดี Pongpun.r@rmutsv.ac.th ฐิติกร พรหมบรรจง Thitikorn.c@rmutsv.ac.th บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง banthita.p@rmutsv.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง อีกทั้งยังทำการหาประสิทธิภาพจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองระหว่างโรงเรือนแบบเดิมกับต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ โดยขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยเริ่มจากสอบถามความต้องการโรงเรือนจากเกษตรกร และนำมาแปลงข้อมูลความต้องการด้วยบ้านคุณภาพเพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ พบว่าภายในต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะประกอบด้วย 5 ระบบ ได้แก่ ระบบอาหาร ระบบน้ำ ระบบแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ และระบบควบคุมภายในโรงเรือน หลังจากนั้นทำการหาประสิทธิภาพโดยการใช้การวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล ซึ่งปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ค่าพันธุ์ ค่าอาหาร ค่าวัคซีนและยา ค่าวัสดุรองพื้น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน ค่าซ่อมบำรุงโรงเรือนและอุปกรณ์ ส่วนปัจจัยนำออก ได้แก่ รายได้จากการขายไก่ ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพจากการเลี้ยงไก่ด้วยต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะมากกว่าโรงเรือนแบบเดิมร้อยละ 11.0 และหากเกษตรกรทำการลงทุนเพื่อสร้างโรงเรือนอัจฉริยะ พบว่าระยะเวลาในการคืนทุนเท่ากับ 11 เดือน อย่างไรก็ตามทางเกษตรกรสามารถเลือกใช้ระบบใด ๆ ในต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงไก่ตามความเหมาะสมสภาพโรงเรือนนั้น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเลี้ยงไก่ให้กับเกษตรกรต่อไป</p> 2024-06-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263136 โครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรไก่เบตงที่รวบรวมมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยใช้เครื่องหมายอินเดล 2024-05-14T17:41:19+07:00 เนาวรัตน์ มณีโชติ naowarat1900@hotmail.com ธีรวัต ขันติชนะกุล Teerawat.kanti@hotmail.com ณัฎฐธิดา บุญถึงจิตร nattatida.btj@gmail.com ศุภนนท์ ตู้นิ่ม Supanon.t@psu.ac.th พิชญานิภา พงษ์พานิช pitchayanipa.K@psu.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและโครงสร้างประชากรของไก่เบตงที่รวบรวมมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ไก่เบตงพิกุลทองจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส (A) ไก่เบตงจากฟาร์มตัวอย่าง จังหวัดยะลา (B) ไก่เบตงจากฟาร์มเอกชนบ่อน้ำร้อน จังหวัดยะลา (C) และ ไก่เบตงจากฟาร์มปฏิบัติการสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา (PSU) รวมทั้งสิ้น 60 ตัว วิเคราะห์ด้วยเครื่องหมายอินเดล จำนวน 10 ตำแหน่ง ผลการศึกษาพบตำแหน่งที่มีความหลากหลาย ทั้งหมด 7 ตำแหน่ง และพบว่าค่าเฉลี่ยของอัตราส่วน Polymorphic loci (<em>P<sub>poly</sub></em>) เท่ากับ 0.750±0.068 เมื่อพิจารณาจากค่าเฮทเทอโรไซโกซิตี้คาดหมาย (H<sub>e</sub>) พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.299±0.038 การวิเคราะห์ Analysis of molecular variance (AMOVA) พบว่า ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในประชากรส่วนใหญ่เกิดจากความแปรปรวนภายในประชากร (91 %) เมื่อพิจารณาผลจากการความแตกต่างทางพันธุกรรมจากค่าสัมประสิทธิ์ F (F-coefficient) พบว่าในประชากรทั้งหมดพบการลดลงของเฮทเทอโรไซโกซิตี้เพียงเล็กน้อย (F<sub>IT </sub>= 0.016±0.035) ไม่พบการเกิดการผสมเลือดชิดในประชากรย่อย (F<sub>IS </sub>= -0.094±0.041) และมีความแตกต่างทางพันธุกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (F<sub>ST </sub>= 0.098±0.030) จากผลการวิเคราะห์ของ Neighbor-Joining (NJ) แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดกันของไก่เบตงจากฟาร์ม A B และ C สำหรับการวิเคราะห์ Principal component analysis (PcoA) และวิเคราะห์โครงสร้างประชากร (Structure analysis) พบว่าสามารถจำแนกกลุ่มประชากรไก่เบตงออกเป็น 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน (∆K = 2) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าเครื่องหมายอินเดลสามารถใช้ในบ่งชี้โครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรไก่เบตงที่รวบรวมมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกันและอาจนำไปประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์อื่น ๆ ได้</p> 2024-06-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263218 ผลของการใช้กากผงชูรสในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรเล็ก 2024-05-23T17:20:42+07:00 กิตติพงษ์ ทิพยะ kittiphong_pew@hotmail.com กฤดา ชูเกียรติศิริ kridda003@hotmail.com ณัฏฐา วิกาศ nan_nanattha@hotmail.com <p>การศึกษาผลการใช้กากผงชูรสในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของสุกรเล็ก โดยใช้ลูกสุกรเพศผู้ จำนวน 12 ตัว ที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 11 กิโลกรัม โดยสุกรจะได้รับอาหารข้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่เสริมกากผงชูรส) กลุ่มที่ 2 อาหารข้นที่เสริมด้วยกากผงชูรส 1 % กลุ่มที่ 3 อาหารข้นที่เสริมด้วยผงกากชูรส 2 % และกลุ่มที่ 4 อาหารข้นที่เสริมด้วยกากผง ชูรส 3 % ผลการศึกษาพบว่า สุกรทุกกลุ่มมีสมรรถภาพการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; 0.05) แต่ในการเสริมกากผงชูรส 2 % มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG) ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น เช่นเดียวกับผลต่ออัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR) กลุ่มที่เสริมกากผงชูรส 1 % มีค่าที่ดีที่สุด (p &gt; 0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น และการคิดคำนวณต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว (FCG) พบว่ากลุ่มที่เสริมกากผงชูรส 1 % มีค่าต้นทุนอาหารต่ำที่สุด เท่ากับ 43.45 บาท ตามด้วยกลุ่มควบคุม กลุ่มที่เสริมกากผงชูรส 2 และ 3 % เท่ากับ 44.75 45.48 และ 47.16 บาท ตามลำดับ โดยสรุปผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอาหารข้นที่เสริมกากผงชูรสมีผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต โดยสุกรกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นที่เสริมกากผงชูรส 2 % มีสมรรถภาพการเจริญเติบโตที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกับกลุ่มควบคุมโดยอาจส่งผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลงและการใช้กากผงชูรสในสูตรอาหารสามารถใช้ได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการผลิต</p> 2024-06-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263304 การใช้ข้าวโพดมอลต์หมักยีสต์ร่วมกับเปลือกข้าวโพดหมักยีสต์และกรดแลคติค โดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊สในห้องปฏิบัติการ 2024-05-21T11:35:59+07:00 รัชนี บัวระภา ratchaneebourapa@gmail.com สุธาทิพย์ ไชยวงศ์ suthathip.ch.st@gmail.com กฤษณธร สินตะละ Kitsanathon@rmutl.ac.th กัญญ์ฐญา จินต์ตนุวรากุล kanthayaji@gmail.com ณัฐกร ไชยแสน nirattisaichaiyasan@gmail.com ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ piyamaz@gmail.com วุฒิกร สระแก้ว esso.wutt@gmail.com <p>วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วัตถุดิบข้าวโพดมอลต์หมักยีสต์ร่วมกับเปลือกข้าวโพดที่ผ่านการหมักยีสต์และจุลินทรีย์ แลคติค ในสูตรอาหารที่มีผลต่อองค์ประกอบทางเคมี ผลผลิตแก๊สที่หมักย่อยและค่าความสามารถในการย่อยโดยเทคนิคในห้องปฏิบัติการ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design, CRD) แบ่งปัจจัยการศึกษาออกเป็น 5 ปัจจัย ดังนี้ ทรีทเมนต์ 1 สูตรอาหารข้าวโพดบด : เปลือกข้าวโพดหมักด้วยยีสต์และจุลินทรีย์แลคติค สัดส่วน 50 : 50 ทรีทเมนต์ 2 สูตรอาหารข้าวโพดมอลต์หมักยีสต์ : เปลือกข้าวโพดหมักด้วยยีสต์และจุลินทรีย์แลคติค สัดส่วน 50 : 50 ทรีทเมนต์ 3 สูตรอาหารข้าวโพดมอลต์หมักยีสต์ : เปลือกข้าวโพดหมักด้วยยีสต์และจุลินทรีย์แลคติค สัดส่วน 60 : 40 ทรีทเมนต์ 4 สูตรอาหารข้าวโพดมอลต์หมักยีสต์ : เปลือกข้าวโพดหมักด้วยยีสต์และจุลินทรีย์แลคติค สัดส่วน 70 : 30 และทรีทเมนต์ 5 สูตรอาหารข้าวโพดมอต์ลหมักยีสต์ : เปลือกข้าวโพดหมักด้วยยีสต์และจุลินทรีย์แลคติค สัดส่วน 80 : 20 พบว่า ค่าองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ วัตถุแห้ง มีค่าเท่ากับ 64.99 53.55 51.49 50.99 และ 50.15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โปรตีน มีค่าเท่ากับ 13.50 14.20 14.50 15.20 และ 15.70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง (<em>in vitro</em> dry matter digestibility, IVDMD) ที่บ่ม 24 ชั่วโมงของอาหารทั้ง 5 สูตร มีค่าเท่ากับ 65.80 69.25 72.93 73.35 และ 76.70 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และ บ่มที่ 48 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 70.70 73.50 78.38 79.33 และ 81.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.01) และการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ (<em>in vitro</em> organic matter digestibility, IVOMD) ที่บ่ม 24 ชั่วโมงมีค่าเท่ากับ 94.85 95.98 95.97 96.55 และ 97.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.01) บ่มที่ 48 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 96.70 96.41 95.97 97.20 และ 97.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P &gt; 0.05) ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าข้าวโพดมอลต์หมักยีสต์ร่วมกับผลพลอยได้ทางการเกษตรจากเปลือกข้าวโพดที่ผ่านการหมักร่วมกับยีสต์และกรด แลคติค เมื่อมีชั่วโมงการบ่มอาหารในรูเมนนานขึ้น มีผลต่อค่าความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และการย่อยได้อินทรียวัตถุก็จะเพิ่มสูงขึ้น</p> 2024-06-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263407 ประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma asperellum ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงน้ำดอกไม้ 2024-06-08T09:16:31+07:00 ฉัตรา ปทุมพร kanchalika.ra@rmu.ac.th สำราญ พิมราช kanchalika.ra@rmu.ac.th กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย kanchalika.ra@rmu.ac.th <p>การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา <em>Trichoderma asperellum</em> ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา <em>Colletotrichum gloeosporioides</em> โดยการแยกเชื้อราสาเหตุโรคจากใบมะม่วงด้วยวิธี Tissue transplanting ได้เชื้อราจำนวน 20 ไอโซเลท นำเชื้อราทั้ง 20 ไอโซเลท มาทดสอบการเกิดโรคด้วยวิธี Detached leaves พบว่า ไอโซเลท M05 สามารถทำให้เกิดโรครุนแรงที่สุด ในการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา <em>T. asperellum</em> ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา <em>C. gloeosporioides</em> M05 ด้วยวิธีเลี้ยงเชื้อร่วม พบว่า <em>T. asperellum</em> สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการสร้างสปอร์ของเชื้อรา <em>C. gloeosporioides</em> M05 ที่ 86.39 และ 78.87 % ตามลำดับ นอกจากนี้เชื้อรา <em>T. asperellum</em> สามารถควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสบนใบมะม่วงในสภาพโรงเรือนทดลอง ได้ 77.60 % อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติกับเชื้อรา T. harzianum (สายพันธุ์กรมวิชาการเกษตร) (p &lt; 0.05)</p> 2024-06-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263381 การจัดการแปลงปลูกด้วยวัสดุอินทรีย์ที่มีผลต่อคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 60 2024-06-05T11:26:53+07:00 วิมลนันทน์ กันเกตุ csnwnk@ku.ac.th พรทิพย์ ศรีมงคล csnptsk@ku.ac.th เรวัตร จินดาเจี่ย rewatchi@gmail.com สุรัสวดี พรหมอยู่ csnsrwd@ku.ac.th <p>การจัดการแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุอินทรีย์ที่เหมาะสมนับเป็นหนึ่งในการทำการเกษตรยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (GDSs) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตรของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในแปลงปลูก ที่มีผลต่อคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design แบ่งออกเป็น 9 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ไม่ใส่วัสดุอินทรีย์ (ชุดควบคุม) 2) ใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีของเกษตรกร 3) ใส่ฟางข้าว 4) ใส่มูลวัว 5) ใส่มูลไก่ 6) ใส่ถ่านชีวภาพ 7) ใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับฟางข้าว 8) ใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับมูลวัว 9) ใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับมูลไก่ ผลการศึกษาพบว่าชนิดของวัสดุอินทรีย์มีผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ได้แก่ น้ำหนักเมล็ด ปริมาณเมล็ดดี ความชื้นของเมล็ด ความงอกเมล็ด ปริมาณโปรตีนและไขมันของเมล็ด โดยคุณภาพด้านสีของเมล็ดไม่แตกต่างกันระหว่างวัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ส่วนแปลงปลูกถั่วเหลืองที่ใส่มูลวัวมีน้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยมากที่สุด ในขณะที่แปลงปลูกถั่วเหลืองที่ใส่ถ่านชีวภาพ และใส่ปุ๋ยเคมี มี %เมล็ดดีเฉลี่ยมากที่สุด สำหรับแปลงปลูกถั่วเหลืองที่ใส่ฟางข้าวส่งผลให้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมีความชื้นเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนแปลงปลูกที่ใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับมูลวัว และแปลงปลูกที่ใส่ถ่านชีวภาพเพียงอย่างเดียว มี % ความงอกเฉลี่ยของเมล็ดสูงที่สุดแต่ไม่แตกต่างจากแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมี แปลงปลูกถั่วเหลืองที่ใส่ฟางข้าวทำให้เมล็ดถั่วเหลืองมีปริมาณโปรตีนเฉลี่ยน้อยที่สุด และแปลงปลูกที่ใส่ถ่านชีวภาพ และมูลวัว มีปริมาณไขมันของเมล็ดถั่วเหลืองมากที่สุดไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมี การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการแปลงปลูกด้วยวัสดุอินทรีย์สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพเมล็ดพันธุ์ และองค์ประกอบทางเคมีให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรประเภทถั่วเหลืองเมล็ดแห้งได้</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263343 ผลของการใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารข้นต่อกระบวนการหมักในกระเพาะหมัก ผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบน้ำนมของโคนม 2024-06-04T14:10:36+07:00 นพรัตน์ ผกาเชิด noppharat.ph@ksu.ac.th ทิพย์สุดา บุญมาทัน Thipsuda.bo@ksu.ac.th ฐิติมา นรโภค oreo99@windowslive.com พีรพจน์ นิติพจน์ nitipot@yahoo.com <p>การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารข้นต่อกระบวนการหมักในกระเพาะหมัก ผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบน้ำนมของโคนม โดยใช้โคนมพันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian crossbred) ที่อยู่ในระยะของการให้นม จำนวน 4 ตัว น้ำหนักตัวเริ่มต้น 426.00 ± 19.03 กิโลกรัม จำนวนวันที่ ให้นม 75 ± 36 วัน และมีผลผลิตน้ำนมเริ่มต้น 17.32 ± 3.59 กิโลกรัมต่อวัน ใช้แผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน โดยแต่ละระยะทดลองใช้เวลา 21 วัน โดยมีระยะเวลาปรับสัตว์ 14 วัน และระยะเวลาการเก็บข้อมูล 7 วัน โดยทำการศึกษาระดับการใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารข้น 4 ระดับ ได้แก่ 0 10 20 และ 30 % ผลการทดลอง พบว่า การใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารข้นทุกระดับ ไม่มีผลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้โภชนะ ความเป็นกรด-ด่าง แอมโมเนียไนโตรเจนในกระเพาะหมัก ยูเรียไนโตรเจนในเลือด และองค์ประกอบน้ำนม (P &gt; 0.05) การใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารข้นที่ระดับ 10 และ 20 % ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนมของโคนม (P &gt; 0.05) แต่การใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารที่ระดับ 30 % มีผลทำให้ปริมาณน้ำนม และระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของโคนมลดลง (P &lt; 0.05) ดังนั้น จึงสามารถใช้ใบมันสำปะหลังอัดเม็ดทดแทนอาหารข้นได้ที่ระดับ 20 % โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตของโคนม</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263216 การเสริมผงกานพลูร่วมกับการบรรจุแบบสุญญากาศต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกไก่ 2024-05-06T12:14:22+07:00 นัทธมน ตั้งจิตวัฒนาชัย nn2520@yahoo.com เด่นพงษ์ สาฆ้อง denpongx@gmail.com <p>ผงกานพลูเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เนื่องจากอุดมไปด้วยสารยูจีนอลที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา ลดการเกิดสารอนุมูลอิสระ จึงถูกนำมาใช้เพื่อปรุงแต่งรสและยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้ยาวนานขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมผงกานพลูร่วมกับการบรรจุแบบสุญญากาศต่อคุณภาพการเก็บรักษาไส้กรอกไก่ โดยมีปัจจัยการทดลอง คือ ระดับการเสริมผงกานพลู 3 ระดับ ได้แก่ 0 3.5 และ 5 กรัมต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นทำการเก็บไส้กรอกไก่ไว้ที่อุณหภูมิ 4 °C เป็นเวลา 5 7 และ 14 วัน ระหว่างนั้นทำการวัดค่าการสูญเสียน้ำระหว่างการเก็บรักษา ณ ชั่วโมงที่ 24 และ 48 และวันที่ 5 7 และ 14 ทำการวัดค่าการสูญเสียน้ำอันเนื่องมาจากการปรุงสุก ค่าสี และการปนเปื้อนของแบคทีเรียทั้งหมด ผลการทดลอง พบว่า ผงกานพลูสามารถลดค่าการสูญเสียน้ำระหว่างการเก็บรักษาและค่าการสูญเสียน้ำระหว่างการปรุงสุกลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) ด้านค่าสี พบว่า การเสริมผงกานพลูไม่ส่งผลต่อค่าสีแดงและค่าสีเหลืองของไส้กรอกไก่ ด้านการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด พบว่า ณ วันที่ 7 และ 14 ของการเก็บรักษา กลุ่มที่มีการเสริมผงกานพลูที่ระดับ 5 กรัม มีปริมาณแบคทีเรียปนเปื้อนน้อยที่สุด และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P &lt; 0.05) จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่า การเสริมผงกานพลูสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกไก่ที่ผ่านการบรรจุแบบสุญญากาศได้</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263213 ผลของการใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะและประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ส่วนท้ายของลูกสุกรหลังหย่านม 2024-05-23T17:23:58+07:00 กันต์ปิติภัทร จิตอารี esso.wutt@gmail.com รัชนี บัวระภา esso.wutt@gmail.com ศลิษา โคตุพันธุ์ esso.wutt@gmail.com ภูวดล บินสุหลง esso.wutt@gmail.com ศิวพงศ์ เลื่อนราม esso.wutt@gmail.com วุฒิกร สระแก้ว esso.wutt@gmail.com <p>ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาคือผักตบชวาที่ดัดแปลงร่วมกับจุลินทรีย์ย่อยเยื่อใยทำให้มีค่าโปรตีนสูงขึ้นและเยื่อใยต่ำลง สามารถใช้ในอาหารสุกรได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะและประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ส่วนท้ายของลูกสุกรหลังหย่านม ใช้สุกรลูกผสมสายพันธุ์ (ลาร์จไวท์-แลนด์เรซ) เพศผู้ จำนวน 24 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ย 10.2±3.41 กิโลกรัม) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 4 ทรีตเมนต์ ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 คือ สูตรอาหารควบคุม (ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวา 0 % ทรีตเมนต์ที่ 2 3 และ 4 คือ สูตรอาหารที่ใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวา 5 10 และ 15 % ตามลำดับ ทำการทดลอง 60 วัน ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ การย่อยได้ของวัตถุแห้งและการย่อยได้ของโปรตีนมีค่าลดลงที่ระดับการใช้ 15 % (P &lt; 0.01) ขณะที่ระดับการใช้ 5 และ 10 % มีค่าไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (P &gt; 0.05) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตต่อวันมีค่าสูงขึ้นที่ระดับการใช้ 5 % (P = 0.07) แต่มีค่าลดลงที่ระดับการใช้ 15 % (P&lt;0.01) ส่งผลทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวมีค่าลดลงต่ำสุดที่ระดับการใช้ 5 % (P &lt; 0.05) แต่มีค่าเพิ่มสูงขึ้นที่ระดับ 15 % (P &lt; 0.01) ต้นทุนค่าอาหารต่อการเจริญเติบโตมีค่าไม่แตกต่างกัน (P &gt; 0.05) อย่างไรก็ตามมีค่าเฉลี่ยลดลง 0.9-1.4 บาทต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวา 5-15 % การใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาส่งผลให้จำนวนแบคทีเรียกรดแลคติคในลำไส้ส่วนท้ายสูงขึ้น (P&lt;0.01) ขณะที่จำนวน <em>E. coli</em> และจุลินทรีย์รวมไม่มีความแตกต่างกัน (P&gt;0.05) แสดงให้เห็นว่า สามารถใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารลูกสุกรหลังหย่านมได้ โดยที่ระดับการใช้ 5 % น่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/263194 ผลของไข่แดงผงต่อคุณภาพและลักษณะการเคลื่อนที่ของน้ำเชื้อโคหลังการแช่แข็ง 2024-06-11T11:19:09+07:00 วิสูตร ไมตรีจิตต์ wisut.m@ku.th ประเสริฐศักดิ์ ภักดีวงษ์ prasertsak.puk@ku.th ทวี เหล่าดิ้ม fagrtwl@ku.ac.th ทวีพร เรืองพริ้ม swktpr@ku.ac.th อาทิตย์ ปัญญาศักดิ์ arthit.pan@ku.th สุกัญญา รัตนทับทิมทอง agrsura@ku.ac.th สุธิษา มาเจริญ sutisa.ma@ku.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคหลังทำละลาย จากการเจือจางด้วยสารละลายน้ำเชื้อโคแช่แข็งสูตร egg yolk tris glycerol (ETG) ที่มีไข่แดงสด และไข่แดงผงที่ 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนประกอบ จากนั้นทำการรีดเก็บน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์โคเนื้อจำนวน 4 ตัว ตัวละ 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ แบ่งน้ำเชื้อออกเป็น 3 ส่วน เพื่อเจือจางตามสูตรสารละลายที่ต่างกันตามชนิดของไข่แดง กลุ่มที่ 1 สารละลายน้ำเชื้อที่มีไข่แดงสด (EG) กลุ่มที่ 2 สารละลายน้ำเชื้อที่มีไข่แดงผง 10 เปอร์เซ็นต์ (10EP) และกลุ่มที่ 3 สารละลายน้ำเชื้อที่มีไข่แดงผง 15 เปอร์เซ็นต์ (15EP) ทำการบรรจุน้ำเชื้อที่ทำการเจือจางด้วยสารละลายทั้ง 3 สูตร ในหลอดน้ำเชื้อขนาด 0.25 ml และทำการปิดผนึก นำตัวอย่างน้ำเชื้อโคที่ทำการแช่แข็งมาทำละลายที่หลังแช่แข็ง 24 ชั่วโมง เพื่อประเมินคุณภาพน้ำเชื้อทำการวิเคราะห์ด้วย เครื่อง CASA จากผลการทดลองพบว่า ในด้านเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว (motile) น้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคที่เจือจางด้วยสารละลายน้ำเชื้อกลุ่ม EG ไข่แดงผง 10EP และ 15EP มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P&gt;0.05) แต่พบว่าเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (progressive) ของกลุ่ม EG สูงกว่ากลุ่มไข่แดงผงทั้ง 2 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P&lt;0.01) โดยมีค่าอยู่ที่ 9.47 4.48 และ 4.36 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และในด้าน sperm velocity ค่าความเร็วเฉลี่ยในการเคลื่อนที่ของอสุจิ (VAP) ความเร็วในการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของตัวอสุจิ (VSL) และความเร็วในการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งของตัวอสุจิ (VCL) ของกลุ่ม EG สูงกว่า กลุ่มไข่แดงผงทั้ง 2 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P&lt;0.01) ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในด้านเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว และตัวอสุจิที่ผิดปกติที่แช่แข็งในสารละลาย EG 10EP และ 15EP (P&gt;0.05) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารละลายน้ำเชื้อแช่แข็งที่มีส่วนประกอบของไข่แดงผงที่ระดับ 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่ส่งผลต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำเชื้อโคแช่แข็งในด้านเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ</p> 2024-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/262981 การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพริกหวานด้วยน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 2024-04-30T16:27:18+07:00 พิราวรรณ วสุนันต์ ploypirawannn@gmail.com พีระยศ แข็งขัน perayos.k@msu.ac.th ชัชพงศ์ บางใบ offphy@gmail.com ปริญดา แข็งขัน dasriwises@hotmail.com เอกรินทร์ สารีพัว eakrin.sa@ksu.ac.th <p>การศึกษานี้มุ่งเน้นการสำรวจผลของสนามแม่เหล็กถาวรและระยะเวลาในการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำที่ผ่านสนามแม่เหล็กต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกหวานพันธุ์แคลิฟอร์เนีย โดยนำเมล็ดมาแช่น้ำที่ผ่านสนามแม่เหล็กถาวร ตามแผนการทดลอง 3X4 Factorial experimental in randomized complete block design ดังนี้ ปัจจัย A ความเข้มสนามแม่เหล็กถาวร 3 ระดับ (0 mT, 25 mT, 50 mT) ปัจจัย B ระยะเวลาในการแช่น้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร มี 4 ระดับ (0 3 6, 9 ชม.) จากนั้นนำเมล็ดผึ่งให้แห้งและทดสอบความงอกมาตรฐาน ความแข็งแรงและการเจริญเติบโตของต้นกล้า พบว่า ความเข้มสนามแม่เหล็กถาวร 50 mT ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกในห้องปฏิบัติการ (P&lt;0.05) การแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวรเป็นเวลา 3 ชม. ช่วยลดเวลาเฉลี่ยในการงอก เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและดัชนีการงอกของเมล็ด (P&lt;0.01) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเข้มสนามแม่เหล็กถาวรและระยะเวลาในการแช่เมล็ด พบว่า การแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 25 mT นาน 3 ชม. ช่วยให้เวลาเฉลี่ยในการงอกน้อยที่สุด (8.43 วัน) ในโรงเรือนการแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กความเข้ม 25 mT นาน 6 ชม. ให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด (84 เปอร์เซ็นต์) และดัชนีการงอกเฉลี่ย 3.89 ต้น/วัน (P&lt;0.05) การแช่เมล็ดในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 25 mT นาน 3 ชม. ช่วยให้ความยาวต้นกล้าในสัปดาห์ที่ 1 สูงสุด ส่วนการแช่ในน้ำผ่านสนามแม่เหล็กถาวร 50 mT นาน 6 ชม. เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบต้นกล้าในสัปดาห์ที่ 2 สูงสุด (26.85 SPAD unit) ดังนั้นปัจจัยที่เหมาะสมในการเพิ่มคุณภาพการงอกของเมล็ดพริกหวาน คือความเข้มสนามแม่เหล็ก 25 mT และระยะเวลา 6 ชม. </p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261522 การพัฒนาคอมบูชาจากการเบลนด์ชาสมุนไพรและชาดอกไม้และประโยชน์ต่อสุขภาพ 2024-04-02T19:18:21+07:00 นิสา ร่มส้มซ่า nisa_romsomsa@hotmail.com อินทิรา สูตรใหม inthira.atom1612@gmail.com ณัชธนิดา อมรกิตติถาวร nattanida.fai2209@gmail.com ทิพย์วรินทร์ ริมลำดวน rimlumduan@gmail.com น้ำฝน สามสาลี fon_fe16@hotmail.com <p>จุดประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มคอมบูชาจากการเบลนด์ชาสมุนไพร และชาดอกไม้สูตรต่าง ๆ โดยศึกษาปริมาณแบคทีเรียกรดอะซิติกและยีสต์ เปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเครื่องดื่มคอมบูชาที่ได้จากการหมักชาเบลนด์สมุนไพรและชาดอกไม้จำนวน 9 สูตร พบว่าปริมาณแบคทีเรียกรดอะซิติกและยีสต์ในแต่ละสูตรมีปริมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; 0.05) โดยคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 3 (ชาอู่หลง เจียวกู่หลานและคาโมมายด์) มีปริมาณแบคทีเรียกรดอะซิติกสูงที่สุดเท่ากับ 8.45±0.02 log CFU/ml และคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 5 (ชาอู่หลง ใบข้าวหอมมะลิและกุหลาบ) มีปริมาณยีสต์สูงที่สุดเท่ากับ 6.19±0.02 log CFU/ml ส่วนคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 3 สูตรที่ 4 (ชาอู่หลง ใบข้าวหอมมะลิ และคาโมมายด์) และสูตรที่ 5 พบปริมาณกรดอะซิติกสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 1 และค่าพีเอชเท่ากับ 2.53 จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของคอมบูชาจากการหมักชาเบลนด์ด้วยวิธี DPPH พบว่าคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 8 (ชาอู่หลง ชาดาวอินคา และกุหลาบ) มีร้อยละการยับยั้งสารอนุมูลอิสระสูงสุดเท่ากับ 87.09±0.006 ส่วนคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 3 พบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุดเท่ากับ 0.398±0.002 มิลลิกรัม เมื่อเทียบกับกรดแกลลิกต่อปริมาณตัวอย่าง ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของคอมบูชาจากการหมักชาเบลนด์ พบว่าคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 5 มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสได้ดีที่สุดโดยมีค่าความเข้มข้นของคอมบูชา ที่สามารถยับยั้งปฏิกิริยาได้ร้อยละ 50 (IC<sub>50</sub>) เท่ากับ 43.62±1.28 ppm จากผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรต่าง ๆ พบว่าคอมบูชาจากชาเบลนด์สูตรที่ 4 และ 7 มีคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุดเท่ากับ 7.56±1.89 และ 7.32±1.75 ตามลำดับ ดังนั้นงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มคอมบูชาจากการเบลนด์ชาที่เหมาะสมจากการใช้สมุนไพรและชาดอกไม้เป็นวัตถุดิบทางเลือกอย่างชาอู่หลง ใบข้าวหอมมะลิ และคาโมมายด์ซึ่งได้รับคะแนนการยอมรับจากผู้บริโภคสูงที่สุดและมีสมบัติเชิงหน้าที่อีกด้วย</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260874 บทบาทของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร: วัสดุทางเลือกสำหรับผลิตแผ่นทำความเย็น แบบระเหย 2023-12-06T16:09:08+07:00 สมพร กงนะ sompornrdi@npu.ac.th คมกฤษณ์ ชูเรือง komkritc@npu.ac.th กัญลยา มิขะมา kanlaya@npu.ac.th เสาวคนธ์ เหมวงษ์ saowakon@hotmail.com <p>การใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยในโรงเรือนเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการปัญหาการทำการเกษตรในภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือราคาแผ่นทำความเย็นที่สูง ทำให้เทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถใช้กับเกษตรกรรายย่อยได้ ดังนั้นบทความปริทัศน์นี้เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ และสรุป การวิวัฒนาการ หลักการและวิธีการผลิต เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นแผ่นทำความเย็น รวมถึงแนวทางการนำไปใช้ โดยจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับเป็น แผ่นทำความเย็นแบบระเหย พบว่าสามารถลดอุณหภูมิได้ ระหว่าง 3 ถึง 8 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับกระดาษที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งลดได้ประมาณ 5 องศาเซลเซียส ดังนั้นประสิทธิภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างภายในของวัสดุ ขนาดรูพรุนและปริมาตร ความสามารถในการดูดซับและการระเหยของน้ำ ความสามารถในเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความสามารถในการลดตะกอนสะสม ความคงทนของวัสดุ และปริมาณของวัสดุในพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ต้องมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ ซึ่งเป็นการจัดการเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรและก่อให้เกิดการทำการเกษตรต้นทุนต่ำอย่างยั่งยืนในอนาคต</p> 2024-03-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/259780 ความแตกต่างทางพันธุกรรมของปลาโจกทรายในแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย 2023-12-07T14:31:31+07:00 อาภากร สกุลสถาพร arpasa@kku.ac.th เบญจพรรณ เจริญยิ่ง meehpooh0803@gmail.com รัชนีกรณ์ มาพะเนาว์ ratcma@kku.ac.th <p>การศึกษานี้นำเสนอการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมครั้งแรกของ Cyclocheilichthys enoplos ซึ่งเป็นปลาชนิดหนึ่งที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชาชนในพื้นที่ ในการศึกษานี้ได้ใช้เครื่องหมายสก๊อต (Start Codon Targeted, SCoT, 9 primers) เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาโจกทรายสามกลุ่มประชากรจากธรรมชาติในแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย ตัวอย่างปลาที่เก็บมาทั้งหมด 28 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่าให้แถบดีเอ็นเอที่ให้โพลิมอร์ฟิซึมรวม 158 แถบ และมีค่า % of polymorphic loci (% P) อยู่ระหว่าง 48.80-85.54 % ประชากรจาก อำเภอรัตนวาปี (RP) มีความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรสูงที่สุด ในขณะที่ประชากรจาก อำเภอสังคม (SK) มีระดับการแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรที่ต่ำที่สุดค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (heterozygosity; He) และค่าดัชนีความหลากหลายทางพันธุกรรม (Shannon's Information index; I) ของทั้งสามประชากรอยู่ระหว่าง 0.195-0.296 และ 0.285-0.444 ตามลำดับ และแผนภาพจัดกลุ่มความสัมพันธ์จากค่า Nei's genetic distance และแผนภาพความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการจากโปรแกรม NTSYS-PC จัดแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของประชากรระดับโมเลกุล (AMOVA) ได้แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่ของความแตกต่างเกิดขึ้นภายในกลุ่มประชากร (87 %) ในขณะที่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มประชากรมีค่าน้อย (13 %) โดยการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการจัดการประชากรปลาโจกทรายในภูมิภาคนี้</p> 2024-03-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261504 ภาวะการดื้อยาและทางเลือกในการป้องกันเห็บในปัจจุบัน 2024-02-05T13:01:26+07:00 กนกวรรณ บุตรโยธี kanokwan.b@snru.ac.th ธราดล จิตจักร yjitjak@gmail.com หาญชัย อัมภาผล hanchai@snru.ac.th เสริมวิช บุตรโยธี sermwich@snru.ac.th <p>เห็บเป็นปัญหาสำคัญในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในมนุษย์และสัตว์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการดื้อยาสำหรับเห็บ การศึกษากลุ่มยาฆ่าแมลงชนิดใหม่สำหรับการป้องกันและควบคุมจำนวนเห็บ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ และสำรวจแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการกำจัดเห็บ ในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และคิดค้นวิธีการใหม่เพื่อควบคุมประชากรเห็บที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม ได้พบว่าประสิทธิภาพเหล่านี้ลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์หรือส่งต่อของยีนดื้อยาของเห็บ ปัญหาการดื้อยาในเห็บส่งผลกระทบต่อทั้งทางการแพทย์และสัตวแพทย์ และทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยามากเกินความจำเป็น การใช้ยากลุ่มสารเคมีต่างๆ ที่มีการใช้มาเป็นเวลานาน นอกจากจะมีประสิทธิภาพที่ต่ำลง สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการปนเปื้อนของกลุ่มยาและสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันจึงได้มีการให้ความสำคัญในการใช้วิธีการกำจัดเห็บที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สารสกัดจากสมุนไพร ไปจนถึงวิธีการทางภูมิคุ้มกันและการป้องกันด้วยวิธีชีวภาพต่าง ๆ การศึกษาและวิจัยแนวทางในการกำจัดเห็บทางเลือกใหม่จึงน่าสนใจเป็นอย่างมาก การดื้อยาของเห็บนี้อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาที่มากเกินความจำเป็นหรือใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงควรมีการทำความเข้าใจกลไกการเกิดการดื้อยาด้วย</p> 2024-03-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม