วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์บทความในวารสารเกษตรพระวรุณ </strong></p> <p>1. เป็นบทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) หรือบทความทางวิชาการ (Academic article) ทางด้านเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ ประมง วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ วิทยาศาสตร์การอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจการเกษตร ส่งเสริมการเกษตร สารสนเทศการเกษตร นวัตกรรมการเกษตร และนวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น </p> <p>2. ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน (ต้นฉบับหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นฉบับ) และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด</p> <p><strong>การตรวจสอบการตีพิมพ์ </strong></p> <p>บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเกษตรพระวรุณต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อตอบรับการตีพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการประกอบด้วย</p> <p>กระบวนการที่ 1: กลั่นกรองเบื้องต้นในรูปแบบการพิมพ์ ขอบเขตของเนื้อหา และความสมบูรณ์ของบทความ </p> <p>กระบวนการที่ 2: กลั่นกรองต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่าน ในประเด็นความเหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพของบทความแต่ละประเภทรวมถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบในรูปแบบ <strong>"DOUBLE BLINED REVIEW"</strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 2 ฉบับ </strong></p> <p><strong>- ฉบับที่ 1: เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน</strong></p> <p><strong>- ฉบับที่ 2: เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม </strong></p> FACULTY OF AGRICULTURAL TECHNOLOGY, RAJABHAT MAHA SARAKHAM UNIVERSITY th-TH วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2773-9627 การยอมรับการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชบนแปลงอ้อยโดยใช้ยานพาหนะทางอากาศที่ไม่มีคนขับ (โดรน) อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/265553 <p>การศึกษาครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์การยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยด้วยการใช้ยานพาหนะทางอากาศที่ไม่มีคนขับ (โดรน) ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มชาวไร่อ้อยจำนวน 344 ราย โดยการใช้แบบฟอร์มสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น พบว่าชาวไร่อ้อยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้โดรนในการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.33, SD = ± 0.61) และสามารถเรียนรู้การใช้งานโดรนได้อย่างง่าย ไม่ยุ่งยาก ในด้านของความสนใจ ชาวไร่อ้อยมีความสนใจในการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โดรนในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.30, SD= ± 0.66) นอกจากนี้ การใช้โดรนในไร่อ้อยยังมีความซับซ้อน เนื่องจากต้องการทักษะและความเข้าใจในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.39, SD= ± 0.65) ทำให้ชาวไร่อ้อยทดลองใช้โดรนในการพ่นสารกำจัดวัชพืชแทนวิธีอื่นในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.40, SD= ± 0.63) ในส่วนของการยอมรับ เกษตรกรที่กำลังพิจารณาซื้อโดรนเพื่อการเกษตรมีความสนใจในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 3.52, SD= ± 0.66)</p> กฤษฏากรณ์ ว่องไว Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2025-03-17 2025-03-17 22 1 1 10 10.14456/paj.2025.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผักของเกษตรกร อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/264699 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผักของเกษตรกรอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน จากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีการผลิต 2566/2567 จำนวน 179 ราย โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 124 ราย และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนมาก อายุเฉลี่ย 54.05 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 38.70 มีประสบการณ์การผลิตผักเฉลี่ย 7.87 ปี เกษตรกรฝึกอบรม เฉลี่ย 2.51 ครั้ง โดยมีรายได้ทั้งหมดต่อปี เฉลี่ย 79,669.84 บาท มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 31,460.88 บาท มีรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 26,461.13 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 21,747.82 บาท ราคาผลผลิตเฉลี่ย 23.46 บาท จำนวนครั้งในการผลิตผักในปีการผลิต ปี 2566 เฉลี่ย 5.81 ครั้ง มีจำนวนแรงงานในการผลิตผักเฉลี่ย 2.31 คน มีพื้นที่ผลิตผักเฉลี่ย 1.31 ไร่ ใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 2.40 ครั้ง ผลการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Analysis) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Pearson Correlation) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในการผลิตผัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ จำนวนครั้งของการใส่ปุ๋ย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.090 ส่วนตัวแปรอื่นๆ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ราคาผลผลิตผัก จำนวนครั้งการผลิตผัก จำนวนแรงงานผลิตผัก รายได้จากการผลิตผัก พื้นที่การผลิตผัก จำนวนครั้งการใส่ปุ๋ย</p> ปิยฉัตร จันทร์ใจ นารีรัตน์ สีระสาร ธำรงเจต พัฒมุข Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2025-03-24 2025-03-24 22 1 11 17 10.14456/paj.2025.2 พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเนื้อแพะของผู้บริโภคในภาคใต้ของ ประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/265117 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคเนื้อแพะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภค และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเนื้อแพะของผู้บริโภคในภาคใต้ของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 1,000 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่บริโภคเนื้อแพะไม่ครบทุกมื้อ ร้อยละ 56.20 บริโภคในปริมาณ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ร้อยละ 42.80 โดยซื้อเพื่อบริโภคในครอบครัว ร้อยละ 63 และใช้คุณภาพเป็นเกณฑ์หลักในการเลือกซื้อ ร้อยละ 34.90 แหล่งซื้อหลักคือตลาดในชุมชน ร้อยละ 55.10 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ศาสนา และรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.01) การรับรู้ประโยชน์และคุณค่าของเนื้อแพะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความใส่ใจสุขภาพ (r=0.492, p&lt;0.01) และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติ (β=0.813) และความตั้งใจซื้อ (β=0.55) มากที่สุด ผู้บริโภคมีการรับรู้คุณค่าด้านคุณภาพในระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ย 3.41 แต่มีความคิดเห็นระดับเฉย ๆ ต่อคุณค่าด้านอารมณ์ ราคาและสังคม ด้านทัศนคติ พบว่า ผู้บริโภคเห็นด้วยว่าเนื้อแพะมีราคาแพงและไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตราย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าและทัศนคติที่ดีต่อเนื้อแพะ รวมถึงการยกระดับอุตสาหกรรมเนื้อแพะในภาคใต้ของประเทศไทย</p> พิไลวรรณ ประพฤติ ธีรศักดิ์ จินดาบถ ศรัณยู กาญจนสุวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2025-04-08 2025-04-08 22 1 18 26 10.14456/paj.2025.3