วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์บทความในวารสารเกษตรพระวรุณ </strong></p> <p>1. เป็นบทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) หรือบทความทางวิชาการ (Academic article) ทางด้านเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ ประมง วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ วิทยาศาสตร์การอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร ธุรกิจการเกษตร ส่งเสริมการเกษตร สารสนเทศการเกษตร นวัตกรรมการเกษตร และนวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น </p> <p>2. ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน (ต้นฉบับหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นฉบับ) และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด</p> <p><strong>การตรวจสอบการตีพิมพ์ </strong></p> <p>บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเกษตรพระวรุณต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อตอบรับการตีพิมพ์ โดยกองบรรณาธิการประกอบด้วย</p> <p>กระบวนการที่ 1: กลั่นกรองเบื้องต้นในรูปแบบการพิมพ์ ขอบเขตของเนื้อหา และความสมบูรณ์ของบทความ </p> <p>กระบวนการที่ 2: กลั่นกรองต้นฉบับโดยผู้ทรงคุณวุฒิประจำกองบรรณาธิการวารสาร จำนวน 3 ท่าน ในประเด็นความเหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพของบทความแต่ละประเภทรวมถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบในรูปแบบ <strong>"DOUBLE BLINED REVIEW"</strong></p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่วารสาร ปีละ 2 ฉบับ </strong></p> <p><strong>- ฉบับที่ 1: เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน</strong></p> <p><strong>- ฉบับที่ 2: เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม </strong></p> th-TH [email protected] (Dr.Wantanee Polviset) [email protected] (Mr. Thummachat saengnil) Mon, 18 Mar 2024 14:22:32 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกล้วยหอมทองเสริมสับปะรดศรีราชา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260439 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกล้วยหอมทองเสริมสับปะรดศรีราชา โดยศึกษาปริมาณการเสริมสับปะรดที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์แยมกล้วยหอมทอง ร้อยละ 0 26.50 42 และ 59.25 โดยน้ำหนักของกล้วยหอมทอง ผลการวิเคราะห์การยอมรับของผู้บริโภคทางด้านประสาทสัมผัส คุณภาพทางกายภาพ ทางเคมี และอายุการเก็บรักษา พบว่า การเสริมสับปะรดที่เหมาะสมในการผลิตแยมกล้วยหอมทอง คือ การเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด มีคะแนนความชอบโดยรวมเท่ากับ 7.97 หรือระดับความชอบปานกลาง (9-point hedonic scale โดย 9 = ชอบมากที่สุด 1 = ไม่ชอบมากที่สุด) มีค่าความสว่าง (L*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) ที่มีค่าใกล้เคียงกับสูตรควบคุม การเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 ทำให้ค่าความแข็งของเจล (Hardness) มีค่าต่ำกว่าสูตรควบคุม ขณะที่ค่าการเกาะกันของเจล (Adhesiveness) สูงกว่า และเมื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณกรดในรูปกรดซิตริก มีค่าร้อยละ 1.13 และการเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 ส่งผลให้มีปริมาณความชื้นเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับร้อยละ 37.31 โดยมีปริมาณเส้นใยและปริมาณเถ้าไม่แตกต่างกันกับสูตรควบคุม แยมกล้วยหอมทองเสริมสับปะรดร้อยละ 26.50 มีอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส ได้มากกว่า 28 วัน จากผลการศึกษานำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและแปรรูปให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยไทดอนบาก ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี สามารถผลิตแยมจากกล้วยหอมทองเสริมสับปะรด ซึ่งสามารถจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของวิสาหกิจชุมชนได้</p> ศริสา ทวีแสง, ศรัญญา วอขวา, ธนวรรณ เพ็งชัย, ศยามน ปริยาจารย์, เอกชัย จารุเนตรวิลาส , กษมา ชารีโคตร, เพลินพิศ แจ้งโพธิ์นาค Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260439 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) เพื่อเพิ่มผลผลิตและสารสำคัญของกะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261229 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) มีผลต่อคุณสมบัติของดิน การเจริญเติบโต ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสารสำคัญของกะเพรา <em>(</em><em>Ocimum tenuiflorum L.)</em><strong> </strong> วางแผนการทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี จำนวน 4 บล็อค ใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีดังนี้ T1) ไม่ใส่ปุ๋ย (control) T2) ปุ๋ยเคมี 15-15-15 T3) ปุ๋ยอินทรีย์ T4) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-1 (HO-1) T5) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-2 (HO-2) และ T6) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม-3 (HO-3) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยนำต้นกล้ากะเพราปลูกในแปลง และใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธี พบว่าดินหลังการทดลองในกลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมหรือกลุ่มปุ๋ย HO (T4 T5 และ T6) ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) เพิ่มความพรุน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ และกลุ่มปุ๋ย HO มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อิทธิพลของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบของกะเพรา พบว่ากลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO ทำให้กะเพรามีขนาดลำต้นใหญ่ขึ้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ๆ และมีขนาดทรงพุ่มไม่แตกต่างกับปุ๋ยเคมี ด้านผลผลิตกลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO ส่วนใหญ่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใน T5 (HO-2) 1,736.30 กิโลกรัมต่อไร่ และ T2 (ปุ๋ยเคมี15-15-15) 1,735.80 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีอื่น ๆ ปริมาณสารสำคัญยูจินอล และเมทิลยูจินอล ใน T5 (HO-2) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ จึงสรุปได้ว่าปุ๋ย HO โดยเฉพาะ T5 (HO-2) สามารถปรับปรุงโครงสร้างดิน และช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินได้พร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ย</p> รณรงค์ คนชม, ภูมิศักดิ์ อินทนนท์, ชวลิต รักษาริกรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261229 Wed, 20 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนเพื่อการเกษตรโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ ในจังหวัดมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260314 <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณน้ำฝนรายเดือนเพื่อการเกษตรในจังหวัดมหาสารคาม ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ และเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวแบบ ได้แก่ วิธีของโฮลท์-วินเทอร์ และวิธีของบ็อกซ์-เจนกินส์ ซึ่งพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean absolute percentage error, MAPE) โดยศึกษาตัวแบบจากข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 120 เดือน เพื่อใช้ในการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนในเดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2565 จากการศึกษาตัวแบบทั้ง 2 ตัวแบบ พบว่าตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดมหาสารคาม คือตัวแบบวิธีของบ็อกซ์-เจนกินส์ เพราะให้ค่าร้อยละของค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 288.68</p> นิวัตร สุวรรณะ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260314 Wed, 20 Mar 2024 00:00:00 +0700 การเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261367 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบทและสถานการณ์ปัจจุบันในการผลิตข้าว (2) แรงจูงใจในการเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ (3) ปัจจัยเชิงสาเหตุในการเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้ทั้งข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องซึ่งรวบรวมไว้โดยหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน และใช้ข้อมูลปฐมภูมิกลุ่มเกษตรที่ทำนาอินทรีย์ จำนวน 37 ราย และเจ้าหน้าที่และนักวิชาการ จำนวน 3 ราย รวมทั้งสิ้น 40 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตการณ์ ใช้สถิติอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ ผลการศึกษาพบว่า มีการผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 1 ของพื้นที่นาทั้งหมด โดยได้รับการรับรองในระยะการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ (T3) แรงจูงใจในการเข้าสู่การผลิตข้าวอินทรีย์ประกอบด้วย (1) นโยบายในการส่งเสริมของภาครัฐและภาคเอกชน (2) สภาพแวดล้อม (3) ราคาพืชทดแทน และ (4) ราคาปัจจัยการผลิต ปัจจัยเชิงสาเหตุในการเข้าสู่การผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ประกอบด้วย (1) ความมุ่งมั่นและตั้งใจของเกษตรกร (2) การส่งเสริมของภาครัฐ (3) ผู้นำชุมชน และ (4) การสนับสนุนจากโครงการของภาครัฐ ปัจจัยเชิงสาเหตุในการไม่เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ประกอบด้วย (1) ความยุ่งยากในระบบการตรวจรับการประเมิน (2) ความล่าช้าของเงินอุดหนุน (3) การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ (4) การขาดแคลนแรงงาน (5) การจัดจำหน่ายผลผลิต การแก้ปัญหาข้างต้นและการทำให้เกษตรกรเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จะส่งผลให้แนวโน้มการผลิตข้าวอินทรีย์ในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพิ่มมากขึ้น</p> ปริยากร บุญส่ง, พิไลวรรณ ประพฤติ, ศรัณยู กาญจนสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261367 Thu, 04 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีการค้า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261281 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศเชอร์รีการค้า ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม–กันยายน พ.ศ. 2566 ดำเนินการทดลอง ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โดยศึกษามะเขือเทศเชอร์รีการค้าที่เหมาะสมในการผลิตเชิงปริมาณและคุณภาพสำหรับปลูกในพื้นที่จังหวัดน่านและภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีการค้าลูกผสมเดี่ยว จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์โซลาริโน่ พันธุ์คิงฟิชเชอร์ พันธุ์โนว่า พันธุ์ฟาร์วิโอ้ พันธุ์ส้มฮอลแลนด์และพันธุ์ซันเซอร์รี โดยใช้พันธุ์โซลาริโน่ ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ (พันธุ์ควบคุม) ภายใต้สภาพโรงเรือนพลาสติกตาข่าย ผลการทดลองพบว่า พันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีทั้ง 6 พันธุ์ ให้ผลผลิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P &lt; 0.01) โดยพันธุ์คิงฟิชเชอร์และพันธุ์โซลาริโน่ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด โดยให้ผลผลิต 4,327.50 และ 4,092.30 กิโลกรัมต่อไร่ และการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่า พันธุ์คิงฟิชเชอร์เป็นพันธุ์ที่มีปริมาณสารไลโคปีนและปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูง และแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์อื่น ๆ โดยมีปริมาณสารไลโคปีน 234±0.08 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด และมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 9.35±0.80 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด จากการศึกษาในครั้งนี้พันธุ์คิงฟิชเชอร์และพันธุ์โซลาริโน่ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมในฤดูกาลนี้ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและเพิ่มความก้าวหน้าในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพที่ส่งเสริมให้เกษตรกรในการปลูก รวมถึงใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเปรียบเทียบกับฤดูกาลอื่น เพื่อพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีให้มีสารไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนที่สูงต่อไป</p> บรรจง อูปแก้ว, อนุชา จันทรบูรณ์, วราวุฒิ โล๊ะสุข Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261281 Fri, 05 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของคุณสมบัติดินต่อสารสกัดมะแขว่นในการเสริมรสเค็ม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260610 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติดินที่มีผลต่อสารสกัดมะแขว่นในการเสริมรสเค็มใน 2 พื้นที่ คือตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง และตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พร้อมทั้งประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและประเมินทางประสาทสัมผัสเพื่อทดสอบความเค็ม พบว่าดินตำบลป่าแป๋มีลักษณะเป็นดินเหนียวและดินตำบลสะลวงเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีความหนาแน่นรวม 0.97 g cm<sup>-3</sup> และ 1.10 g cm<sup>-3</sup> ความจุความชื้นภาคสนาม 2.21 % และ 2.28 % และการนำน้ำของดินในสภาพที่อิ่มตัวด้วยน้ำ 57.75 cm h<sup>-1</sup> และ 52.80 cm h<sup>-1</sup> ค่า pH ของดินคือ 5.27 เป็นกรดจัด และ 4.30 เป็นกรดรุนแรงมาก มีอินทรียวัตถุ 4,530 g kg<sup>-1</sup> และ 4,560 g kg<sup>-1</sup> ไนโตรเจนทั้งหมด 0.23 % และ 0.23 % ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 12.23 mg kg<sup>-1</sup> และ 8.97 mg kg<sup>-1</sup> โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 320 mg kg<sup>-1 </sup>และ 140.04 mg kg<sup>-1 </sup>แคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้ 466.94 48.56 mg kg<sup>-1 </sup>และ 156.32 25.54 mg kg<sup>-1 </sup>ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก 6.22 cmol kg<sup>-1</sup> และ 2.49 cmol kg<sup>-1</sup> ค่าการนำไฟฟ้า 0.08 dS m<sup>-1</sup> และ 0.04 dS m<sup>-1</sup> และอัตรา % ความอิ่มตัวเบส 56.80 % และ 54.81 % ตามลำดับ เมื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์พบว่าดินตำบลป่าแป๋เป็นดินที่ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง และดินตำบลสะลวงเป็นดินที่มีความอุดสมบูรณ์ปานกลาง การประเมินทางประสาทสัมผัสเพื่อทดสอบความเค็มพบว่าสารสกัดมะแขว่นจากตำบลป่าแป๋อัตรา 3 % ให้ความรู้สึกเค็มมากที่สุด (p&lt;0.05) และขนาดอนุภาคดินตำบลสะลวงมีความสัมพันธ์กับการประเมินทางประสาทสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p&lt;0.01)</p> ปภากร สุทธิภาศิลป์, อภิรดา พรปัณณวิชญ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260610 Tue, 09 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วง ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261418 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์อาร์เบอร์ เอเคอร์ส อายุ 1 วัน จำนวน 200 ตัว สุ่มไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา (ระดับการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงในอาหาร ร้อยละ 0.00 0.25 0.50 0.75 และ 1.00) ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ปัจจัยละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้ไก่เนื้อได้รับอาหารและน้ำอย่างเต็มที่ จนกระทั่งอายุ 42 วัน ผลการศึกษาพบว่าไก่เนื้อที่ได้รับอาหารเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงร้อยละ 0.25 0.50 0.75 และ 1.00 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าไก่เนื้อที่ได้รับอาหารไม่เสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วง มีค่าเป็น 62.40 62.72 63.17 62.51 และ 60.39 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (2.15 2.17 2.16 2.18 และ 2.22 ตามลำดับ) ประสิทธิภาพการใช้โปรตีน (2.25 2.23 2.24 2.22 และ 2.19 ตามลำดับ) และดัชนีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น (283.17 282.44 284.73 281.79 และ 260.87 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p &gt; 0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเสริมผงสกัดหยาบเบต้าแคโรทีนจากเปลือกมะม่วงมีแนวโน้มทำให้สมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อดีขึ้น</p> ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร, ชมภูนาฏ ชมภูพันธ์, ปานฤทัย พุทธทองศรี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261418 Wed, 10 Apr 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร: วัสดุทางเลือกสำหรับผลิตแผ่นทำความเย็น แบบระเหย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260874 <p>การใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยในโรงเรือนเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการปัญหาการทำการเกษตรในภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือราคาแผ่นทำความเย็นที่สูง ทำให้เทคโนโลยีนี้ยังไม่สามารถใช้กับเกษตรกรรายย่อยได้ ดังนั้นบทความปริทัศน์นี้เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ และสรุป การวิวัฒนาการ หลักการและวิธีการผลิต เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นแผ่นทำความเย็น รวมถึงแนวทางการนำไปใช้ โดยจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับเป็น แผ่นทำความเย็นแบบระเหย พบว่าสามารถลดอุณหภูมิได้ ระหว่าง 3 ถึง 8 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับกระดาษที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งลดได้ประมาณ 5 องศาเซลเซียส ดังนั้นประสิทธิภาพของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างภายในของวัสดุ ขนาดรูพรุนและปริมาตร ความสามารถในการดูดซับและการระเหยของน้ำ ความสามารถในเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความสามารถในการลดตะกอนสะสม ความคงทนของวัสดุ และปริมาณของวัสดุในพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ต้องมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ ซึ่งเป็นการจัดการเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรและก่อให้เกิดการทำการเกษตรต้นทุนต่ำอย่างยั่งยืนในอนาคต</p> สมพร กงนะ, คมกฤษณ์ ชูเรือง, กัญลยา มิขะมา, เสาวคนธ์ เหมวงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/260874 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความแตกต่างทางพันธุกรรมของปลาโจกทรายในแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/259780 <p>การศึกษานี้นำเสนอการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมครั้งแรกของ Cyclocheilichthys enoplos ซึ่งเป็นปลาชนิดหนึ่งที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชาชนในพื้นที่ ในการศึกษานี้ได้ใช้เครื่องหมายสก๊อต (Start Codon Targeted, SCoT, 9 primers) เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาโจกทรายสามกลุ่มประชากรจากธรรมชาติในแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย ตัวอย่างปลาที่เก็บมาทั้งหมด 28 ตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่าให้แถบดีเอ็นเอที่ให้โพลิมอร์ฟิซึมรวม 158 แถบ และมีค่า % of polymorphic loci (% P) อยู่ระหว่าง 48.80-85.54 % ประชากรจาก อำเภอรัตนวาปี (RP) มีความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรสูงที่สุด ในขณะที่ประชากรจาก อำเภอสังคม (SK) มีระดับการแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรที่ต่ำที่สุดค่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (heterozygosity; He) และค่าดัชนีความหลากหลายทางพันธุกรรม (Shannon's Information index; I) ของทั้งสามประชากรอยู่ระหว่าง 0.195-0.296 และ 0.285-0.444 ตามลำดับ และแผนภาพจัดกลุ่มความสัมพันธ์จากค่า Nei's genetic distance และแผนภาพความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการจากโปรแกรม NTSYS-PC จัดแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของประชากรระดับโมเลกุล (AMOVA) ได้แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่ของความแตกต่างเกิดขึ้นภายในกลุ่มประชากร (87 %) ในขณะที่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มประชากรมีค่าน้อย (13 %) โดยการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการจัดการประชากรปลาโจกทรายในภูมิภาคนี้</p> อาภากร สกุลสถาพร, เบญจพรรณ เจริญยิ่ง, รัชนีกรณ์ มาพะเนาว์ Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/259780 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700 ภาวะการดื้อยาและทางเลือกในการป้องกันเห็บในปัจจุบัน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261504 <p>เห็บเป็นปัญหาสำคัญในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในมนุษย์และสัตว์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการดื้อยาสำหรับเห็บ การศึกษากลุ่มยาฆ่าแมลงชนิดใหม่สำหรับการป้องกันและควบคุมจำนวนเห็บ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ และสำรวจแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการกำจัดเห็บ ในปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และคิดค้นวิธีการใหม่เพื่อควบคุมประชากรเห็บที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม ได้พบว่าประสิทธิภาพเหล่านี้ลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์หรือส่งต่อของยีนดื้อยาของเห็บ ปัญหาการดื้อยาในเห็บส่งผลกระทบต่อทั้งทางการแพทย์และสัตวแพทย์ และทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยามากเกินความจำเป็น การใช้ยากลุ่มสารเคมีต่างๆ ที่มีการใช้มาเป็นเวลานาน นอกจากจะมีประสิทธิภาพที่ต่ำลง สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการปนเปื้อนของกลุ่มยาและสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันจึงได้มีการให้ความสำคัญในการใช้วิธีการกำจัดเห็บที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สารสกัดจากสมุนไพร ไปจนถึงวิธีการทางภูมิคุ้มกันและการป้องกันด้วยวิธีชีวภาพต่าง ๆ การศึกษาและวิจัยแนวทางในการกำจัดเห็บทางเลือกใหม่จึงน่าสนใจเป็นอย่างมาก การดื้อยาของเห็บนี้อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาที่มากเกินความจำเป็นหรือใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงควรมีการทำความเข้าใจกลไกการเกิดการดื้อยาด้วย</p> กนกวรรณ บุตรโยธี, ธราดล จิตจักร, หาญชัย อัมภาผล, เสริมวิช บุตรโยธี Copyright (c) 2024 วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/article/view/261504 Mon, 18 Mar 2024 00:00:00 +0700