@article{น้อยทับทิม_ด้วงสุข_บินหะยีดิ_2015, title={แนวทางการประยุกต์ใช้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ในกระบวนการผลิตอาหาร : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนราธิวาส}, volume={8}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52663}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบ HACCP มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารในโรงครัวของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส และประเมินผลการประยุกต์ใช้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) โดยการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์คุณภาพจุลินทรีย์ของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหาร(แกงเขียวหวานไก่) ก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP สำหรับผลการวิเคราะห์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมโดยใช้ผังการตัดสินใจ พบจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม 1 จุด คือ ขั้นตอนการปรุงสุก ซึ่งพบอันตรายทางชีวภาพ เนื่องจากการเหลือรอดของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค สำหรับคุณภาพทางจุลินทรีย์ก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ตรวจวิเคราะห์ Total bacteria count ในผลิตภัณฑ์อาหาร (แกงเขียวหวานไก่) ถ้วย และถาดหลุม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับแกงเขียวหวานไก่ก่อนการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP พบเชื้อคอลิฟอร์มแบคทีเรีย และเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค คือ <em>Staphylococcus aureus</em> หลังการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ไม่พบเชื้อคอลิฟอร์มแบคทีเรียและเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>HACCP<strong> </strong>โรงพยาบาลชุมชน<strong> </strong>กระบวนการผลิตอาหาร</p>}, number={1}, journal={Princess of Naradhiwas University Journal}, author={น้อยทับทิม มาดีนา and ด้วงสุข ศิรินุช and บินหะยีดิ นาริสา}, year={2015}, month={Dec.} }