@article{จิระแพทย์_บุญภิรมย์_รัดไว้_อาแวเต๊ะ_2013, title={ความต้องการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตรของประชาชน ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส}, volume={5}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53758}, abstractNote={การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของประชาชนและความต้องการเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตร 2) ศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตรที่ต้องการเข้ารับการฝึกอบรมและปัจจัยสนับสนุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ และ 3) หาแนวทางพัฒนาคุณภาพประชาชน เสริมสร้างความรู้ทักษะวิชาชีพ และเพิ่มรายได้ครอบครัว รวมถึงการยกระดับชุมชนให้พัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืน และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข โดยใช้แบบสอบถามหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2554 จำนวน 331 คน <br /> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 38.4 ปี สถานภาพสมรส และสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นเกษตรกร โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2,500-5,000 บาท และเป็นสมาชิกในครอบครัวที่มีจำนวน 3-5 คน และมีสมาชิกในวัยทำงาน (18-60 ปี) จำนวน 3-4 คน มีความต้องการรับการฝึกอบรมวิชาชีพด้านการเกษตร โดยมีความสนใจหลักสูตรการทำนามากที่สุด รองลงมาคือการเลี้ยงไก่พื้นเมือง  การปลูกผักเพื่อการค้ากับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การเลี้ยงแพะกับการเลี้ยงโคเนื้อ การทำขนม (เบเกอรี่) และการติดตายางพารา ซึ่งในภาพรวมมีความต้องการปัจจัยสนับสนุนเพื่อการพัฒนาอาชีพระดับปานกลาง โดยต้องการพื้นที่ทำกิน/แหล่งงานและทุนสนับสนุนเริ่มต้นในระดับมาก และมีความต้องการวัสดุอุปกรณ์พื้นฐานกับเครื่องจักรกลในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ต้องการพื้นที่ประมาณ 2-3 ไร่ ต่อครัวเรือนเพื่อทำกินและเลี้ยงสัตว์ ช่วยเหลือด้านการตลาด และมีการจัดอบรมอาชีพ    ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า ควรมีการศึกษารูปแบบหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการต่อการเรียนรู้ของชุมชนอย่างแท้จริง และประชาชนในพื้นที่ควรมีบทบาทมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ และกำหนดทิศทางการพัฒนาอาชีพ การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การมองหาพื้นที่ใหม่ โดยการจัดกลุ่มคน ระดมทุน และดำเนินกิจกรรมหลายๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพ สร้างรายได้ต่อครอบครัวที่เพียงพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งเร่งเสริมสร้างความสงบสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลไกการผลิตและการตลาดเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และมีการพัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืนสืบไป<br />คำสำคัญ : ความต้องการ  ฝึกอบรมวิชาชีพ  ด้านการเกษตร}, number={2}, journal={Princess of Naradhiwas University Journal}, author={จิระแพทย์ จักรพงศ์ and บุญภิรมย์ ทวี and รัดไว้ ทัศนีย์ and อาแวเต๊ะ ไซเดน}, year={2013}, month={May} }