@article{หมวกสกุล_พลาศัย_บุญภิรมย์_ศรีสวัสดิ์_เจ๊ะแล_เปลื้องประสิทธิ์_2013, title={โครงการวิจัยประเมินผลแผนปฏิบัติงานการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. 2555 : พื้นที่จังหวัดนราธิวาส}, volume={5}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53788}, abstractNote={<span> </span>การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค จุดแข็งจุดอ่อน และข้อเสนอแนะ การดำเนินงานของแผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2555 กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงาน<br />ภาครัฐ ผู้นำประชาชนและประชาชน ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 733 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ที่เป็นผู้จัดทำแผนงานจำนวน 8 คน กลุ่มผู้นำประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่ม/ <br />องค์กรในชุมชน จำนวน 20 คนกลุ่มประชาชน ได้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ/ กิจกรรมโดยตรงและผู้ไม่เข้าร่วมโครงการ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 566 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์<span> </span>ผลการวิจัยพบว่า แผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปีงบประมาณ 2555 ประกอบด้วย 9 ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยรวม ด้านเจ้าหน้าที่เห็นด้วย อยู่ในระดับ มาก (x=3.52, S.D.= 0.65) ส่วนประชาชน เห็นด้วย อยู่ในระดับ <br />ปานกลาง (x=3.10, S.D.= 0.94) ส่วนความคิดเห็นรายด้าน พบว่า 1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 ภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญต่อภาคประชาชนมากนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประชาชนมีความคิดเห็นว่าชุมชนใน<br />พื้นที่บางชุมชนที่มีความเข้มแข็ง 3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ประชาชนมีพื้นที่ในการแสวงหาทางออกยังไม่เพียงพอมากเท่าที่ควร หน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรที่เปิดใจในการสร้างพื้นที่ให้กับประชาชนในพื้นที่ 4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 หน่วยงาน<br />รัฐและ    เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรมในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 ประชาชนบางพื้นที่ยังถูกลิดรอนสิทธิด้วยกฎอัยการศึก แต่ประชาชนใน<br />พื้นที่บางส่วนเข้าใจในสิ่งที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ 6) ยุทธศาสตร์ที่ 6 ประชาชนในพื้นที่ มองว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ย่ำแย่ 7) ยุทธศาสตร์ที่ 7การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตยังไม่ดีเท่าที่ควร ประชาชน<br />ในพื้นที่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ค่อนข้างต่ำ 8 ) ยุทธศาสตร์ที่ 8 การสื่อสารของหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าถึงประชากรเท่าที่ควรและไม่ทั่วถึง 9) ยุทธศาสตร์ที่ 9 ประชาชนในพื้นที่บางส่วนมองว่ายังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร ประชาชนในพื้นที่ <br />ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน การสื่อสารเป็นอุปสรรคในการร่วมมือประชาคมอาเซียนคำสำคัญ : แผนปฏิบัติการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครือข่าย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้}, number={4}, journal={Princess of Naradhiwas University Journal}, author={หมวกสกุล ประทีป and พลาศัย จงรัก and บุญภิรมย์ ทวี and ศรีสวัสดิ์ สุพัฒน์ and เจ๊ะแล อะลี and เปลื้องประสิทธิ์ อวยชัย}, year={2013}, month={Nov.} }