TY - JOUR AU - เอียดแก้ว, จุไรรัตน์ AU - ภิญโญศุภสิทธิ์, กาญจนวัลย์ AU - ดิสวัสดิ์, เมธี AU - กฤษเจริญ, สุรีย์พร PY - 2011/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่นด้วยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม JF - Princess of Naradhiwas University Journal JA - Pnu Sci J VL - 4 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53722 SP - AB -  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม กับโปรแกรมการให้ข้อสนเทศ ที่มีต่อเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่น ในจังหวัดสงขลาที่มีคะแนนเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 20 คน แบ่งเข้ากลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษาและกลุ่มควบคุมได้รับการให้ข้อสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมที่มีต่อเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่น 2) โปรแกรมการให้ข้อสนเทศเรื่องเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่น 3) แบบวัดเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่น ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการของวิลคอกซัล (Wilcoxon Sign-Rank test) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดาที่มีบุตรสตรีวัยรุ่นก่อนและหลังการทดลอง ส่วนการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเจตคติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้วิธีการของแมนวิทนีย์ (Mann-Whitney U test)<br /> ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดากลุ่มที่ได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมในระยะหลังการทดลองด้านการรู้การเข้าใจ ด้านความรู้สึกและด้านพฤติกรรมสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดากลุ่มที่ได้รับการให้ข้อสนเทศด้านการรู้การเข้าใจ ด้านความรู้สึกและด้านพฤติกรรมในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่าเจตคติต่อการสอนเพศศึกษาของมารดา หลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ด้านการรู้การเข้าใจ ด้านความรู้สึกและด้านพฤติกรรม สูงกว่าหลังการให้ข้อสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /><strong>คำสำคัญ : </strong>เจตคติต่อการสอนเพศศึกษา การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ER -