TY - JOUR AU - แดงสุวรรณ, กรุณา AU - ฟองสุวรรณ, ชฎาพร AU - กาเซ็ง, ซารีนา AU - ศรีชัย, เพลินพิศ AU - จีนคง, เบญจพร AU - มะแซะ, เรณุกา AU - วรรณสกล, อรอนงค์ PY - 2012/05/15 Y2 - 2024/03/29 TI - การรับรู้ข้อมูลของญาติผู้มารับบริการที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ JF - Princess of Naradhiwas University Journal JA - Pnu Sci J VL - 4 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53731 SP - AB - <p>งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้บริการผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน การให้ข้อมูลและการรับรู้ข้อมูลในการรักษาพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีความสำคัญเนื่องจากผู้ป่วยหรือญาติในจังหวัดนราธิวาสมีความแตกต่างกันด้านภาษาและวัฒนธรรม  วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข้อมูลของญาติเมื่อมารับบริการที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้มารับบริการที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์จำนวน 350 คน  และตอบแบบสอบถามซึ่งทีมผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบมาตรฐานการให้ข้อมูลและการเคารพสิทธิของผู้ป่วยตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลการบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของดารณี จามจุรี (2542)  เก็บข้อมูลตามอัตราส่วนการมารับบริการเวรเช้า:เวรบ่าย:เวรดึก เท่ากับร้อยละ 30:50:20 และวิเคราะห์การรับรู้ข้อมูลของญาติผู้มารับบริการด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า  ญาติผู้มารับบริการรับรู้ข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  และการรับรู้ข้อมูลของญาติระยะเมื่อมาถึงและระยะก่อนจำหน่ายจากตึกอุบัติเหตุกรณีนอนโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง  ส่วนการรับรู้ข้อมูลขณะเข้ารับการรักษาพยาบาลและจำหน่ายกลับบ้านอยู่ในระดับปานกลาง <strong></strong></p> <p>ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาแนวทางและระบบการให้ข้อมูลแก่ญาติเมื่อผู้รับบริการเข้ารับการรักษาพยาบาลและเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน เพื่อให้การให้ข้อมูลในแต่ระยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานตามที่สำนักการพยาบาลกำหนดต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การรับรู้ข้อมูล,  ญาติผู้มารับบริการ,  งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน</p> ER -