https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2024-02-12T20:49:49+07:00 ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ [email protected] Open Journal Systems <h5><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong></h5> <p> เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research Article) <br />บทความวิชาการ (Review Article) โดยเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2697-4142 (Online)<br />ตั้งแต่ ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป</p> <p> ดาวน์โหลดบทความฉบับที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม &gt;&gt; <a href="https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBUSCI-Journal%20-%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/" target="_blank" rel="noopener">ที่นี่</a></p> <p> วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563 - 2567 ครั้งที่ 3 (2565 - 2567) ให้อยู่ในกลุ่มที่ 1</p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/257488 การผลิตกระถางต้นไม้ย่อยสลายจากปุ๋ยหมักกากขี้แป้ง 2023-03-02T10:20:39+07:00 กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์ [email protected] ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น [email protected] ระริน เครือวรพันธุ์ [email protected] อุไรวรรณ สุกยัง [email protected] เตือนใจ ปิยัง [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระถางต้นไม้ย่อยสลายจากปุ๋ยหมักกากขี้แป้ง โดยศึกษาส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตกระถางต้นไม้ย่อยสลาย และประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยหมักกากขี้แป้งที่ใช้ในการศึกษานี้ทำโดยหมัก กากขี้แป้งที่ได้จากโรงงานน้ำยางข้นกับมูลวัวเป็นเวลา 50 วัน ในการผลิตกระถางต้นไม้ย่อยสลายแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุด การทดลองที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักกากขี้แป้ง : ดินลำดวน : ดินร่วน ที่แตกต่างกัน คือ 100:0:0, 75:20:5, 50:40:10 และ 25:60:15 โดยน้ำหนัก กาวแป้งเปียกที่ใช้ประสานในการขึ้นรูปกระถางต้นไม้ใช้แป้งมันสำปะหลังผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1:10 สมบัติของกระถางต้นไม้ย่อยสลายที่พิจารณา ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ การดูดซับน้ำ การพองตัว ความพรุน และการเสื่อมสภาพ ผลการศึกษาพบว่ากระถางต้นไม้ย่อยสลายที่มีค่าการดูดซับน้ำ ค่าการพองตัว ค่าความพรุน สูงที่สุด และมีการเสื่อมสภาพช้าที่สุด คือ กระถางที่มีอัตราส่วนของปุ๋ยหมักกากขี้แป้ง : ดินลำดวน : ดินร่วน ที่เท่ากับ 25:60:15 ในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ พบว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในการผลิตกระถางต้นไม้ย่อยสลาย เท่ากับ 65.84 และมีกำไรสุทธิเฉลี่ย เท่ากับ 7.94 บาท/ใบ การศึกษานี้เสนอแนวทางที่นอกจากเป็นการเพิ่มมูลค่าของกากขี้แป้งแล้ว ยังเป็นการช่วยลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในกำจัดของเสียด้วย</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/257910 การพัฒนาเม็ดไข่มุกที่มีแป้งมันม่วงญี่ปุ่นเป็นส่วนประกอบ 2023-06-26T09:10:29+07:00 วิภาวดี พันธ์หนองหว้า [email protected] ศกลวรรณ หวังเป็น [email protected] กฤษติกา คุตะวรรณ [email protected] <p>เม็ดไข่มุกที่นิยมใส่ในชานมไข่มุกโดยทั่วไปผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแป้งมันม่วงญี่ปุ่น ซึ่งอุดมด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ มาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเม็ดไข่มุก ในการทดสอบเบื้องต้นพบว่าสูตรของเม็ดไข่มุกแป้งมันสำปะหลังที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากการวิเคราะห์สี การทดสอบทางประสาทสัมผัส และการวิเคราะห์เนื้อสัมผัส คือ สูตรที่ประกอบด้วย แป้งมันสำปะหลัง 90 กรัม น้ำตาลสีรำ 45 กรัม และน้ำ 60 กรัม ดังนั้นจึงใช้สูตรของเม็ดไข่มุกแป้งมันสำปะหลังดังกล่าวเป็นสูตรควบคุม (สูตร F1) สำหรับการพัฒนาเม็ดไข่มุกที่มีแป้งมันม่วงญี่ปุ่นเป็นส่วนประกอบ ในการศึกษานี้ได้พัฒนาเม็ดไข่มุกที่มีแป้งมันม่วงญี่ปุ่นเป็นส่วนประกอบขึ้น 3 สูตร คือ S1, S2 และ S3 โดยมีการใช้แป้งมันม่วงญี่ปุ่นทดแทนแป้งมันสำปะหลังในอัตราร้อยละ 10, 20 และ 30 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์สี การทดสอบทางประสาทสัมผัส การวิเคราะห์เนื้อสัมผัส การหาค่าน้ำหนักที่ได้หลังการต้ม และการหาค่าปริมาณของแข็งที่สูญเสียระหว่างการต้ม พบว่าสูตร S1 เป็นสูตรที่ให้ผลการทดสอบที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงนำสูตรดังกล่าว (สูตร S1) และสูตรควบคุม (สูตร F1) ไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ผลการทดลองพบว่าสูตร S1 มีปริมาณแอนโทไซยานินที่สูงกว่าสูตรควบคุม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำแป้งมันม่วงญี่ปุ่นมาทดแทนแป้งมันสำปะหลังบางส่วนในการผลิตเม็ดไข่มุกเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับเม็ดไข่มุก</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258231 การศึกษาทางทฤษฎีของการตรวจจับแอนไอออนด้วยการสร้างพันธะไฮโดรเจนและฮาโลเจนกับ รีเซ็ปเตอร์อนุพันธ์เอไมด์ 2023-03-17T11:45:40+07:00 ธนวัชร์ สมตัว [email protected] บรรจบ วันโน [email protected] จันทร์จิรา วงศ์สุวรรณ์ [email protected] วัลฤดี เสียงล้ำ [email protected] อภิวันทน์ สุวรรณพันธ์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติทางโครงสร้าง สมบัติทางพลังงาน สมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ และสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างรีเซ็ปเตอร์อนุพันธ์เอไมด์ 7 ชนิด (<strong>R1</strong>-<strong>R7</strong>) กับเฮไลด์ไอออน ซึ่งได้แก่ ฟลูออไรด์ คลอไรด์ และโบรไมด์ไอออน โดยใช้ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่นที่ระดับของทฤษฎี B3LYP/6-31G(d,p) จากการศึกษาพบว่ารีเซ็ปเตอร์และเฮไลด์ไอออนสร้างสารประกอบเชิงซ้อนผ่านพันธะไฮโดรเจนร่วมกับพันธะฮาโลเจน ซึ่งเป็นกระบวนการคายความร้อนที่เกิดเองได้ ความเสถียรของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างรีเซ็ปเตอร์ <strong>R1</strong>-<strong>R7 </strong>กับเฮไลด์ไอออน มีลำดับดังนี้ F<sup>- </sup>&gt; Cl<sup>-</sup> &gt; Br<sup>- </sup>โดยพบว่าฟลูออไรด์ไอออนมีการยึดจับที่แข็งแรงกับทุกรีเซ็ปเตอร์เนื่องจากความเป็นเบสที่สูง สารประกอบเชิงซ้อนที่มีความเสถียรมากที่สุดคือ <strong>R5</strong>/F<sup>- </sup>มีค่าพลังงานการยึดจับเท่ากับ -151.39 กิโลแคลอรีต่อโมล นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระกิบส์ของสารประกอบเชิงซ้อนดังกล่าวยังมีค่าสูงสุดเท่ากับ -142.30 กิโลแคลอรีต่อโมล โดยสารประกอบเชิงซ้อนนี้เกิดขึ้นจากพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ และพันธะฮาโลเจน 2 พันธะ</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258406 ผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณฟีนอลิครวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของ สารสกัดจากใบกระท่อม (Mitragyna speciosa) ที่สกัดด้วยเอทานอล 2023-04-25T16:13:05+07:00 วิมลรัตน์ อินศวร [email protected] ศีลณัฎฐ์ วิเศษสมบัติ [email protected] ธนิสร กรเลิศวานิช [email protected] ธีรพงศ์ เดชวุ่น [email protected] ทิพยรัตน์ ชาหอมชื่น [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณฟีนอลิครวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากใบกระท่อม (<em>Mitragyna speciosa</em>) ที่สกัดด้วยเอทานอล โดยใช้วิธีการสกัด 2 วิธี คือ การแช่ในตัวทำละลาย และการสกัดสารด้วยคลื่นอัลตราโซนิค การวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิครวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu method แสดงให้เห็นว่าปริมาณฟีนอลิครวม ในสารสกัดที่ได้จากวิธีการแช่ในตัวทำละลาย และการสกัดสารด้วยคลื่นอัลตราโซนิค มีค่าเท่ากับ 2.51±0.03 และ 2.89±0.03 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อกรัมของสารสกัดแห้ง ตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยวิธี DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) radical scavenging assay แสดงให้เห็นว่าค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ได้จากวิธีการแช่ในตัวทำละลาย และการสกัดสารด้วยคลื่นอัลตราโซนิค ที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้ร้อยละ 50 (IC<sub>50</sub>) เท่ากับ 15.60±0.25 และ 15.56±0.18 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียด้วยวิธี disc diffusion method และ broth microdilution method พบว่า สารสกัดที่ได้จากวิธีการสกัดทั้ง 2 แบบสามารถยับยั้งเชื้อ <em>Bacillus subtilis</em>,<em> Staphylococcus aureus</em> และ<em> Staphylococcus epidermidis </em>ได้ แต่ไม่สามารถยับยั้ง <em>Escherichia coli </em>ได้ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการสกัดทั้ง 2 วิธี คือ การแช่ในตัวทำละลาย และการสกัดสารด้วยคลื่นอัลตราโซนิค ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อปริมาณฟีนอลิครวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากใบกระท่อมที่สกัดด้วยเอทานอล</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258513 การศึกษาประสิทธิภาพของการดูดซับน้ำมันและไขมันของวัสดุดูดซับที่ได้จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร และการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุดูดซับที่มีประสิทธิภาพสูง 2023-04-11T14:02:32+07:00 พัชรวรรณ สิทธิศาสตร์ [email protected] กัญญารัตน์ สิทธิกุล [email protected] มณีรัตน์ หัตถวงค์ [email protected] ณิชนันท์ ใจเพ็ง [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณของน้ำเสียสังเคราะห์ต่อประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันและไขมันของวัสดุดูดซับที่เตรียมจากใยตาล ใบหอมแดง และใยไผ่ รวมทั้งเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันและไขมันที่ดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่าตัวดูดซับที่เตรียมได้จากใยตาลให้ประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันและไขมัน และประสิทธิภาพการกรองของแข็งแขวนลอยได้มากที่สุดเมื่อน้ำเสียมีปริมาตร 3 ลิตร และมีค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 8 ดังนั้นจึงนำตัวดูดซับดังกล่าวไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนของถ่านไม้ต่อใยตาลที่ 50:50, 40:60 และ 30:70 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง เนื่องจากอัตราส่วนดังกล่าวทำให้เชื้อเพลิงอัดแท่งขึ้นรูปได้ดี และมีค่าพลังงานความร้อนสูงถึง 7,054, 7,299 และ 6,954 แคลอรี่ต่อกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ เชื้อเพลิงอัดแท่งหล่านี้ยังมี ค่าพลังงานความร้อน และค่าความชื้นผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง ดังนั้นใยตาลจึงสามารถใช้เป็นวัสดุดูดซับน้ำมันและไขมันจากน้ำทิ้ง และเป็นวัสดุในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งสำหรับใช้ในครัวเรือนเพื่อลดการใช้ถ่านไม้</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258681 องค์ประกอบผลจับและการเลือกจับสัตว์น้ำของลอบพื้นบ้านในแม่น้ำชี บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี 2023-05-11T09:59:42+07:00 ชุษณ รัตนวรรณ [email protected] อัจฉรา จุฑาเกตุ [email protected] ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ [email protected] ทวนทอง จุฑาเกตุ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบผลจับ และการเลือกจับสัตว์น้ำที่ถูกจับด้วยลอบนอนและลอบตั้งพื้นบ้านในช่วงเดือนและจันทรคติที่แตกต่างกัน ลอบแต่ละชนิดมีขนาด 180 เซนติเมตร x 60 เซนติเมตร และมีขนาดช่องตา 3 ขนาด คือ 3, 5 และ 7 เซนติเมตร ใช้ลอบ 5 หลังสำหรับแต่ละขนาดช่องตา ดังนั้นการศึกษานี้ใช้ลอบทั้งสิ้น 30 หลัง (ชุดการทดลอง) แบ่งเป็นลอบนอน 15 หลัง และลอบตั้ง 15 หลัง การศึกษานี้ดำเนินการที่แม่น้ำชี บริเวณบ้านธาตุน้อย ตำบลธาตุน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาพบพันธุ์สัตว์น้ำ 25 ชนิด (9 วงศ์) เป็นกุ้ง 1 ชนิด และปลา 24 ชนิด และมีนกที่จับได้โดยบังเอิญ 1 ชนิด โดยพบวงศ์ปลาตะเพียนมากที่สุด จำนวน 14 ชนิด ตลอดทั้งช่วงเวลาศึกษาได้ผลจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 1.15 ± 1.08 กิโลกรัม/คืน/ชุดทดลอง โดยผลจับสัตว์น้ำมีความแตกต่างระหว่างเดือนเก็บตัวอย่าง (p&lt;0.05) ผลจับสัตว์น้ำน้อยที่สุดพบในเดือนมีนาคม เท่ากับ 0.21 ± 0.10 กิโลกรัม/คืน/ชุดทดลอง ส่วนผลจับสัตว์น้ำสูงสุดพบในเดือนกันยายน เท่ากับ 2.31 ± 1.68 กิโลกรัม/คืน/ชุดทดลอง อย่างไรก็ตาม ผลจับสัตว์น้ำไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p&gt;0.05) ตามประเภทของลอบ และเวลาจับตามจันทรคติ จากการจัดกลุ่มในองค์ประกอบผลจับตามประเภทของลอบและเดือนที่ศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม สัตว์น้ำที่จับได้มีขนาดความยาวลำตัวระหว่าง 7.02 - 46.47 (18.25 ± 7.06) เซนติเมตร และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.001) ตามขนาดช่องตาของลอบที่ใช้ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าเดือนเก็บตัวอย่าง ซึ่งมีความสอดคล้องกับฤดูกาลทางอุทกวิทยา เป็นอิทธิพลหลักที่มีต่อปริมาณของผลจับในการทำประมงลอบในแม่น้ำชี และการทำประมงลอบพื้นบ้านที่มีช่องตาขนาดเล็ก มีแนวโน้มที่จะจับสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดก่อนวัยแรกสืบพันธุ์ ซึ่งควรใช้ประกอบข้อพิจารณาในการวางแผนจัดการประมงในแม่น้ำชีต่อไป</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258884 ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และอุปสรรคในการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพักเอกชน ของบุคลากรผู้ดูแลหอพักเอกชนในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2023-07-05T13:36:35+07:00 พรทิพย์ ทาบทอง [email protected] อดุลย์เดช ไศลบาท [email protected] <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และอุปสรรคในการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพักเอกชน รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพักเอกชนของบุคลากรผู้ดูแลหอพักเอกชน ในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และอุปสรรคในการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพักเอกชนจากบุคลากรผู้ดูแลหอพักเอกชน จำนวน 103 คน ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรผู้ดูแลหอพักเอกชนส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และอุปสรรคในการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพักเอกชนในระดับสูง (Mean = 0.95, SD = 0.09) ระดับดี (Mean = 4.57, SD = 0.46) ระดับดี (Mean = 0.80, SD = 0.14) และระดับน้อย (Mean = 0.15, SD = 0.33) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการปฏิบัติตามมาตรฐานของหอพักเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา การรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพัก ประเภทหอพัก ความรู้มาตรฐานด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และทัศนคติมาตรฐานด้านความปลอดภัย (<em>p</em>-value =0.001, 0.026,0.048, 0.042 และ&lt; 0.001 ตามลำดับ) จากการศึกษานี้หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรผู้ดูแลหอพักในการปฏิบัติตามมาตรฐานหอพักเอกชนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258989 การวิเคราะห์ปริมาณสารตกค้างคาร์เบนดาซิมและไทอะเบนดาโซลในผักจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง 2023-07-06T13:19:55+07:00 เสาวภา ชูมณี [email protected] รุจิรา คุ้มทรัพย์ [email protected] <p>คาร์เบนดาซิม และไทอะเบนดาโซลเป็นสารกลุ่มเบนซิมิดาโซล นิยมใช้เป็นสารฆ่าเชื้อราในผัก และผลไม้ ทั้งก่อนหรือหลัง การเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามการได้รับสารเหล่านี้เป็นเวลานานส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ และสัตว์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดปริมาณคาร์เบนดาซิม และไทอะเบนดาโซลในตัวอย่างผัก ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง การสกัดตัวอย่างใช้วิธีแบบแคชเชอร์ และทำให้บริสุทธิ์ด้วยการสกัดวัฏภาคของแข็งแบบกระจาย โดยใช้สภาวะการแยกด้วยคอลัมน์ C18 เฟสเคลื่อนที่ คือ น้ำและเมทานอล (50 : 50 %v/v) แบบไอโซเครติก ใช้อัตราการไหล 1 มิลลิลิตรต่อนาที อุณหภูมิของคอลัมน์เท่ากับ 40 องศาเซลเซียส ปริมาตรฉีด 5 ไมโครลิตร และตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดแบบฟลูออเรสเซนต์ โดยตั้งความยาวคลื่นในการกระตุ้นเท่ากับ 285 นาโนเมตร และความยาวคลื่นในการคายแสงเท่ากับ 340 นาโนเมตร จากการทดสอบความใช้ได้ของวิธีเคราะห์ โดยใช้สารละลายมาตรฐาน คาร์เบนดาซิม และไทอะเบนดาโซล พบว่าวิธีการวิเคราะห์มีความจำเพาะเจาะจง มีกราฟมาตรฐานเป็นเส้นตรงที่ความเข้มข้นของสารเท่ากับ 0.050-3.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจมากกว่า 0.995 มีขีดจำกัดในการตรวจวัดเชิงปริมาณที่ความเข้มข้นของสารเท่ากับ 0.065 และ 0.074 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสำหรับคาร์เบนดาซิม และไทอะเบลดาโซล ตามลำดับ และมีความแม่น และความเที่ยงในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จากการนำตัวอย่างผักจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวน 50 ตัวอย่าง มาวิเคราะห์ปริมาณคาร์เบนดาซิม และไทอะเบนดาโซลตามวิธีที่ผ่านการทดสอบความใช้ได้แล้ว พบว่าไม่พบไทอะเบลดาโซลในตัวอย่างทั้งหมด แต่พบคาร์เบนดาซิมตรวจพบในตัวอย่างต้นหอม ในปริมาณที่ไม่เกินค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (MRL) ที่กำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข และพบสารดังกล่าวในผักสลัด และคะน้าในปริมาณที่เกินค่า MRL ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259589 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสังกรณีและตรีชวา เพื่อเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 2023-07-03T12:56:05+07:00 มารศรี จันสี [email protected] นันธิดา แดงขาว [email protected] โสมรัศมิ์ กล่ำกล่อมจิตร์ [email protected] <p>สังกรณี (<em>Crossandra infundibuliformis</em>) และตรีชวา (<em>Justicia betonica</em>) เป็นพืชสมุนไพรที่ถูกใช้มานานในประเทศไทย เนื่องจากมีสรรพคุณทางการแพทย์ที่หลากหลาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรจากพืชทั้งสองชนิดเพื่อเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จากการวัดปริมาณน้ำอิสระ และปริมาณความชื้นของใบพืชสมุนไพรทั้งสองชนิดที่ผ่านการทำแห้ง พบว่าใบสังกรณีและตรีชวาแห้งมีปริมาณน้ำอิสระเท่ากับ 0.547±0.0040 และ 0.562±0.0021 ตามลำดับ และปริมาณความชื้นน้อยกว่าร้อยละ 6 การนำสารสกัดจากใบของพืชสมุนไพรทั้งสองชนิดมาวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมดที่สกัดได้ รวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay, 2,2'-azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonic acid) (ABTS) assay และ ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) assay พบว่าสารสกัดจากใบสังกรณีมีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมดที่สกัดได้ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดจากใบตรีชวา ในการศึกษานี้ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร 5 สูตร ซึ่งมีอัตราส่วน (ร้อยละ) ของใบเตย : ใบสังกรณี : ใบตรีชวาที่ต่างกัน คือ 20 : 80 : 0 (สูตร 1), 20 : 60 : 20 (สูตร 2), 20 : 40 : 40 (สูตร 3), 20 : 20 : 60 (สูตร 4) และ 20 : 0 : 80 (สูตร 5) และศึกษาการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี 9-point Hedonic scale จากนั้นศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรสูตร 2 ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุดจากการประเมินลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ รสฝาด และความชอบโดยรวม ด้วยคะแนน 7.0±1.2, 7.1±1.2, 6.7±1.4, 6.4±1.3, 6.2±1.4 และ 6.7±1.1 ตามลำดับ จากการตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการของชาสมุนไพรสูตร 2 พบว่าให้พลังงาน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบีสอง แคลเซียม และเหล็ก โดยไม่ให้ไขมัน คอเลสเตอรอล และโซเดียม ดังนั้นสมุนไพรสังกรณีและตรีชวามีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพได้</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260297 ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของแบคเทอริโอเฟจเพื่อควบคุม Pseudomonas aeruginosa 2023-09-08T09:20:23+07:00 ตระหนัก สมเนตร [email protected] <p>การบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาบริเวณบาดแผลจะเป็นอุปสรรคในการรักษามากยิ่งขึ้น <em>Pseudomonas aeruginosa</em> เป็นแบคทีเรียก่อโรคฉวยโอกาสที่มักพบบริเวณแผลไฟไหม้ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิต วิธีการรักษาแผลไฟไหม้ในปัจจุบันนิยมใช้ยาทาซิลเวอร์ซิงค์ซัลฟาไดอะซีนเพื่อยับยั้งจุลินทรีย์บนบาดแผล แต่ยาทาชนิดนี้มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยแผลไฟไหม้บางราย การใช้แบคเทอริโอเฟจเพื่อรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียเป็นทางเลือกเพื่อควบคุมแบคทีเรียดื้อยา แต่แบคเทอริโอเฟจยังมีข้อจำกัดในการรักษาแผลติดเชื้อบนผิวหนังเนื่องจากความไม่คงทนต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาวิธีการเพื่อปกป้องอนุภาคของแบคเทอริโอเฟจจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของแบคเทอริโอเฟจได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อแยกและศึกษาคุณลักษณะของไลติกเฟจที่จำเพาะต่อ <em>P. aeruginosa </em>แล้วนำมาเป็นส่วนผสมของครีมสูตรพื้นฐานซีโทมาโครกอลเพื่อควบคุม การเจริญของ <em>P. aeruginosa</em> จากผลการทดลองสามารถแยกแบคเทอริโอเฟจได้ 1 ไอโซเลตจากน้ำที่ได้จากบ่อบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล โดยได้กำหนดรหัสแบคเทอริโอเฟจว่า SH2 เมื่อนำมาศึกษาความสามารถในการบุกรุกแบคทีเรียทดสอบ 18 สายพันธุ์ ด้วยวิธี spot test พบว่าแบคเทอริโอเฟจสามารถบุกรุกได้เฉพาะ <em>P. aeruginosa </em>เท่านั้น การศึกษาการทนต่ออุณหภูมิและกรดเบสของแบคเทอริโอเฟจ SH2 พบว่ามีความคงตัวที่อุณหภูมิ 40-60 องศาเซลเซียสและทนกรดเบสได้ในช่วง 6-8 เมื่อนำแบคเทอริโอเฟจ SH2 มาเป็นส่วนผสมของครีมสูตรพื้นฐานซีโทมาโครกอล โดยให้มีความเข้มข้นของแบคเทอริโอเฟจในครีมเท่ากับ 1.0x10<sup>7</sup> PFU/gram พบว่าแบคเทอริโอเฟจสามารถทำลายเชื้อ <em>P. aeruginosa </em>บนจานเพาะเชื้อได้ แบคเทอริโอเฟจ SH2 มีอัตราการรอดชีวิตในครีมที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสในภาชนะทึบแสงเท่ากับร้อยละ 79.6 ภายในระยะเวลา 35 วัน การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบคเทอริโอเฟจในการนำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เวชสำอาง</p> 2024-02-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี