วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu
<h5><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong></h5> <p> เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research Article) <br />บทความวิชาการ (Review Article) โดยเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2697-4142 (Online)<br />ตั้งแต่ ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป</p> <p> ดาวน์โหลดบทความฉบับที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม >> <a href="https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBUSCI-Journal%20-%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/" target="_blank" rel="noopener">ที่นี่</a></p> <p> วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563 - 2567 ครั้งที่ 3 (2565 - 2567) ให้อยู่ในกลุ่มที่ 1</p>
Ubon Ratchathani University
th-TH
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1685-7941
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
ผลของปริมาณความชื้นต่อประสิทธิภาพการสกัดน้ำมันและคุณภาพทางเคมีของน้ำมันจิ้งหรีดทองดำ ที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีการบีบอัดแบบสกรู
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259999
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปริมาณความชื้นต่อประสิทธิภาพการสกัดน้ำมัน และคุณภาพทางเคมีของน้ำมันจิ้งหรีดทองดำที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีการบีบอัดแบบสกรู โดยทำการอบตัวอย่างจิ้งหรีดทองดำในตู้อบลมร้อนแบบถาดที่อุณหภูมิ 50±5 องศาเซลเซียส และสุ่มตัวอย่างที่ระยะเวลาต่างกัน คือ 0, 3, 5, 7 และ 9 ชั่วโมงหลังการอบ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณความชื้น และทำการบีบน้ำมันที่อุณหภูมิ 100±5 องศาเซลเซียส ความเร็วรอบของสกรูในการบีบ 48 รอบต่อนาที จากนั้นคำนวณร้อยละของผลผลิตน้ำมันที่สกัดได้ (% oil yield) และร้อยละของน้ำมันที่สกัดได้จากน้ำมันทั้งหมด (% oil recovery) ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการสกัดน้ำมัน รวมทั้งวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีของน้ำมัน ซึ่งได้แก่ ค่าเพอร์ออกไซด์ และค่ากรด จากผลการทดลองพบว่าระยะเวลาในการอบจิ้งหรีดทองดำมีผลต่อค่าความชื้นของจิ้งหรีดทองดำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยจิ้งหรีดทองดำมีความชื้นเริ่มต้น (0 ชั่วโมง) ร้อยละ 62-63 และลดลงเหลือร้อยละ 3-4 หลังจากอบเป็นเวลานาน 9 ชั่วโมง จากการบีบน้ำมันจากจิ้งหรีดทองดำพบว่าความชื้นของตัวอย่างจิ้งหรีดทองดำมีผลต่อ % oil yield และ % oil recovery อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบว่าตัวอย่างจิ้งหรีดทองดำที่มีความชื้นต่ำกว่ามีแนวโน้มที่จะให้ % oil yield และ % oil recovery ที่สูงกว่า และตัวอย่างจิ้งหรีดทองดำที่มีความชื้นตั้งแต่ร้อยละ 28 ขึ้นไปไม่สามารถบีบน้ำมันออกมาได้ ค่า % oil yield และ % oil recovery สูงสุดพบได้จากการสกัดน้ำมันจากตัวอย่างจิ้งหรีดทองดำที่อบไล่ความชื้นเป็นเวลานาน 7 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีของน้ำมันที่สกัดได้ พบว่า น้ำมันจิ้งหรีดทองดำจากทุกชุดการทดลองมีค่าเพอร์ออกไซด์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่มีค่ากรดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อระยะเวลาในการอบตัวอย่างนานขึ้น อย่างไรก็ตามค่าเพอร์ออกไซด์และค่ากรดของน้ำมันจิ้งหรีดทองดำจากทุกชุดการทดลองยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของน้ำมันและไขมันสำหรับการบริโภค (มอก. 47-2561)</p>
อรัญศิญา กิกสันเทียะ
เดือนเพ็ญ วงค์สอน
นุจรี สอนสะอาด
อรรณพ ทัศนอุดม
เยาวพา ความหมั่น
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
1
12
-
ผลของความเข้มข้นของซัลเฟตในน้ำเสียสังเคราะห์ต่อประสิทธิภาพของออสโมซิสย้อนกลับ ในการบำบัดน้ำเสีย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260130
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของซัลเฟตในน้ำเสียสังเคราะห์ต่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของออสโมซิสย้อนกลับที่ใช้เมมเบรน TW30-1812-75GPD การศึกษานี้ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของซัลเฟตเท่ากับ 500, 700, 1,000, 1,300, 1,500, 1,800 และ 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยความเข้มข้นของซัลเฟตที่ใช้มีค่าใกล้เคียงกับความเข้มข้นของซัลเฟตที่พบในน้ำเสียจริงที่เกิดจากกระบวนการผลิตยางพารา จากการศึกษาอัตราการไหลของน้ำผ่านการกรอง พบว่าเมื่อความเข้มข้นของซัลเฟตเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เมมเบรนเกิดการอุดตันมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการไหลของน้ำที่ผ่านการกรองมีค่าลดลง โดยอัตราการไหลของน้ำที่ผ่านการกรองของน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีความเข้มข้นของซัลเฟตเท่ากับ 500, 700, 1,000, 1,300, 1,500, 1,800 และ 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการลดลงคิดเป็นร้อยละ 36.24, 41.41, 46.62, 54.03, 60.62, 62.35 และ 67.46 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอัตราการไหลของน้ำที่ผ่านการกรองของน้ำที่ไม่มีซัลเฟต อย่างไรก็ตาม จากการศึกษากลับพบว่าความเข้มข้นของซัลเฟตในน้ำเสียสังเคราะห์ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดซัลเฟต ประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ประสิทธิภาพในการลดค่าการนำไฟฟ้า และค่าพีเอชของน้ำที่ได้หลังจากการกรอง</p>
ชฤพนธ์ เจริญสุข
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
13
23
-
ประสิทธิภาพของเชื้อราเอนโดไฟต์ Neosartorya fischeri UB-SD-B4 ในการยับยั้งการเจริญของ เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici ที่เป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวในมะเขือเทศ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260793
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราเอนโดไฟต์ <em>Neosartorya fischeri</em> UB-SD-B4 ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา <em>Fusarium oxysporum</em> f. sp. <em>lycopersici</em> ที่เป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวในมะเขือเทศ โดยเชื้อราเอนโดไฟต์ที่ใช้ในการศึกษานี้แยกได้จากกิ่งของต้นทรายเด่น (<em>Polyalthia cerasoides</em>) และถูกระบุชนิดโดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา การทดสอบความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟต์ในการยับยั้งเชื้อรา <em>F. oxysporum</em> f. sp.<em> lycopersici</em> ในระดับห้องปฏิบัติการใช้วิธี dual culture คุณสมบัติส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชของเชื้อราเอนโดไฟต์ตรวจสอบจากความสามารถในการผลิตกรดอิลโดลอะซิติก และความสามารถในการละลายฟอสเฟต ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเชื้อราเอนโดไฟต์ <em>N. fischeri</em> UB-SD-B4 สามารถยับยั้งการเจริญทางเส้นใยของเชื้อรา<em> F. oxysporum</em> f. sp. <em>lycopersici</em> ได้ 65.65 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถผลิตกรดอิลโดลอะซิติก และละลายฟอสเฟต ได้เท่ากับ 8.102 และ 3,607 พีพีเอ็ม ตามลำดับ ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟต์ <em>N. fischeri</em> UB-SD-B4 ในการยับยั้ง เชื้อราก่อโรคพืช <em>F. oxysporum</em> f. sp.<em> lycopersici</em> ได้ทำการทดลองกับมะเขือเทศด้วย โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 1: เมล็ดมะเขือเทศที่ไม่ได้รับเชื้อราใด ๆ ชุดการทดลองที่ 2: เมล็ดมะเขือเทศที่ได้รับเชื้อราเอนโดไฟต์เพียง อย่างเดียว ชุดการทดลองที่ 3: เมล็ดมะเขือเทศที่ได้รับเชื้อราเอนโดไฟต์ร่วมกับเชื้อราก่อโรคพืช และชุดการทดลองที่ 4: เมล็ดมะเขือเทศ ที่ได้รับเชื้อราก่อโรคพืชเพียงอย่างเดียว หลังจากนำเมล็ดมะเขือเทศในทุกชุดการทดลองไปปลูก แล้ววัดความสูงของต้น น้ำหนักสดของลำต้นและราก และน้ำหนักแห้งของลำต้นและราก ผลการทดลองพบว่าเชื้อราเอนโดไฟต์ <em>N. fischeri</em> UB-SD-B4 ทำให้ต้นพืชที่ติดเชื้อราก่อโรค (ชุดการทดลองที่ 3) มีความสูงของต้น น้ำหนักสดของราก และน้ำหนักแห้งของลำต้นและรากเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นพืชที่ติดเชื้อราก่อโรค (ชุดการทดลองที่ 4) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อราเอนโดไฟต์ <em>N. fischeri</em> UB-SD-B4 มีศักยภาพที่จะใช้เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพของโรคเหี่ยวในมะเขือเทศ และอาจมีบทบาทสำคัญสำหรับการเกษตรแบบยั่งยืน</p>
ทศพร ศีรษะภูมิ
นาถอนงค์ ยอดสิงห์
จิตตรี เขื่อนสันเทียะ
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
24
34
-
การพัฒนาเจลต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่มีสารสกัดของสมุนไพรผสม ดอกกานพลูกับลูกจันทน์เทศ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260942
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเจลต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่มีสารสกัดของสมุนไพรผสมดอกกานพลูกับ ลูกจันทน์เทศ การเตรียมสารสกัดเอทานอลของสมุนไพรใช้วิธีการแช่หมักโดยใช้เอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 เป็นตัวทำละลาย การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลของดอกกานพลู สารสกัดเอทานอลของลูกจันทน์เทศ และสารสกัดเอทานอลของสมุนไพรผสมที่มีดอกกานพลูและลูกจันทน์เทศในสัดส่วนที่เท่ากัน ใช้วิธี ABTS และ DPPH ส่วนการประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดดังกล่าวผ่านการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ ใช้วิธี Griess ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดของสมุนไพรผสมดอกกานพลูกับลูกจันทน์เทศมีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ ABTS<sup>•+</sup> และ DPPH<sup>• </sup> ที่สูง โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 0.35±0.01 และ 0.08±0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และมีความสามารถในการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 0.19±0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร หลังจากที่นำสารสกัดของสมุนไพรผสมดอกกานพลูกับลูกจันทน์เทศมาพัฒนาเป็นเจลสมุนไพรที่ความเข้มข้นของสารสกัดร้อยละ 0.05, 0.10 และ 0.20 โดยน้ำหนัก แล้วศึกษาความคงตัวของเจลสมุนไพรในสภาวะเร่ง ด้วยวิธี heat-cool cycling method และประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบของเจลสมุนไพรด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น ผลการศึกษา พบว่า เจลสมุนไพรทุกสูตรมีความคงตัวดี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและทางเคมี นอกจากนี้ยังพบว่าเจลสมุนไพรทุกสูตรมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เทียบเท่ากับเจลมาตรฐานไดโคลฟีแนค ความเข้มข้นร้อยละ 1 ดังนั้นเจลที่มีสารสกัดของสมุนไพรผสมดอกกานพลูกับลูกจันทน์เทศทุกสูตรในการศึกษานี้จึงมีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้าน การอักเสบต่อไป</p>
เมทิกา ฤทธิ์สุทธิ์
ฉัตรชนก นุกูลกิจ
วรินท์ โอนอ่อน
ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน
จรินยา ขุนทะวาด
ภานิชา พงศ์นราทร
ยลดา ศรีเศรษฐ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
35
46
-
การสังเคราะห์และการศึกษาสมบัติของวัสดุผสมซิงค์ออกไซด์/บิสมัทออกซีคลอไรด์ ที่มีความสามารถย่อยสลายสีโรดามีน บี ด้วยกระบวนเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260949
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วัสดุผสมซิงค์ออกไซด์/บิสมัทออกซีคลอไรด์ (วัสดุผสม ZnO/BiOCl) ในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 2:1 โดยน้ำหนัก และเพื่อศึกษาสมบัติของวัสดุผสมที่สังเคราะห์ขึ้น รวมทั้งศึกษาความสามารถของวัสดุผสมที่สังเคราะห์ขึ้น ในการย่อยสลายสีโรดามีน บี ด้วยกระบวนเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง การสังเคราะห์วัสดุผสม ZnO/BiOCl ใช้วิธีการแผ่คลื่นไมโครเวฟ การศึกษาสมบัติของวัสดุผสม ZnO/BiOCl ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิลด์อีมิสชัน (FESEM) เทคนิคการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ (EDX) เทคนิค<em>ฟูเรีย</em>ร์<em>ทรานฟอร์ม</em>อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR) และเทคนิคการวิเคราะห์หาค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ (BET) ส่วนการย่อยสลายสีโรดามีน บี ด้วยกระบวนเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงของวัสดุผสม ZnO/BiOCl ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้เครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสงแบบ UV-Vis spectrophotometer การวิเคราะห์วัสดุผสม ZnO/BiOCl ในทุกอัตราส่วนของ ZnO และ BiOCl ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ พบพีคการเลี้ยวเบนที่แสดงเฟสเฮกซะโกนอลของซิงค์ออกไซด์และเตตระโกนอลของบิสมัทออกซีคลอไรด์ นอกจากนี้ยังพบว่าวัสดุผสม ZnO/BiOCl อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก เป็นวัสดุผสมที่มีลักษณะเป็นแผ่น มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงสุด เท่ากับ 581.48 ตารางเมตรต่อกรัม และมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสีโรดามีน บี ดีที่สุด เท่ากับ 69.97 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 120 นาที ภายใต้สภาวะที่มีแสง</p>
รัตนาภรณ์ สมฤทธิ์
ธีระวิทย์ พลโคกก่อง
วรุตม์ คุณสุทธิ์
กัญญาณัฐ ปัฎฐา
รัชชประภา ตราดไธสง
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
47
55
-
คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และคุณสมบัติพรีไบโอติก ของเห็ดนมเสือ (Lignosus rhinocerus (Cooke) Ryvarden)
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260991
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และคุณสมบัติพรีไบโอติกของเห็ดนมเสือ (<em>Lignosus rhinocerus</em> (Cooke) Ryvarden)) ที่มีอายุ 2, 3, 4, 5 และ 6 เดือน การเตรียมตัวอย่างเห็ดนมเสือทำโดยบดให้เป็นผง แล้วนำไปสกัดด้วย 80% เอทานอล เพื่อให้ได้สารสกัดเห็ดที่มีความเข้มข้น 5, 25, 50, 75 และ 100 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร จากนั้นนำสารสกัดเห็ดดังกล่าวไปตรวจสอบคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด การตรวจสอบคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี DPPH radical scavenging assay และการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดใช้วิธี Folin-Ciocalteu’s method ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัติพรีไบโอติกใช้การประเมินความสามารถของผงเห็ดนมเสือในการส่งเสริม การเจริญของแบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติก ซึ่งในการศึกษานี้ใช้ <em>Lactobacillus casei</em> TISTR 1463 และ <em>L. plantarum</em> TISTR 1465 ผลการศึกษา พบว่า ในแต่ละช่วงอายุของเห็ด คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัดเห็ดที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามอายุของเห็ดมีผลต่อคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของ เห็ดนมเสือ โดยสารสกัดจากเห็ดนมเสือที่มีอายุ 2, 3 และ 4 เดือน ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 100 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร มีคุณสมบัติ ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกมากที่สุด และต่างจากสารสกัดจากเห็ดนมเสือที่มีอายุ 5 และ 6 เดือน ที่ ความเข้มข้นเท่ากับ 100 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าอายุของเห็ดมีผลต่อคุณสมบัติพรีไบโอติกของเห็ดนมเสือด้วย โดยผงเห็ดนมเสือที่เตรียมจากเห็ดนมเสือที่มีอายุ 2, 3 และ 4 เดือนมีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญของ <em>L. casei</em> TISTR 1463 และ <em>L. plantarum</em> TISTR 1465 ได้ดีกว่าผงเห็ดนมเสือที่เตรียมจากเห็ดนมเสือที่มีอายุ 6 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเห็ดนมเสือมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและพรีไบโอติกที่อาจมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป</p>
พิชญาภรณ์ สุวรรณกูฏ
วิชาดา นุสา
ปราณี นุ้ยหนู
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
56
65
-
ความหลากหลายทางชีวภาพและศักยภาพในการผลิตสารชีวภาพของแอคติโนมัยสีท ที่แยกจากดินในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/261186
<p>แอคติโนมัยสีทเป็นแบคทีเรียที่มีสมบัติโดดเด่นด้านการผลิตสารชีวภาพที่มีคุณสมบัติหลากหลาย เช่น สารสี สารต้านจุลชีพ และสารต้านอนุมูลอิสระ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแยก คัดเลือก และศึกษาความสามารถในการผลิตสารชีวภาพบางชนิดของแอคติโนมัยสีทจากดินของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แยกแอคติโนมัยสีทด้วยวิธี spread plate บนอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญของแอคติโนมัยสีท ได้แก่ Starch Casein Agar (SCA), International Streptomyces Project 1 (ISP1), Actinomyces Isolation agar (AIA) และ Hickey’s Terner agar (HTA) ศึกษาลักษณะโคโลนีของแอคติโนมัยสีทที่แยกได้เมื่อเลี้ยงบนอาหารแข็ง SCA ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ ทดสอบความสามารถในการหลั่งสารสีออกนอกเซลล์เมื่อเลี้ยงในอาหารเหลว Starch Casein Broth (SCB) ทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรค 5 สายพันธุ์ ได้แก่ <em>Escherichia coli</em> TISTR 527, <em>Klebsiella</em><em> pneumoniae</em> TISTR 1867 <em>Pseudomonas aeruginosa</em> TISTR 2370 <em>Bacillus cereus</em> TISTR 2372 และ <em>Staphylococcus aureus</em> TISTR 746 ด้วยวิธี Agar block method นอกจากนี้ยังศึกษาผลของอุณหภูมิ และแหล่งคาร์บอนในอาหารเลี้ยงเชื้อต่อความสามารถในการผลิตสารสี และสารต้านแบคทีเรียของแอคติโนมัยสีท ผลการศึกษาพบว่าแยกแอคติโนมัยสีทได้ 123 ไอโซเลท จัดกลุ่มเชื้อตามลักษณะสัณฐานวิทยา และตามความสามารถในการผลิตสารต้านแบคทีเรียได้ 8 และ 4 กลุ่ม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมิ และแหล่งคาร์บอนในอาหารเลี้ยงเชื้อมีต่อความสามารถในการผลิตสารสี และสารต้านแบคทีเรียของแอคติโนมัยสีท</p>
สุจิตกัลยา มฤครัฐอินแปลง
สัญญา กุดั่น
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
66
80
-
การประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำในลำห้วยหลวง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/261196
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำในลำห้วยหลวง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2565 โดยสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำเดือนละ 1 ครั้งจากจุดเก็บตัวอย่าง 4 แห่ง ในลำห้วยหลวง บริเวณพื้นที่ชุมชนสามพร้าวและชุมชนหนองคอนแสน ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี รวมจำนวนตัวอย่างน้ำทั้งสิ้น 48 ตัวอย่าง การตรวจวัดปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์ม (TCB) และฟีคัลโคลิฟอร์ม (FCB) ในน้ำตัวอย่างใช้วิธี Multiple-tube fermentation technique และรายงานค่า TCB และ FCB ในหน่วย Most Probable Number index ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร (MPN/100 mL) ผลการวิเคราะห์ TCB และ FCB ในน้ำตัวอย่างที่เก็บจากจุดเก็บตัวอย่างทั้ง 4 แห่ง พบว่า มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 26,867-137,833 MPN/100 mL และ 5,820-19,454 MPN/100 mL ตามลำดับ ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (TCB<20,000; FCB<4,000 MPN/100 mL) เมื่อนำ TCB และ FCB ในน้ำตัวอย่างของแต่ละฤดูกาลมาเปรียบเทียบกัน พบว่า ค่าเฉลี่ยของ TCB (105,813 MPN/100 mL) และ FCB (19,472 MPN/100 mL) ในฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) มีค่าสูงสุด รองลงมาคือค่าเฉลี่ยของ TCB (81,806 MPN/100 mL) และ FCB (12,340 MPN/100 mL) ในฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม) ส่วนค่าเฉลี่ยของ TCB (45,088 MPN/100 mL) และ FCB (6,525 MPN/100 mL) ในฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) มีค่าต่ำสุด นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของน้ำในลำห้วยหลวงของปี 2565 กับปี 2564 พบว่าค่าเฉลี่ยของ TCB และ FCB ในปี 2565 มีค่าสูงกว่าตลอดทั้งปี จากผลการศึกษานี้ ทำให้ทราบว่าน้ำในลำห้วยหลวงมีแบคทีเรียปนเปื้อน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ ดังนั้นจึงควรมีการบำบัดน้ำเสียและการจัดการน้ำเสียก่อนปล่อยจากชุมชนลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะเพื่อลดปัญหามลพิษทางน้ำและการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค</p>
ชาคริต วังคะออม
ศรีแพร วิเศษศรี
ขวัญทิพา ปานเดชา
ธวัชชัย จำรัสแสง
มัธณา วงศ์อารีย์
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
81
92
-
ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่ออาการ กลวิธีการจัดการกับอาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/261720
<p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่ออาการ กลวิธีการจัดการกับอาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 49 ราย โดยวิธีการสุ่มสัปดาห์เพื่อจัดผู้ป่วยเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย และ 24 รายตามลำดับ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แบบจำลองการจัดการกับอาการ มาเป็นแนวทางการจัดกิจกรรม เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ โปรแกรมการจัดการกับอาการ ประกอบด้วย การพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์อาการ การให้ข้อมูลการจัดการกับอาการผ่านแอปพลิเคชันการจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด การฝึกทักษะการหายใจแบบลึกและการเดินออกกำลังกาย การใช้โทรศัพท์เพื่อติดตาม กระตุ้นให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลลัพธ์การให้โปรแกรมการจัดการกับอาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม (functional assessment of cancer therapy-breast [FACT-B] version 4) โปรแกรมการจัดการกับอาการ และแอปพลิเคชัน การจัดการอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไค-สแควร์ (Chi-square), Paired t-test, Independent t-test สถิติแมน-วิทนี่ ยู (Mann-Whitney U test) สถิติฟรีดแมน (Friedman test) และวิลคอกซั่น ซายร์-แรงค์ (Wilcoxon Signed Rank test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการด้านความถี่และความรุนแรงของอาการของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมการจัดการกับอาการไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิต</p>
อมรรัตน์ นธะสนธิ์
สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์
ชลิยา วามะลุน
โสภิต ทับทิมหิน
สายรุ้ง ประกอบจิตร
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
93
113
-
ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม และฤทธิ์ยับยั้ง Streptococcus mutants ของสารสกัดจันทน์ทั้ง 5
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/261964
<p>จันทน์ทั้ง 5 เป็นตำรับยาสมุนไพรไทยที่ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน และบำรุงตับ ปอด หัวใจ ประกอบด้วยแก่นไม้สมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ แก่นจันทน์ทนา (<em>Tarenna hoaensis</em> Pit.) แก่นจันทน์แดง (<em>Dracaena loureiroi</em> Gagnep.) แก่นจันทน์ขาว (<em>Santalum album</em>) แก่นจันทน์เทศ (<em>Myristica fragrans</em> Houtt.) และแก่นจันทน์ชะมด (<em>Mansonia gagei</em>) ในปัจจุบันมีรายงานน้อยมากเกี่ยวกับฤทธิ์ของจันทน์ทั้ง 5 ในการยับยั้ง <em>Streptococcus mutants </em>ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในช่องปาก และเป็นสาเหตุของโรคฟันผุ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม รวมทั้งทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง <em>Streptococcus mutans</em> ของสารสกัดเอทานอลของจันทน์ทั้ง 5 และสารสกัดเอทานอลของสมุนไพรแต่ละชนิดที่เป็นส่วนประกอบของจันทน์ทั้ง 5 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดแก่นจันทน์แดงมีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงสุด เท่ากับ 93.06 ± 6.67 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมตัวอย่างแห้ง ส่วนสารสกัดแก่นจันทน์ทนามีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงสุด เท่ากับ 83.00 ± 9.84 มิลลิกรัมสมมูลของเคอร์ซิตินต่อกรัมตัวอย่างแห้ง นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดแก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว และแก่นจันทน์ทนามีฤทธิ์ยับยั้ง<em> S. mutans</em> ได้ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) เท่ากับ 15.62 ± 0.00 และ 31.25 ± 0.00 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ดังนั้นตำรับจันทน์ทั้ง 5 และสมุนไพร แต่ละชนิดที่เป็นส่วนประกอบของตำรับจันทน์ทั้ง 5 จึงมีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ในการรักษาโรคในช่องปากที่เกิดจากการติดเชื้อ <em>S. mutans</em></p>
พรรณนิภา เจ๊กแตงพะเนาว์
รัชฎาวรรณ อรรคนิมาตย์
ปราณี ศรีราช
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-08
2024-10-08
26 3
114
121