วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu <h5><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</strong></h5> <p> เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับบทความวิจัย (Research Article) <br />บทความวิชาการ (Review Article) โดยเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2697-4142 (Online)<br />ตั้งแต่ ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป</p> <p> ดาวน์โหลดบทความฉบับที่เผยแพร่เป็นรูปเล่ม &gt;&gt; <a href="https://www.ubu.ac.th/web/research/content/UBUSCI-Journal%20-%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87/" target="_blank" rel="noopener">ที่นี่</a></p> <p> วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563 - 2567 ครั้งที่ 3 (2565 - 2567) ให้อยู่ในกลุ่มที่ 1</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> ubuscij@ubu.ac.th (ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ) ubuscij@ubu.ac.th (นางสาวพัชราภรณ์ จันทวี) Wed, 10 Jul 2024 15:16:49 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การตอบสนองทางสรีรวิทยาต่ออัตราการให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ต่างกันของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ที่มีรูปแบบการแตกกิ่งที่ต่างกัน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258991 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาของมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ที่มีรูปแบบการแตกกิ่งที่ต่างกันต่ออัตราการให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ Split-plot in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ กำหนดให้ปัจจัยหลักเป็นปุ๋ยไนโตรเจน 3 ระดับ ได้แก่ 0, 15 และ 30 กิโลกรัมต่อไร่ (N0, N1 และ N2) และปัจจัยรองเป็นมันสำปะหลัง 2 พันธุ์ คือพันธุ์ระยอง 9 (ไม่แตกกิ่ง) และสายพันธุ์ CMR38-125-77 (แตกกิ่ง) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอัตราการให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ต่างกันไม่ส่งผลต่อค่าคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซ็นต์ (<em>F<sub>v</sub>/F<sub>m</sub></em>) ที่อายุ 2 และ 4 เดือนหลังปลูก (MAP) พื้นที่ใบจำเพาะ (SLA) ที่อายุ 2 และ 6 เดือนหลังปลูก อัตราการเจริญเติบโต (CGR) ที่อายุ 2-4 เดือนหลังปลูก ปริมาณคลอโรฟิลล์ และอัตราการสะสมน้ำหนักแห้งต่อหน่วยพื้นที่ใบต่อเวลา (NAR) ทุกระยะการเจริญเติบโต แต่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อพื้นที่ใบ (LA) และดัชนีพื้นที่ใบ (LAI) ที่อายุ 2 และ 6 เดือนหลังปลูก และน้ำหนักแห้งหัวที่อายุ 6 เดือนหลังปลูก ขณะที่พันธุ์มันสำปะหลังที่ต่างกันส่งผลต่อความแตกต่างของ LA และ LAI ที่อายุ 2 และ 6 เดือนหลังปลูก SLA และ CGR ที่อายุ 4-6 เดือนหลังปลูก และ NAR ที่อายุ 2-4 เดือนหลังปลูก นอกจากนี้ยังพบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างระดับปุ๋ยไนโตรเจน และพันธุ์ของมันสำปะหลังต่อ <em>F<sub>v</sub>/F<sub>m</sub></em>, LA, LAI และน้ำหนักหัวแห้ง การศึกษานี้พบว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 เป็นพันธุ์ที่มีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนได้ดี โดยให้ค่า LA, LAI, SLA, NAR, CGR และน้ำหนักหัวแห้งสูงกว่าสายพันธุ์ CMR38-125-77 ภายใต้ N1 และ N2 ขณะที่สายพันธุ์ CMR38-125-77 เป็นสายพันธุ์ที่มีพัฒนาการทรงพุ่ม (LA และ LAI) และผลผลิตหัวที่ไม่แตกต่างกันในทุกระดับของปุ๋ยไนโตรเจน จากการวิเคราะห์ stepwise linear regression พบว่าน้ำหนักแห้งหัวมีความสัมพันธ์กับ CGR ที่อายุ 2-4 เดือนหลังปลูก และ LA ที่อายุ 4 เดือนหลังปลูก (R<sup>2</sup>=0.54*) และเปอร์เซ็นต์แป้งมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางสรีรวิทยาหลายประการ (R<sup>2</sup>=0.78*) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเหมาะสม และการคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังทางอ้อมต่อไป</p> อนนท์ จันทร์เกตุ, อารียา โคทาลิน , สุมิตรา ไชยลือชา , นทีทิพย์ สวัสดิ์รักษา , ปรียานุช ลาขุนทด Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/258991 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัลและสมบัติทางไฟฟ้าของ CeO2 นาโนคลัสเตอร์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259682 <p>ในงานวิจัยนี้ใช้วิธีไฮโดรเทอร์มัลที่ไม่ซับซ้อนในการสังเคราะห์ซีเรียมออกไซด์ (CeO<sub>2</sub>) นาโนคลัสเตอร์ที่อุณหภูมิต่างกันสองค่า โดยใช้ซีเรียมไนเตรตเฮกซะไฮเดรตเป็นสารตั้งต้นของซีเรียม ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของซีเรียมออกไซด์นาโนคลัสเตอร์ที่สังเคราะห์ได้ถูกนำไปวิเคราะห์โดยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่มีสมรรถนะสูงชนิดฟิลด์อีมิสชัน จากนั้นสารตัวอย่างถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยรามานสเปกโทรสโกปี, สเปกโทรสโกปีของอนุภาคอิเล็กตรอนที่ถูกปลดปล่อยด้วยรังสีเอกซ์ และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ สมบัติทางไฟฟ้าถูกวิเคราะห์โดยการศึกษากราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่ากระแสไฟฟ้ากับแรงดันไฟฟ้า ผลการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่าสามารถสังเคราะห์ซีเรียมออกไซด์นาโนคลัสเตอร์ภายใต้กระบวนการและเงื่อนไขเหล่านี้ได้</p> จีรภัทร นุตริยะ สโตนเนอร์, อรทัย ทุมทัน, สุพล สำราญ, ศุภกร ภู่เกิด Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259682 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากล่องกระดาษรักษ์โลกจากวัสดุเหลือใช้จากอ้อย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259728 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากล่องกระดาษรักษ์โลกจากวัสดุเหลือใช้จากอ้อย โดยเริ่มต้นจากการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของวัสดุที่ใช้ทำกระดาษที่ประกอบด้วยเส้นใยใบอ้อย เส้นใยชานอ้อย และขุยกระดาษ ซึ่งพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 1:1:1 ร่วมกับการเคลือบผิวด้วยสารละลายกลูโคแมนแนนความเข้มข้นร้อยละ 10 กระดาษจากเศษอ้อยที่ได้จากสูตรดังกล่าวมีสีน้ำตาลอ่อน และมีผิวกระดาษขรุขระ มีคุณสมบัติเชิงกลดีกว่ากระดาษที่ได้จากสูตรอื่น คือ มีค่าความต้านแรงดันทะลุ 281 กิโลปาสคาล ความต้านแรงดึง 4.02 กิโลนิวตันต่อเมตร ความต้านแรงฉีกขาด 4,001 มิลลินิวตัน และการดูดซึมหยดน้ำเท่ากับ 729 วินาที นอกจากนี้ยังมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ของกระดาษเส้นใยพืชตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เลขที่ มผช.41/2560 คือ ไม่มีรอยทะลุหรือฉีกขาด ไม่มีรา สะอาด มีความชื้นร้อยละ 3.67-4.04 และมีการเคลือบผิวสม่ำเสมอ กระดาษจากเศษอ้อยนี้มีต้นทุนการผลิตกระดาษ 17.87 บาทต่อแผ่น เมื่อนำกระดาษจากเศษอ้อยดังกล่าวไปพัฒนาต้นแบบกล่องกระดาษ พบว่ากล่องกระดาษทรงสามเหลี่ยมที่ปิดฝาด้านบนด้วยการผูกด้วยเชือกมะลิลาได้รับความพึงพอใจโดยรวมจากผู้ใช้งานในระดับมากที่สุดคือ 4.24 กล่องกระดาษดังกล่าวมีต้นทุนการผลิต (ค่ากระดาษและค่าแรง) เท่ากับ 21.06 บาทต่อกล่อง การทำกล่องกระดาษ 1 ใบสามารถลดปริมาณเศษอ้อยได้ประมาณ 76.23 กรัม ดังนั้นการพัฒนากระดาษจากวัสดุเหลือใช้จากอ้อยเพื่อการผลิตกล่องกระดาษรักษ์โลกจึงไม่เพียงแต่ช่วยลดมลพิษจากการเผาเศษอ้อยยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน</p> นันทวัน หัตถมาศ, มลฤดี โอปมาวุฒิกุล, กัญญา ภัทรกุลอมร, นัฐพงษ์ ทองปาน, ลัดดาวัลย์ จำปา, พรอารีย์ ศิริผลกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259728 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของวัชพืชในนาข้าวอินทรีย์และนาข้าวเคมีในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259787 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของวัชพืชในนาข้าวอินทรีย์ และนาข้าวเคมีในพื้นที่ดินเค็ม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากพื้นที่เก็บตัวอย่าง 2 แห่งที่เป็นนาข้าวอินทรีย์ และ 1 แห่งที่เป็นนาข้าวเคมี พบวัชพืชทั้งหมด 10 วงศ์ 33 สกุล 42 ชนิด โดยพบในนาข้าวอินทรีย์ 42 ชนิด และพบในพื้นที่นาข้าวเคมี 10 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์หญ้า (Poaceae) ซึ่งพบจำนวน 12 สกุล 13 ชนิด รองลงมา คือ วงศ์กก (Cyperaceae) พบจำนวน 4 สกุล 10 ชนิด และวงศ์ที่พบน้อยสุด ได้แก่ วงศ์ดอกรัก (Apocynaceae) วงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) วงศ์สันตะวา (Hydrocharitaceae) และวงศ์บัวสาย (Nymphaeaceae) พบวงศ์ละ 1 ชนิด ค่าความคล้ายคลึงของชนิดวัชพืชระหว่างพื้นที่นาอินทรีย์และพื้นที่นาที่ใช้สารเคมี เท่ากับร้อยละ 38.46 การใช้ประโยชน์จากวัชพืชของชาวบ้านในท้องถิ่นแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ใช้เป็นพืชอาหาร (ร้อยละ 7) ได้แก่ วงศ์ถั่ว และวงศ์ผักบุ้ง 2) ใช้เป็นเครื่องมือและสิ่งทอ (ร้อยละ 10) ได้แก่ วงศ์กก และ 3) ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา (ร้อยละ 2) ได้แก่ วงศ์ดอกรัก ข้อมูลจากงานวิจัยนี้เป็นแนวทางการนำวัชพืชไปใช้ประโยชน์หรือจัดการวัชพืชในชุมชนอย่างเหมาะสมต่อไป</p> ผุสดี พรหมประสิทธิ์, จุฑามาศ ดีสุ่ย, ปัณรส กิ่งกระโทก Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259787 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 ความหลากหลายและการกระจายตัวของสีดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia rosea (Bertol.) DC.) ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259790 <p>ชมพูพันธุ์ทิพย์ (<em>Tabebuia rosea</em> (Bertol.) DC.) ที่รวบรวมไว้ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ถือเป็นแหล่งพันธุกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง การศึกษาสีดอกทำให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และระบบนิเวศของชมพูพันธุ์ทิพย์ที่รวบรวมไว้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายและการกระจายตัวของสีดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อใช้ในการอธิบายความหลากหลายทางพันธุกรรมของชมพูพันธุ์ทิพย์ในไทย โดยการวัดสีดอกของชมพูพันธุ์ทิพย์จำนวน 211 ต้น ด้วยเครื่อง color reader ในระบบสี CIE จากการวิเคราะห์ด้วย cluster analysis ร่วมกับ principal component analysis (PCA) ทำให้แบ่งสีดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 สีชมพูขาว กลุ่ม 2 ชมพูอ่อน กลุ่ม 3 ชมพูม่วง กลุ่ม 4 ชมพูซีด และ กลุ่ม 5 ชมพูถึงชมพูเข้ม ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่สุด ค่าพารามิเตอร์หลักที่บ่งบอกถึงโทนสีของดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ คือ สี a* โดยดอกชมพูพันธุ์ทิพย์มีสีแดงเป็นหลัก และมีการกระจายตัวของสี a* แบบปกติ โดยการทดสอบ Shapiro-Wilk W test (P-value = 0.07) นอกจากนี้ยังพบว่าความแตกต่างของสีดอกยังขึ้นกับ ค่า L*, b*, C* ซึ่งค่า b* เป็นลบมากขึ้นมีผลให้ดอกมีสีม่วงมากขึ้น จากการวิเคราะห์ PCA พบว่ามีความแปรปรวนสะสมของ PC1 และ PC2 เท่ากับ 98.24% โดยค่าพารามิเตอร์ a* มีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับค่า L* และ b* ที่ r = -0.96** และ r = -0.78** ตามลำดับ และไม่พบความสัมพันธ์ของค่า h<sup>o</sup> กับทุกพารามิเตอร์ แสดงให้เห็นว่าดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ที่ศึกษาเป็นโทนสีชมพูทั้งหมดและไม่พบชมพูพันธุ์ทิพย์สีขาว</p> ธีรนาฏ กาลปักษ์, เสาวณี คงศรี, นันทนัช อนันทาวุฒิ, วชิรญา อิ่มสบาย, อัญมณี อาวุชานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/259790 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อิมัลชันบำรุงผิวจากสารสกัดขมิ้นชันและสารสกัดสมอพิเภก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260098 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากขมิ้นชัน และสมอพิเภก ตรวจสอบปริมาณเคอร์คูมินนอยด์ คอมเพล็กซ์ในสารสกัดจากขมิ้นชัน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์อิมัลชันบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดดังกล่าวทั้งสองชนิด เมื่อนำ สารสกัดจากขมิ้นชัน และสมอพิเภกที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ เอทานอล 95% และอะซีโตไนไตรล์ มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS<sup>+.</sup> และ DPPH ผลการทดสอบด้วยวิธี ABTS<sup>+.</sup> พบว่าสารสกัดจากขมิ้นชันที่สกัดด้วยอะซีโตไนไตรล์ และ สารสกัดจากสมอพิเภกที่สกัดด้วยเอทานอล 95% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 0.269±0.018 และ 0.104±0.004 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดจากขมิ้นชันที่สกัดด้วยอะซีโตไนไตรล์ และสารสกัดจากสมอพิเภกที่สกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 1.951±0.013 และ 0.337±0.0194 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ปริมาณเคอร์คูมินนอยด์ คอมเพล็กซ์ในสารสกัดจากขมิ้นชันที่สกัดด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำ เอทานอล 95% และอะซีโตไนไตรส์ด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 0.073±0.004, 305.60±0.05 และ 330.60±0.45 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดขมิ้นชันที่สกัดด้วยอะซีโตไนไตรล์ และสารสกัดสมอพิเภกที่สกัดด้วยเอทานอล 95% มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อิมัลชันบำรุงผิว โดยแต่ละสูตรมีชนิดและปริมาณของสารก่อเจลที่แตกต่างกัน พบว่าสูตรที่เหมาะสมที่สุดเป็นสูตรที่ใช้คาร์โบพอล 940 เป็นสารก่อเจล ในปริมาณร้อยละ 0.2 โดยสูตรนี้ให้คุณลักษณะของอิมัลชันที่ดี และมีค่า pH เท่ากับ 6 ซึ่งน่าเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์อิมัลชันบำรุงผิวสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการดูแลผิวพรรณด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากสารสกัดธรรมชาติ</p> นำพล แปนเมือง , ฉัตรชนก นุกูลกิจ, ศิรินทิพย์ พรมเสนมา , วริษฎา ศิลาอ่อน , ปภาภัสสร์ ธีรพัฒนวงศ์, กัญจนภรณ์ ธงทอง, เพชรัตน์ รัตนชมภู, ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน, ยลดา ศรีเศรษฐ์, วรินท์ โอนอ่อน, จรินยา ขุนทะวาด, ภัทรานิษฐ์ คำแผ่นจิรโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260098 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ปริมาณฟีนอลิกรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ของสารสกัดหยาบจากผลและใบสมอไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260274 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส รวมทั้งวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดหยาบจากผลสมอไทยและใบสมอไทย ซึ่งสกัดด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ เอทานอลร้อยละ 95 เอทานอลร้อยละ 70 และเอทานอลร้อยละ 50 การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำโดยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radial scavenging capacity assay (DPPH assay), ABTS radical cation decolorization assay (ABTS assay) และ ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) assay การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสทำโดยวิธี Dopachrome method การวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมทำโดยวิธี Folin-Ciocalteu assay และการวิเคราะห์ปริมาณฟลาโวนอยด์รวมทำโดยวิธี Aluminum chloride colorimetric assay จากการศึกษา พบว่า สารสกัดหยาบจากใบสมอไทยที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดด้วยวิธี DPPH (IC<sub>50</sub> = 8.064±0.19 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และวิธี FRAP assay (FRAP value = 1,238.211±2.47 มิลลิโมลาร์สมมูลของเฟอร์รัสซัลเฟตต่อกรัมสารสกัด) นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมากที่สุด (IC<sub>50</sub> = 0.327±0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมากที่สุด (144.183±6.73 มิลลิกรัมสมมูลของเควอซิทินต่อกรัมสารสกัด) ส่วนสารสกัดหยาบใบสมอไทยที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดด้วยวิธี ABTS assay โดยมีค่าการต้านอนุมูลอิสระ ABTS<sup>•+</sup> เท่ากับ 442.405±12.16 <sup> </sup>มิลลิกรัมสมมูลของวิตามินซีต่อกรัมสารสกัด และมีปริมาณฟีนอลิกรวมมากที่สุด (418.007±19.55 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าใบสมอไทยถือเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเป็นสมุนไพรทางเลือกในการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านเวชสำอาง และวิจัยต่อยอดด้านเภสัชวิทยาเพื่อการพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาต่อไป</p> ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, จตุพร พนัสโณทัย , อัจฉรา แก้วน้อย , เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์ , อาวุธ หงษ์ศิริ , บุญหลง ศรีบัว , กวินท์ สาสาย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260274 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 ฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดไผ่จืดต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักชนิด HCT116 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260463 <p>ไผ่จืดเป็นพืชตระกูลหญ้าที่ทราบกันดีว่ามีสรรพคุณด้านการขับสารพิษ แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านมะเร็งน้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดไผ่จืดต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักของมนุษย์ชนิด HCT116 โดยในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสารสกัดไผ่จืดต่อความมีชีวิตของเซลล์ HCT116 โดยวิธี MTT assay การเพิ่มจำนวนเซลล์ HCT116 โดยวิธี clonogenic assay การเคลื่อนที่ของเซลล์ HCT116 โดยวิธี wound healing assay และวัฏจักรเซลล์ของเซลล์ HCT116 โดยวิธี flow cytometry ผลการทดลองพบว่าสารสกัดไผ่จืดทำให้อัตราการรอดชีวิตของเซลล์ HCT116 ลดลงตามความเข้มข้นของสารสกัดไผ่จืด โดยค่าร้อยละความมีชีวิตของเซลล์ HCT116 เท่ากับ 81.92, 67.03 และ 63.27 เมื่อบ่มเซลล์ HCT116 กับสารสกัดไผ่จืดที่มีความเข้มข้น 1, 1.25 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดไผ่จืดสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนโคโลนี และลดการเคลื่อนที่ของเซลล์ HCT116 รวมทั้งชักนำให้เกิดการหยุดของวัฏจักรเซลล์ของเซลล์ HCT116 ที่ระยะ G0/G1 ได้ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดไผ่จืดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักชนิด HCT116 และน่าจะเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาโรคมะเร็งได้</p> รัษฎา ประภาสะวัต, สริดาพา บุญศรีกุล, เบญญาลักษณ์ มูลหล้า, ทัศนีย์ ศรีโพธิ์, ชลวัชร ชัยชาญ, ภัชรี พิมาลรัมย์, กานต์ชนก สุขบท, อัญชลี ระวังการ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260463 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลของสารเติมและกระแสไฟเชื่อมต่อความแข็งของโลหะเชื่อมในกระบวนการเชื่อมอาร์กใต้ฟลักซ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260705 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดและปริมาณของสารเติม และกระแสไฟเชื่อมต่อความแข็งของโลหะเชื่อมในกระบวนการเชื่อมอาร์กใต้ฟลักซ์ โดยชนิดของสารเติมที่ใช้ในงานวิจัยนี้มี 3 ชนิด คือ คาร์บอน ซิลิคอนคาร์ไบด์ และคาร์บอนผสมซิลิคอนคาร์ไบด์ ปริมาณของสารเติมแต่ละชนิดที่ใช้ในการศึกษานี้มี 3 ระดับ คือ 1, 2 และ 3 กรัม และกระแสไฟเชื่อมที่ใช้ในการศึกษานี้มี 3 ระดับ คือ 430, 500 และ 570 แอมแปร์ ในการเชื่อมมีการควบคุมให้แรงดันไฟฟ้าเชื่อม และความเร็วของการเชื่อมคงที่ เท่ากับ 30 โวลต์ และ 15 นิ้วต่อนาที ตามลำดับ หลังจากการเชื่อม นำชิ้นงานโลหะเชื่อมมาวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมี โครงสร้างจุลภาค และความแข็งแบบร็อกเวลซี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าชิ้นงานที่ได้จากการเชื่อมโดยมีการเติมคาร์บอน ปริมาณ 3 กรัม และใช้กระแส ไฟเชื่อมเท่ากับ 430 แอมแปร์ เป็นชิ้นงานที่มีความแข็งมากที่สุด คือ โดยมีค่าความแข็งเท่ากับ 47 HRC และมีปริมาณคาร์บอนมากที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 1.34 เปอร์เซ็นต์ ชิ้นงานนี้จัดเป็นเหล็กไฮเปอร์ยูเทคตอย ซึ่งมีโครงสร้างจุลภาคที่ประกอบด้วยเพิลไลท์ และคาร์ไบด์ จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความแข็งของเนื้อโลหะเชื่อม คือ ปริมาณสารเติม และอิทธิพลร่วมระหว่างปริมาณสารเติมกับกระแสไฟเชื่อม</p> นราธิป สุพัฒน์ธนานนท์, ปริญญวัตร ทินบุตร, สำเภา โยธี, ธีรวุฒิ ศรีพันธ์ชาติ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/260705 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700 อาการและการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/261120 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาอาการที่พบบ่อย วิธีการจัดการกับอาการและผลลัพธ์จากการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แนวคิดการจัดการกับอาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 160 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามอาการที่พบบ่อย และแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการกับอาการ ได้ความเที่ยงของเครื่องมือ .95 และ .85 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า อาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรกคือ 1) ไม่สบายใจ 2) หงุดหงิด/อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 3) ผมร่วง 4) เครียด/วิตกกังวล เบื่ออาหาร และการรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป และ 5) อ่อนเพลีย/อ่อนล้า/ไม่มีแรง ซึ่งอาการดังกล่าวไม่เพียงแต่พบบ่อย แต่เป็นอาการที่รุนแรงและรบกวนชีวิตประจำวันด้วย ยกเว้นอาการผมร่วง วิธีการจัดการกับอาการของผู้ป่วย มีดังนี้ 1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การผ่อนคลาย และการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล 2) การจัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ 3) การใช้ยาแผนปัจจุบัน 4) การป้องกันอุบัติเหตุ และ 5) การจัดการกับภาพลักษณ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลวิธีการจัดการกับอาการจากครอบครัว และจัดการกับอาการด้วยตนเอง ผลลัพธ์ในการจัดการกับอาการเป็นไปในทางที่ดี คือ ความถี่ ความรุนแรงของอาการลดลงและสภาพจิตใจ อารมณ์ของผู้ป่วยดีขึ้น ข้อเสนอแนะ พยาบาลและผู้ให้บริการทางสุขภาพควรนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมในการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> อมรรัตน์ นธะสนธิ์, สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, ชลิยา วามะลุน, โสภิต ทับทิมหิน, สายรุ้ง ประกอบจิตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/261120 Wed, 10 Jul 2024 00:00:00 +0700