@article{เรียนสุทธิ์_2022, title={ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลด้วยวิธีการทางสถิติ}, volume={19}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/249783}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลด้วยวิธีการทางสถิติ 7 วิธี ได้แก่ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของบราวน์ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก และวิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ โดยใช้ปริมาณการส่งออกน้ำตาลเฉลี่ยรายเดือนจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ผลการศึกษาพบว่า วิธีที่มีความแม่นยำมากที่สุด คือ วิธีการทำให้เรียบด้วยเลขชี้กำลังของบราวน์ (RMSE = 15,350,934) มีตัวแบบพยากรณ์เป็น<img title="\dpi{80} \fn_jvn \small \hat{Y}_{t+m} =605,885,263.89082-70,164,400.52826\left [ (m-1)+\frac{1}{0.51816} \right ]" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_phv&space;\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\small&space;\hat{Y}_{t+m}&space;=605,885,263.89082-70,164,400.52826\left&space;[&space;(m-1)+\frac{1}{0.51816}&space;\right&space;]" />  โดยตัวแบบพยากรณ์นี้สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกน้ำตาลในอนาคตได้ เมื่อ m = 1 แทนเดือนกรกฎาคม 2563</p>}, number={1}, journal={PBRU Science Journal}, author={เรียนสุทธิ์ วรางคณา}, year={2022}, month={ก.ค.}, pages={1–12} }