@article{Nimrat_2022, title={การสำรวจการปนเปื้อนจุลินทรีย์ ยาฆ่าแมลงและสีสังเคราะห์ของอาหารทะเลแห้ง ที่จำหน่ายในตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี}, volume={19}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/251133}, abstractNote={<p>อาหารทะเลแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคของคนไทย เนื่องจากเป็นอาหารที่มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่างไรก็ตามอาหารทะเลแปรรูปสามารถปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ก่อโรคและสารพิษตกค้างได้ง่ายอันเนื่องมาจากการขาดสุขลักษณะที่ดีในกระบวนการผลิตและจำหน่าย ทำให้เกิดอันตรายด้านสุขภาพของผู้บริโภค การศึกษานี้จึงได้สำรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งที่จำหน่ายในตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี จำนวน 64 ตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ความชื้นและการปนเปื้อนจุลินทรีย์ (แบคทีเรียกลุ่มเอนเทอโรแบคทีเรียซีอี ยีสต์และรา) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต และสีสังเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าอาหารแห้งกลุ่มกุ้งแห้งและหมึกแห้งมีความชื้นเกินมาตรฐานตามประกาศผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารทะเลแห้งมีการปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีอยู่ในช่วง 0 - 1.04 ± 0.04 x 10<sup>5</sup> CFU/g และไม่ผ่านมาตรฐานเนื่องจากการปนเปื้อนยีสต์และราเกินค่ามาตรฐานสูงถึงร้อยละ 82.8 โดยมีปริมาณอยู่ในช่วง 0 - 7.17 ± 2.26 x 10<sup>4</sup> CFU/g รวมทั้งอาหารทะเลแห้งยังตรวจพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตร้อยละ 12.5 ในตัวอย่างกลุ่มปลากรอบปรุงรส ปลาเค็ม ปูกรอบปรุงรส หมึกแห้ง และกุ้งแห้ง และการตกค้างของสีสังเคราะห์ร้อยละ 21.9 ในอาหารกลุ่มปูกรอบปรุงรส หมึกบด กุ้งแห้ง ปลาแดดเดียว และหมึกปรุงรสพร้อมบริโภค การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าอาหารทะเลแห้งเป็นแหล่งการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้</p>}, number={1}, journal={PBRU Science Journal}, author={Nimrat, Subuntith}, year={2022}, month={ก.ค.}, pages={13–26} }