TY - JOUR AU - พิพัฒน์ภานุกูล, ทศพร PY - 2022/07/01 Y2 - 2024/03/29 TI - การชักนำให้เกิดแคลลัสจากชิ้นส่วนลำต้นใต้ใบเลี้ยงของมะเขือเทศสีดา (Lycopersicon esculentum Mill.) พันธุ์เพชรชมพู JF - PBRU Science Journal JA - PBRU.Sci.J VL - 19 IS - 1 SE - DO - UR - https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/251341 SP - 54-63 AB - <p>มะเขือเทศ (<em>Lycopersicon esculentum </em>Mill<em>.</em>) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเกิดแคลลัสของมะเขือเทศสีดาพันธุ์เพชรชมพู โดยนำชิ้นส่วนลำต้นใต้ใบเลี้ยงเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS (Murashige &amp; Skoog) ที่เติม BAP และ NAA ในความเข้มข้นต่าง ๆ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อศึกษาผลกระทบของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่มีต่อจำนวนวันในการเกิดแคลลัส ค่าเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัส และค่าน้ำหนักสดแคลลัส ผลการศึกษาพบว่าอาหารเพาะเลี้ยงที่เติม BAP 2.22 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับ NAA 8.06 ไมโครโมลาร์ เป็นสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดแคลลัส โดยมีค่าเปอร์เซ็นต์การเกิดแคลลัสเท่ากับ 100% และมีค่าน้ำหนักสดเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 2.30 กรัม นอกจากนั้นยังใช้เวลาในการเกิดแคลลัสน้อยที่สุดด้วย การรักษาสภาพแคลลัสที่ชักนำได้ จากชิ้นส่วนลำต้นใต้ใบเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยงสูตร MS ที่เติม BAP ร่วมกับ NAA พบว่าแคลลัสสามารถเพิ่มจำนวนได้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดา ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช</p> ER -