PBRU Science Journal https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU <p> วารสารได้ปรับเปลี่ยนชื่อจาก วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็น PBRU Science Journal โดยเผยแพร่ออนไลน์เพียงช่องทางเดียว โดยใช้เลข ISSN 2773-9716 </p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของเนื้อหา</strong></p> <p>วารสาร PBRU Science Journal เป็นวารสารที่จัดทำโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งผลงานที่เผยแพร่เป็นทั้งบทความวิจัย (Research article) บทความวิจัยอย่างย่อ (Short report) บทความปริทัศน์ (Review article) ทางด้านวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การเกษตรและชีวภาพ ชีววิทยา จุลชีววิทยา เคมี วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ </p> <ul> <li>General Agricultural and Biological Sciences</li> <li>General Microbiology</li> <li>General Chemistry</li> <li>General Mathematics</li> <li>General Computer Science </li> </ul> <p>โดยเรื่องที่ขอรับการตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้ทำการคัดลอกจากผลงานของผู้อื่น ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น โดยทุกเรื่องจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญตรงสาขาวิชาของบทความ หรืออย่างน้อยต้องมีความเกี่ยวข้องกับบทความ โดยเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จำนวน 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน ซึ่งไม่สังกัดองค์กรเดียวกับผู้แต่งบทความ และต้องได้รับความเห็นชอบให้ตีพิมพ์ได้อย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) วารสารมีกำหนดเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม -ธันวาคม)</p> <p><strong>ทั้งนี้ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ในวารสาร PBRU Science Journal </strong></p> Faculty of Science and Technology Phetchaburi Rajabhat University th-TH PBRU Science Journal 2773-9716 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal</p> แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์ปริมาณการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/261147 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการผลิต ไบโอดีเซลในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 79 ค่า โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 72 ค่า สำหรับการสร้างแบบจำลองด้วยวิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีของโฮลท์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลด้วยวิธีของบราวน์ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการพยากรณ์ร่วม และข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 7 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบแบบจำลองเพื่อคัดเลือกแบบจำลองที่พยากรณ์ได้แม่นและเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ที่มีค่าต่ำที่สุด &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า วิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ (MAPE = 41.833 และ RMSE = 0.324) และมีตัวแบบการพยากรณ์ คือ ARIMA(0,2,1) ที่มีพจน์ค่าคงที่</p> สิโรรัตน์ จั่นงาม กนิษฐา ยิ้มนาค จุฑารัตน์ โพธิ์หลวง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 1 16 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เมื่อข้อมูลมีการแจกแจงแบบผสม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/261004 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พื้นฐาน 3 วิธี ได้แก่ การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ลำดับที่ของ สเปียร์แมน และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เคนดัล เมื่อข้อมูลมีการแจกแจงปรกติแบบผสม การแจกแจงล็อกนอร์มัลแบบผสม และการแจกแจงแกมมาแบบผสม ซึ่งการแจกแจงเหล่านี้พบได้กับข้อมูลในชีวิตประจำวัน เช่น ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลการเคลมประกันรถยนต์ เป็นต้น โดยศึกษาที่ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 10, 20, 30, 50 และ 100 กำหนดค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.0, 0.4, 0.6 และ 0.8 ผลการศึกษา พบว่า การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทั้ง 3 วิธี สามารถควบคุมความผิดพลาดแบบที่ 1 ได้ทุกกรณี และเมื่อพิจารณาจากกำลังการทดสอบ พบว่า การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันให้ค่ากำลังการทดสอบสูงที่สุด เมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก สำหรับกรณีที่ตัวอย่างมีขนาดใหญ่และข้อมูลมีการแจกแจงปรกติแบบผสม การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันยังคงให้ค่ากำลังการทดสอบสูงที่สุด แต่เมื่อข้อมูลมีการแจกแจงล็อกนอร์มัลแบบผสม และการแจกแจงแกมมาแบบผสม พบว่ากรณีส่วนใหญ่การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เคนดัล ให้ค่ากำลังการทดสอบสูงที่สุด</p> บำรุงศักดิ์ เผื่อนอารีย์ อภัสรา เกิดพุ่ม ภัทราภรณ์ กิจผลเจริญ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 17 29 ผลของตัวทำละลายต่างชนิดที่ใช้ในการสกัดลำต้นโคลงเคลงต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260880 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระปริมาณฟีนอลและฟลาโวนอยด์ทั้งหมดของสารสกัดหยาบของลำต้นโคลงเคลงที่ได้จากการใช้ตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ การหาปริมาณของปริมาณฟีนอลและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TPC และ TFC) จะตรวจวัดโดยวิธีคัลเลอริเมตรีด้วยรีเอเจนต์ Folin-Ciocalteu และอะลูมินัมคลอไรด์ ตามลำดับ ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทดสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging assay ผลการตรวจสอบชนิดของสารพฤกษเคมีเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบในลำต้นโคลงเคลง พบฟลาโวนอยด์ คูมาริน แทนนิน เทอร์พีนอยด์ สเตียรอยด์ และไกลโคไซด์ในสารสกัดทั้งหมด การสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีร้อยละผลผลิตและปริมาณฟีนอลิกน้อยกว่าการสกัดด้วยตัวทำละลายที่มีขั้วต่ำกว่า แต่เอทานอลสามารถสกัดฟลาโวนอยด์ได้ปริมาณสูงสุด 1,793±16 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิตินต่อกรัมของสารสกัด และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 107 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่สารสกัดแอซีโตน มีร้อยละการสกัดสูงสุด 3.50 และปริมาณฟีนอลิก 2,421±14 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด โดยสรุป การสกัดสารพฤกษเคมีสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเป็นผลมาจากการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมโดยมีขั้วปานกลางถึงสูง</p> รัตนา วงศ์ชูพันธ์ พิณพิศา เทพราช กมลชนก สุริยมาตร เพ็ญนภา ชูยงค์ แน่งน้อย แสงเสน่ห์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 30 44 การสำรวจมันสกุล Dioscorea และผลของสารสกัดหยาบแป้งต่อการเจริญของแบคทีเรีย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/261332 <p>ระบบนิเวศเกษตรประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์องค์ประกอบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมระหว่างพืช จุลินทรีย์ และดินทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของดิน มันสกุล <em>Dioscorea</em> เป็นพืชมีหัวใต้ดินสะสมสารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจมันสกุล <em>Dioscorea</em> จากป่าแห้งแล้ง และศึกษากลุ่มประชากรแบคทีเรียจากมันสกุล <em>Dioscorea</em> ที่เจริญเติบโตในดินที่ไม่ใส่ปุ๋ยบำรุง จากการสำรวจมันสกุล <em>Dioscorea</em> จากป่าเต็งรัง โดยพบมันที่สำรวจได้มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับมันเทียน (<em>Dioscorea myriantha</em> Kunth) และมันเลือด (<em>Dioscorea alata </em>L.) คัดแยกแบคทีเรียได้ทั้งหมด 56 ไอโซเลตจากตัวอย่างดินรอบรากและหัวพืช เมื่อแบ่งตามลักษณะแหล่งอาศัยของแบคทีเรีย ได้แก่ แบบอิสระ และแบบอาศัยกับพืชได้จำนวน 28 และ 28 ไอโซเลต ตามลำดับ การจัดจำแนกแบคทีเรียเบื้องต้นตามการติดสีย้อมของเซลล์เป็นแกรมบวกจำนวน 31 และแกรมลบ 25 ไอโซเลต มีรูปร่างเซลล์แบบต่าง ๆ ได้แก่ ทรงกลม แท่ง รี และเส้นสาย ลักษณะโคโลนีที่ปรากฏ ได้แก่ สีขาวถึงเหลือง รูปร่างกลมถึงไม่แน่นอน ความสูงแบนถึงนูน และขอบเรียบถึงหยัก การวิเคราะห์ปริมาณแป้งทั้งหมดจากมันเทียน (5.94 g/µL) สูงกว่ามันเลือด แป้งที่สกัดได้จากมันสกุล <em>Dioscorea</em> ที่ผ่านการย่อยด้วยกรดมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงกว่าแป้งที่ไม่ผ่านการย่อย การใช้สารสกัดแป้งจากมันสกุล <em>Dioscorea</em> เพาะเลี้ยงแบคทีเรียมีการเจริญของไอโซเลต EN1 และ FR1 มากที่สุด โดยสรุปมันสกุล <em>Dioscorea</em> spp. ที่สำรวจได้จากป่าพบว่ามีแบคทีเรียอาศัยอยู่ทั้งในพืชและดินรอบรากโดยปรากฏลักษณะ ทางสัณฐานวิทยาแตกต่างกัน รวมทั้งมีปริมาณแป้งทั้งหมดเฉลี่ยใกล้เคียงกัน สามารถนำแป้งมาย่อยเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและนำไปใช้เป็นแหล่งคาร์บอนในอาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับเป็นพลังงานของจุลินทรีย์ในการเจริญ</p> ณัฐวุฒิ มีศิลป์ กุณฑิกา บุญสุภาวงศ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 45 55 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันระบบฐานข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ของศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/261410 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ของศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามรูปแบบวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ (SDLC) และประเมินผลความพึงพอใจเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และบุคคลภายนอก จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลองระบบ 2 เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ของศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ระบบสามารถเก็บข้อมูลประวัติการเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร ประวัติผู้เข้ารับการทดสอบด้านภาษา คะแนนการทดสอบก่อนเรียน คะแนนการทดสอบหลังเรียน คะแนนการทดสอบจริง ระบบสามารถแปรผลตามเกณฑ์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลความพึงพอใจจากการใช้งานระบบภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47</p> นิสันติ ศิลประเสริฐ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 56 74 ผลเฉลยที่เป็นจำนวนเต็มบวกของสมการไดโอแฟนไทน์ 1/x+2/y+4/z=1/4 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/261552 <p>ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงการหาผลเฉลยที่เป็นจำนวนเต็มบวกของสมการไดโอแฟนไทน์ <img title="\frac{1}{x}+\frac{2}{y}+\frac{4}{z}=\frac{1}{4}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\frac{1}{x}+\frac{2}{y}+\frac{4}{z}=\frac{1}{4}" /> โดยใช้วิธีการคือ พิจารณาช่วงของ x, y และ <em>z </em>ที่มีค่าสอดคล้องกับสมการไดโอแฟนไทน์ <img title="\frac{1}{x}+\frac{2}{y}+\frac{4}{z}=\frac{1}{4}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\frac{1}{x}+\frac{2}{y}+\frac{4}{z}=\frac{1}{4}" /> ซึ่งพิจารณาเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 ให้ <img title="x\leq y\leq z" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x\leq&amp;space;y\leq&amp;space;z" /> หรือ <img title="x\leq z\leq y" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x\leq&amp;space;z\leq&amp;space;y" /> <br />กรณีที่ 2 ให้ <img title="y\leq x\leq z" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?y\leq&amp;space;x\leq&amp;space;z" /> หรือ <img title="y\leq z\leq x" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?y\leq&amp;space;z\leq&amp;space;x" /> และกรณีที่ 3 ให้ <img title="z\leq x\leq y" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?z\leq&amp;space;x\leq&amp;space;y" /> หรือ <img title="z\leq y\leq x" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?z\leq&amp;space;y\leq&amp;space;x" /> จากนั้นจึงทำการแก้สมการเพื่อหาผลเฉลย สรุปว่าได้ผลเฉลยทั้งหมด 380 ผลเฉลย</p> <p> </p> ภควดี สุดสงวน วรากรณ์ สุดสงวน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 75 89 Data Mining from Education-Related Search Suggested Text on the Web. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/262292 <p>An increasing number of industries are implementing digital technology to increase efficacy due to its accelerated development. Undoubtedly, the education sector is not an exception. In addition to conducting data mining and analysis of Internet search-recommended text for the first time, this research developed and proposed the world's first algorithm and technology to obtain such text automatically and rapidly. By performing data mining on education-related search suggestion texts on the Internet, this study aims to extract educationally beneficial information. This study collects education-related search recommendation texts from YouTube using the platform as an example. Literature review and theoretical analysis; algorithm design and optimization; system design and implementation; support for applications; construction and annotation of data sets; empirical research and experimental validation; interdisciplinary research and application are some research methods employed. These are the outcomes of this research: Valuable insights were extracted from an analysis of over 50,000 lines of collected data, including popular keywords and the emotional proclivities of individuals. Thus, supporting the instructional and decision-making practices of individuals.</p> Jincheng Zhang Thada Jantakoon Rukthin Laoha Potsirin Limpinan Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 90 114 การเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศความหนาแน่นสูงในกระชังบ่อดินด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/262822 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลตอบแทนของการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังบ่อดินด้วยความหนาแน่นสูง โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง(IoT)วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (completely randomized design) จัดเป็น 3 ชุดการทดลอง คือ ความหนาแน่นของการเลี้ยง 30 ตัว/ม<sup>3</sup>/กระชัง (T1), 50ตัว/ม<sup>3</sup>/กระชัง (T2) และ 70 ตัว/ม<sup>3</sup>/กระชัง(T3) การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1. การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดออกซิเจนละลายน้ำ อุณหภูมิน้ำ และกล้องวงจรปิด พร้อมระบบสั่งการทำงานเครื่องเติมอากาศผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยระบบ IoT 2. เลี้ยงปลานิลแปลงเพศขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 40.83 กรัม/ตัว ที่ความหนาแน่นต่างกัน 3 ระดับ ในกระชังบ่อดินเป็นเวลา 5 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลาที่เลี้ยงความหนาแน่น 30, 50 และ 70 ตัว/ม<sup>3</sup> มีน้ำหนักเฉลี่ย 442.38, 431.36 และ 438.92 กรัม/ตัว ตามลำดับ การเจริญเติบโตจำเพาะมีค่า 1.59%, 1.58% และ 1.57% ต่อวัน มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย 88.33%, 84.67% และ 84.33% ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p≥0.05 สำหรับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) มีค่า 1.53,1.63 และ1.64 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.05) ระหว่างการเลี้ยงสามารถรายงานผลปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ อุณหภูมิน้ำ การสั่งงานเครื่องเติมอากาศ และการแสดงภาพตามเวลาจริง ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยระบบ IoT ตลอดระยะการทดลอง ด้านต้นทุนเฉลี่ยของการเลี้ยงคิดเป็น 60.21, 59.34 และ 57.06 บาท/กิโลกรัม และมีอัตราผลตอบแทนคิดเป็น -0.33%, 1.22% และ 5.16% ตามลำดับ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงปลานิลในกระชังบ่อดินร่วมกับการใช้ระบบ IoT ให้เลี้ยงปลานิลได้ในความหนาแน่นมากขึ้น มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำลง และได้ผลตอบแทนการเลี้ยงสูง</p> ชลิดา ช้างแก้ว บัญญัติ ศิริธนาวงศ์ อัจฉรีย์ ภุมวรรณ รุ่งกานต์ กล้าหาญ ทิพย์สุดา ชงัดเวช จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 21 1 115 128