PBRU Science Journal https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU <p> วารสารได้ปรับเปลี่ยนชื่อจาก วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็น PBRU Science Journal โดยเผยแพร่ออนไลน์เพียงช่องทางเดียว โดยใช้เลข ISSN 2773-9716 </p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของเนื้อหา</strong></p> <p>วารสาร PBRU Science Journal เป็นวารสารที่จัดทำโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งผลงานที่เผยแพร่เป็นทั้งบทความวิจัย (Research article) บทความวิจัยอย่างย่อ (Short report) บทความปริทัศน์ (Review article) ทางด้านวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์การเกษตรและชีวภาพ ชีววิทยา จุลชีววิทยา เคมี วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ </p> <ul> <li>General Agricultural and Biological Sciences</li> <li>General Microbiology</li> <li>General Chemistry</li> <li>General Mathematics</li> <li>General Computer Science </li> </ul> <p>โดยเรื่องที่ขอรับการตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้ทำการคัดลอกจากผลงานของผู้อื่น ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น โดยทุกเรื่องจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญตรงสาขาวิชาของบทความ หรืออย่างน้อยต้องมีความเกี่ยวข้องกับบทความ โดยเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จำนวน 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน ซึ่งไม่สังกัดองค์กรเดียวกับผู้แต่งบทความ และต้องได้รับความเห็นชอบให้ตีพิมพ์ได้อย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) วารสารมีกำหนดเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม -ธันวาคม)</p> <p><strong>ทั้งนี้ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ในวารสาร PBRU Science Journal </strong></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal</p> [email protected] (Dr.Krailerk Taweechue) [email protected] (Arunee Kaewborisut) Sun, 31 Dec 2023 23:06:25 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบำบัดน้ำทิ้งความเค็มต่ำจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) ด้วยผักบุ้ง ผักกระเฉดและกระจับ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/256068 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการบำบัดน้ำทิ้งความเค็มต่ำ (1.1-1.4 พีพีที) จากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (<em>Penaeus monodon</em>) โดยใช้ผักบุ้ง (<em>Ipomoea aquatica</em> Forsk) ผักกระเฉด (<em>Neptunia oleracea</em> Lour) และกระจับ (<em>Trapa</em> <em>bispinosa</em> Roxb) ความหนาแน่น 3 กรัมต่อลิตร ในตู้กระจกจำลอง และศึกษาการเจริญเติบโตของพืชเหล่านี้ในระหว่างการบำบัดนาน 27 วัน จากการศึกษาพบว่ากระจับมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำทิ้งได้ดีที่สุด (<em>p</em>&lt;0.05) โดยลดปริมาณแอมโมเนียรวม ไนไทรต์ ไนเทรต ฟอสฟอรัสรวม บีโอดีและความขุ่นได้ร้อยละ 88.78, 53.24, 97.97, 70.47, 89.94 และ 91.66 ตามลำดับ รองลงมาคือ ผักกระเฉดและผักบุ้ง ซึ่งปริมาณฟอสฟอรัสรวมและบีโอดีในน้ำทิ้งที่บำบัดด้วยกระจับผ่านค่ามาตรฐานตามข้อกำหนดการปล่อยน้ำทิ้งจากกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลบริเวณชายฝั่งของกรมประมง (2562) นอกจากนี้กระจับยังเจริญเติบโตได้ดีในน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 7.1±1.1 ซึ่งสูงกว่าผักกระเฉด (ร้อยละ 6.2±1.9) และผักบุ้ง (ร้อยละ 2.0±1.2) การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระจับเป็นพืชน้ำทางเลือกที่ดีในการบำบัดน้ำทิ้งความเค็มต่ำจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ</p> สุบัณฑิต นิ่มรัตน์*, บุญมา กรายไทยสงค์, ไตรมาศ บุญไทย, วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/256068 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาสูตรสบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชัน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/257689 <p>ตะไคร้และขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในการประกอบอาหารและยารักษาโรคด้วยสรรพคุณที่สามารถบรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและจากการศึกษาพบว่ายังมีความสามารถในการต้านออกซิเดชัน ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชัน 2) เพื่อพัฒนาสบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชัน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชัน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การเตรียมสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชัน ขั้นที่ 2 ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชันด้วยวิธี DPPH และขั้นที่ 3 พัฒนาสูตรสบู่เหลวใบตะไคร้และขมิ้นชันและศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สบู่เหลวใบตะไคร้และขมิ้นชัน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชันสามารถยับยั้งอนุมูล DPPH ได้ มีค่า IC<sub>50</sub> เท่ากับ 19 ppm และ 32 ppm ตามลำดับ และนำมาพัฒนาสูตรสบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชันจำนวน 4 สูตร ประกอบด้วย สบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้ จำนวน 2 สูตร ที่มีความเข้มข้นของสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้ 19 และ 29 ppm ตามลำดับ และสบู่เหลวสมุนไพรขมิ้นชัน จำนวน 2 สูตร ที่มีความเข้มข้นของสารสกัดเอทานอลจากขมิ้นชัน 32 และ 42 ppm ตามลำดับ และจากผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้พบว่าสบู่เหลวสมุนไพรสูตร F1L, F2L และ F2T ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมากซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป</p> สุธิดา กรรณสูตร*, ชนัญธิดา ม่วงไหมทอง, อุมาพร น้อยถึง Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/257689 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การตรวจพิสูจน์คราบเลือดบนผ้าที่ผ่านการซักด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าต่างชนิดด้วยวิธีทดสอบ Kastle-Meyer https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/257802 <p>คราบเลือดบนเสื้อผ้าถือเป็นวัตถุพยานที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการสืบสวนสอบสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีฆาตกรรม การพบคราบเลือดบนเสื้อผ้าผู้ต้องสงสัยสามารถเชื่อมโยงผู้ต้องสงสัยเข้ากับผู้เสียหาย และสถานที่เกิดเหตุ จนกระทั่งนำไปสู่การจับกุมคนร้ายได้ แต่ในบางครั้งผู้ก่อเหตุจงใจปกปิดการกระทำความผิดโดยการนำเสื้อผ้าเปื้อนคราบเลือดไปซักทำความสะอาด ทำให้ไม่สามารถมองเห็นคราบเลือดบนเสื้อผ้าได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้เก็บรวบรวมวัตถุพยานมองข้ามพยานหลักฐานชิ้นสำคัญนี้ไป งานวิจัยนี้จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบ Kastle-Meyer บนผ้าเปื้อนคราบเลือดที่ผ่านการซักด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าต่างชนิด และระยะเวลาหลังซักที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าชนิดของผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ต่างกันมีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบ Kastle-Meyer ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยผ้าที่ซักด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาว และผลิตภัณฑ์ซักผ้าพลังออกซิเจนมีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบสูงที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้าผสมอนุภาคซิลเวอร์นาโน ผลิตภัณฑ์ซักผ้าสูตรมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ซักผ้าขจัดคราบ ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นผลจากความแตกต่างในการขจัดคราบของผลิตภัณฑ์ซักผ้าแต่ละชนิด ในขณะที่ชนิดของผ้าที่แตกต่างกัน (ผ้าฝ้าย 100% ผ้าโพลีเอสเตอร์ 100% และผ้าโพลีเอสเตอร์ 65% ผสมผ้าฝ้าย 35%) และระยะเวลาหลังซักที่แตกต่างกัน (0, 1, 3, 5, 7, 9, 14, 21 และ 28 วัน) มีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของน้ำยาทดสอบไม่แตกต่างกัน โดยงานวิจัยนี้สามารถช่วยในการวิเคราะห์คราบเลือดหรือคราบที่คาดว่าเป็นคราบเลือดบนเสื้อผ้าที่ผ่านการซักในสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการสืบสวนสอบสวน</p> ธารารัตน์ แจ่มจำรัส*, นพรุจ ศักดิ์ศิริ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/257802 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลิตภัณฑ์น้ำสลัดครีมจากเต้าหู้ถั่วเหลืองเสริมไข่ผำแห้ง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/257829 <p>น้ำสลัดครีมเป็นเครื่องปรุงเพื่อเพิ่มความอยากอาหารของผู้บริโภค ในปัจจุบันผู้บริโภคตระหนักถึงผลของการบริโภคไขมันในไข่แดงและไขมันที่ใช้ในน้ำสลัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำสลัดครีมไร้ไข่แดงด้วยเต้าหู้ถั่วเหลืองและเติมแซนแทนกัม เพื่อทดแทนเต้าหู้บางส่วนและเพิ่มความคงตัวของน้ำสลัดครีม โดยศึกษาปริมาณแซนแทนกัมที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์น้ำสลัดครีมจากเต้าหู้ (ร้อยละ 0.15, 0.30 และ 0.45) และเสริมไข่ผำแห้ง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในน้ำสลัดครีม (ร้อยละ 1.0, 2.0 และ 3.0) จากการศึกษาพบว่าการทดแทนเต้าหู้ด้วยแซนแทนกัมในน้ำสลัดครีมจากเต้าหู้ ที่ร้อยละ 0.30 ได้รับคะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมสูงกว่าสูตรอื่นและมีค่าสี ค่าความหนืด และค่าการไหลใกล้เคียงกับตัวอย่างควบคุมมากที่สุด จึงถูกนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการเสริมไข่ผำแห้ง จากการวิจัยพบว่าการเสริมไข่ผำแห้งร้อยละ 1.0 ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏ สี รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม สูงกว่าสูตรอื่นและอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก อีกทั้งการเสริมไข่ผำแห้งในน้ำสลัดปริมาณมากส่งผลให้ค่าความสว่าง (L*), ค่าดัชนีสีแดง (a*) และค่าการไหลของน้ำสลัดครีมมีค่าลดลง ในขณะค่าดัชนีสีเหลือง (b*) และความหนืดของตัวอย่างสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการประเมินทางประสาทสัมผัสของผู้ทดสอบชิม ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้แซนแทนกัมและไข่ผำทดแทนไข่แดงในน้ำสลัดครีมจากเต้าหู้</p> ศุภัคษร มาแสวง, ศุภณัฐ เกิดน้อย, สุรเชฐ วรรณพันธ์, ณนนท์ แดงสังวาลย์, ศันสนีย์ ทิมทอง* Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/257829 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่จากสารสกัดใบหูเสือ (Coleus amboinicus Lour.) เพื่อล้างสารพิษตกค้างในผัก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/259774 <p style="font-weight: 400;">ผักเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารพฤกษเคมีต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ผู้บริโภคจำนวนมากยังกังวลเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในผักซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แม้ว่าจะมีข้อมูลวิธีการล้างสารพิษตกค้างในผักจากสื่อต่าง ๆ แต่ยังไม่พบข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการล้างด้วยวิธีนั้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาวิธีการนำใบหูเสือ (<em>Coleus amboinicus</em> Lour.) ซึ่งพบสารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ฆ่าแมลง กำจัดสารพิษ และไม่ก่อให้เกิดการตกค้างมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ โดยใช้ส่วนผสมของกรดซิตริก กรดทาร์ทาริก โซเดียมไบคาร์บอเนต ผสมกับสารสกัดใบหูเสือ ในอัตราส่วน 1: 2: 3.44: 1 โดยการหาความเข้มข้นของสารสกัดใบหูเสือที่เหมาะสมพบว่าความเข้มข้นของสารสกัด 90% w/v เหมาะสมที่สุดทำให้มีน้ำหนักต่อเม็ดสูงสุด 6.85±0.01 กรัม ใช้เวลาละลายน้ำ 1.20±0.09 นาที ค่า pH 7.10 และทดสอบประสิทธิภาพการล้างสารพิษตกค้างในผักด้วยชุดทดสอบ TV-KIT ร่วมกับการวัดค่าสีของสารละลายโดย Munsell color system พบว่าผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่จากสารสกัดใบหูเสือ 1 เม็ดละลายในน้ำ 1 ลิตรสามารถกำจัดสารพิษตกค้างในผักตัวอย่างได้ 100% เมื่อเทียบกับการล้างด้วยน้ำเปล่าและล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งสามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในถุงซีลสุญญากาศได้อย่างน้อย 45 วัน การนำสารสกัดใบหูเสือมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่เพื่อล้างสารพิษตกค้างในผัก จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการล้างสารพิษตกค้างในผักก่อนนำไปบริโภค และสะดวกต่อการใช้งาน</p> ลัดดาวัลย์ กงพลี*, พรรณวิภา แพงศรี Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/259774 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลของพริกแกงไทยและแก่นตะวันต่อการยอมรับของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่า https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260119 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมพริกแกงไทยต่อการยอมรับในผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่าแก่นตะวันทั้ง 4 รสชาติ คือ พริกแกงเผ็ด พริกแกงกะหรี่ พริกแกงเขียวหวาน และพริกแกงคั่ว ที่ร้อยละ 5, 10 และ 15 ของน้ำหนักส่วนผสมไส้เกี๊ยวซ่า ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีการทดสอบความชอบแบบ 9 ระดับ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เสริมรสพริกแกงเผ็ดและรสพริกแกงกะหรี่ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุดที่ร้อยละ 15 รสพริกแกงเขียวหวานและรสพริกแกงคั่วได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุดที่ร้อยละ10 จากนั้นศึกษาหาปริมาณผงแก่นตะวันที่ใช้ทดแทนแป้งเกี๊ยวซ่าที่ระดับร้อยละ 0, 2, 4 และ 6 ของส่วนผสมแป้งเกี๊ยวซ่าทั้งหมด ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสการยอมรับของผู้บริโภคด้วยวิธีการทดสอบความชอบแบบ 9 ระดับ ซึ่งพบว่า ผลิตภัณฑ์รสพริกแกงเผ็ด รสพริกแกงกะหรี่ รสพริกแกงเขียวหวานและรสพริกแกงคั่วได้รับคะแนนความชอบปริมาณผงแก่นตะวันทดแทนแป้งเกี๊ยวซ่าที่ร้อยละ 2 ด้านสี รสชาติและความชอบโดยรวมสูงสุด ทั้ง 4 รสพริกแกงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) คุณภาพทางกายภาพด้านสีของผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่าแก่นตะวันพบว่า รสพริกแกงคั่วมีค่า L* สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรสพริกแกงเผ็ดรสพริกแกงกะหรี่ และรสพริกแกงเขียวหวาน ค่า a* และ ค่า b* รสพริกแกงคั่วมีค่าน้อยกว่ารสพริกแกงเผ็ดรสพริกแกงกะหรี่ และรสพริกแกงเขียวหวาน ค่าปริมาณน้ำอิสระทั้ง 4 รสชาติเท่ากับ 0.97 คุณค่าทางโภชนาการผลิตภัณฑ์เกี๊ยวซ่าแก่นตะวัน 100 กรัม รสพริกแกงเผ็ด รสพริกแกงกะหรี่ รสพริกแกงเขียวหวาน และรสพริกแกงคั่ว ให้พลังงาน 193.90, 207.03, 205.92 และ 223.38 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 7.10, 7.16, 7.31 และ 8.03 กรัม ไขมัน 8.98, 8.91, 12.00 และ 9.30 กรัม คาร์โบไฮเดรต 21.17, 24.55, 17.17 และ 26.89 กรัม ความชื้น 61.62, 58.01, 62.43 และ 54.66 กรัม เถ้า 1.13, 1.37, 1.05 และ 1.12 กรัม ตามลำดับ พบจุลินทรีย์ทั้งหมด CFU/กรัม น้อยกว่า 1x10<sup>6</sup></p> วิชชุมา เตชะสิริวิชัย*, ปรีดิอร เพ็ชรใหญ่ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260119 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาความคงทนของสีสกัดจากพืชในท้องถิ่น ที่มีต่อผ้าทอเส้นใยตาลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภูถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260303 <p>สินค้าหัตถกรรมประเภทสิ่งทอของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูถ้ำรงค์ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ยังไม่มีรูปแบบที่แสดงเอกลักษณ์ของชุมชนโดยเฉพาะยังไม่มีการนำเส้นใยตาลซึ่งเป็นพืชเฉพาะท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ การศึกษาความคงทนของการย้อมสีผ้าจากเส้นใยตาลด้วยสีธรรมชาติจากแก่นฝาง ครามและดอกทองกวาว ผลการศึกษาพบว่า ค่าสีของผ้าทอเส้นใยตาลที่ย้อมสีธรรมชาติ ทั้ง 3 ชนิด มีความสว่างมากที่สุด (ค่า L* 69.57±1.35) มีค่า a* มากที่สุดเท่ากับ 12.77±2.45 เป็นค่าบวก (สีแดง) โดยมีค่า b* มากที่สุด เท่ากับ17.63±1.43 การทดสอบคุณสมบัติของผืนผ้าหลังจากย้อมด้วยสีธรรมชาติ แช่สารช่วยติดสีด้วยสารส้มอยู่ระดับดี เนื่องจากมีความคงทนของสีต่อการซักล้างอยู่ในระดับ 4 (ดี) มีความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะแห้งอยู่ในระดับ 4 (ดี) มีความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะเปียกอยู่ในระดับ 3 (ปานกลาง) มีความคงทนของสีต่อแสงอยู่ในระดับ 3 (พอใช้) ซึ่งผลการทดสอบแต่ละคุณสมบัติสามารถนําเป็นข้อมูลในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้งานผ้าทอจากเส้นใยตาลย้อมสีธรรมชาติจากแก่นฝางตากแห้ง ครามตากแห้ง และดอกทองกวาวตากแห้งได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดโดยการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และของตกแต่งบ้านจากผ้า ตลอดจนเป็นการส่งเสริมธุรกิจครัวเรือนและชุมชนได้อีกทางหนึ่ง</p> เกชา ลาวงษา, กฤตพร ชูเส้ง, สุวดี ประดับ, สุจาริณี สังข์วรรณะ, วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์* Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260303 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมถั่วแดงโปรตีนสูง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260372 <p>การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมถั่วแดงโปรตีนสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของถั่วแดงและน้ำ ปริมาณสารให้ความหวานมอลทิทอลและองค์ประกอบเคมีของนมถั่วแดงที่ผ่านการเพิ่มปริมาณโปรตีนจากถั่วลันเตา การศึกษาอัตราส่วนของถั่วแดงต่อน้ำที่ระดับ 1:3 1:5 1:7 และ 1:9 ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของน้ำทำให้นมถั่วแดงมีปริมาณของแข็งทั้งหมดและค่าความหนืดลดลง ผลการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสลดลงเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น โดยมีผลต่อการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านรสชาติและความชอบโดยรวม อัตราส่วนของถั่วแดงต่อน้ำเท่ากับ 1:5 ได้รับคะแนนการยอมรับสูงที่สุด การศึกษาปริมาณมอลทิทอลที่ระดับร้อยละ 5 10 15 และ 20&nbsp;&nbsp; พบว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณมอลทิทอลในช่วงร้อยละ 5-15 ผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p£0.05) และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณเป็นร้อยละ 20 โดยผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสในทุกด้านของนมถั่วแดงที่มีปริมาณมอลทิทอลร้อยละ 15 สูงที่สุด การศึกษาการเติมโปรตีนจากถั่วลันเตาร้อยละ 10 พบว่านมถั่วแดงปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณโปรตีน 10.50 กรัม ไขมัน 0.01 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.12 กรัม ความชื้น 77.50 กรัม เถ้า 0.34 กรัม ใยอาหารทั้งหมด 11.65 กรัม และให้พลังงาน 88.67 กิโลแคลอรี่ ปริมาณโปรตีนในนมถั่วแดงปริมาตร 360 มิลลิลิตรเท่ากับ 37.8 กรัม ซึ่งนมโปรตีนสูงมีวางจำหน่ายในท้องตลาดพบว่ามีปริมาณโปรตีนในช่วง 28-32 กรัมโปรตีน/360 มิลลิลิตร (ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด)</p> สุรีย์พร กังสนันท์*, รุจจิรา ดำเอี่ยม , ลักขณา ศรีรุ่งเรือง, สุภาพร ศรีรุ่งเรือง Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scijPBRU/article/view/260372 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700