https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-02-29T13:53:31+07:00 Preecha Prathepha [email protected] Open Journal Systems <p><strong><span style="color: #e74c3c;">ภาษาไทย : </span></strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><strong><span style="color: #e74c3c;">English : </span></strong>Journal of Science and Technology Mahasarakham University</p> <p><br />ISSN: 2985-2617 (Print)</p> <p>ISSN: 2985-2625 (Online)<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">การรับรองคุณภาพวารสาร</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการรับรองคุณภาพของ ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) ถึง 31 ธันวาคม 2567 (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">เจ้าของ</span></strong><br />กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">กำหนดการออกเผยแพร่</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กำหนดออกและตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 6 ฉบับ<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน<br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">บรรณาธิการ :</span></strong><br />ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">จุดมุ่งหมายและขอบเขต</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศโดยเผยแพร่บทความวิจัย (research article) บทความปริทัศน์ (review article) ในสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">กระบวนการพิจารณา</span></strong><br />บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) ตามกระบวนการที่กองบรรณาธิการกำหนด ทั้งนี้บทความจะต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน</p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/257837 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของน้ำหมักไหมข้าวโพดหวาน Zea mays L. ด้วยวิธีการหมักแบบเหลว 2023-02-04T18:35:34+07:00 กมลวรรณ ผลพิกุล [email protected] สิริลักษณ์ ชัยจํารัส [email protected] ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ [email protected] ทะเนตร อุฤทธิ์ [email protected] <p>ไหมข้าวโพดจัดเป็นส่วนที่เหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งไหมข้าวโพดมีฤทธิ์ขับร้อน ขับปัสสาวะ แก้ไตอักเสบ รักษาดีซ่าน บำรุงตับ แก้เบาหวาน และรักษาโพรงจมูกอักเสบ (Hasanudin et al., 2012) นอกจากนี้ พบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและกิจกรรมต้านอนุมูลมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย (Sarepoua et al., 2013; Eman 2011; Ebrahimzadeh et al., 2008) โดยเลือกใช้วิธีการหมักเพื่อสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากไหมข้าวโพด การหมักสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร โดยเพิ่มปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และปริมาณฟลาโวนอยด์ โดยการหมักไหมข้าวโพดหวานแบบเหลว (Submerged fermentation) และศึกษาสมบัติเชิงหน้าที่ของน้ำหมัก วิธีการทดลองใช้ไหมข้าวโพดหวานสดพันธุ์ Hy-brix 10 หมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย <em>Lactobacillus casei</em> TISTR 1463 และยีสต์ <em>Saccharomyces cerevisiae</em> TISTR 1464 ทั้งเชื้อเดี่ยวและผสม โดยใช้สภาวะหมักแบบนิ่ง เป็นเวลา 14 วัน ผลการทดลองพบว่าไหมข้าวโพดหวานที่หมักนาน 14 วัน โดยเชื้อ <em>Lactobacillus casei</em> TISTR 1463 มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดมากที่สุด (0.27 มิลลิกรัมกรดแกลลิก /มิลลิลิตร) อีกทั้งยังมีปริมาณฟลาโวนอยด์สูงที่สุด (31.4 มิลลิกรัมเคอร์ซิตินต่อกรัมของสารสกัด) และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 63.89 %</p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258546 การพัฒนานวัตกรรมเครื่องอบด้วยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (IoT) 2024-02-28T10:50:36+07:00 วีรวัตร คำภู [email protected] ชาญชัย นามพล [email protected] สุทิพย์ เป้งทอง [email protected] <p>การพัฒนานวัตกรรมเครื่องอบด้วยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเครื่องอบด้วยการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง 2) เพื่อส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหม่ำและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยผ่านกระบวนการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานและความเหมาะสมของนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของนวัตกรรมโดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งสิ้นเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2566 ทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากหม่ำในตู้อบกับการตากในรูปแบบเดิม มีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิโดยรวม 47 องศาเซลเซียส และมีค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์โดยรวม 20 เปอร์เซ็นต์ การตากผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดิม มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโดยรวม 27 องศาเซลเซียส และค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์โดยรวม 52 เปอร์เซ็นต์ การประเมินประสิทธิภาพความเหมาะสมของนวัตกรรม พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.73 S.D. = 0.23) การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานของนวัตกรรมกับชุมชม พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.56 S.D. =0.57) เครื่องสามารถลดระยะเวลาในการตากแดด เนื่องจากสามารถลดความชื้นได้มากกว่า มีอัตราอบแห้งสูงกว่า จึงส่งผลให้สามารถนำมาจำหน่ายได้เร็วกว่า ถือได้ว่าเป็นการลดระยะเวลาในการผลิต</p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/257643 การสร้างแบบจำลองโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก เพื่อจำแนกข้อความการสนทนาจากแอปพลิเคชันไลน์ 2024-02-28T09:44:30+07:00 ไพชยนต์ คงไชย [email protected] <p>งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการจำแนกข้อความจากกลุ่มแชทในแอปพลิเคชันไลน์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อแจ้งเตือนเฉพาะบางข้อความที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดจำนวนการแจ้งเตือนไปยังผู้เชี่ยวชาญ การทดลองการทำนายด้วยการเปรียบเทียบ 5 อัลกอริทึม ดังนี้ อัลกอริทึม Random Forest อัลกอริทึม Naïve Bayes อัลกอริทึม Logistic Regression อัลกอริทึม Support Vector Classification และเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก อัลกอริทึม Long Short-Term Memory จากผลการวิจัยพบว่าอัลกอริทึม Long Short-Term Memory มีค่าความถูกต้องในการจำแนกมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 90.66 มีค่าความแม่นยำและค่าความถ่วงดุลมากที่สุด เมื่อจำแนกข้อความประเภทข้อความเฉพาะเจาะจงหรือคำถามที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความระลึกและค่าความถ่วงดุลมากที่สุดเมื่อจำแนกข้อความประเภทข้อความทั่วไป การวิจัยชี้ให้เห็นว่าวิธีนี้สามารถนำไปใช้กับการแชทกลุ่มอื่นที่คล้ายคลึงกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการส่งการแจ้งเตือน </p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/257518 แบบจำลองทางอุณหพลศาสตร์ของกระบวนการทำความเย็นในกระบวนการผลิตน้ำแข็งหลอด 2023-01-10T10:40:44+07:00 กมลวิสิทธิ์ พันวอ [email protected] ธีระชาติ พรพิบูลย์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองทางอุณหพลศาสตร์ของกระบวนการทำความเย็นในเครื่องทำน้ำแข็งหลอด เพื่อหาระยะเวลาที่ใช้และภาระการทำความเย็นตลอดกระบวนการทำความเย็นภายใต้ความหนาน้ำแข็งหลอดที่ต้องการผลิต เนื่องจากปัจจุบันการผลิตน้ำแข็งหลอดให้มีความหนาตามต้องการเครื่องทำน้ำแข็งหลอดถูกตั้งเวลาของกระบวนการทำความเย็นไว้คงที่ทุกรอบการผลิตภายใต้อุณหภูมิน้ำป้อนค่าหนึ่ง แต่ความเป็นจริงความหนาน้ำแข็งหลอดที่ผลิตได้ไม่เป็นไปตามต้องการจากอุณหภูมิน้ำป้อนที่เบี่ยงเบนด้วย 2 ปัจจัยคือ อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมและการลดอุณหภูมิน้ำป้อนที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยน้ำเย็นทิ้งจากการละลายน้ำแข็งในรอบผลิตก่อนเพื่อการประหยัดพลังงาน ยิ่งไปกว่านั้นการทำนายภาระการทำความเย็นจากแบบจำลองที่มีการศึกษาวิจัยในอดีตขาดการพิจารณาช่วงการลดอุณหภูมิน้ำซึ่งมีแนวโน้มเกิดภาระการทำความเย็นสูงสุดขึ้น ผลการศึกษาวิจัยนี้พบว่า สามารถทำนายระยะเวลาของกระบวนการทำความเย็นได้แม่นยำขึ้น 15.18% เมื่อเทียบกับงานวิจัยในอดีต ภาระการทำความเย็นสูงสุดเกิดในช่วงลดอุณหภูมิน้ำและลดลงต่อเนื่องจนสิ้นสุดช่วงก่อตัวของน้ำแข็งหลอด เนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิน้ำกับสารทำความเย็นและความต้านทานความร้อนของน้ำแข็งหลอดที่เพิ่มความหนา ภาระการทำความเย็นในช่วงเวลาต่างๆ นำไปสู่อัตราการระเหยสารทำความเย็นซึ่งเป็นผลลัพธ์สำคัญในการกำหนดอัตราการดูดสารทำความเย็นของเครื่องอัดไอที่เหมาะสมกับเครื่องทำน้ำแข็งหลอด</p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/257641 สถานการณ์เสพติดเกมออนไลน์และผลกระทบ กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2564 2023-02-21T11:27:57+07:00 วิชุดา ไชยศิวามงคล [email protected] ลิขสิทธิ์ เกษวงษา [email protected] ธนกฤต หินทอง [email protected] <p>จากการรายงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ปี 2564 พบว่าเด็กไทยเล่นเกมเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลต่อสภาวะด้านอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และเข้าสู่สภาวะโรคเสพติดเกมได้ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาสถานการณ์เสพติดเกมออนไลน์และผลกระทบในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2564 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาจำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (2) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (3) สาขามนุษย์และสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, MANOVA, Chi-Square test และการถดถอยเชิงพหุ สำหรับสถานการณ์ทั่วไป พบว่าเป็นนักศึกษาชั้นปี 1 ร้อยละ 31.67 ชั้นปี 2 ร้อยละ 26.67 ชั้นปี 3 ร้อยละ 22.38 และ ชั้นปี 4 ร้อยละ 19.29 นักศึกษาใช้เวลาในการเล่นเกมเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน ส่วนใหญ่สนใจเกมต่อสู้กันระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายร้อยละ 33.57 รองลงมา คือเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งร้อยละ 29.52 วัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิงและผ่อนคลายร้อยละ 83.33 ค่าใช่จ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนในการเล่นเกมเท่ากับ 177.55 บาท</p> <p>แบบทดสอบการเสพติดเกม (GAST) สามารถแบ่งนักศึกษาตามระดับการติดเกมได้เป็น 3 กลุ่ม โดยร้อยละ 55.24 เป็นกลุ่มที่ไม่ติดเกม และร้อยละ 17.86 เป็นกลุ่มติดเกม นอกนั้นเป็นกลุ่มคลั่งไคล้ ในกลุ่มที่ติดเกมร้อยละ 50.67 เป็นนักศึกษากลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งพบว่าระดับการติดเกมกับกลุ่มสาขามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>(</em><em>p&lt;0.01) </em>เมื่อวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มติดเกมกับกลุ่มคลั่งไคล้ พบว่าทั้ง 2 กลุ่มนิยมเล่นเกมประเภทยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งมากที่สุด ส่วนความรุนแรงของผลกระทบทั้ง 5 ด้าน (ด้านสุขภาพ, ด้านการเรียน, ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและครอบครัว, ด้านสุขภาพจิต และด้านการเงิน) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.83 ถึง 3.22 โดยผลกระทบด้านสุขภาพจะมีคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการเงิน และด้านการเรียน ทั้งนี้ กลุ่มติดเกมมีค่าเฉลี่ยผลกระทบสูงกว่ากลุ่มคลั่งไคล้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>(</em><em>p&lt;0.05) </em></p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/257994 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถิติทดสอบสำหรับทดสอบภาวะความเท่ากันของความแปรปรวนสำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบไม่ปรกติ 2023-02-24T12:19:33+07:00 สุกัญญา ยอดนวล [email protected] จุฬารัตน์ ชุมนวล [email protected] กรกช วิจิตรสงวน ๋เจ็ดวรรณะ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถิติทดสอบสำาหรับทดสอบภาวะความเท่ากันของความแปรปรวนของประชากร 3 วิธี ได้แก่ สถิติทดสอบของ Levene สถิติทดสอบของ Brown-Forsythe และสถิติทดสอบของ Fligner-Killeen เมื่อข้อมูลไม่มีการแจกแจงปรกติ โดยจำนวนกลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ 3 กลุ่ม การแจกแจงของประชากรที่ศึกษา คือ การแจกแจงแกมมา ((α, β) = (2, 2), (3, 2), (4, 2), (6, 2), (10, 2)) การแจกแจงไวบูล ((α, β) = (2, 6.105), (2, 7.478), (2, 8.635), (2, 10.575), (2, 13.652)) การแจกแจงลอจิสติก ((µ, s) = (2, 1.559), (2, 1.910), (2, 2.205), (2, 2.701), (2, 3.487)) และการแจกแจงเอกรูป ((a, b) = (0, 9.798), (0, 12), (0, 13.856), (0, 16.971), (0, 21.909)) และพิจารณาเฉพาะกรณีขนาดตัวอย่างแต่ละกลุ่มเท่ากัน สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสถิติทดสอบทั้ง 3 วิธี คือ ความสามารถในการควบคุมความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 ความแกร่ง และกำลังการทดสอบ โดยสถิติทดสอบที่สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 ได้และให้ค่าประมาณกำาลังการทดสอบสูงที่สุดจะสรุปว่าเป็นสถิติทดสอบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า กรณีข้อมูลมีการแจกแจงลอจิสติกและการแจกแจงเอกรูป สถิติทดสอบของ Levene มีประสิทธิภาพดีกว่าสถิติทดสอบของ Brown-Forsythe และสถิติทดสอบของ Fligner-Killeen เกือบทุกกรณีเนื่องจากสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความผิดพลาดแบบที่ 1 ได้และให้ค่าประมาณกำลังการทดสอบสูงที่สุด ส่วนกรณีข้อมูลมีการแจกแจงไวบูล สถิติทดสอบของ Levene ยังคงมีประสิทธิภาพดีกว่าสถิติทดสอบทั้งสองตัวเมื่อตัวอย่างแต่ละกลุ่มมีขนาดตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และกรณีข้อมูลมีการแจกแจงแกมมา สถิติทดสอบของ Fligner-Killeen มีประสิทธิภาพดีที่สุดในทุกกรณี</p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258557 การพยากรณ์จำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยใช้วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลัง 2023-04-06T17:08:03+07:00 ธนายุทธ ช่างเรือนงาม [email protected] สุรัสวดี นางแล [email protected] ธัญวรัชญ์ บุตรสาร [email protected] ศิวรี สุดสนิท [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคและเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์โดยใช้วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลัง (exponential smoothing method) โดยประกอบไปด้วย 3 เทคนิค ได้แก่เทคนิค Simple Exponential Smoothing, เทคนิค Trend Method และเทคนิค Holt-Winters’ Seasonal Method โดยใช้ข้อมูลจากข้อมูลจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักรจากฐานข้อมูลสถิติของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ซึ่งแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด โดยชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2007 ถึงเดือนธันวาคม ปี 2020 สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ (training data) ส่วนชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2021 ถึงเดือนธันวาคม ปี 2021 ใช้สำหรับการตรวจสอบความแม่นของการพยากรณ์ (testing data) จากผลการศึกษาพบว่า วิธี Damped Holt-Winters’ Multiplicative Method เป็นวิธีที่มีความแม่นในการพยากรณ์มากที่สุด เนื่องจากให้ค่าเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าเกณฑ์ร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) น้อยที่สุด โดยมีค่า RMSE เท่ากับ 196.760 และ MAPE เท่ากับ 7.769% รองลงมาได้แก่วิธี Damped Holt-Winter’s Additive Method โดยมีค่า RMSE เท่ากับ 213.832 และ MAPE เท่ากับ 8.596% ซึ่งทั้งสองวิธีให้ผลการพยากรณ์ที่ค่อนข้างแม่นยำ (MAPE &lt; 10%)</p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258675 แบบจำลองการพยากรณ์สำหรับปริมาณการส่งออกเครื่องเทศของประเทศไทย 2023-04-20T11:10:17+07:00 สุภาวิณี ขันคำ [email protected] สิโรรัตน์ จั่นงาม [email protected] <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ การสร้างแบบจำลองการพยากรณ์ที่เหมาะสมของปริมาณการส่งออกเครื่องเทศของประเทศไทย โดยใช้วิธีการทางสถิติทั้งหมด 4 วิธี คือ วิธีการปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของบราวน์ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการพยากรณ์รวม โดยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดสามัญในการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณการส่งออกเครื่องเทศได้มาจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2560 ถึง เดือนธันวาคม 2565 แบบรายเดือน จำนวน 72 ค่า และได้แบ่งข้อมูลออกเป็นสองชุด ชุดแรก จำนวน 66 ค่า คือ ข้อมูลเดือนมกราคม 2560 ถึง เดือนมิถุนายน 2565 และชุดที่สอง จำนวน 6 ค่า คือ ข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2565 ถึง เดือนธันวาคม 2565 โดยที่ข้อมูลชุดแรกใช้สำหรับสร้างแบบจำลองในการพยากรณ์ และข้อมูลชุดสองใช้สำหรับการตรวจสอบความแม่นของแบบจำลองการพยากรณ์ด้วยเกณฑ์ร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (mean absolute percentage error : MAPE) และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (root mean square error : RMSE) ที่มีค่าตํ่าที่สุด ผลการวิจัย พบว่าแบบจำลองการพยากรณ์ด้วยวิธีการปรับให้เรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของบราวน์ มีความเหมาะสมกับอนุกรมเวลาชุดนี้มากที่สุด (MAPE = 28.93, RMSE = 222,979.17)</p> 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม