วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal <p><strong><span style="color: #e74c3c;">ภาษาไทย : </span></strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><strong><span style="color: #e74c3c;">English : </span></strong>Journal of Science and Technology Mahasarakham University</p> <p><br />ISSN: 2985-2617 (Print)</p> <p>ISSN: 2985-2625 (Online)<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">การรับรองคุณภาพวารสาร</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการรับรองคุณภาพของ ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) ถึง 31 ธันวาคม 2567 (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)</p> <p><strong><span style="color: #e74c3c;">จุดมุ่งหมายและขอบเขต</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศโดยเผยแพร่บทความวิจัย (research article) บทความปริทัศน์ (review article) ในสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">กำหนดการออกเผยแพร่</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กำหนดออกและตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 6 ฉบับ<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน<br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">บรรณาธิการ :</span></strong><br />ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">กระบวนการพิจารณา</span></strong><br />บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) ตามกระบวนการที่กองบรรณาธิการกำหนด ทั้งนี้บทความจะต้องได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน</p> <p><strong><span style="color: #e74c3c;">ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</span></strong></p> <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน 4,000 บาท เมื่อบทความผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ<strong>ให้ตอบรับการตีพิมพ์</strong></p> <p>บทความที่กองบรรณาธิการการพิจารณาให้<strong>ปฏิเสธการตีพิมพ์</strong> <strong>ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียม</strong></p> <p>ทั้งนี้หากผู้นิพนธ์ยกเลิกบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าดำเนินการ จำนวน 2,000 บาท</p> Division of Research Facilitation and Dissemination Mahasarakham University th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2985-2617 การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อทำนายระดับความรุนแรงของความผิดปกติของความยืดหยุ่นปอดของพนักงานโรงงาน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/259404 <p>กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของความยืดหยุ่นของปอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคนิวโมโคนิโอซีส (Pneumoconiosis) เป็นโรคที่พบมากในผู้คนที่มีการสัมผัสสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นแร่ การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry) เป็นวิธีมาตรฐานในการทดสอบสมรรถภาพการทํางานของปอด อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวมีข้อจํากัดเนื่องจากค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ในการตรวจมีราคาแพง และประสบการณ์ของผู้อ่านผลการตรวจ ส่งผลให้ผู้พนักงานกลุ่มเสี่ยงไม่สามารถเข้าถึงการตรวจสมรรถภาพปอดได้ทันท่วงที การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําการเรียนรู้ของเครื่องมาใช้ทำนายระดับความรุนแรงของความผิดปกติของความยืดหยุ่นของปอดเบื้องต้น ก่อนที่จะนําไปสู่การตรวจสไปโรเมตรีย์ต่อไป โดยแบ่งระดับความรุนแรงของความยืดหยุ่นของปอดเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ รุนแรงน้อย และ รุนแรงปานกลางถึงมาก การศึกษาได้นำข้อมูลจากการตรวจสมรรถภาพปอดในกลุ่มพนักงานของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ ทั้งหมด 685 คน จากศึกษาภาคตัดขวาง มาใช้สร้างแบบจําลองการเรียนรู้ของเครื่องด้วยเทคนิค 6 แบบ ได้แก่ Logistic Regression, Decision Tree, Random Forest, Gradient Boosting, XGBoost และ Support Vector Machine (SVM) พบว่าผลลัพธ์การฝึกแบบจําลองที่ดีที่สุด คือ แบบจําลอง Random Forest ร่วมกับเทคนิคการจัดการข้อมูลไม่สมดุล และการคัดเลือกตัวแปรที่สําคัญ 20 ตัวแปรด้วยวิธีการ Recursive Feature Elimination (RFE) พบว่า กลุ่มตัวแปรที่สำคัญในการทำนายระดับความรุนแรง ได้แก่ นํ้าหนัก ส่วนสูง อายุ ประวัติการศึกษา ชั่วโมงการทางาน การสูบบุหรี่ การใช้หน้ากากอนามัย และอาการบางอย่างเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจติดขัด และอาการการมีเสมหะ โดยมีค่าเฉลี่ยของ F1-score, precision, recall และ accuracy เท่ากับ 0.74, 0.74, 0.76 และ 0.75 ตามลําดับ แบบจําลองทำนายประสิทธิภาพปอดถูกนำไปสร้างเป็นเว็บแอปพลิชันเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย และได้มีการนําไปให้พนักงานในโรงงานตรวจคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการคัดกรองความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน และการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้แอปพลิเคชันตรวจคัดกรองนี้</p> ณัฐวุฒิ แถมเงิน ปกรณ์ ล่องทอง พงศศรัณย์ ทองหนูนุ้ย กนกวรรณ ละอองศรี อนามัย เทศกะทึก พีรพล ศิริพงศ์วุฒิกร ณฐนนท์ เทพตะขบ วิริยะ มหิกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 84 95 การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ของคดียาเสพติดในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258658 <p>คดียาเสพติดเป็นคดีที่เกิดขึ้นมากที่สุดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ของการเกิดคดียาเสพติดด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ สภ.เมืองนครปฐม โดยรวบรวมข้อมูลการเกิดคดียาเสพติดระหว่าง ปี 2556 ถึง ปี 2560 เพื่อ 1) ศึกษาแบบรูปของการเกิดคดียาเสพติดด้วยเครื่องมือ Moran’s I 2) วิเคราะห์จุดความร้อนของการเกิดคดียาเสพติดด้วยเครื่องมือ Getis-Ord Gi* 3) วิเคราะห์ทิศทางการกระจายของคดียาเสพติดด้วยเครื่องมือ Standard Deviational Ellipse และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของการเกิดคดียาเสพติดและการใช้ที่ดิน<br />ผลการศึกษาแสดงให้เห็น 1) แบบรูปการเกิดคดียาเสพติดในพื้นที่ความรับผิดชอบของ สภ.เมืองนครปฐมเป็นแบบเกาะกลุ่มโดยมีค่า Moran’s I เท่ากับ 0.31, 0.34, 027, 0.24 และ 0.17 ตามลำดับ 2) บริเวณที่เกิดคดียาเสพติดสูง โดยมีค่า GiZscore มากกว่า 1.65 ในปี 2556 และปี 2557 ได้แก่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ และตำบลห้วยจระเข้ ปี 2558 ได้แก่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ตำบลวังตะกู และตำบลสนามจันทร์ ปี 2559 ได้แก่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ ตำบลห้วยจระเข้ และตำบลบ่อพลับ และปี 2560 ได้แก่ ตำบลสนามจันทร์ 3) ทิศทางการกระจายของคดียาเสพติดทั้ง 5 ปี มีแนวโน้มไปทางทิศตะวันออกของพื้นที่ศึกษา และ 4) การจับกุมคดียาเสพติดสูงพบในแบบรูปการใช้ที่ดินประเภทชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ผลการวิจัยสามารถใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้</p> วิจิตรา ผลิเจริญผล อรประภา ภุมมะกาญจนะ โรแบร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 96 107 การสังเคราะห์อย่างรวดเร็วของคลาสส่วนน้อยโดยใช้เครือข่ายฝ่ายตรงข้ามเชิงกำเนิดสำหรับปัญหาการจำแนกประเภทข้อมูลที่ไม่สมดุล https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258679 <p>อัลกอริทึมเครือข่ายฝ่ายตรงข้ามเชิงกำเนิด (แกน) คือ คลาสของเครือข่ายประสาทแบบเชิงลึก ที่สามารถสร้างตัวอย่างข้อมูลในสถานการณ์ข้อมูลที่ไม่สมดุลได้ ซึ่งแกนประกอบด้วย 2 ส่วนที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ได้แก่ ส่วนการสร้างแบบจำลองเชิงกำเนิด และส่วนแยกแยะ โดยส่วนการสร้างแบบจำลองเชิงกำเนิดจะสุ่มข้อมูลจากชุดข้อมูลฝึกสอน และส่วนแยกแยะจะดำเนินการแยกแยะข้อมูลจากข้อมูลตัวอย่างที่สร้างขึ้นและจากข้อมูลจริง การวิจัยนี้ศึกษาการถ่ายโอนข้อมูลที่ทับซ้อนกันระหว่างการสร้างแบบจำลองบนข้อมูลแบบสตรีมมิงในเวลาเรียลไทม์ โดยนำเสนอวิธีการสร้างส่วนขยายใหม่บนแกนที่เรียกว่า แกนทูที (GANs2T)<br />บนพื้นฐานของอนุกรมเวลาแบบตาราง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแบบจำลองและระยะเวลา ซึ่งใช้วิธีการจับข้อมูลโครงสร้างของค่าความแปรปรวนร่วมกันของข้อมูลจากคลาสกลุ่มน้อย และสร้างข้อมูลสังเคราะห์จากความน่าจะเป็น ด้วยการใช้อัลกอริทึมนี้เรียนรู้ข้อมูลบนข้อมูลแบบสตรีมมิง การวัดประสิทธิภาพโดยดำเนินการกับวิธีการเรียนรู้ของข้อมูลที่ไม่สมดุล ทั้งจากไบนารีคลาส และมัลติคลาสจากชุดข้อมูลมาตรฐานจำนวนหลายชุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่า GANs2T ร่วมกับอัลกอริทึม XGBoost (GANs2T+XGBoost) มีค่าความถูกต้อง = 84.93%, ค่าความแม่นยำ = 90.48%, ค่าความครบถ้วน = 88.13%, ค่าประสิทธิภาพโดยรวม = 89.53% และค่าเฉลี่ยของเวลาในการฝึกสอนแบบจำลองเท่ากับ 60.20 วินาที</p> วฤษาย์ ร่มสายหยุด Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 108 121 ลำดับใหม่ที่สอดคล้องกับลำดับ k-ฟีโบนักชี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258202 <p><span class="fontstyle0">งานวิจัยนี้เราได้นำเสนอสามลำดับรูปแบบใหม่ของ <img style="font-size: 0.875rem;" title="\gamma_{n},\alpha_{n}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\gamma_{n},\alpha_{n}" /><span style="font-size: 0.875rem;"> และ </span><img style="font-size: 0.875rem;" title="\beta _n" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta&amp;space;_n" /></span><span class="fontstyle3"> </span><span class="fontstyle0">ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันผ่านความสัมพันธ์เวียนเกิด และเราได้สังเกตถึงความสัมพันธ์ของลำดับทั้งสามนี้สามารถแสดงให้อยู่ในรูปของลำดับ </span><span class="fontstyle3">k-</span><span class="fontstyle0">ฟีโบนักชี เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์นี้เราได้นำหลักอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ มาใช้สำหรับแสดงความถูกต้องของทฤษฎี และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาในงานนี้</span></p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> พงษ์พันธ์ มุขวะชิ เพ็ญศิริ สมพงษ์ สุพรรณี สมพงษ์ ไกรลิขิต ลาดปะละ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 122 130 ตัวแบบทำนายความต้องการทำงานของผู้สูงอายุจังหวัดสงขลาและจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2560 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258872 <p>งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการทำงานของผู้สูงอายุ และสร้างตัวแบบทำนายความต้องการทำงานของผู้สูงอายุจังหวัดสงขลาและจังหวัดขอนแก่น ข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในจังหวัดสงขลา 558 คน และขอนแก่น 718 คน รวม 1,276 คน จากโครงการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถิติวิเคราะห์ได้แก่ การทดสอบไคกำลังสอง (Chi-squared test)การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก (Logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุจำนวน 549 คน (ร้อยละ 43.0) ใน 1,276 คน มีความต้องการทำงาน โดยความต้องการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา (ร้อยละ 43.2) และขอนแก่น (ร้อยละ 42.9) ไม่แตกต่างกัน (P-value=0.916) ผู้สูงอายุที่มีวัยต่างกันจะมีความต้องการทำงานแตกต่างกัน (P&lt;0.05; P-value=0.000) โดยผู้สูงอายุวัยก่อนเกษียณอายุมีความต้องการทำงาน (ร้อยละ 67.2) มากกว่าผู้สูงอายุวัยหลังเกษียณอายุ (ร้อยละ 33.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความต้องการทำงานของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การเป็นเจ้าของบ้าน ประวัติการรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รายได้ ความเพียงพอของรายได้ การอ่านออกเขียนได้ ระยะเวลาที่ต้องการทำงานต่อ สถานะอยู่อาศัยในครัวเรือน ภาวะสุขภาพร่างกาย สถานภาพการมีงานทำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตัวแบบในการทำนายความต้องการทำงานของผู้สูงอายุซึ่งสามารถทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 86.4 ด้วยปัจจัยทำนายเพียงปัจจัยเดียวคือ สถานภาพการมีงานทำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา</p> เขมิกา อุระวงค์ เยาวลักษณ์ เรืองเมือง วรินทิพย์ สุขอนันต์ นภัสสร ขุนศรี เกษมา ผลผลา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 131 140 การจำลองเชิงตัวเลขของการถ่ายเทความร้อนและการไหลด้วยการพุ่งชนของของไหลนาโนบนแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีครีบระบายความร้อน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258875 <p>งานวิจัยนี้ได้ทำการจำลองเชิงตัวเลขมาใช้เพื่อศึกษาลักษณะการถ่ายเทความร้อนและการไหลในของไหลนาโนพุ่งชนแบบราบเรียบบนแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีครีบระบายความร้อนด้วยแบบจำลองเดี่ยว ภายใต้ขอบเขตทางความร้อนที่ครีบระบายความร้อนมีพื้นผิวร้อนแบบอุณหภูมิคงที่ ระเบียบวิธีไฟไนต์วอลุมถูกใช้เพื่อหาผลเฉลยของสมการควบคุมการถ่ายเทความร้อนและการไหลโดยใช้ของไหลนาโนอะลูมิเนียมออกไซด์ (Al<sub>2</sub>O<sub>3</sub>) เป็นสารทำงานที่มีความเข้มข้นโดยปริมาตรอยู่ระหว่าง 0% ถึง 4% การคำนวณได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงค่าความเข้มข้นโดยปริมาตรของอนุภาคนาโนและค่าเรย์โนลด์นัมเบอร์ ผลการคำนวณที่ได้พบว่าการถ่ายเทความร้อนเพิ่มขึ้นตามค่าความเข้มข้นโดยปริมาตรของอนุภาคนาโนและค่าเรย์โนลด์นัมเบอร์ เมื่อพิจารณาจากค่านัสเซิลนัมเบอร์ ณ ตำแหน่ง Stagnation ตำแหน่งใดๆ และค่านัสเซิลนัมเบอร์เฉลี่ยนอกจากนี้ได้ทำการเปรียบเทียบชนิดของของไหลนาโนระหว่างของไหลนาโนอะลูมิเนียมออกไซด์กับของไหลนาโนไททาเนียมออกไซด์ (TiO<sub>2</sub>) นั้นพบว่าของไหลนาโนอะลูมิเนียมออกไซด์ให้การถ่ายความร้อนที่ต่ำกว่าของไหลนาโนไททาเนียมออกไซด์</p> คมกฤษณ์ ชัยโย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 141 151 คุณลักษณะของการส่งถ่ายยาแบบไร้เข็มโดยใช้วิธีการกระแทก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258620 <p>ในปัจจุบันการส่งถ่ายยาสัตว์ด้วยอุปกรณ์ฉีดยาจะเป็นกระบวนการกดด้วยแรงจากกระบอกฉีดยาผ่านเข็มฉีดยาเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งยังมีข้อเสียคือระสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยาและสิ้นเปลืองเวลาในการฉีดยา ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ฉีดยาสัตว์ด้วยหลักการใหม่ ที่เรียกว่า การฉีดยาด้วยลำพุ่งความเร็วสูงด้วยหลักการการกระแทก โดยจะส่งถ่ายยาด้วยลำพุ่งความเร็วสูงเจาะทะลุผ่านผิวหนังปราศจากการใช้เข็ม เงื่อนไขของงานวิจัยนี้คือ ใช้ปริมาตรของเหลวในหัวฉีด 2 ml เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของลำพุ่งด้วยหลักการกดด้วยแรง (ระยะ 0 mm) และหลักการกระแทก (ระยะกระแทก 5, 7, 9, 11, 13, 15 และ 17 mm) อาทิ แรงกระแทกของต้นกำลัง ความเร็วเฉลี่ยของลำาพุ่งความดันกระแทกของลำพุ่ง กำลังการกระแทก และพฤติกรรมของลำพุ่ง ซึ่งตรวจสอบด้วยกล้องกล้องวีดีโอความเร็วสูง ผลการวิจัยปรากฏว่า เมื่อระยะกระแทกเพิ่มขึ้นจะทำให้แรงกระแทกของต้นกำลังเพิ่มขึ้น โดยระยะกระแทกที่ 17 mm ให้ค่าแรงกระแทกของสุด 475 N หลังจากนั้นเปรียบเทียบความเร็วเฉลี่ยและความดันกระแทกของลำพุ่ง ซึ่งระยะกระแทกที่ 11 mm ค่าความเร็วเฉลี่ยและความดันกระแทกของลำพุ่งสูงสุดที่ 62 m/s และ 2.28 MPa ตามลำดับ หลังจากนั้นค่าระยะกระแทก 13, 15 และ 17 mm จะมีค่าลดลง ค่าความดันกระแทกของลำพุ่งกรณีด้วยหลักการกดด้วยแรง (ระยะ 0 mm) จะให้ค่าระดับความกระแทกของลำพุ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่จะสามารถเจาะผ่านผิวหนังได้ เมื่อเทียบกับระยะกระแทกเป็น 5, 7, 9, 11, 13, 15 และ 17 mm จะให้ค่าความดันกระแทกของลำพุ่งที่สูงพอที่จะสามารถเจาะผ่านผิวหนังได้</p> ปรัชญา มุขดา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 152 159 ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจเอกสารสำหรับกระดาษที่ผ่านการกด https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/258603 <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพของแสงเฉียงของเครื่องตรวจพิสูจน์เอกสารในด้านการตรวจหารอยกดบนแผ่นกระดาษรองเขียนที่ต่างชนิดกัน และศึกษาคุณสมบัติของการเขียนผ่านรอยกดที่ตรวจพบ ผู้วิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณในการศึกษา จากการทดลองกำหนดแหล่งกำเนิดแสงเฉียงที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพนั้นมาจากทางด้านซ้ายและขวา สูงห่างจากแผ่นกระดาษ 10 มิลลิเมตร และแหล่งกำาเนิดแสงเฉียงทำมุม 10 องศา กับแนวระดับในการศึกษาใช้กระดาษที่ต่างกันดังนี้ กระดาษถ่ายเอกสารขนาด 70 และ 80 แกรม และกระดาษรายงานขนาด 70 แกรม นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของชนิดของปากกาที่ใช้ในการเขียน ผ่านปากกาหมึกเจล และปากกาลูกลื่น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแสงเฉียงภายใต้เครื่องตรวจพิสูจน์เอกสารมีประสิทธิภาพตรวจพบรอยกดบนแผ่นกระดาษรองได้สูงสุดที่จำนวน 3 แผ่น กระดาษและปากกาที่ต่างชนิดกันมีค่าเฉลี่ยจำนวนแผ่นรองเขียนที่ตรวจพบรอยกดแตกต่างกัน โดยที่ปากกาลูกลื่นที่เขียนในกระดาษถ่ายเอกสารขนาด 70 แกรม และ 80 แกรม และกระดาษรายงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5, 1.2 และ 1.2 แผ่นตามลำดับ ในส่วนปากกาหมึกเจลที่เขียนในกระดาษถ่ายเอกสารขนาด 70 แกรม 80 แกรม และกระดาษรายงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.0, 1.0, และ 0.8 แผ่น ตามลำดับ ถึงแม้ค่าเฉลี่ยจำนวนแผ่นกระดาษรองที่ตรวจพบรอยกดจะแตกต่างกันแต่จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางตัวประกอบที่ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt;0.05 พบว่ากระดาษและปากกาที่ต่างชนิดกันไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหารอยกดด้วยเครื่องตรวจพิสูจน์เอกสาร งานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางเอกสารสำหรับงานทางนิติวิทยาศาสตร์</p> ณรงค์ กุลนิเทศ นนทพัทธ์ ยั้งประยุทธ์ อธิป ลอศิริกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2024-04-30 2024-04-30 43 2 160 165