วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal <p><strong><span style="color: #e74c3c;">ภาษาไทย : </span></strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><strong><span style="color: #e74c3c;">English : </span></strong>Journal of Science and Technology Mahasarakham University</p> <p><br />ISSN: 2985-2617 (Print)</p> <p>ISSN: 2985-2625 (Online)<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">การรับรองคุณภาพวารสาร</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านการรับรองคุณภาพของ ศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) ถึง 31 ธันวาคม 2567 (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)</p> <p><strong><span style="color: #e74c3c;">จุดมุ่งหมายและขอบเขต</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศโดยเผยแพร่บทความวิจัย (research article) บทความปริทัศน์ (review article) ในสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">กำหนดการออกเผยแพร่</span></strong><br />วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กำหนดออกและตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 6 ฉบับ<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน<br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">บรรณาธิการ :</span></strong><br />ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br /><br /><strong><span style="color: #e74c3c;">กระบวนการพิจารณา</span></strong><br />บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) ตามกระบวนการที่กองบรรณาธิการกำหนด ทั้งนี้บทความได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ จากหลากหลายสถาบัน</p> <p><strong><span style="color: #e74c3c;">ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</span></strong></p> <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ จำนวน 4,000 บาท เมื่อบทความผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ<strong>ให้ตอบรับการตีพิมพ์</strong></p> <p>บทความที่กองบรรณาธิการการพิจารณาให้<strong>ปฏิเสธการตีพิมพ์</strong> <strong>ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียม</strong></p> <p>ทั้งนี้หากผู้นิพนธ์ยกเลิกบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าดำเนินการ จำนวน 2,000 บาท</p> th-TH science.msu@hotmail.com (Preecha Prathepha) science.msu@hotmail.com (Phakwilai Rungwisai) Thu, 31 Oct 2024 16:13:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การใช้โยเกิร์ตเป็นสารเสริมสำหรับพืชหมักต่อลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าเนเปียร์หมัก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260132 <p> การศึกษาครั้งนี้้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าเนีเปียร์หมักที่เสริมด้วยโยเกิร์ต โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 10 ซ้ำ ได้แก่ 1) เสริมกากน้ำตาล 5% (กลุ่มควบคุม) 2) เสริมโยเกิร์ต 2% 3) เสริมโยเกิร์ต 3% และ 4) เสริมโยเกิร์ต 4% ระยะเวลาการหมัก 21 วัน ผลการทดลองพบว่า ลักษณะทางกายภาพของหญ้าเนเปียร์หมักของกลุ่มที่เสริมโยเกิรต์ 3% มีคะแนนรวมลักษณะทางกายภาพเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 22.81 คะแนน จัดเป็นพืชหมักระด้บดีมาก ส่วนกลุ่มอื่น ๆ มีคะแนนรวมลักษณะทางกายภาพระด้บดี ซึ่งเป็นระด้บที่รองลงมา ด้านองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าเนเปียร์หมัก ได้แก่ ความชื้น วัตถุุแห้ง โปรตีนหยาบ อินทรียวัตถุุ เถ้า เยื่อใยผนังเซลล์ และเยื่อใยลิกโนเซลลูโลส ของทุกกลุ่มการทดลอง ไม่มีความีแตกต่างกัน ทางสถิติ (P&gt;0.05) แต่พบว่า ปริมาณเยื่อใยหยาบของกลุ่มทเสริมโยเกิร์ต ทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่เสริมกากน้ำตาล (P&lt;0.05) ด้งนั้นการใช้โยเกิร์ตเป็นสารเสริมช่วยหมักในระด้บ 3% ส่งผลให้หญ้าเนเปียร์หมักมีลักษณะทางกายภาพที่ดีกว่าการเสริมด้วยกากน้ำตาลเป็นสารเสริมช่วยหมัก</p> ปณัท สุขสร้อย, เจนจิรา นามี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260132 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 การผลิตปุ๋ยหมักจากกากขี้แป้งน้ำยางข้นเพื่อเป็นวัสดุปรับปรุงดิน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/259611 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมและศึกษาสมบัติของปุ๋ยหมักที่อัตราส่วนผสมแตกต่างกัน 4 ชุดการทดลอง ที่อัตราส่วยผสมกากขี้แป้ง : ยูเรีย : มูลวัว เท่ากับ 3.0:0:0 2.0:0.5:0.5 2.0:1.0:0 และ 2.0: 0:1.0 โดยศึกษาสมบัติของปุ๋ยหมักระหว่างการหมัก ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และค่าอินทรียวัตถุ ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ยหมักกากขี้แป้งโรงงานน้ำยางข้นใช้ระยะเวลากระบวนการหมักสมบูรณ์เป็น ระยะเวลา 50 วัน มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเฉลี่ย 29.80-38.06 องศาเซลเซียส มีค่าเฉลี่ยความชื้น 78.92 – 81.82 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่าง 8.34 – 8.48 มีค่าเฉลี่ยการนำไฟฟ้า 3.18 – 6.13 เดซิซีเมนต่อเมตร และมีค่าเฉลี่ยอินทรียวัตถุ 38.51-42.71 สำหรับธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักกากขี้แป้งและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ผลตอบแทนจากการลงทุนพบว่าชุดการทดลองที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากชุดการทดลองที่ 2 มีปริมาณธาตุอาหารหลักรวมมากที่สุด โดยมีค่าธาตุไนโตรเจนร้อยละ 4 มีค่าฟอสฟอรัส (P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>) ร้อยละ 0.95 และ มีค่าโพแทสเซียม (K<sub>2</sub>O) ร้อยละ 0.39 เมื่อนำปุ๋ยหมักกากขี้แป้งมาประเมินความคุ้มค่าทางศรษฐศาสตร์ผลตอบแทนจากการลงทุน เท่ากับ 48.47 เปอร์เซ็นต์ มีกำไรสุทธิเฉลี่ย เท่ากับ 1,537.60 บาทต่อรอบการผลิต ซึ่งการทำปุ๋ยหมักจากกากขี้แป้งน้ำยางข้นมีธาตุอาหารที่พืชต้องการต่อการเจริญเติบโตของพืชได้</p> กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์, เตือนใจ ปิยัง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/259611 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนผาดำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260464 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนผาดำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โดยวิธีการวางแปลงตัวอย่างแบบสี่เหลี่ยมขนาด 20x20 เมตร สำหรับพรรณไม้ต้น และแปลงขนาด 5x5 เมตร สำหรับพรรณไม้พื้นล่าง จำนวนทั้งหมด 14 แปลง ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งหมด 29 วงศ์ 41 สกุล 45 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ Rubiaceaea จำนวน 7 ชนิด รองลงมีคือวงศ์ Dipterocarpaceae จำนวน 4 ชนิด จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มพรรณไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) สูงสุดคือ เต็ง (<em>Shorea obtusa </em>Wall. ex Blume) มีค่าเท่ากับ 150.160 รองลงมาคือ เหียง (<em>Dipterocarpus obtusifolius </em>Teijsm.ex Miq.) มีค่าเท่ากับ 43.442 ส่วนไม้พื้นล่างที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) สูงสุดคือเพ็ก (<em>Vietnamosasa pusilla</em> (A.Chev. &amp; A.Camus) T.Q.Nguyen) มีค่าเท่ากับ 52.709 รองลงมาคือ หญ้านิ้วหนู (<em>Fimbristylis dichotoma</em> (L.) Vahl) มีค่าเท่ากับ 13.881 ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (H’) ไม้ต้นและไม้พื้นล่างมีค่าเท่ากับ 3.034 และ 2.645 ตามลำดับ ค่าความสม่ำเสมอในการกระจายตัว (J) มีค่าเท่ากับ 0.996 และ 0.832 และค่าความหลากหลายชนิดพันธุ์ (D) มีค่าเท่ากับ 7.531 และ 7.454 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบพืชหายากในประเทศไทยจำนวน 1 ชนิด ได้แก่ คำมอกหลวง (<em>Gardenia sootepensis</em> Hutch.) และพืชหายากของโลก (Rare) จำนวน 1 ชนิด คือ เหมือดคน (<em>Scleropyrum pentandrum</em> (Dennst.) Mabb.)</p> วิไลลักษณ์ สุดวิไล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260464 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 การอนุรักษ์ในรูปแบบดิจิทัลของแหล่งซากดึกดำบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทยด้วยแบบจำลอง 3 มิติ จากเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260699 <p> ซากดึกดำบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์ที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2527 รอยดังกล่าวถูกพบอยู่บริเวณผาสมเด็จในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นแผ่นหินทรายจากหมวดหินภูพานของยุคครีเทเชียสตอนต้น และเป็นรอยตีนที่พบเพียงแหล่งเดียวจากยุคนี้ อย่างไรก็ตามบริเวณเส้นทางภูหลวงมีความเสี่ยงที่จะเสื่อมสภาพตามกาลเวลาเนื่องจากสภาพอากาศ สัตว์ และกิจกรรมของมนุษย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแผนการอนุรักษ์ในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติที่สร้างจากเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี แบบจำลองสามมิติที่ได้จากวิธีนี้สามารถเก็บข้อมูลพื้นผิว สี และแสดงผลลักษณะของตัวอย่างในช่วงเวลานั้นได้ ให้ผลที่ดีกว่าและง่ายต่อการนำมาใช้งานเมื่อเทียบกับวิธีการเดิม เช่น การทำพิมพ์รอยตีน แบบจำลองเหล่านี้ให้ข้อมูลรายละเอียดเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมการสื่อสาร การทำงานร่วมกันทางวิทยาศาสตร์ การใช้โฟโตแกรมเมทรีช่วยให้การผลิตข้อมูลรวดเร็วและคุ้มค่า เป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญและสาธารณชนในการอนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้</p> คงกระพัน ไชยทองศรี, สุรเวช สุธีธร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260699 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 การจัดเรียงใหม่เป็นหนึ่งมิติของอนุกรมซ้อนกันและสูตรลดทอน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/259738 <p> บทความนี้ศึกษาเงื่อนไขที่เพียงพอในการจัดเรียงอนุกรมซ้อนกันหลายชั้นให้เป็นอนุกรมชั้นเดียวโดยใช้วิธีพื้นฐานในการพิสูจน์ และอาศัยเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อสร้างสูตรลดทอนสำหรับอนุกรมที่อยู่ในรูป</p> <p><img title="\sum_{x_1=0}^\infty\sum_{x_2=0}^\infty\cdots\sum_{x_k=0}^\infty (x_1x_2\cdots x_k)^t\cdot f(x_1,x_2,...,x_k)" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\sum_{x_1=0}^\infty\sum_{x_2=0}^\infty\cdots\sum_{x_k=0}^\infty&amp;space;(x_1x_2\cdots&amp;space;x_k)^t\cdot&amp;space;f(x_1,x_2,...,x_k)" /> เมื่อ <img title="f:\mathbb{N}_0\rightarrow \mathbb{R}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?f:\mathbb{N}_0\rightarrow&amp;space;\mathbb{R}" /> และ <img title="t\in \{0,1,2\}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?t\in&amp;space;\{0,1,2\}" /></p> <p>โดยใช้วิธีทางฟังก์ชันก่อกำเนิด</p> รัชนัย ไข่แก้ว, ฉัตรชัย พุฒิรุ่งโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/259738 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 การจําแนกผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยอัลกอริทึมต้นไม้ตัดสินใจ กรณีศึกษา: โรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260059 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอัลกอริทึมต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree algorithm) ในการจำแนกประเภทโรคมะเร็งเต้านม (breast cancer) และศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อบริเวณเต้านมจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2565 จากการทำความสะอาดข้อมูลเหลือข้อมูลทั้งหมด 1,524 ระเบียน ซึ่งมีข้อมูลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 1,343 ระเบียน และข้อมูลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 181 ระเบียน จากผลการศึกษาพบว่า ต้นไม้ตัดสินใจ C4.5, C5.0 และ Random forest ให้ค่าความถูกต้อง (accuracy) ค่อนข้างสูง แต่ค่าเกณฑ์ในการทำนาย AUC (area under ROC curve) ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการทำนายโมเดลไม่สามารถแยกกลุ่ม (class) ได้ดีพอ ซึ่งพบว่าข้อมูลที่ใช้ในการจำแนกคลาสมีจำนวนของคลาสมากน้อยไม่เท่ากัน (class imbalance) เพื่อแก้ปัญหาข้อมูลไม่สมดุลในงานวิจัยนี้ใช้เทคนิคการสุ่มเพิ่ม (oversampling) เพื่อเพิ่มจำนวนตัวอย่างในคลาสที่น้อยเพื่อทำให้จำนวนตัวอย่างในทุกคลาสเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน และวิธีสุ่มลด (undersampling) ลดตัวอย่างในคลาสที่มีจำนวนมากลงเพื่อทำให้จำนวนตัวอย่างในทุกคลาสเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน พบว่าต้นไม้ตัดสินใจ C4.5 และ C5.0 ให้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากเดิมและผลลัพธ์ที่ได้ไม่ต่างกันมากนัก ส่วน Random forest ให้ค่า AUC และค่าความระลึก (recall) ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นไม้ตัดสินใจ C4.5 และ C5.0 ซึ่งสูงกว่าประมาณ 15-20%</p> ชัยยันต์ สุขหมั่น, สุภาวดี วิชิตชาญ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260059 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 การคำนวณของตัวแพร่สำหรับตัวแกว่งกวัดฮาร์มอนิกอย่างง่ายคู่ควบกับสนามไฟฟ้าคงที่ผ่านวิธีการของชวิงเงอร์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260106 <p> ในบทความนี้ เราคำนวณตัวแพร่ไฟน์แมนสำหรับตัวแกว่งกวัดฮาร์มอนิกอย่างง่ายควบคู่กับสนามไฟฟ้าคงที่โดยใช้วิธีของชวิงเงอร์ซึ่งอิงตามผลเฉลยของสมการไฮเซนเบิร์กสำหรับตำแหน่งและตัวดำเนินการโมเมนตัมแบบบัญญัติ ผลเฉลยดังกล่าวจะถูกใช้เพื่อเขียนตัวดำเนินการแฮมิลตันตามอันดับของตัวดำเนินการตำแหน่ง และ การใช้อันดับตัวดำเนินการตามเวลาที่เหมาะสมควบคู่ไปกับเงื่อนไขย่อยและเงื่อนไขเริ่มต้นส่งผลให้ได้ตัวแพร่ดังกล่าว เราพบว่าตัวเผยแพร่ที่ได้รับนั้นสอดคล้องกับตัวเผยแพร่ที่ได้จากการใช้ปริพันธ์ตามวิถีของไฟน์แมนในงานของ Poon และ Muñoz (Poon &amp; Muñoz 1999) เราคาดหวังว่าการนำเสนอเทคนิคนี้จะช่วยให้อาจารย์ฟิสิกส์และนักเรียนได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้น</p> ธณษา ชัยธนาปรีชา, นัฏพงษ์ ยงรัมย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260106 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 ชุดตรวจอากาศอัตโนมัติภาคสนามและระบบสมาร์ทอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260046 <p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดตรวจอากาศอัตโนมัติภาคสนามสำหรับติดตั้งในแปลงเกษตรที่มีสภาพอากาศและชนิดพืชแตกต่างกันและแสดงผลการตรวจวัดในระบบสมาร์ทอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร (Met4Agriculture) โดยออกแบบชุดตรวจอากาศอัตโนมัติให้การทำงานของอุปกรณ์ภายในใช้พลังงานแสงอาทิตย์และประกอบด้วยเซนเซอร์ 5 ชนิด คือ เซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณฝน ความเข้มแสง ความชื้นในดินที่ระดับความลึกจากผิวดิน 10 เซนติเมตร โดยเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณฝน ความชื้นในดินผ่านการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา และความเข้มแสงผ่านการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลการสอบเทียบพบว่าเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์มีความคลาดเคลื่อนประมาณ 1 องศาเซลเซียส และ 1-3 %RH ตามลำดับ เซนเซอร์วัดปริมาณน้ำฝนมีความคลาดเคลื่อน <u>+</u> 3 มิลลิเมตร เซนเซอร์วัดความเข้มแสงวัดค่าความสว่างน้อยกว่าค่าตรวจวัดจริง 1.17 เท่า เซนเซอร์วัดความชื้นในดินมีค่าความชื้นที่วัดได้กับปริมาณความชื้นในดินที่คำนวณมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าทั้งสองเข้าใกล้ 1 นอกจากนี้ได้ออกแบบโปรแกรมทำงานบนลิลี่โก (LILYGO) และพัฒนาโปรแกรม Met4Agriculture โดยระบบจะเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบไอโอที เน็ตพาย (IoT NETPIE) เพื่อนำข้อมูลตรวจวัดจากสถานีมาแสดงผล โปรแกรมจะอ้างอิงจุดสถานีตรวจวัดจาก id และ token จากระบบ NETPIE และพัฒนาต่อยอดเป็น Met4Agriculture Application รองรับทุกแพลตฟอร์ม สามารถแสดงค่าข้อมูลที่บันทึกไว้ในอดีตเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในฤดูกาลต่างๆ และกำหนดค่าเทรชโฮลด์ (threshold) ในแต่ละพารามิเตอร์ที่จะมีผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรในแต่ละช่วงฤดูได้</p> <p> ผลการวิจัยนี้สามารถพัฒนาชุดตรวจอากาศอัตโนมัติต้นแบบต้นทุนต่ำที่มีความคลาดเคลื่อนในการตรวจวัดไม่แตกต่างจากเครื่องมือมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อนำชุดตรวจอากาศอัตโนมัติที่พัฒนาแล้วไปติดตั้งในพื้นที่ทั้ง 5 ภาคของประเทศไทย สามารถรับ-ส่งและแสดงผลข้อมูลการตรวจวัดออนไลน์ผ่านเว็บแอปพลิเคชันและระบบสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์แบบเรียลไทม์ได้อย่างต่อเนื่อง</p> พัชรา เพชรวิโรจน์ชัย, ธัชนันท์ แดงกนิษฐ์ สิทธิวรนันท์, เกษรินตร์ ห่านประเสริฐ, วัชรพล ทรัพย์วัฒน์, โกสินทร์ นวลจุ้ย, ปราโมทย์ สีฆ้อง, เขมิกา พงษ์เมธี, สมปราชญ์ ศรีถกล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/260046 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700