วารสารวิชาการเกษตร
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch
<p><strong>วารสารวิชาการเกษตร </strong>จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ผลงานวิจัย และนวัตกรรมการเกษตรด้านพืช เรื่องที่พิมพ์ต้องเป็นเรื่องน่าสนใจ มีสาระอันเป็นประโยชน์แก่งานวิชาการเกษตรและจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรือรอการตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น มีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม โดยผลงานวิจัยทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเกษตรได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน อย่างน้อย 2 ท่าน แบบ double-blinded review system</p> <p>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆในการตีพิมพ์จากผู้เขียน</p> <p>เดิม ISSN : 0125-8389 (Print) ISSN : 2773-9317 (Online)</p> <p>ISSN : 3027-7264 (Print) ISSN : 3027-7272 (Online) เริ่มปีที่ 42</p>
en-US
<p>วารสารวิชาการเกษตร</p>
journal@doa.in.th (ดร.สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง)
swalaiporn@hotmail.com (วลัยพร ศะศิประภา)
Wed, 18 Dec 2024 20:37:16 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
การพัฒนาไถระเบิดดินดานสองขาเรียงตามแนวการเคลื่อนที่แบบปรับความลึกขาไถอัตโนมัติ
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263008
<p>การไถระเบิดดินดานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการขณะเตรียมดินก่อนปลูกพืช เพื่อแก้ปัญหาการอัดแน่นของดินซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตพืชลดลง แต่การไถระเบิดดินดานนั้นเป็นงานที่ต้องใช้กำลังฉุดลากสูง บางครั้งเกินกำลังของเครื่องมือที่เกษตรกรมีอยู่ หรือทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบและสร้างขาไถระเบิดดินดานขาเรียงแบบปรับความลึกขาหน้าอัตโนมัติ เพื่อลดแรงฉุดลากด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO ระยะห่างระหว่างขาหน้าและขาหลังสามารถตั้งปรับได้ และได้ทำการทดสอบไถระเบิดดินดานที่สร้างและพัฒนาขึ้นในแปลงอ้อย ที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ดินมีความชื้น 5.4±1.92% ความหนาแน่นของดิน 1.5±0.14 ก./ลบ.ซม. ค่าความต้านทานการแทงทะลุ ช่วงความลึก 0-50 ซม. มีค่า 1.88±0.41 เมกะปาสคาล ตามลำดับ ปัจจัยในการทดสอบ 4 ปัจจัย คือ 1) ชนิดเล็บของขาหน้า มี 2 แบบ แบบมีปีกและแบบมีครีบไม่มีปีก 2) ระบบการทำงานของมอเตอร์ควบคุมความลึกขาไถหน้า 2 แบบ แบบเคลื่อนที่ตามระยะกำหนดและแบบตอบสนองการเคลื่อนที่ทันที 3) ความไวของการตอบสนองที่ 10 20 และ 30% 4) ระยะห่างระหว่างขาหน้าและขาหลังที่ 40 50 และ 60 ซม. โดยความลึกของการไถระเบิดดินดานที่ทำการทดสอบอยู่ที่ 50 ซม. จากการทดสอบพบว่า ระบบสามารถควบคุมให้ขาหน้าปรับขึ้นลงเพื่อหาแรงฉุดลากต่ำสุดได้ เล็บของขาหน้าแบบมีครีบไม่มีปีกมีแรงฉุดลากน้อยกว่าเล็บของขาหน้าแบบมีปีก โดยมีค่าแรงฉุดลาก 14.84±3.30 และ 17.66±2.87 กิโลนิวตัน ตามลำดับ ระยะห่างระหว่างขาหน้ากับขาหลังที่ 40 ซม. มีแรงฉุดลากน้อยที่สุด 14.42±3.00 กิโลนิวตัน ขาไถระเบิดดินดานแบบปรับความลึกอัตโนมัติมีแรงฉุดลากเฉลี่ย 12.65±1.33 กิโลนิวตัน ซึ่งมีค่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไถระเบิดดินดานขาเดียวโดยนำขาไถระเบิดดินดานขาหน้าออก มีแรงฉุดลาก 14.00±2.01 กิโลนิวตัน ซึ่งพบว่า สามารถช่วยลดแรงฉุดลากได้มากกว่า 10% ในพื้นที่ที่ทำการทดสอบ และระบบการทำงานของมอเตอร์ควบคุมความลึกขาไถหน้าและความไวในการตอบสนองของมอเตอร์ไม่ส่งผลต่อแรงฉุดลากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยการใช้ขาไถแบบที่มี 2 ขา โดยขาหน้าสามารถปรับความลึกได้อัตโนมัตินั้น ทำให้สามารถไถระเบิดดินดานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการไถระเบิดดินดาน และส่งผลให้ผลผลิตพืชดีขึ้น</p>
ชานน ชะเอม, ประเทือง อุษาบริสุทธิ์, ชัยยะ จันทรา, วัชรชาญ สุขเจริญวิภารัตน์, วันรัฐ อับดุลลากาซิม
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263008
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาเครื่องปลูกต้นกล้าอ้อยในแนวดิ่งสำหรับอุปกรณ์ปลูกต้นกล้าอ้อย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263367
<p>อุปกรณ์ปลูกต้นกล้าอ้อยที่มีประสิทธิภาพช่วยทุ่นแรงและประหยัดเวลาในการปลูกมีความจำเป็นในการปลูกต้นกล้าอ้อยที่เพาะจากข้อตา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุปกรณ์ปลูกต้นกล้าอ้อยที่ชุดปลูกหมุนเคลื่อนที่ในแนวดิ่งพร้อมทำหน้าที่ปลูกอ้อยแบบใช้ต้นกล้า และประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ในการปลูก โดยอุปกรณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นกลไกปลูกต้นกล้าชนิดมีกรวยปลูกที่ติดตั้งเข้ากับจานกำหนดระยะปลูกในการรับแรงผลักจากชั้นดิน ให้อุปกรณ์ปลูกเคลื่อนที่ทำงานโดยไม่ต้องส่งกำลังผ่านเฟื่องและโซ่ไปยังกลไกปลูก หรือเปรียบเสมือนตัวอุปกรณ์ปลูกคือล้อส่งกำลังนั้นเอง และกลไกปลูกจะถูกกดอยู่ในพื้นดินเสมอเพื่อปล่อยต้นกล้าปลูกลงสู่ดินอย่างอิสระตามความลึกที่ต้องการปลูก โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เปิดร่อง อุปกรณ์ปลูกถูกติดตั้งกับจุดต่อพ่วงอิสระของรถแทรกเตอร์ ขนาด 56.7 กิโลวัตต์ (76hp) ระยะปลูกจะถูกควบคุมด้วยจานกำหนดระยะปลูก ซึ่งจะติดตั้งชุดกรวยปลูกต้นกล้าไว้บนจานกำหนดระยะปลูก ได้ดำเนินการทดสอบปัจจัยที่จานควบคุมระยะปลูกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ระดับ ได้แก่ 78(D1) 86(D2) และ 96(D3) ซม. ทดสอบที่ความเร็วการเดินทาง 1.27 1.89 และ 2.73 กม./ชม. และความลึกในการปลูก 10 และ 15 ซม. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ปลูกต้นกล้าอ้อย พบว่า ค่าเฉลี่ยระยะปลูกอ้อยของจานปลูก D1 D2 และ D3 มีค่า 36.30 50.15 และ 68.35 ซม. ตามลำดับ และที่ระดับการปลูกความลึก 10 ซม. อัตราการปลูกสำเร็จสูงกว่าที่ระดับความลึก 15 ซม. และยังพบว่า จานกำหนดระยะปลูก D3 มีค่าอัตราการปลูกสำเร็จสูงสุด 67.3% เมื่อเปรียบเทียบกับจานกำหนดระยะปลูก D2 และ D1 ที่มีอัตราการปลูกสำเร็จ 59.7 และ 53.2% ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ปลูกต้นกล้าอ้อยที่พัฒนาขึ้นมานี้ สามารถปลูกต้นกล้าอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพที่ความลึกการปลูก 10 ซม. และความเร็วการเดินทาง 1.27 กม./ชม.</p>
ภธร จันทรอุดม, ศิริศักดิ์ เชิดเกียรติพล
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263367
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การตอบสนองของข้าวบางพันธุ์ต่อเชื้อรา Exserohilum rostratum สาเหตุโรคใบจุดในข้าวและการแสดงออกของยีนที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนพืชระหว่างข้าวถูกทำลาย
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263534
<p><em>Exserohilum rostratum</em> เป็นเชื้อราในกลุ่ม ascomycete ที่ก่อให้เกิดอาการใบจุดและเมล็ดด่างในข้าวในพื้นที่ปลูกข้าวหลายประเทศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของพันธุ์ข้าวบางชนิดต่อการเข้าทำลายของ <em>E. rostratum</em> และวิเคราะห์การแสดงออกของยีนในข้าวที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนพืชระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา <em>E. rostratum</em> โดยทำการปลูกเชื้อราแต่ละไอโซเลต (n=10) ในข้าว 5 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข31 กข41 ปทุมธานี 1 และเจ้าหอมนิล พบว่า ข้าวพันธุ์เจ้าหอมนิลแสดงระดับอาการโรคต่ำสุด ในขณะที่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 แสดงระดับอาการโรคสูงสุด ดังนั้น ข้าวทั้งสองพันธุ์จึงนำมาใช้ในการศึกษากลไกการป้องกันตนเองของพืชจากการเข้าทำลายโดย <em>E. rostratum</em> โดยยีนที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนพืช ได้แก่ <em>OsPR1b</em> และ <em>OsPBZ1</em> (ยีนป้องกันตนเองในข้าวที่ตอบสนองต่อกรดซาลิไซลิก)<em> JiOsPR10</em> (ยีนป้องกันตนเองในข้าวที่ตอบสนองต่อกรดจัสโมนิก) และ<em> OsEBP89</em> (ยีนที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนเอทิลีน) ตรวจสอบการแสดงออกของยีนในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และเจ้าหอมนิล ด้วยวิธี quantitative real-time RT-PCR ที่เวลา 24 48 และ 72 ชม. ภายหลังการปลูกเชื้อรา ผลการทดลองพบว่า ยีนทุกชนิดที่ดำเนินการตรวจสอบในงานวิจัยนี้มีการยกระดับการแสดงออกของยีน และยีนส่วนใหญ่พบการแสดงออกในระดับสูงที่เวลา 24-48 ชม. ภายหลังการปลูกเชื้อในพันธุ์ข้าวทั้งสองพันธุ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยีนดังกล่าวมีบทบาทเกี่ยวข้องในการตอบสนองของข้าว ระหว่างการเข้าทำลายของ <em>E. rostratum</em> ทั้งนี้กลไกการต้านทานต่อเชื้อรา <em>E. rostratum</em> ในข้าวอาจไม่ได้ถูกควบคุมผ่านวิถีสัญญาณกรดจัสโมนิกและฮอร์โมนเอทิลีน งานวิจัยนี้ได้นำเสนอข้อมูลชนิดพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพในการต้านทานต่อโรคใบจุดข้าวและข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องกลไกการป้องกันตนเองของข้าวต่อเชื้อรา <em>E. rostratum</em></p>
ญาตวี บุญก่อน, วีระณีย์ ทองศรี, ปัฐวิภา สงกุมาร
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263534
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
วิวัฒนาการของเชื้อ columnea latent viroid (CLVd) ในพืชอาศัย โดยการศึกษา quasi-species population
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263248
<p>ไวรอยด์มีอัตราการกลายพันธุ์สูงและมีการจำลองตัวรวดเร็วมาก ส่งผลให้เกิดการสร้างกลุ่ม variant ของไวรอยด์ที่มีลำดับสารพันธุกรรมคล้ายกันจำนวนมากอยู่ร่วมกันในพืชอาศัยต้นเดียวกัน หรือ quasi-species ส่งผลทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างมหาศาล งานวิจัยนี้ได้ศึกษา quasi-species ของ CLVd ในมะเขือเทศพันธุ์ Rutgers และสีดา50 รวมทั้งมะอึก และมะเขือเปราะ โดยเริ่มจากการสังเคราะห์ infectious dsDNA clone ของ CLVd จาก recombinant plasmid ที่มีชิ้น full-length จีโนมของ CLVd isolate Solanum-1 (JF745632) บรรจุอยู่ จากนั้น ปลูกเชื้อลงบนพืชทดสอบ พบว่า มีเพียงมะเขือเทศพันธุ์ Rutgers เท่านั้นที่ติดเชื้อและแสดงอาการโรค จึงนำมะเขือเทศดังกล่าวมาใช้ปลูกเชื้อให้กับพืชทดสอบชนิดอื่น ๆ หลังจากที่พืชทดสอบทั้งหมดแสดงอาการติดเชื้อแล้ว จึงทำการสกัดอาร์เอ็นเอ RT-PCR และ amplicon library สำหรับการศึกษาประชากรของเชื้อ CLVd ที่แตกต่างกันในพืชทดสอบแต่ละชนิด โดยใช้เทคนิค amplicon sequencing และใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะกับเชื้อ CLVd ที่เชื่อมต่อกับ sample-tagging sequence เพื่อใช้ในการจำแนกชนิด variant ของ CLVd ใน library ผลการศึกษาพบว่า ใน Rutgers ได้ข้อมูลจำนวน CLVd เฉลี่ย 20,237 read ต่อ PCR-replicate โดยพบจำนวน variant ทั้งสิ้น 22 variant และมี single-nucleotide polymorphisms เฉลี่ย 3 ตำแหน่งต่อจีโนม อยู่ในบริเวณ Terminal Right และ Pathogenic domain นอกจากนี้ พบอัตราการกลายพันธุ์เฉลี่ยของ CLVd Solanum-1 ที่ 8.15 X 10-3 ผลจากงานวิจัยนี้เป็นการพิสูจน์การเกิด quasi-species ของ CLVd และพบว่า ชนิดของ dominant variant มีความเกี่ยวข้องกับชนิดพืชอาศัย</p>
ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์, กาญจนา วาระวิชะนี, Annelies Haegeman, Monica Höfte, Kris De Jonghe
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263248
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล SNP เพื่อตรวจประชากรเชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzae สาเหตุโรคขอบใบแห้งของข้าวในประเทศไทยด้วยเทคนิค MassARRAY
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/262677
<p>โรคขอบใบแห้งในข้าวเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย <em>Xanthomonas oryzae</em> pv. <em>oryzae</em> (Xoo) ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม และสามารถปรับตัวให้เข้าทำลายข้าวที่มียีนต้านทานต่อโรคนี้ได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเครื่องมือตรวจวินิจฉัยเชื้อ Xoo แบบ high-throughput multiplex detection ทำให้ทราบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของประชากรเชื้อในแต่ละพื้นที่ และช่วยให้สามารถวางแผนพัฒนาพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล SNP จากข้อมูลกลุ่มยีน housekeeping genes จากเชื้อ Xoo จำนวน 50 สายพันธุ์ ที่สำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2561 จากพื้นที่ปลูกข้าว 14 จังหวัดของประเทศไทย เพื่อตรวจติดตามประชากรเชื้อ Xoo ด้วยเทคโนโลยีของ MassARRAY งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล Xoo-SNPs MassARRAY based จำนวน 9 ตำแหน่ง ที่ออกแบบจาก housekeeping genes จำนวน 8 ยีน ได้แก่ <em>DnaK gluS leuA pyk pyrH RecA rpoB</em> และ<em> tpiA</em> ที่สามารถตรวจประชากรเชื้อ Xoo จำนวน 50 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ 33 races ที่พบระบาดในประเทศไทยได้สำเร็จ ภายใน 2 วัน โดยไม่นับรวมขั้นตอนการเตรียมดีเอ็นเอของเชื้อ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้มากถึง 45 ตัวอย่าง/วัน นอกจากนี้ยังพบว่า เครื่องหมายโมเลกุล Xoo-SNPs MassARRAY based ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ตรวจแยกกลุ่มเชื้อที่ทำลายหรือไม่ทำลายข้าวที่มียีนต้านทาน xa5 และเครื่องหมายโมเลกุลที่จำเพาะกับแหล่งที่มาของเชื้อใน จ.นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สุโขทัย และเชียงราย อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ของเครื่องหมายโมเลกุล Xoo-SNPs MassARRAY based ที่ออกแบบจาก housekeeping genes กับชนิดของ race หรือลักษณะความรุนแรงของโรค</p> <p><strong> </strong></p>
ลูกศร ทุมอะริยะ, ธิติมา จินตกานนท์, วินิตชาญ รื่นใจชน, สุจินต์ ภัทรภูวดล
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/262677
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
คุณลักษณะสีและกลิ่นของทุเรียนพื้นบ้านจังหวัดสงขลา
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/261180
<p>ข้อมูลด้านสีและกลิ่นของทุเรียนพื้นบ้านในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของกลุ่มทุเรียนพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สุปนาแสน พิกุลกลิ่น ไอ้เหลือง เล็บเหยี่ยว มุกตาอ่ำ นมสาว และนมสด ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลในการส่งเสริมและคัดเลือกพันธุ์ในอนาคต โดยนำเนื้อทุเรียนพื้นบ้านทั้ง 7 พันธุ์มาตรวจวัดค่าสีด้วยเครื่องวัดสี ตรวจองค์ประกอบธาตุอินทรีย์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ CHNS/O และตรวจชนิดสารอินทรีย์ให้กลิ่นโดยการสกัดด้วยเทคนิค HS-SPME แล้วตรวจวัดด้วยเครื่อง GC-MS ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า ค่าดัชนีความเหลืองสามารถบอกความแตกต่างของทุเรียนแต่ละพันธุ์ในเบื้องต้นได้ดีและรวดเร็ว ปริมาณร้อยละโดยน้ำหนักของธาตุ พบว่า พันธุ์สุปนาแสนมีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนสูงสุด 44.42±0.20 และ 7.04±0.04% ตามลำดับ พันธุ์นมสาวมีปริมาณไนโตรเจน และซัลเฟอร์สูงสุด 1.49±0.02 และ 0.11±0.01% ตามลำดับ พันธุ์ไอ้เหลืองมีปริมาณออกซิเจนสูงสุด 48.12±0.22% ส่วนชนิดสารอินทรีย์ระเหยง่ายซึ่งแสดงลักษณะกลิ่น พบว่า มีความแตกต่างกันตามพันธุ์ทุเรียนระหว่าง 52-74 ชนิด จำแนกได้ 18 หมู่ฟังก์ชัน โดยสารอินทรีย์ระเหยง่ายบางหมู่ฟังก์ชันจำเพาะกับทุเรียนบางพันธุ์เท่านั้น ได้แก่ แอลดีไฮด์พบเฉพาะพันธุ์ไอ้เหลือง แอซีนพบเฉพาะพันธุ์มุกตาอ่ำ ไดอีนพบในพันธุ์สุปนาแสน และพันธุ์เล็บเหยี่ยว อีเทอร์พบในพันธุ์นมสาว และพันธุ์นมสด ออกซาโซลพบในพันธุ์มุกตาอ่ำ และพันธุ์นมสาว ไทอะโซลพบในพันธุ์ไอ้เหลือง และพันธุ์เล็บเหยี่ยว พบไพราซีนแต่ไม่พบกำมะถันในพันธุ์พิกุลกลิ่น กรดคาร์บอกซิลิกไม่พบในพันธุ์เล็บเหยี่ยว และเทอร์ปีนไม่พบในพันธุ์สุปนาแสน และพันธุ์นมสาว โดยเอสเตอร์และซัลไฟด์เป็นหมู่ฟังก์ชันหลักที่ให้กลิ่นในทุเรียนทุกพันธุ์แต่มีปริมาณแตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่งเสริมและคัดเลือกพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านที่มีสีและกลิ่นเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคต่อไป</p>
รุสนี กุลวิจิตร, พจชนาถ พัทบุรี, พิสมัย ปิ่นศรีทอง, ทรงสุดา พรหมทอง, วชิราภรณ์ ปิสิตโร, ศักดิ์ชัยบดี ปิ่นศรีทอง
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/261180
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ผลของวัสดุห่อผลต่อผลผลิตและคุณภาพอินทผลัมพันธุ์บาร์ฮี
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/262532
<p>การห่อช่อผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มคุณภาพผลผลิตอินทผลัม จึงทำการทดลองศึกษาวัสดุห่อผลต่อผลผลิตและคุณภาพอินทผลัมพันธุ์บาร์ฮี ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย ดำเนินการในแปลงเกษตรกรที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2566 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ได้แก่ 1) ไม่ห่อผล 2) ถุงพลาสติกใส 3) ถุงพลาสติกสีฟ้า และ 4) ถุงกระดาษสีน้ำตาล โดยห่อช่อผลหลังจากแต่งช่อผลเมื่ออายุ 2 เดือนหลังผสมเกสร บันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและคุณภาพผล พบว่า การใช้ถุงพลาสติกสีฟ้า ถุงกระดาษสีน้ำตาล และถุงพลาสติกใสห่อช่อผลอินทผลัม ทำให้มีขนาดของผลใหญ่ขึ้น โดยมีน้ำหนักผล 14.03-15.49 ก. ความยาวเมล็ด 22.04-22.19 มม. น้ำหนักเมล็ด 1.30-1.35 ก. น้ำหนักช่อผล 7.45-8.72 กก. จำนวนผล 561.5-676.5 ผล/ช่อ และน้ำหนักเนื้อผล 12.70-14.14 ก. ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการไม่ห่อที่มีน้ำหนักผลเพียง 11.97 ก. ความยาวเมล็ด 20.45 มม. น้ำหนักเมล็ด 1.21 ก. น้ำหนักช่อผล 1.10 กก. จำนวนผล 74.33 ผล/ช่อ และน้ำหนักเนื้อผล 10.76 ก. และลดความเสียหายจากโรค แมลง ผลแตก และนกได้ใกล้เคียงกัน แต่ดีกว่าการไม่ห่อผล นอกจากนี้ถุงพลาสติกสีฟ้า และถุงกระดาษสีน้ำตาลสามารถพัฒนาสีผิวผลเป็นสีเหลืองเข้มสม่ำเสมอทั่วทั้งช่อผล และยืดอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีกว่าการห่อช่อผลด้วยถุงพลาสติกใส และการไม่ห่อผล การห่อผลและไม่ห่อผลทำให้ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ และสีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลไม่แตกต่างกัน ผลการทดลองในภาพรวมแสดงให้เห็นว่า ถุงพลาสติกสีฟ้ามีความเหมาะสมในการห่อผลอินทผลัมพันธุ์บาร์ฮีมากที่สุด เนื่องจากสามารถเพิ่มคุณภาพผล ลดความเสียหายของผลผลิต ยืดอายุการเก็บเกี่ยว และมีต้นทุนต่ำกว่าถุงชนิดอื่น</p>
สุมิตร วิลัยพร, ศิรกานต์ ศรีธัญรัตน์, ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/262532
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การเปรียบเทียบผลผลิตกล้วยไข่สายพันธุ์กลายจากการฉายรังสีแกมมา
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263908
<p>การปลูกกล้วยไข่พันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่เป็นวิธีการหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ จึงทำการเปรียบเทียบกล้วยไข่สายพันธุ์กลายจากการฉายรังสีเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตสูงและคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิตเชิงการค้า ดำเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อ.สิเกา จ.ตรัง ระหว่างเดือน ต.ค. 2561 – ก.ย. 2563 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ มี 6 กรรมวิธี คือ กล้วยไข่สายพันธุ์ KM8-22 KM9-20 KM22-5 KM22-27 KM30-11 และกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชร (พันธุ์การค้า) พบว่า สายพันธุ์ KM22-27 KM30-11 และพันธุ์กำแพงเพชร ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน โดยให้น้ำหนักผลผลิตในปีแรก ปีที่สอง และเฉลี่ยสองปี ระหว่าง 3,909-4,180 3,989-4,248 และ 3,980-4,149 กก./ไร่ ตามลำดับ ด้านคุณภาพ พบว่า สายพันธุ์ KM22-27 และ KM30-11 มีรสเปรี้ยวน้อยกว่าพันธุ์กำแพงเพชรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้สายพันธุ์ KM22-27 และ KM30-11 มีองค์ประกอบของผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักเครือ น้ำหนักหวี น้ำหนักผล และความยาวของผลไม่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์กำแพงเพชร ดังนั้น กล้วยไข่สายพันธุ์ KM22-27 และ KM30-11 จึงเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพสำหรับการผลิตเชิงการค้าในเขต จ.ตรัง และเขตภาคใต้ในอนาคต</p>
ปิยะนุช มุสิกพงศ์; ชญานุช ตรีพันธ์, สุมาลี ศรีแก้ว, ศุภลักษณ์ อริยภูชัย , อรรถพล รุกขพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263908
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
Comparison of Bunch Yield of Five Hybrids and Two Commercial Tenera Oil Palms in the Young Mature Phase
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263575
<p>The young mature phase is a pivotal period for small oil palm plantations, as bunch harvesting takes about 2-3 years. Our study aimed to evaluate the bunch yields of five hybrids (H1–H5) and two commercial Tenera oil palms during this crucial phase. The assessment, conducted over four consecutive years from 2012 to 2015 at the Hong Sila Agriculture and Industry Company Limited, Krabi, Thailand, revealed some intriguing findings using a randomized complete block design with four replicates spaced 9 meters in a triangular pattern. H3 emerged as the best Tenera, delivering the highest fresh fruit bunch (FFB, 243.90 kg/palm/year) over other hybrids and two commercial varieties. H4 demonstrated the highest bunch number (BNO, 26.04 bunches/palm/year) and the lowest average bunch weight (ABW, 8.17 kg/bunch) in the young mature phase. The H3 and H5 were high FFB over checks varieties followed by year. This information was essential in selecting oil palm parents, which had high potential for crossing to produce new hybrids and recognize to choose for their genetics to improve oil palm variety. These findings highlighted the potential benefits of understanding the impact of genetics on the parents of oil palm to produce Tenera.</p>
Suteera Thawornrat, Puntaree Taeprayoon, Kittichai Kor-Or, Somkid Damnoi, Surakitti Srikul, Peerasak Srinives, Anek Limsrivilai, Patcharin Tanya
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการเกษตร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/263575
Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700