https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/issue/feed วารสารวนศาสตร์ไทย 2024-11-08T16:00:02+07:00 Assoc. Prof. Dr.Sapit Diloksumpun sapit.d@ku.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวนศาสตร์ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารวนศาสตร์ไทย ในปี พ.ศ.2563 ISSN : 2822-115X (Online) ภายใต้การดำเนินงานของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านวนศาสตร์ เช่น นิเวศวิทยาป่าไม้ การจัดการป่าไม้ เศรษฐศาสตร์ป่าไม้ วนวัฒนวิทยา การจัดการลุ่มน้ำ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชพรรณและสัตว์ป่า เป็นต้น จากนักวิจัยไทยทั่วประเทศ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาผลงาน อย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน และมีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ เดือนมกราคม-มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262418 A Simulated Comparisons of Thinning Effects Using SIBYLA Program 2024-03-22T14:33:22+07:00 สุรพิชญ์ หอมนาน surapit.h@ku.th นพรัตน์ คัคคุริวาระ ffornrm@ku.ac.th <p>Thinning effects comparisons were undertaken based on two selective thinning options-thinning from below (TB) and thinning from above (TA)-and no thinning (NT). Growth and tree characteristics were investigated using the SIBYLA growth simulation program (originally designed for Czech forests) that was adapted to simulate the growth characteristics of tree species available in Thailand. Specifically, <em>Carpinus viminea</em> (Betulaceae) was chosen as a representative Thai species. The study investigated the effects of TB, TA, and NT on tree productivity (mean height, mean diameter, volume per stem, volume per hectare), biomass, and biodiversity. Pairwise comparisons and statistical analysis were applied. Based on the results, TB could increase the growth potential of trees after thinning more than TA and NT. Although there were similar results for TB and TA in each period, the TB data were slightly higher. However, TA and TB were not significantly different in productivity yields (<em>p</em>&gt;0.05). Therefore, both TA and TB would be effective in increase production yields.</p> <p>Based on the study, selective thinning model of growth using the SIBYLA program substantially reduced the computational and practical workload. This opens possibilities for further exploration of thinning algorithms and their integration into the SIBYLA program, for application in forestry simulations or the management of Thailand’s diverse plantation forests.</p> 2024-11-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261391 การกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน จังหวัดตรัง 2024-01-04T08:29:21+07:00 อมรรัตน์ แคล้วศึก amorrat20@gmail.com ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล fforlwr@ku.ac.th วันชัย อรุณประภารัตน์ fforwca@ku.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน จังหวัดตรัง ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2565 โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 7 และ 8 ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน โดยใช้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายปัจจัย (MCDA) ในการจัดความสำคัญของปัจจัย จากนั้นจึงนำปัจจัยเหล่านี้ไปกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนมากที่สุด คือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดชัน ความหนาแน่นของประชากร ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน และชุดดิน โดยมีค่าน้ำหนัก 0.35, 0.26, 0.18, 0.11, 0.06, 0.03 และ 0.01 ตามลำดับ ความเสี่ยงต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนจำแนกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงมาก เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงน้อย และไม่เสี่ยง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 21.91, 70.65, 5.87 และ 1.57 ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนของจังหวัดตรังได้</p> 2024-11-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/263383 การปรับปรุงคุณสมบัติการดูดซับของไบโอชาร์จากกะลามะพร้าวด้วยวิธีอาร์กอน นอนเทอร์มอลพลาสมาความดันบรรยากาศและอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูง 2024-06-12T10:50:44+07:00 จิรพงศ์ ศรศักดานุภาพ jirapong.academic@gmail.com ชัยธัช ฉ่ำเฉลิม chaithatc.44@gmail.com ขวัญจรัส เชิงปัญญา khuanjarat@mju.ac.th ธัญญรัตน์ เชื้อสะอาด tchuesaard@gmail.com ธิติ วานิชดิลกรัตน์ thiti_jk@hotmail.com ประดุง สวนพุฒ suanpoot@gmail.com <p>ถ่านไบโอชาร์แบบเกล็ดจากเศษกะลามะพร้าวถูกผลิตขึ้นโดยใช้เตาเหล็กหุ้มฉนวนความร้อนขนาด 50 ลิตร ในงานวิจัยนี้ใช้วิธีอาร์กอนนอนเทอร์มอลพลาสมาความดันบรรยากาศและการอบด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดูดซับไอโอดีน การทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ ถ่านจากการทดลองควบคุม ถ่านปรับสภาพด้วยพลาสมา 1 ชั่วโมง ถ่านอบด้วยไอน้ำ 700 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง และถ่านอบด้วยไอน้ำ 700 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาทีตามด้วยการปรับสภาพด้วยพลาสมา 30 นาที เพื่อประเมินการดูดซับไอโอดีน ถ่านปริมาณ 2 กรัม ถูกนำมาปั่นเหวี่ยงกับสารละลายไอโอดีนทดสอบเข้มข้น 0.0048 โมลาร์ ปริมาตร 25 มิลลิลิตร เป็นเวลา 3 นาที ด้วยเครื่องกวนสารด้วยแม่เหล็ก จากนั้นนำสารละลายไอโอดีนไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 350 นาโนเมตร จากการทดลองพบว่าถ่านไบโอชาร์อบไอน้ำอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียสมีประสิทธิภาพในการดูดซับไอโอดีนเพิ่มขึ้นเป็น 3.9 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองควบคุม และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 14.38±0.13 มิลลิกรัมต่อกรัม ในทางตรงกันข้าม ถ่านไบโอชาร์ปรับสภาพด้วยพลาสมามีประสิทธิภาพในการดูดซับไอโอดีนลดลงเป็น 0.6 เท่า<br />เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองควบคุม และมีค่าต่ำสุดเท่ากับ 2.24±1.20 มิลลิกรัมต่อกรัม</p> 2024-11-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/263050 การใช้แบบจำลอง CA-Markov ร่วมกับข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 8 สำหรับการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย 2024-06-05T08:34:49+07:00 วีระภาส คุณรัตนสิริ fforwpk@ku.ac.th สุณิสา กลายเจริญ sunisa.klay@ku.th สันติ สุขสอาด fforsss@ku.ac.th <p>การนำเทคโนโลยีด้านการรับรู้ระยะไกลมาใช้สำหรับการตรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวางแผนการจัดการพื้นที่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 25582562 และ 2566 จากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 8 และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2558-2562 และ 2562-2566 และคาดการณ์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2566 และ 2570 จากการใช้แบบจำลอง CA-Markov บริเวณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและมรดกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย โดยแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่เบ็ดเตล็ด ด้วยเทคนิคการตีความด้วยสายตา (visual interpretation technique)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การแปลตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยสายตาในปี พ.ศ. 2558 2562 และ 2566 มีค่าร้อยละความถูกต้องโดยรวม เท่ากับ 94.59 97.30 และ 97.30 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ 0.92 0.96 และ 0.96 ตามลำดับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2562 พบพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่ลดลงมากที่สุด จำนวน 939.03 เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวน 966.99 เฮกตาร์ และในช่วงปี พ.ศ. 2562-2566 พบพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่ลดลงมากที่สุด จำนวน 75.96 เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวน 79.03 เฮกตาร์ และผลการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2566 พบว่า แบบจำลอง CA-Markov มีค่าร้อยละความถูกต้องโดยรวม เท่ากับ 91.89 มีค่าสัมประสิทธิ์แคปปาเท่ากับ 0.89 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2570 พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เบ็ดเตล็ดและพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-11-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262376 การเปรียบเทียบวิธีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประเทศไทย 2024-04-02T16:27:47+07:00 วีระภาส คุณรัตนสิริ fforwpk@ku.ac.th จุฑามาศ ศรีคงรักษ์ jutamad.sr@ku.th สันติ สุขสอาด fforsss@ku.ac.th วิษณุ ดำรงสัจจ์ศิริ vdomrong@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 ระบบบันทึกข้อมูล OLI-2 ความละเอียดจุดภาพ 30 เมตร ด้วยวิธีการแปลตีความข้อมูลภาพดาวเทียมด้วยสายตา การจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับดูแลด้วยวิธี maximum likelihood และเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Random forest บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ภายใต้การแบ่งกลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เบ็ดเตล็ด โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการสรุปผลความแตกต่างของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละวิธี</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีพื้นที่ 13,343.03 ตารางกิโลเมตร เมื่อใช้วิธีการแปลตีความข้อมูลภาพดาวเทียมด้วยสายตาจากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 พบว่า มีค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 97.30 รองลงมาได้แก่ เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Random forest และแบบกำกับดูแลด้วยวิธี maximum likelihood โดยมีค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 67.57 และ 64.86 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการแปลตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 ด้วยสายตา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องโดยรวมสูงที่สุด กับผลลัพธ์ที่ได้จากการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินอีกสองวิธี โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Random forest มีผลลัพธ์ความถูกต้องในการจำแนกประเภทข้อมูลทั้ง 5 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน เท่ากับ 8,441.25 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63.26 ของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีผลลัพธ์ความถูกต้องสูงกว่าแบบกำกับดูแลด้วยวิธี maximum likelihood</p> 2024-11-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย