วารสารวนศาสตร์ไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf <p>วารสารวนศาสตร์ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารวนศาสตร์ไทย ในปี พ.ศ.2563 ISSN : 2822-115X (Online) ภายใต้การดำเนินงานของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านวนศาสตร์ เช่น นิเวศวิทยาป่าไม้ การจัดการป่าไม้ เศรษฐศาสตร์ป่าไม้ วนวัฒนวิทยา การจัดการลุ่มน้ำ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชพรรณและสัตว์ป่า เป็นต้น จากนักวิจัยไทยทั่วประเทศ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาผลงาน อย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน และมีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ เดือนมกราคม-มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ th-TH วารสารวนศาสตร์ไทย 2730-2180 <p>ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”</p> A Simulated Comparisons of Thinning Effects Using SIBYLA Program https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262418 <p>Thinning effects comparisons were undertaken based on two selective thinning options-thinning from below (TB) and thinning from above (TA)-and no thinning (NT). Growth and tree characteristics were investigated using the SIBYLA growth simulation program (originally designed for Czech forests) that was adapted to simulate the growth characteristics of tree species available in Thailand. Specifically, <em>Carpinus viminea</em> (Betulaceae) was chosen as a representative Thai species. The study investigated the effects of TB, TA, and NT on tree productivity (mean height, mean diameter, volume per stem, volume per hectare), biomass, and biodiversity. Pairwise comparisons and statistical analysis were applied. Based on the results, TB could increase the growth potential of trees after thinning more than TA and NT. Although there were similar results for TB and TA in each period, the TB data were slightly higher. However, TA and TB were not significantly different in productivity yields (<em>p</em>&gt;0.05). Therefore, both TA and TB would be effective in increase production yields.</p> <p>Based on the study, selective thinning model of growth using the SIBYLA program substantially reduced the computational and practical workload. This opens possibilities for further exploration of thinning algorithms and their integration into the SIBYLA program, for application in forestry simulations or the management of Thailand’s diverse plantation forests.</p> สุรพิชญ์ หอมนาน นพรัตน์ คัคคุริวาระ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-08 2024-11-08 43 2 1 9 การกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน จังหวัดตรัง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261391 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน จังหวัดตรัง ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2565 โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 7 และ 8 ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน โดยใช้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายปัจจัย (MCDA) ในการจัดความสำคัญของปัจจัย จากนั้นจึงนำปัจจัยเหล่านี้ไปกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนมากที่สุด คือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดชัน ความหนาแน่นของประชากร ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน และชุดดิน โดยมีค่าน้ำหนัก 0.35, 0.26, 0.18, 0.11, 0.06, 0.03 และ 0.01 ตามลำดับ ความเสี่ยงต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนจำแนกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงมาก เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงน้อย และไม่เสี่ยง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 21.91, 70.65, 5.87 และ 1.57 ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนของจังหวัดตรังได้</p> อมรรัตน์ แคล้วศึก ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล วันชัย อรุณประภารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-08 2024-11-08 43 2 10 24 การปรับปรุงคุณสมบัติการดูดซับของไบโอชาร์จากกะลามะพร้าวด้วยวิธีอาร์กอน นอนเทอร์มอลพลาสมาความดันบรรยากาศและอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/263383 <p>ถ่านไบโอชาร์แบบเกล็ดจากเศษกะลามะพร้าวถูกผลิตขึ้นโดยใช้เตาเหล็กหุ้มฉนวนความร้อนขนาด 50 ลิตร ในงานวิจัยนี้ใช้วิธีอาร์กอนนอนเทอร์มอลพลาสมาความดันบรรยากาศและการอบด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดูดซับไอโอดีน การทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ ถ่านจากการทดลองควบคุม ถ่านปรับสภาพด้วยพลาสมา 1 ชั่วโมง ถ่านอบด้วยไอน้ำ 700 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง และถ่านอบด้วยไอน้ำ 700 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาทีตามด้วยการปรับสภาพด้วยพลาสมา 30 นาที เพื่อประเมินการดูดซับไอโอดีน ถ่านปริมาณ 2 กรัม ถูกนำมาปั่นเหวี่ยงกับสารละลายไอโอดีนทดสอบเข้มข้น 0.0048 โมลาร์ ปริมาตร 25 มิลลิลิตร เป็นเวลา 3 นาที ด้วยเครื่องกวนสารด้วยแม่เหล็ก จากนั้นนำสารละลายไอโอดีนไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 350 นาโนเมตร จากการทดลองพบว่าถ่านไบโอชาร์อบไอน้ำอุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียสมีประสิทธิภาพในการดูดซับไอโอดีนเพิ่มขึ้นเป็น 3.9 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองควบคุม และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 14.38±0.13 มิลลิกรัมต่อกรัม ในทางตรงกันข้าม ถ่านไบโอชาร์ปรับสภาพด้วยพลาสมามีประสิทธิภาพในการดูดซับไอโอดีนลดลงเป็น 0.6 เท่า<br />เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองควบคุม และมีค่าต่ำสุดเท่ากับ 2.24±1.20 มิลลิกรัมต่อกรัม</p> จิรพงศ์ ศรศักดานุภาพ ชัยธัช ฉ่ำเฉลิม ขวัญจรัส เชิงปัญญา ธัญญรัตน์ เชื้อสะอาด ธิติ วานิชดิลกรัตน์ ประดุง สวนพุฒ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-08 2024-11-08 43 2 25 36 การใช้แบบจำลอง CA-Markov ร่วมกับข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 8 สำหรับการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/263050 <p>การนำเทคโนโลยีด้านการรับรู้ระยะไกลมาใช้สำหรับการตรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวางแผนการจัดการพื้นที่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 25582562 และ 2566 จากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 8 และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2558-2562 และ 2562-2566 และคาดการณ์รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2566 และ 2570 จากการใช้แบบจำลอง CA-Markov บริเวณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและมรดกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย โดยแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่เบ็ดเตล็ด ด้วยเทคนิคการตีความด้วยสายตา (visual interpretation technique)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การแปลตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยสายตาในปี พ.ศ. 2558 2562 และ 2566 มีค่าร้อยละความถูกต้องโดยรวม เท่ากับ 94.59 97.30 และ 97.30 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา เท่ากับ 0.92 0.96 และ 0.96 ตามลำดับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2562 พบพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่ลดลงมากที่สุด จำนวน 939.03 เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวน 966.99 เฮกตาร์ และในช่วงปี พ.ศ. 2562-2566 พบพื้นที่ป่าไม้มีพื้นที่ลดลงมากที่สุด จำนวน 75.96 เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวน 79.03 เฮกตาร์ และผลการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2566 พบว่า แบบจำลอง CA-Markov มีค่าร้อยละความถูกต้องโดยรวม เท่ากับ 91.89 มีค่าสัมประสิทธิ์แคปปาเท่ากับ 0.89 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2570 พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เบ็ดเตล็ดและพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง</p> วีระภาส คุณรัตนสิริ สุณิสา กลายเจริญ สันติ สุขสอาด Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-08 2024-11-08 43 2 37 50 การเปรียบเทียบวิธีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประเทศไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262376 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 ระบบบันทึกข้อมูล OLI-2 ความละเอียดจุดภาพ 30 เมตร ด้วยวิธีการแปลตีความข้อมูลภาพดาวเทียมด้วยสายตา การจำแนกประเภทข้อมูลแบบกำกับดูแลด้วยวิธี maximum likelihood และเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Random forest บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ภายใต้การแบ่งกลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่เบ็ดเตล็ด โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการสรุปผลความแตกต่างของการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละวิธี</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีพื้นที่ 13,343.03 ตารางกิโลเมตร เมื่อใช้วิธีการแปลตีความข้อมูลภาพดาวเทียมด้วยสายตาจากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 พบว่า มีค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 97.30 รองลงมาได้แก่ เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Random forest และแบบกำกับดูแลด้วยวิธี maximum likelihood โดยมีค่าความถูกต้องโดยรวมร้อยละ 67.57 และ 64.86 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการแปลตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat 9 ด้วยสายตา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องโดยรวมสูงที่สุด กับผลลัพธ์ที่ได้จากการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินอีกสองวิธี โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบ Random forest มีผลลัพธ์ความถูกต้องในการจำแนกประเภทข้อมูลทั้ง 5 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน เท่ากับ 8,441.25 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 63.26 ของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีผลลัพธ์ความถูกต้องสูงกว่าแบบกำกับดูแลด้วยวิธี maximum likelihood</p> วีระภาส คุณรัตนสิริ จุฑามาศ ศรีคงรักษ์ สันติ สุขสอาด วิษณุ ดำรงสัจจ์ศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-08 2024-11-08 43 2 51 61 การพัฒนาระบบเก็บข้อมูลพรรณไม้เพื่อการจัดการพื้นที่สีเขียว และการอนุรักษ์รุกขมรดกในพื้นที่เขตพระนคร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262633 <p>วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดเก็บฐานข้อมูลพรรณไม้ในเขตพระนคร 2) จัดเก็บฐานข้อมูลพรรณไม้ในเขตพระนคร 3) หาแนวทางอนุรักษ์รุกขมรดกและการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตพระนคร ผลการวิจัยพบว่า ระบบเก็บข้อมูลพรรณไม้พัฒนาผ่านโปรแกรมประยุกต์ Google Form และส่วนต่อประสานบน Google Sheet สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนที่ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข และตรวจสอบการแสดงผลข้อมูลและบริหารจัดการกับข้อมูลพรรณไม้ได้ง่าย ผลการจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ในถนน 9 สาย พบว่ามีต้นไม้จำนวน 1,243 ต้น พรรณไม้ที่พบ 17 ชนิด ชนิดที่พบ 5 อันดับแรก คือ ประดู่ มะขาม อินทนิล ชมพูพันธ์ทิพย์ และ พิกุล ถนนที่มีจำนวนต้นไม้มากที่สุดคือ ถนนราชดำเนิน 710 ต้น (ร้อยละ 57.21) รองลงมาคือ กรุงเกษม 125 ต้น (ร้อยละ 10.06) พระอาทิตย์ 116 ต้น (ร้อยละ 9.33) ประชาธิปไตย 97 ต้น (ร้อยละ 7.80) พระสุเมรุ 2 ต้น (ร้อยละ 4.18) พระจันทร์ 42 ต้น (ร้อยละ 3.38) ตะนาว 39 ต้น (ร้อยละ 3.14) สามเสน 37 ต้น (ร้อยละ 2.98) และ เฟื่องนคร 25 ต้น (ร้อยละ 2.01) ผลการคัดเลือกรุกขมรดก ได้แก่ ต้นตะเคียน ริมคลองหลอด หลังวัดพระราชบพิธฯ และต้นโพธิ์อายุกว่า 200 ปี ภายในวัดชนะสงคราม เป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และแนวทางในการจัดการพื้นที่สีเขียว คือ การสำรวจความปลอดภัยของต้นไม้ การปรับปรุงภูมิทัศน์ การจัดทำรหัสประจำต้นไม้ การมีเครือข่ายออนไลน์เพื่อแจ้งข่าวสารให้แก่ชุมชนข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรมีจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ให้เป็นระบบและทันสมัย และควรขยายพื้นที่ในการศึกษาในถนนของเขตพระนครทั้ง 36 เส้น และการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวรุกขมรดกเพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้ความเป็นมาและเห็นในคุณค่าของต้นไม้</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> เอกชัย พุมดวง ยุสนีย์ โสมทัศน์ จิตชิน จิตติสุขพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 62 73 การประยุกต์การรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาการบุกรุกพื้นที่ป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262226 <p>ปัญหาความขัดแย้งการใช้ที่ดินของชุมชนโดยรอบป่าอนุรักษ์ นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากการบุกรุกและการถือครองที่ดินโดยผิดกฎหมายในปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็นประสบปัญหาการบุกรุกและลักลอบเข้าถือครองที่ดินดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ ค.ศ. 2006 ถึงปัจจุบัน มีคดีบุกรุกรวมทั้งสิ้น 895 คดี จำนวน 1,226.39 เฮกตาร์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่าง ปี ค.ศ. 2002 2014 และ 2022 และศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่างปี ค.ศ. 2002–2022 โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศออร์โธสีเชิงเลข โครงการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดาวเทียม Landsat 8 OLI ร่วมกับการใช้เทคนิคการแปลตีความด้วยสายตาเพื่อศึกษาร่องรอยการบุกรุกพื้นที่ป่า บริเวณอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น จังหวัดสุราษฎร์ธานี</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี ค.ศ. 2002 2014 และ 2022 มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด ร้อยละ 83.79 80.89 และ 80.69 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระหว่าง ค.ศ. 2002–2014 และค.ศ. 2014–2022 พบว่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่แหล่งน้ำ มีการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ร้อยละ 17.68 19.11 และ 19.11 ตามลำดับ และช่วง ค.ศ. 2014–2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 0.34 และ 0.34 ตามลำดับ ในทางกลับกัน พื้นที่ป่า และพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีจำนวนพื้นที่ลดลง ร้อยละ 3.35 และ 56.72 ตามลำดับ และระหว่าง ค.ศ. 2014–2022 ลดลง ร้อยละ 0.36 และ 3.43 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาร่องร่อยการบุกพื้นที่ป่าไม้ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2002–2014 มีการบุกรุก จำนวน 739.71 เฮกตาร์ <br />ค.ศ. 2014–2022 มีการบุกรุก จำนวน 951.22 เฮกตาร์ ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่การตรวจสอบ ติดตามร่องรอยการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต่อไป</p> ศุภาวรรณ อุดมสิน อสมาภรณ์ สิทธิ วีระภาส คุณรัตนสิริ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 74 85 การประยุกต์ภูมิสารสนเทศในการคาดการณ์การกักเก็บคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของป่าไม้ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262483 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยแบบจำลอง Land Change Modeler ร่วมกับข้อมูลปัจจัยขับเคลื่อน และคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยแบบจำลอง Ecosystem Services Modeler ร่วมกับข้อมูลสำรวจแจงนับทรัพยากรป่าไม้ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว โดยจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2548 2553 และ 2558 จากภาพดาวเทียม LANDSAT ด้วยการแปลตีความด้วยสายตา</p> <p>ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2553 พื้นที่เกษตรกรรม ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง แหล่งน้ำ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น และพื้นที่ป่าดิบแล้ง เบ็ดเตล็ด ป่าผสมผลัดใบ มีพื้นที่ลดลง ในขณะที่ระหว่าง ปี พ.ศ. 2553–2558 พื้นที่ป่าดิบแล้ง เกษตรกรรม ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง แหล่งน้ำ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ป่าผสมผลัดใบ มีพื้นที่ลดลง สำหรับการประเมินความความถูกต้องรวมและค่าความสอดคล้องจากการจำแนกการแปลตีความการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2558 มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 89.47 และ 92.57 ตามลำดับ ผลจากการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2568 พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2558–2568 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง เกษตรกรรม แหล่งน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 171.56 107.77 และ 7.75 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 29.88 18.77 และ 1.35 ของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตามลำดับ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง มีแนวโน้มลดลง 130.56 79.65 และ 76.86 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 22.74 13.87 และ 13.39 ของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตามลำดับ และผลจากการคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ. 2568 มีค่าเท่ากับ 6,320 ตัน โดยมาตรการที่สามารถลดดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ ได้แก่ การลดการทำลายป่าไม้ และการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถูกทำลาย เป็นต้น</p> คมชาญ จู้ทิ่น วันชัย อรุณประภารัตน์ นพรัตน์ คัคคุริวาระ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 86 101 การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติ ภูพึง-ภูผาทูน และตาดกวางชี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262985 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ ในบริเวณป่าป้องกันแห่งชาติ ภูพึง-ภูผาทูนและตาดกวางชี ในปี พ.ศ. 2558-2566 และเพื่อใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเมินหาพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เส้นทางคมนาคม พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่แหล่งน้ำ โดยใช้วิธีการแปลตีความด้วยสายตาและวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์</p> <p>ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2558–2566 พบว่า พื้นที่ป่าไม้ลดลงมากที่สุด จำนวน 2,965.81 เฮกตาร์ ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดจำนวน 2,959.10 เฮกตาร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด คือ รายได้เฉลี่ยรายหมู่บ้านต่อปี มีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.32 รองลงมาคือ จำนวนประชากรรายหมู่บ้าน ระยะห่างจากชุมชน ระยะห่างจากเส้นทางคมมนาคม ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ร้อยละความลาดชันของพื้นที่และความสูงจากน้ำทะเล ซึ่งมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 0.23 0.15 0.12 0.10 0.05 และ 0.03 ตามลำดับ แบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ไม่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการบุกรุกต่ำมาก ความเสี่ยงต่อการบุกรุกต่ำ ความเสี่ยงต่อการบุกรุกปานกลาง ความเสี่ยงต่อการบุกรุกสูงและความเสี่ยงต่อการบุกรุกสูงมาก มีคิดเป็นร้อยละเท่ากับ 0.00 16.63 22.49 16.34 26.68 และ 17.86 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่าไม้มีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกสูง ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการวางแผนป้องกันพื้นที่เสี่ยงได้</p> วีระภาส คุณรัตนสิริ ห่อ มะนีทอง ปัสสี ประสมสินธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 102 113 ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของผู้มาเยือนต่อกฎระเบียบ การใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260881 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มาเยือนต่อกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองต่อกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติโดยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นตัวแทนอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า–หมู่เกาะเสม็ด เป็นตัวแทนอุทยานแห่งชาติทางทะเล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มาเยือน จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยกำหนดตัวแปรตามทั้งหมด 8 ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ในการมาเยือน กิจกรรมที่ประกอบจริงในพื้นที่ การพักค้าง แรงจูงใจด้านการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง แรงจูงใจด้านความต้องการส่วนบุคคล แรงจูงใจด้านการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติและได้ใช้เวลากับคนใกล้ชิด ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้มาเยือนส่วนมากเลือกการประกอบกิจกรรมชมวิวทิวทัศน์ มีแรงจูงใจในการมาเยือนอุทยานแห่งชาติที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การได้ผ่อนคลายจากความเครียด มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ และมีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในระดับมาก แต่ผู้มาเยือนบางส่วนไม่ทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบที่ประกาศใช้ใหม่ อย่างไรก็ดีความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมของกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของผู้มาเยือนต่อกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ ในเชิงบวก คือ ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Beta = 0.480; t = 9.806; <em>p</em> &lt; 0.001) และแรงจูงใจด้านความต้องการส่วนบุคคล (Beta = 0.146; t = 2.777; <em>p</em> = 0.006) แต่ปัจจัยที่มีผลในเชิงลบ คือ กิจกรรมที่ประกอบจริงในพื้นที่ (Beta = -0.128; t = -2.663; <em>p</em> = 0.008) และประสบการณ์ในการมาเยือน (Beta = -0.111; t = -2.547; <em>p</em> = 0.011) ดังนั้น ควรประชาสัมพันธ์กฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการใหม่ๆ ในทุกช่องทางเพื่อให้ผู้มาเยือนทราบและปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม</p> พีรวัฒน์ คำล้ำเลิศ สุภัทรา ถึกสถิตย์ นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 114 126 ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง ตำบลบางไทร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261486 <p>ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย การศึกษาวิจัยนี้เป็นไปเพื่อศึกษาสถานภาพของประชากร การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นบนพื้นฐาน ตามกรอบแนวคิด การค้นคว้าและทฤษฎี และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 ครัวเรือนเป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.11 ช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป สถานภาพเป็นผู้อาศัย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3–4 คน ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน 10 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพประมง/รับจ้างทั่วไป/และเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือน 10,000–20,000 บาท ค่าเฉลี่ยสูงสุดของพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะชุมชนคือด้านการรวบรวมและจัดเก็บขยะมูลฝอย และด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 2.08 และ 2.88 ตามลำดับ และความคิดเห็นต่อศักยภาพของชุมชนคือ มีพื้นที่เพียงพอในการจัดการขยะที่ต้นทาง และข้อจำกัดในการจัดการขยะที่ต้นทางคือพบปัญหาขยะข้างทางเป็นจำนวนมาก จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยด้านอายุ ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐาน ระดับการศึกษา อาชีพ รวมถึงความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะที่ต้นทาง และพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะที่ต้นทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะควรจัดอบรมให้ความรู้สำหรับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง/รับจ้างทั่วไป/และเกษตรกรรมในการคัดแยกขยะมูลฝอย </p> สรายุทธ สามัตถิยากร กิติชัย รัตนะ นิตยา เมี้ยนมิตร Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 127 136 การมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ: กรณีศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261807 <p>พื้นที่ชุ่มน้ำให้ประโยชน์และมีบทบาทหน้าที่อันหลากหลายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่พื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกถูกคุกคามเพิ่มมากขึ้นและนำไปสู่การสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนถือว่ามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลเมืองกาญจนบุรีและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ครัวเรือน จำนวน 391 ครัวเรือน จากครัวเรือนของเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ F-test ที่ระดับนัยความสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41–50 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ 10,000–20,000 บาทต่อเดือน และมีระยะเวลาที่อาศัยเฉลี่ย 34.13 ปี ส่วนในด้านการอนุรักษ์ พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ร้อยละ 69.3 แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ ร้อยละ 92.8 และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ ร้อยละ 65.0 ซึ่งส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าแม่น้ำแควใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ร้อยละ 29.9 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" /> <span style="font-size: 0.875rem;">= 6.86) เช่นเดียวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" /> = 11.01) ขณะที่การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" /> = 2.61) และการได้รับบริการทางนิเวศจากพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/gif.image?\dpi{110}\bar{x}" alt="equation" /> = 3.50) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนของเทศบาลเมืองกาญจนบุรีในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ ได้แก่ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพของแม่น้ำแควใหญ่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ และการได้รับบริการทางนิเวศจากพื้นที่</span><span style="font-size: 0.875rem;">ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำผลการศึกษาไปประกอบการพิจารณาการจัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่</span><span style="font-size: 0.875rem;">ชุ่มน้ำเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำแควใหญ่</span></p> พัทธพล ยั้งประยุทธ์ สุภัทรา ถึกสถิตย์ พัชเรศร์ ชคัตตรัยกุล Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 137 146 The การใช้ภูมิสารสนเทศในการคาดการณ์แนวโน้มการดูดซับคาร์บอน ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262621 <p>ปัจจุบันประเทศไทยมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 90 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในอนาคตประเทศไทยต้องการเพิ่มปริมาณขึ้นให้ได้ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2580 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2573 รวมถึงคาดการณ์แนวโน้มการกักเก็บคาร์บอน ปี พ.ศ. 2573 บริเวณอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง โดยจำแนกสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพดาวเทียม LANDSAT 5 และ LANDSAT 8 ปี พ.ศ. 2547, 2552 และ 2557 ด้วยเทคนิคแปลตีความด้วยสายตา และใช้แบบจำลอง Land Change Modeler ร่วมกับปัจจัยขับเคลื่อน ได้แก่ ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน ความสูง และความลาดชัน ในคาดการณ์แนวโน้มการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2573 และใช้แบบจำลอง Ecosystem Services Modeler ในการคาดการณ์การดูดซับคาร์บอนของป่าไม้ในปี พ.ศ. 2573</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 11 ประเภท และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในช่วงปี พ.ศ. 2552-2557 ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง แหล่งน้ำ และชุมชนและสิ่งก่อสร้าง มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.35 12.30 1.23 0.07 และ 0.05 ตามลำดับ ส่วนเบ็ดเตล็ด เกษตรกรรม มีพื้นที่ลดลง ร้อยละ 40.46 และ 9.54 ตามลำดับ และป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าสนเขา และสวนป่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2573 พบว่า เกษตรกรรม ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.70 และ 2.30 ตามลำดับ ป่าเบญจพรรณ เบ็ดเตล็ด ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 32.72 12.27 4.40 และ 0.61 ตามลำดับ นอกจากนี้ การคาดการณ์การกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้ พบว่า การกักเก็บคาร์บอนในปี พ.ศ. 2557 เท่ากับ 10,033,789 ตันคาร์บอน การกักเก็บคาร์บอนในปี พ.ศ. 2573 เท่ากับ 9,766,154 ตันคาร์บอน ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว มีแนวโน้มการปล่อยคาร์บอน เท่ากับ 267,635 ตันคาร์บอน</p> อรณัส ศรีสัจจัง ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล วันชัย อรุณประภารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-22 2024-11-22 43 2 147 164 การศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินผลผลิตยูคาลิปตัส สายต้น K58 โดยตัวแปรขนาดปกคลุมเรือนยอดจากอากาศยานไร้คนขับ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/262908 <p>การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบถึงผลผลิตของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งการสำรวจทรัพยากรป่าไม้มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบประเมินผลผลิตยูคาลิปตัส สายต้น K58 อายุ 5 ปี ได้แก่ ปริมาตร มวลชีวภาพ และน้ำหนักสด โดยข้อมูลการสำรวจภาคสนาม ได้แก่ ความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ตำแหน่งของต้นไม้ ขนาดปกคลุมเรือนยอด และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินผลผลิตยูคาลิปตัส สายต้น K58 อายุ 5 ปี โดยตัวแปรขนาดปกคลุมเรือนยอดจากอากาศยานไร้คนขับ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นระหว่างผลผลิตของยูคาลิปตัส สายต้น K58 และข้อมูลภาคสนาม สามารถสร้างตัวแบบประเมินผลผลิต ดังนี้ V = 0.000128(DBH<sup>2.236</sup>)(Ht<sup>0.392</sup>) (R<sup>2</sup> =0.978) Bm = 0.059020108(DBH<sup>2.220</sup>)(Ht<sup>0.609</sup>) (R<sup>2</sup> =0.976) และW = 0.078523563(DBH<sup>2.202</sup>)(Ht<sup>0.651</sup>) (R<sup>2</sup> =0.977) และจากการวิเคราะห์สมการระหว่างผลผลิตของยูคาลิปตัส สายต้น K58 และขนาดปกคลุมเรือนยอดจากภาพถ่ายทางอากาศ สามารถเขียนได้ ดังนี้ V = 0.005 + 0.015Ap (R<sup>2</sup> = 0.808) Bm = 13.489(Ap<sup>0.968</sup>) (R<sup>2</sup> = 0.845) และ W = 19.396(Ap<sup>0.969</sup>) (R<sup>2</sup> = 0.845)</p> สมรักษ์ ชาติไทย พิชิต ลำใย วีระภาส คุณรัตนสิริ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-29 2024-11-29 43 2 165 173 Forest Carbon, Soil Nutrients, and Heavy Metal Status after 15 years of Small-scale Gold Mining in Guyana https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/263474 <p>This study evaluated the impacts of small-scale gold mining on forest regeneration, soil nutrients, and the accumulation of heavy metals over a chronosequence of 1-15 years after mining activities in Mahdia, Guyana. Thirteen 50m x 50m plots were established across twelve mined-out sites, with three plots each in areas abandoned after 1, 5, 10, and 15 years, along with a control plot. Soil samples were taken from each mining plot, along with collection of tree data, including species composition, height, and diameter at breast height (DBH) for trees &gt;4 cm in diameter. Small trees (DBH 1-4 cm) were measured within subplots of size 10m x 10m, and saplings were counted in 4m x 4m plots. The control plot was dominated by four species: <em>Mora gonggrijpii, Chlorocardium rodiei, Mora excelsa</em>, and <em>Catostemma commune</em>, which contributed more than 60% of the overall species sampled, with biomass and carbon content measured at 665 ton/ha and 313 tonC/ha, respectively. In contrast, tree regeneration in mined-out areas was significantly slower, with only 1-2 tree species present after 15 years and the maximum biomass and carbon content estimated between 1.3-1.5 tonC/ha. Heavy metal levels generally returned to levels similar to that of the control, except for mercury and lead, which were two-fold and four-fold higher, respectively. Additionally, nitrogen and phosphorus levels were considerably lower, likely contributing to the limited accumulated biomass through regrowth and altered species composition in the mined-out soils.</p> Devon George Amnat Chidthaisong Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-29 2024-11-29 43 2 174 190