วารสารวนศาสตร์ไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf <p>วารสารวนศาสตร์ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วารสารวนศาสตร์ไทย ในปี พ.ศ.2563 ISSN : 2730-2180 (Print) และ ISSN : 2822-115X (Online) ภายใต้การดำเนินงานของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านวนศาสตร์ เช่น นิเวศวิทยาป่าไม้ การจัดการป่าไม้ เศรษฐศาสตร์ป่าไม้ วนวัฒนวิทยา การจัดการลุ่มน้ำ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชพรรณและสัตว์ป่า เป็นต้น จากนักวิจัยไทยทั่วประเทศ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเป็นผู้พิจารณาผลงาน อย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน และมีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ เดือนมกราคม-มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> en-US <p>ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”</p> sapit.d@ku.ac.th (Assoc. Prof. Dr.Sapit Diloksumpun) frc@ku.th (นางวราภรณ์ ลำใย) Thu, 30 May 2024 14:07:29 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ลักษณะสังคมพืชแบบกึ่งอัลไพน์และความสำคัญด้านระบบนิเวศ ในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261688 <p> สังคมพืชกึ่งอัลไพน์เป็นสังคมพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่นและมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบันเกิดการตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศทั้งประเทศไทยและทั่วโลก เพื่อให้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลเกิดความยั่งยืนในอนาคต อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสังคมพืชกึ่งอัลไพน์รวมทั้งความสำคัญของพืชแบบกึ่งอัลไพน์ที่เกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติมีค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะในประเทศไทย ข้อมูลและองค์ความรู้ในการวิจัยเกี่ยวกับสังคมพืชกึ่งอัลไพน์หาได้ยาก ดังนั้น บทความวิชาการนี้จึงได้รวบรวมเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ พืชกึ่งอัลไพน์ทางชีววิทยา ลักษณะของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ สถานภาพของพืชกึ่งอัลไพน์ ภาวะสมดุลที่สำคัญต่อการเติบโตของพืชกึ่งอัลไพน์ คุณค่าความสำคัญด้านระบบนิเวศธรรมชาติของพืชกึ่งอัลไพน์ อีกทั้ง ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้ทางวิชาการ รวบรวมข้อมูลที่ได้เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชกึ่งอัลไพน์ จากการสังเคราะห์เห็นว่า องค์ความรู้เรื่องสังคมพืชกึ่งอัลไพน์และความสำคัญของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านนิเวศบริการ และลักษณะสภาพสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ระดับความสูงมีความแตกต่างกัน เป็นปัจจัยให้สังคมพืชมีความแตกต่างกัน โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อเป็นข้อมูลเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของพืชกึ่งอัลไพน์ที่ให้ประโยชน์ต่อระบบนิเวศธรรมชาติ นอกจากนี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยตระหนักถึงความสำคัญของพืชกึ่งอัลไพน์ในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนในอนาคต</p> เฉลิมพงษ์ พงค์จันทร์, อัญชัญ ตัณฑเทศ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261688 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าเชิงพื้นที่ จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย จังหวัดเชียงราย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259739 <p>ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวยมีปัญหาด้านทรัพยากรน้ำทั้งน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำทุกปี ปริมาณน้ำต้นทุนที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแม่สรวยอาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ดังนั้นจึงประยุกต์ใช้แบบจำลอง Soil and Water Assessment Tool (SWAT) เพื่อประเมินปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยและวิเคราะห์สมดุลน้ำจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ.2556 และ 2561 ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง SWAT มีประสิทธิภาพในการประเมินปริมาณน้ำท่าและการวิเคราะห์สมดุลน้ำของลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย โดยผลการปรับเทียบแบบจำลองให้ค่า R<sup>2</sup> เท่ากับ 0.80 ค่า NSE เท่ากับ 0.76 และค่า PBIAS เท่ากับ -9.2 ซึ่งพบว่าในช่วงปีพ.ศ. 2556 และ 2561 มีการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 2.9 เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยลดลงน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่จะสังเกตได้ว่าปริมาณน้ำท่าช่วงแล้งฝนลดลงประมาณร้อยละ 2 โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลงแล้วยังมีสาเหตุจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำให้เกิดการสูญเสียน้ำจากการคายระเหยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ทำให้น้ำในดินและน้ำไหลในลำธารมีปริมาณลดลง และผลผลิตน้ำของลุ่มน้ำมีปริมาณลดลงเล็กน้อย สรุปได้ว่าปริมาณน้ำท่าและสมดุลน้ำของลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวยลดลงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินไม่มากนัก (ลดลงไม่เกินร้อยละ 2)</p> นธี สดชื่น, วันชัย อรุณประภารัตน์, วีนัส ต่วนเครือ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259739 Thu, 30 May 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลศาสตร์ของไม้กระถินยักษ์ ในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261006 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลศาสตร์ของไม้กระถินยักษ์ในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ทั้ง 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณในป่า บริเวณใกล้อาคาร และบริเวณใกล้แหล่งน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการนำพืชรุกรานต่างถิ่นมาใช้ประโยชน์ โดยทดสอบสมบัติทางกายภาพและกลศาสตร์ ได้แก่ ค่าความชื้น (moisture content) ค่าความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) ค่ามอดูลัสแตกหัก (modulus of rupture, MOR) ค่ามอดูลัสยืดหยุ่น (modulus of elasticity, MOE) ค่าแรงอัดขนานเสี้ยน (compression parallel to grain) ค่าแรงอัดตั้งฉากเสี้ยน (compression perpendicular to grain) ค่าความแข็ง (hardness) และความเค้นเฉือนขนานเสี้ยน (shearing stress parallel to grain) ทดสอบตัวอย่างละ 5 ซ้ำ ผลการทดสอบ พบว่า ไม้กระถินยักษ์จากบริเวณในป่ามีค่าการทดสอบสมบัติทางกายภาพและกลศาสตร์ดีที่สุด โดยมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 25.70±1.32 ค่าความถ่วงจำเพาะเฉลี่ย 0.63±0.03 ค่ามอดูลัสแตกหักเฉลี่ย 115.75±4.35 เมกะปาสกาล ค่ามอดูลัสยืดหยุ่นเฉลี่ย 10,055.09±27.55 เมกะปาสกาล ค่าแรงอัดขนานเสี้ยนเฉลี่ย 55.93±2.46 เมกะปาสกาล ค่าแรงอัดตั้งฉากเสี้ยนเฉลี่ย 6.03±0.62 เมกะปาสกาล ค่าความแข็งเฉลี่ย 4,217.30±43.67 นิวตัน และค่าความเค้นเฉือนขนานเสี้ยนเฉลี่ย 20.82±1.02 เมกะปาสกาล</p> ธิติ วานิชดิลกรัตน์, เบญจมาศ นิพิฐธรรม, กัญญารัตน์ สมอคำ, จิรกิตติ์ ตันประดิษฐ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261006 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 มูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259954 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักท่องเที่ยวและประเมินมูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี โดยวิธีคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแบบแบ่งเขต และวิธีคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบุคคล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.25 มีอายุเฉลี่ย 40.42 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 63.75 ทำงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง ร้อยละ 37.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 36,030.13 บาท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวเป็นครั้งแรก ร้อยละ 59.25 เดินทางมาท่องเที่ยวเพราะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 87.75 นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว ร้อยละ 72.00 มาเที่ยวเป็นกลุ่มเฉลี่ย 3 คน ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 96.50 และต้องการกลับมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ร้อยละ 94.75 การประเมินมูลค่าทางนันทนาการโดยวิธีคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแบบแบ่งเขต มีมูลค่า 33,624,910.30 บาทต่อปี พบว่า ปัจจัยอิทธิพลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยว คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากการคำนวณค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบุคคล พบว่ามีมูลค่า 16,119,850.05 บาทต่อปี ปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยว ได้แก่ ระยะทางจากที่พัก และอายุของนักท่องเที่ยว</p> <p> </p> กาญจนา คงเพชรพะเนา, สันติ สุขสอาด, อภิชาต ภัทรธรรม Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259954 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของเครือข่ายแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260790 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยวิเคราะห์การมีส่วนร่วม 5 กิจกรรม ประกอบด้วย การกำหนดแผนการจัดการไฟป่า การดำเนินกิจกรรมชิงเก็บ ลดเผา การลาดตระเวนตรวจหาไฟป่า การดับไฟป่า และการบริหารจัดการไฟป่าขององค์กร กำหนดการมีส่วนร่วมออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ขั้นให้ข้อมูลข่าวสาร ระดับที่ 2 ขั้นรับฟังความคิดเห็น ระดับที่ 3 ขั้นเข้ามามีบทบาท ระดับที่ 4 ขั้นสร้างความร่วมมือ และระดับที่ 5 ขั้นเสริมอำนาจ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า เครือข่ายฯ มีระดับการมีส่วนร่วม ระดับที่ 1 ร้อยละ 45.19 ระดับที่ 2 ร้อยละ 23.25 ระดับที่ 3 ร้อยละ 26.71 ระดับที่ 4 ร้อยละ 4.85 สำหรับระดับที่ 5 ไม่มีกิจกรรมการมีส่วนร่วม สามารถกำหนดแนวทาง 5 แนวทาง ดังนี้ 1) หน่วยงานไฟป่าควรสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 2) เสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายฯ โดยสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ที่ทันสมัย 3) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ควรร่วมมือกับภาคประชาสังคม เพื่อจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายฯ 4) การรับฟังความคิดเห็นในการเสนองบประมาณของเครือข่ายฯ และ 5) เปิดโอกาสให้เครือข่ายฯ เข้ามามีส่วนร่วมทุกระดับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นแนวทางในการสนับสนุนหรือส่งเสริมเครือข่ายฯ อื่นต่อไป</p> <p> </p> ศศิมา ขุนทอง, นิตยา เมี้ยนมิตร, กอบศักดิ์ วันธงไชย Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260790 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของอุณหภูมิในการอัดร้อนต่อสมบัติของแผ่นชิ้นไม้อัดจากขี้เลื่อยไม้สักในจังหวัดแพร่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259730 <p>การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิในการอัดร้อนแผ่นชิ้นไม้อัดจากขี้เลื่อยไม้สักในจังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิในการอัดร้อนต่อสมบัติของแผ่นชิ้นไม้อัด โดยทำการอัดร้อนที่อุณหภูมิ 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส และทำการทดสอบค่าสมบัติทางกายภาพและกลศาสตร์ ได้แก่ ความชื้น (moisture content) ค่าความหนาแน่น (density) ค่าการดูดซึมน้ำ (water absorption) ค่าการพองตัวตามความหนา (thickness swelling) ค่าแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า (internal bonding) ค่ามอดูลัสแตกหัก (modulus of rupture) และค่ามอดูลัสยืดหยุ่น (modulus of elasticity) ซึ่งผลการทดลองพบว่า แผ่นชิ้นไม้อัดจากขี้เลื่อยไม้สักที่อุณหภูมิในการอัด 120 องศาเซลเซียส มีค่าการทดสอบดีที่สุดในทุกสภาวะ และผ่านมาตรฐานการทดสอบทั้งหมดโดยมีค่าความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 6.65±2.03 ค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 688.90±10.27 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าการดูดซึมน้ำเฉลี่ยร้อยละ 37.73±20.67 ค่าการพองตัวตามความหนาเฉลี่ยร้อยละ 10.89±5.49 ค่าแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้าเฉลี่ย 0.43±0.02 เมกะปาสกาล ค่ามอดูลัสแตกหักเฉลี่ย 15.73±0.88 เมกะปาสกาล และค่ามอดูลัสยืดหยุ่นเฉลี่ย 2,384±11.95 เมกะปาสกาล</p> ธิติ วานิชดิลกรัตน์, สรพัชร อโหสิ, วัศพล เพชรคง , จิราภา วานิชดิลกรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259730 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260287 <p>ป่าชุมชน เป็นหนึ่งในหลักการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกการถือครองที่ดิน ในเขตป่าและการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่เกินขีดจำกัด ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นไปเพื่อศึกษาข้อมูลประชากรด้านเศรษฐกิจ สังคมต่อระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยและระดับการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการบริหารจัดการ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพป่าชุมชนบ้านปางสัก จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT analysis) ด้วยเทคนิค TOWS matrix จำนวน 9 คน และใช้แบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล จำนวน 91 คน โดยใช้ independent t-test, one-way ANOVA และ chi-square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.64 มีช่วงอายุ 30-59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ประกอบอาชีพหลัก คือ ด้านเกษตรกรรม อาชีพรอง คือ ด้านการรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อปีในช่วง 50,001-100,000 บาท รายจ่ายในช่วง 75,001-100,000 บาท มีภาระหนี้สิน 100,000 บาท ขึ้นไป มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้าน มีสิทธิ์การถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร มีระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ระดับมาก เฉลี่ย 3.93 คะแนน มีระดับความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการที่ระดับมากที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เฉลี่ย 4.30 มีกระบวนการมีส่วนร่วมที่ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร และมีระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการที่ระดับมากที่สุดร้อยละ 43.96 โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ พบว่า สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกฉุดและมีปัญหา แต่ภายในโดดเด่นพร้อมต่อโอกาสในการประยุกต์ใช้ในอนาคต</p> สามินี สุขสุเมฆ, กิติชัย รัตนะ, พสุธา สุนทรห้าว Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260287 Wed, 19 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยว ในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259782 <p>การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เพื่อศึกษาขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา และด้านสังคมจิตวิทยา ทำการศึกษาเดือนกรกฎาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 รวม 10 เดือน พบว่า ขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยวได้ 970,984 คนต่อปี และ 2,327,971 คนต่อปี ตามลำดับ จากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2560 <br />มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 320,675 คน คิดเป็นร้อยละ 24.55 และ 10.24 ของขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีผลกระทบน้อย หรือจำนวนนักท่องเที่ยวต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับทั้ง 2 ด้าน ขีดความสามารถในการรองรับด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา พบว่า ร้อยละการปกคลุมของรากไม้โผล่เท่ากับ 12.60 อยู่ในระดับมีผลกระทบน้อยถึงไม่มี การปกคลุมของพันธุ์พืช ไม้หนุ่ม มีผลกระทบมาก และผลกระทบรุนแรง 3 และ 6 ชนิด กล้าไม้ มีผลกระทบปานกลาง ผลกระทบมาก และผลกระทบรุนแรง 1, 2 และ 4 ชนิด ตามลำดับ ขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมจิตวิทยา พบว่า การรับรู้ถึงความรู้สึกแออัดต่อการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 12.25 มีผลกระทบอยู่ในระดับน้อย หรือจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมจิตวิทยา จะเห็นว่าขีดความสามารถในการรองรับด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา มีผลกระทบต่อพรรณไม้หลายชนิดอยู่ในระดับรุนแรง และระดับมาก ควรมีแนวทางจัดการพื้นที่ เช่น กำหนดปิดการท่องเที่ยวเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติฟื้นตัว จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว หรือลดจำนวนรอบการใช้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศในพื้นที่ต่อไปได้</p> พัชรา ปั้นพุ่มโพธิ์, อิสรีย์ ฮาวปินใจ , ปัญจพร คำโย , ต่อลาภ คำโย Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259782 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการไฟป่าในป่าชุมชน ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260834 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดไฟป่า การจัดการไฟป่า ระดับการมีส่วนร่วม และความรู้เกี่ยวกับไฟป่าของประชาชนในตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาการจัดการไฟป่า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จำนวน 320 ตัวอย่าง จากจำนวนประชากร 1,598 ครัวเรือน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม SWOT analysis และ TOWS matrix</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุการเกิดไฟป่าคือการลุกลามจากการเตรียมพื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกรที่อยู่รอบป่าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 86.60 การจัดการไฟป่าของประชาชนโดยการป้องกันไฟป่า การเตรียมความพร้อมในการดับไฟ การตรวจหาไฟ การดับไฟป่า การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการไฟป่า ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีคะแนนเฉลี่ย 1.84 คะแนน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ และด้านการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน มีคะแนนเฉลี่ย 1.79, 1.92 และ 1.82 คะแนน ตามลำดับ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไฟป่าในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.30 สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการไฟป่าอย่างมีส่วนร่วม มี 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การอบรมพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ทางด้านทฤษฎีไฟป่าและการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาแผนการจัดการ มาตรการเกี่ยวกับไฟป่า 3) พัฒนาการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ และ 4) พัฒนาการติดตามและประเมินผลการทำงานในกิจกรรมดำเนินการต่าง ๆ ของประชาชน</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> ศิโรรัตน์ ขุนทอง, นิตยา เมี้ยนมิตร, กอบศักดิ์ วันธงไชย Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/260834 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259310 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าด้วยภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน จากข้อมูลการสำรวจระยะไกลด้วยดาวเทียม Landsat 8 ระบบบันทึกข้อมูล The Thermal Infrared Sensor (TIRS) เพื่อประมวลผลค่าอุณภูมิพื้นผิว (land surface temperature; LST) ร่วมกับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อใช้เป็นปัจจัยสำหรับการประเมินความเสี่ยงการเกิดไฟป่า และใช้ข้อมูลจุดความร้อนที่ได้จากระบบ VIIRS เป็นตัวแทนของไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาและใช้ทดสอบความถูกต้องของข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการเดินไฟป่า ช่วงเดือนมีนาคม ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2564 พบว่า โดยพบการกระจายของจุดความร้อนมากที่สุดในบริเวณที่มีอุณหภูมิพื้นผิวอยู่ในช่วง 23.45องศาเซลเซียส - 31.01 องศา ร้อยละ 77.23 ชนิดป่าที่พบจุดความร้อนมากที่สุด คือ ป่าเบญจพรรณ ร้อยละ 47.52 อำเภอที่มีพื้นที่เสี่ยงการเกิดไฟป่าสูงมากที่สุด ได้แก่ อำเภอแม่จริม โดยมีพื้นที่ 16,889 เฮกตาร์ ลักษณะป่าที่มีพื้นที่เสี่ยงการเกิดไฟป่าสูงที่สุด ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ 34,333 เฮกตาร์ (ร้อยละ 56.17) รองลงมาคือ พื้นที่ที่ไม่ใช่ป่า จำนวน 26,249 เฮกตาร์ (ร้อยละ 42.95) ทำให้ได้ฐานข้อมูลที่สามารถกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่าในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่านซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าได้ในอนาคตต่อไป</p> ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย, ต่อลาภ คำโย, อิสรีย์ ฮาวปินใจ, ธัญญรัตน์ เชื้อสะอาด Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/259310 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของโมกพะวอ (Wrightia tokiae D.J. Middleton) ในอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ จังหวัดตาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261345 <p>ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของโมกพะวอ (<em>Wrightia tokiae</em> D.J. Middleton) ได้ศึกษาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาและการพัฒนาการของดอก การผสมเกสร อัตราการติดผล และความหลากชนิดของแมลงตอมดอก ซึ่งการสำรวจแมลงใช้วิธีการวางกับดักมุ้งในช่วงที่โมกพะวอกำลังออกดอก ผลการศึกษาพบว่า โมกพะวอเริ่มออกดอกตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม และบานไปถึงปลายเดือนมิถุนายน การพัฒนาของดอกโมกพะวอเริ่มตั้งแต่เป็นตาดอก พัฒนาไปเป็นช่อดอกถึงระยะดอกพัฒนาเต็มที่ และบาน ใช้เวลาประมาณ 9-10 วัน ดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกแบบกระจุก กลีบดอกรูปกงล้อ สีส้มอ่อน ดอกร่วงสีแดงเข้ม เรณูเดี่ยว รูปทรงกลม ค่าเฉลี่ยจำนวนเรณูต่อดอกเท่ากับ 6,633.40±750.50 เรณู ค่าเฉลี่ยจำนวนออวุลต่อดอก 38.60±2.99 ออวุล ค่าอัตราส่วนจำนวนเรณูต่อออวุล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 170.04±9.58 จัดเป็นระบบผสมข้ามต่ำมีแนวโน้มผสมพันธุ์ในตัวเอง ส่วนการศึกษาอัตราการติดผล พบเฉพาะการผสมแบบเปิดหรือปล่อยให้มีการผสมเกสรตามธรรมชาติ มีอัตราการติดผลร้อยละ 10.24 และการผสมเกสรตัวเอง โดยการคลุมช่อดอกที่ไม่พบการติดผล แสดงให้เห็นว่าโมกพะวอเป็นพืชที่จำเป็นต้องมีพาหะนำเรณูช่วยในการผสมเกสร ส่วนชนิดของแมลงตอมดอกพบเป็นพวกผีเสื้อกลางคืนในอันดับ Lepidoptera จำนวน 20 ชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแมลงตอมดอกที่สำคัญในการช่วยผสมเกสรที่มีพฤติกรรมสัมพันธ์กับการบานของดอกโมกพะวอที่ดอกบานในตอนกลางคืน</p> นลพรรณ ทองมีเอียด, วัฒนชัย ตาเสน, วิวัฒน์ หาญวงศ์จิรวัฒน์, สราวุธ สังข์แก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261345 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของความหนักเบาในการตัดขยายระยะต่อผลผลิตและรูปทรงของไม้สัก กรณีศึกษา สวนป่าเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261347 <p>การตัดขยายระยะเป็นหนึ่งในวนวัฒนวิธีเพื่อการเพิ่มผลผลิตของสวนป่าโดยการพิจารณาเลือกตัดไม้ออกโดยพิจารณาจากชั้นเรือนยอดหรือระยะห่างระหว่างต้นไม้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความหนักเบาในการตัดขยายระยะต่อผลผลิตและรูปทรงของไม้สักในพื้นที่สวนป่าเอกชน ในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสวนป่าสักมีระยะปลูก 4 เมตร x 4 เมตร ทำการวางแปลงตัวอย่างแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค (randomized complete block design, RCBD) จำนวน 3 รูปแบบการทดลอง ทำการตัดขยายระยะแบบชั้นเรือนยอดต่ำ (low thinning) ตามความหนักเบาของการตัดขยายระยะโดยใช้เกณฑ์ร้อยละของพื้นที่หน้าตัดรวมของหมู่ไม้ที่ตัดออกไป ได้แก่ ระดับปานกลาง (moderate thinning) คิดเป็นร้อยละ 40 ระดับหนัก (heavy thinning) คิดเป็นร้อยละ 60 เมื่อไม้มีอายุ 10 ปี เปรียบเทียบกับการไม่ตัดขยายระยะ (unthinned stand) เป็นแปลงควบคุม ทำการเก็บข้อมูลหลังการตัดขยายระยะ 9 ปี พบว่า ความหนาแน่นของหมู่ไม้ในแปลงไม่ตัดขยายระยะมีค่าสูงกว่าแปลงตัดขยายระยะอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ค่าเฉลี่ยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและค่าเฉลี่ยปริมาตรรายต้นในแปลงตัดขยายระยะมีค่ามากกว่าแปลงไม่ตัดขยายระยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การตัดขยายระยะไม่มีผลต่อความสูงของต้นไม้ สำหรับค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปี (MAI) ด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของต้นไม้ทั้งหมดในแปลงตัดขยายระยะระดับหนักมีค่ามากกว่าแปลงไม่ตัดขยายระยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการคำนวนปริมาตรไม้ในส่วนของลำต้นพบว่า ค่าปริมาตรหมู่ไม้ ความเพิ่มพูนเฉลี่ยของปริมาตรหมู่ไม้ และปริมาตรรวมทั้งหมดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม แปลงที่ไม่ตัดขยายระยะได้สูญเสียปริมาตรไม้จากการตายตามธรรมชาติมากกว่าแปลงตัดขยายระยะ การศึกษารูปทรงของต้นไม้ เพื่อศึกษาเสถียรภาพของต้นไม้ พบว่าค่าอัตราส่วนของเรือนยอดที่มีชีวิตอยู่ ในแปลงตัดขยายระยะมีค่ามากกว่าแปลงที่ไม่ได้ตัดขยายระยะอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ในทางตรงกันข้ามอัตราส่วนระหว่างความสูงต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และค่าฟอร์มแฟกเตอร์ที่ของต้นไม้แปลงตัดขยายระยะมีค่าต่ำกว่าแปลงไม่ตัดขยายระยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่าความหนักเบาของการตัดขยายระยะส่งผลต่อการเพิ่มขนาดความโตของต้นไม้ และส่งผลดีต่อการปรับปรุงรูปทรงของต้นไม้</p> อนงคณี เรือนทิพย์, พิชิต ลำใย, วรพรรณ หิมพานต์, พรเทพ เหมือนพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261347 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ ระบบเอ็นแคป: กรณีศึกษาพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261570 <p>ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่ามีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เนื่องจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก่ การบุกรุกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ป่า เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้แก้ไขปัญหา คือ ระบบเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมายด้วยการป่าไม้หรือที่เรียกว่า ระบบเอ็นแคป (network centric anti-poaching system, NCAPS) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคป ประกอบด้วย 8 ปัจจัย ได้แก่ ความสูงของพื้นที่ ความลาดชัน ระยะห่างจากแหล่งชุมชน ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากแม่น้ำ ระยะห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่า ระยะห่างจากโป่ง และขอบเขตสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยวิธีกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (AHP) โดยการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคปทีละคู่ จากการให้ค่าคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคป ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักคะแนนมากที่สุด คือ ปัจจัยขอบเขตสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีค่าน้ำหนักคะแนนเท่ากับ 0.324 จากการซ้อนทับข้อมูลปัจจัยสามารถแสดงผลการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคปโดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยระดับพื้นที่ที่เหมาะสมมากที่สุดในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคปมีประมาณ 50.489 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 0.055 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมมากที่สุดในการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคป อยู่บริเวณตามแนวขอบเขตของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่ติดกับหมู่บ้านและถนน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการวางแผนพิจารณาการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติระบบเอ็นแคป โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เหมาะสมในการติดตั้งเพื่อการป้องกันและการเฝ้าระวังการบุกรุกลักลอบตัดไม้ ล่าสัตว์ป่า และปัญหาสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ รวมทั้งปัจจัยคุกคามด้านอื่น ๆ และเป็นแผนการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์อย่างยั่งยืนต่อไป</p> พีรณัฐ มีวรรณสุขกุล, ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล, รองลาภ สุขมาสรวง, เนรมิต สงแสง, คมสัน มณีกาญจน์, ศุภาวรรณ อุดมสิน Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261570 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การกักเก็บคาร์บอนของไม้ต้น บริเวณสวนสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261830 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกักเก็บคาร์บอนของไม้ต้นบริเวณสวนสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองตาก ได้แก่ สวนกระทงสาย สวนสาธารณะแม่ปิงตาก และสวนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบ 60 พรรษา และเสนอแนวทางจัดการพื้นที่สีเขียวเพื่อเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน โดยเก็บข้อมูลเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และความสูงของต้นไม้ ในช่วงเดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 คำนวณค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยใช้สมการแอลโลเมตรี และคำนวนการกักเก็บคาร์บอนรวมของต้นไม้ทั้งเหนือดินและใต้ดินโดยใช้สัดส่วนของคาร์บอนในมวลชีวภาพ ผลการศึกษา พบว่า ทั้ง 3 พื้นที่มีพรรณไม้รวม 423 ต้น จำแนกได้ 52 ชนิด 24 วงศ์ โดยการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ทั้ง 3 สวน มีค่ารวมประมาณ 129 ตัน โดยสวนกระทงสาย สวนสาธารณะแม่ปิงตาก และสวนเฉลิมพระเกียรติฯ มีค่าการกักเก็บคาร์บอนประมาณ 9.8 61.4 และ 57.6 ตัน ตามลำดับ โดยประดู่ป่า <em>(</em><em>Pterocarpus macrocarpus </em>Kurz.) เป็นพรรณไม้ที่มีค่าการกักเก็บคาร์บอนรวมมากที่สุด เท่ากับ 28.7 ตัน คณะผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน โดยสวนกระทงสาย สวนสาธารณะแม่ปิงตาก และสวนเฉลิมพระเกียรติฯ สามารถปลูกต้นไม้เพื่อให้มีความหนาแน่นที่เหมาะสม ประมาณ 108 148 และ 480 ต้น ตามลำดับ โดยควรปลูกเป็นไม้ที่โตเร็ว อายุยืน เช่น ขี้เหล็กบ้าน (<em>Senna siamea</em> (Lam.) Irwin &amp; Barneby) ประดู่ป่า (<em>Pterocarpus macrocarpus</em> Kurz) ราชพฤกษ์ (<em>Cassia fistula</em> L.) และรวมถึงต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นแดง (<em>Xylia xylocarpa</em> (Roxb.) W.Theob. var. <em>kerrii</em> (Craib &amp; Hutch.) I.C.Nielsen) การปลูกต้นไม้ยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นแมลง นก สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่จะเข้ามาอาศัย และดึงดูดให้มีผู้คนเข้ามาใช้ประโยชน์ กระตุ้นเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการโดยรอบพื้นที่มีโอกาสทางการค้ามากขึ้น ทั้งนี้การปลูกต้นไม้ต้องระวังไม่ทำให้สิ่งปลูกสร้างเสียหาย นอกจากนี้การพัฒนาต่างๆ ควรขอความคิดเห็นผู้มาใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบสนองผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองมากที่สุด</p> ฉมา นวลศรี, ชาคริต ณ ตะกั่วทุ่ง, สมพร แม่ลิ่ม Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261830 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความอุดมสมบูรณ์ของดินและการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าฟื้นฟู 8 ปี จังหวัดแพร่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261433 <p>การศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าฟื้นฟู 8 ปี บ้านบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติดินและปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยดินที่มีผลต่อการปรากฏของพรรณไม้ ทำการเก็บข้อมูลดินชั้นบนที่ระดับความลึก 0-5 เซนติเมตร ดินชั้นล่างที่ระดับความลึก 20-25 เซนติเมตร บริเวณป่าฟื้นฟู หย่อมป่า และพื้นที่เกษตร เก็บตัวอย่างดินพื้นที่ละ 3 จุด จากนั้นวางแปลงขนาด 40 เมตร x 40 เมตร พร้อมทั้งเก็บองค์ประกอบของชนิดไม้ต้นในป่าฟื้นฟู จำนวน 5 แปลง และหย่อมป่า จำนวน 3 แปลง เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้ในพื้นที่</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ดินชั้นบน ค่า pH ของพื้นที่หย่อมป่าเป็นปานกลาง มีค่าเท่ากับ 6.77 ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ในพื้นที่หย่อมป่ามีค่ามากที่สุด เท่ากับ 12.5 มิลลิอิควิวาเลนท์/100 กรัม และปริมาณอินทรียวัตถุของในพื้นที่หย่อมป่าและป่าฟื้นฟูมีค่าสูงกว่าพื้นที่เกษตร เท่ากับ 6.65, 5.47 และ 5.02 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองพบหย่อมป่ามีค่าสูงที่สุด ในดินชั้นล่าง สมบัติดินทางเคมีไม่มีความแตกต่างจากดินชั้นบนมากนัก โดยเฉพาะสมบัติดินทางกายภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 95 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าฟื้นฟู พบมวลชีวภาพ 216.45 ตันต่อเฮกตาร์ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 101.72 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ และหย่อมป่ามีมวลชีวภาพ เท่ากับ 406.78 ตันต่อเฮกตาร์ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 191.17 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ เมื่อเปรียบเทียบในพื้นที่อื่น ๆ พบว่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนมักขึ้นอยู่กับจำนวนและขนาดของไม้ต้น นอกเหนือจากนั้นดินในพื้นที่ป่าฟื้นฟูมีแนวโน้มความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสามารถเป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่ป่าฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพในการกักคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต</p> <p> </p> ศิริรัตน์ สมประโคน, ฑีฆา โยธาภักดี, อิสรีย์ ฮาวปินใจ, เพ็ญพิลัย เปี่ยนคิด, สุทธิดา ยอดแก้ว, กันตพงศ์ เครือมา, ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวนศาสตร์ไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/261433 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700