@article{อุ่นทวี_เครือจันทร์_เกษียร_ผลประไพ_อิฐรัตน์_2017, place={Pathumthani, Thailand}, title={การกักเก็บสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามและสารสกัดจากผลสมอไทยด้วยไนโอโซมเพื่อการประยุกต์ใช้ในเวชสำอาง}, volume={7}, url={https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjst/article/view/106141}, DOI={10.14456/tjst.2018.3}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การแก่ชราของผิวหนังทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น ขาดความยืดหยุ่น และมีฝ้าและกระเกิดขึ้น ทั้งนี้สารต้านอนุมูลอิสระสามารถใช้ป้องกันการทำให้ผิวหนังแก่ชราก่อนวัยจากอนุมูลอิสระ จึงมีความนิยมในการพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าเพื่อชะลอการแก่ชราก่อนวัย มีการรายงานว่าสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามและสารสกัดจากผลสมอไทยมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงและยังช่วยชะลอการเหี่ยวย่นของผิวหนัง เนื่องจากการกักเก็บสารสกัดในอนุภาคไนโอโซมสามารถรักษาความคงตัวของสารและเพิ่มประสิทธิภาพในการนำส่งสารผ่านผิวหนัง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการสกัดเปลือกเมล็ดมะขามและผลสมอไทยและกักเก็บสารสกัดที่ได้ด้วยไนโอโซมซึ่งมีการแปรผันส่วนประกอบในการเตรียมอนุภาคห่อหุ้ม จากการสกัดพืชทั้ง 2 ชนิด พบว่า สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขาม (ร้อยละ 21.53±1.22) มีผลได้จากการสกัดน้อยกว่าสารสกัดจากผลสมอไทย (ร้อยละ 53.33±0.02) อย่างไรก็ตาม สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดจากผลสมอไทย โดยที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมเป็น 512.66±7.83 และ 300.10±33.40 มิลลิกรัม เทียบเท่ากรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด ตามลำดับ และมีค่าการยั้งอนุมูลอิสระร้อยละ 50 เป็น 0.0032±0.0007 และ 0.0037±0.0008 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดทั้ง 2 ชนิด มากักเก็บด้วยอนุภาคไนโอโซม พบว่าสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามและสารสกัดจากผลสมอไทยเหมาะสำหรับการกับเก็บในอนุภาคไนโอโซมโดยใช้วัสดุห่อหุ้มที่มีสัดส่วนระหว่าง Span 60 และคอเลสเตอรอล เป็น 2.1 : 1.0 และ 0.9 : 1.0 ตามลำดับ โดยมีขนาดอนุภาคและประสิทธิภาพการกักเก็บเป็น 223.70±66.75 และ 97.32±0.01 ตามลำดับ สำหรับไนโอโซมที่กักเก็บสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขาม และ 135.70±7.21 และ 91.02±0.26 ตามลำดับ สำหรับไนโอโซมที่กักเก็บสารสกัดจากผลสมอไทย จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าอนุภาคไนโอโซมที่เตรียมได้นี้ มีความเหมาะสมต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ชะลอการแก่ชราก่อนวัยของผิวหน้า </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> :</strong> การกักเก็บสารสกัด; ไนโอโซม; สารต้านอนุมูลอิสระ; สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขาม; สารสกัดจากผลสมอไทย</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Skin aging can alter skin physiologies and appearances such as wrinkle, elasticity and pigmentation. These changes can be enhanced progressively by free radicals. However, antioxidants which can scavenge free radicals have been widely composed in cosmeceutical products for preventing skin aging. Pharmacologically, tamarind seed coat extract (TS) and chebulic myrobalan fruit extract (CM) have been enormously reported that they have antioxidant activities and antiaging activities. Before incorporation into cosmeceutical products, the extracts can be encapsulated by using niosomes, non-ionic surfactant nanovesicles, to maintain the stability and increase skin permeability. Thus, this study focused on extraction of tamarind seed coat and chebulic myrobalan fruit and encapsulation of the extracts into niosome nanovesicles, which the ratios of vesicle forming materials were varied to obtain the most suitable nanovesicles. From the extraction of both plants, the results revealed that the extraction yield (EY) of TS (21.53±1.22 %) was lower than that of CM (53.33±0.02 %). However, total phenolic compounds (TPC) and antioxidant activity of TS were found to be higher than those of CM. The TPCs of TS and CM were observed to be respective 512.66±7.83 and 300.10±33.40 mg GAE/g extract. For inhibitory concentration at 50 % (IC<sub>50</sub>) of TS and CM that indicates higher in antioxidant activity when IC<sub>50</sub> is lower, it was determined as 0.0032±0.0007 and 0.0037±0.0008 mg/mL, respectively. When the extracts were encapsulated into niosome nanovesicles, the results exhibited that TS and CM were suitable to be prepared by using the ratio between Span 60 (S60) and cholesterol (CHOL) as 2.1 : 1.0 and 0.9 : 1.0, respectively. Particle size and entrapment efficiency (EE) of those niosomes were determined to be respective 223.70±66.75 nm and 97.32±0.01 % for TS-loaded niosome, and 135.70±7.21 nm and 91.02±0.26 % for CM-loaded niosome. As the results, it indicated that the obtaining niosomes were appropriate for using in antiaging cosmeceutical products. </p> <p><strong>Keywords:</strong> encapsulation; niosome; antioxidant; tamarind seed coat extract; chebulic myrobalan fruit extract</p>}, number={2}, journal={Thai Journal of Science and Technology}, author={อุ่นทวี ศรัณยู and เครือจันทร์ คุณัญญา and เกษียร สุขวสา and ผลประไพ ชนัญ and อิฐรัตน์ อรุณพร}, year={2017}, month={Dec.}, pages={134–145} }