https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 2024-09-20T14:32:38+07:00 YRU Journal of Science and Technology (ฟิตรีนา ดาราแม) ejournal_sci@yru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. เป็นเอกสารวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี ฟิสิกส์) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ชีววิทยา จุลชีววิทยา เทคโนโลยีการอาหาร) เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ วาริชศาสตร์ การจัดการศัตรูพืช) และสิ่งแวดล้อม <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน</strong><strong> 2 หรือ 3 คน </strong><em>(ขึ้นกับความประสงค์ของผู้นิพนธ์) </em>โดย<strong>ประเมินแบบ Double-Blinded review</strong> เผยแพร่แบบออนไลน์ (ISSN: 2985-1416 Online) ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม) </p> https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/261843 พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะซากในไก่เบตง 2024-03-07T13:30:17+07:00 กนก เชาวภาษี kanok.c@pnu.ac.th นิรันดร หนักแดง nirandorn.n@pnu.ac.th สุนีย์ ตรีมณี suneenara26@gmai.com <p>ไก่เบตง คือ ไก่พื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในสามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย เนื่องจากไก่เบตงมีความดีเด่นด้านคุณภาพเนื้อ และหนัง การพัฒนาพันธุกรรมของไก่เบตงสำหรับลักษณะซากมีความจำเป็นต้องทราบค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะซากในไก่เบตง จากข้อมูลของลูกจำนวน 414 ข้อมูล และข้อมูลในพันธุ์ประวัติ จำนวน 722 ข้อมูล วิเคราะห์องค์ประกอบของความแปรปรวน และความแปรปรวนร่วม ด้วยกลวิธี Restricted maximum likelihood โดยใช้การวิเคราะห์หลายลักษณะด้วยโมเดลตัวสัตว์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะน้ำหนักเมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักสันนอก น้ำหนักสันใน น้ำหนักน่อง น้ำหนักสะโพก และน้ำหนักปีก เท่ากับ 0.40 0.44 0.33 0.25 0.49 0.39 และ 0.39 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะน้ำหนักเมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักน่อง น้ำหนักสะโพก และน้ำหนักปีกมีค่าสหสัมพันธ์ เป็นบวกอยู่ในระดับสูง (r<sub>g</sub> = 0.74 ถึง 0.98) ในขณะที่ลักษณะน้ำหนักเมื่ออายุ 18 สัปดาห์ น้ำหนักซากอุ่น น้ำหนักน่อง น้ำหนักสะโพก และน้ำหนักปีกมีค่าสหสัมพันธ์เป็นบวกอยู่ในระดับปานกลาง กับลักษณะน้ำหนักสันใน (r<sub>g</sub> = 0.45 ถึง 0.61) ในการปรับปรุงลักษณะดังกล่าวสามารถปรับปรุงได้โดยการคัดเลือกสามารถปรับปรุงทุกลักษณะได้อย่างพร้อม ๆ กัน</p> 2024-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/260242 ผลของระยะเวลาบ่มกล้วยหินและสภาวะการอบต่อคุณภาพของกล้วยอบม้วน 2023-08-31T23:45:52+07:00 ภัทรวดี เอียดเต็ม phattharawadee.a@yru.ac.th นูรีดา กะมานิ๊ phattharawadee.a@yru.ac.th สุธีรา ศรีสุข phattharawadee.a@yru.ac.th กิตติ สุวรรณบรรดิษฐ์ phattharawadee.a@yru.ac.th ภารดี พละไชย phattharawadee.a@yru.ac.th พุฒิยา รัตนศิริวัฒน์ phattharawadee.a@yru.ac.th <p>กล้วยหินเป็นพืชท้องถิ่นที่พบในแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อเก็บกล้วยหินไว้นานจนอยู่ในระยะสุกงอมไม่สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยหินกรอบแก้ว กล้วยหินเส้นทอดกรอบได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการบ่มกล้วยหินที่เหมาะสม และสภาวะในการอบกล้วยหินอบม้วน โดยวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี ของกล้วยหินที่บ่มระยะเวลา 0 2 4 6 8 10 และ 12 วัน พบว่า สามารถใช้ความแน่นเนื้อเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกกล้วยหินเพื่อผลิตกล้วยอบม้วนได้ ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เชิงบวกกับค่า pH (r=0.976 p&lt;0.01) และมีค่าสหสัมพันธ์เชิงลบกับค่าความถ่วงจำเพาะ ค่า b* ค่าปริมาณของแข็งทั้งหมด และ เวลาในการบ่ม (r= -0.796 -0.957 -0.995 และ -0.916 ตามลำดับ (p &lt;0.01)) จากนั้นนำกล้วยหินที่ระยะเวลาบ่ม 6 8 และ 12 วัน มาผลิตกล้วยหินอบม้วน โดยศึกษาอุณหภูมิการอบที่ 50 55 และ 60 องศาเซลเซียส ตามลำดับ จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์กล้วยหินอบม้วนพบว่ากล้วยหินที่ระยะเวลาการบ่ม 8 วัน อบที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ได้คะแนนความชอบรวมสูงสุด (p&lt;0.05) มีค่าเป็น 8.00 คะแนน อยู่ในระดับชอบมาก โดยมีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีน ไขมัน เยื่อใย เถ้า และคาร์โบไฮเดรต เท่ากับ ร้อยละ 2.03 0.65 0.83 4.43 และ 78.91 ตามลำดับ ส่วนค่าวอเตอร์แอคทีวิตี้ (a<sub>w</sub>) เท่ากับ 0.51</p> 2024-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/262074 ผลของการใช้จิ้งหรีดทองแดงลาย (Acheta domestica) ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และค่าชีวเคมีในเลือดของนกกระทาญี่ปุ่น 2024-02-03T19:56:25+07:00 ภาคภูมิ ซอหนองบัว pakpoom@snru.ac.th เสาวลักษณ์ คิอินธิ saowalakkiinti39@gmail.com กนกพร สายธิไชย kanokporn9319@gmail.com วรินทร ศรีนาม warintorn11a@gmail.com จักรพรรดิ์ ประชาชิต jakkapat.p@snru.ac.th <p>จิ้งหรีดทองแดงลายมีระดับโปรตีนสูง จึงอาจนำมาในการใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารนกกระทาญี่ปุ่นได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้จิ้งหรีดทองแดงลายป่นต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และค่าชีวเคมีในเลือดของนกกระทาญี่ปุ่น โดยใช้นกกระทาเพศเมียอายุ 9 สัปดาห์ จำนวน 200 ตัว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ 10 ตัว นกกระทาในแต่ละกลุ่มจะได้รับอาหารทดลองที่มีการใช้จิ้งหรีดทองแดงลายป่นแตกต่างกัน 5 ระดับ ได้แก่ 0 2 4 6 และ 8 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหาร ตามลำดับ ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ระยะเวลาการทดลอง 10 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ ผลผลิตไข่ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ (FCR) น้ำหนักไข่ มวลไข่ น้ำหนักไข่ขาว น้ำหนักไข่แดง ความหนาของเปลือกไข่ สีของไข่แดง ค่าปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น และฮีโมโกลบิล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P&gt;0.05) ค่าฮอฟ์ยูนิต (Haugh unit) ในกลุ่มนกกระทาที่ได้รับจิ้งหรีดทองแดงลายป่นที่ระดับ 6 และ 8 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ากลุ่มอื่น (P&lt;0.01) ดังนั้นจึงสามารถใช้จิ้งหรีดทองแดงลายป่นได้ 8 เปอร์เซ็นต์เพื่อทดแทนปลาป่น 100 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารนกกระทาญี่ปุ่น</p> 2024-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/260853 การใช้วัสดุกรองชีวภาพและแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis var. kurstaki ต่อการเจริญเติบโตของผักน้ำในระบบอควาโปนิกส์ 2023-12-25T10:45:55+07:00 ดาริกา คาวิจิตร dek.eak.388@gmail.com พัฒนสุดา ศิรินุพงศ์ dek.eak.388@gmail.com พิณทิพย์ จันทรเทพ dek.eak.388@gmail.com มนูญ ศิรินุพงศ์ dek.eak.388@gmail.com <p>ระบบอควาโปนิกส์ เป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG2) จึงศึกษาชนิดของวัสดุกรองชีวภาพที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักน้ำ และการใช้กับไม่ใช้แบคทีเรีย<em> Bacillus thuringiensis</em> var. <em>kurstaki</em> (BT) วางแผนทดลอง 2x2 แฟคทอเรียล แบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) มีปัจจัยที่ 1 ใช้วัสดุกรองชีวภาพ คือ หินภูเขาไฟและไบโอบอล ปัจจัยที่ 2 การใช้กับไม่ใช้ BT จำนวน 6 ซ้ำ ซ้ำละ 5 ต้น ในแปลงปลูกพืช สาขาวิทยาการเกษตรและประมงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาการใช้วัสดุกรองชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของผักน้ำไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P&gt;0.05) ในด้านความสูงต้นและเส้นผ่านศูนย์กลางต้น มีค่าเท่ากับ 12.59-12.68 และ 0.16-0.21 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการใช้กับไม่ใช้ BT ต่อการเจริญเติบโตของผักน้ำในด้านความสูงต้นพบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P&lt;0.05) โดยผักน้ำที่ใช้ BT มีความสูงต้นเท่ากับ 12.81 เซนติเมตร สำหรับ เส้นผ่านศูนย์กลางต้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P&gt;0.05) ซึ่งอยู่ในช่วง 0.14-0.20 เซนติเมตร ส่วนคุณภาพน้ำบนโต๊ะปลูก ในช่วงที่ทำการศึกษาพบว่า มีอุณหภูมิ อยู่ในช่วง 30.81-32.70 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 7.47-8.10 ค่าการนำไฟฟ้า (EC) อยู่ในช่วง 0.27-0.47 เดซิซีเมนต่อเมตร การละลายออกซิเจน (DO) อยู่ในช่วง 5.33-6.28 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นในการทดลองครั้งนี้ สามารถใช้วัสดุกรองชีวภาพทั้งหินภูเขาไฟและไบโอบอล ซึ่งให้ผลการเจริญเติบโตของผักน้ำไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการใช้และไม่ใช้ BT ไม่มีความแตกต่างกัน ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชของผักน้ำ</p> 2024-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/261581 การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดงของวิสาหกิจชุมชนบ้านเลียบ จังหวัดสงขลา 2023-12-19T10:09:37+07:00 วรรณนิสา เภาพันธ์ thanyaporn.s@rmutsv.ac.th อัฏฐชัย ถาวรสุวรรณ thanyaporn.s@rmutsv.ac.th นรินทร์ภพ ช่วยการ thanyaporn.s@rmutsv.ac.th พงษ์เทพ เกิดเนตร thanyaporn.s@rmutsv.ac.th โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์ thanyaporn.s@rmutsv.ac.th อดิศักดิ์ จิตภูษา thanyaporn.s@rmutsv.ac.th ธันยพร บุญศิริ thanyaporn.s@rmutsv.ac.th <p>วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปข่าตาแดงบ้านเลียบ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา พบปัญหาด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดงที่ไม่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตลอดจนไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดง โดยศึกษากรรมวิธีและสูตรการผลิตสูตรเดิมและสูตรใหม่ที่มีส่วนประกอบในปริมาณที่แตกต่างกัน จากนั้นคัดเลือกสูตรที่ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสสูงที่สุด วิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี จุลินทรีย์ คุณค่าทางโภชนาการ และศึกษา การยอมรับของผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่า สูตรที่เหมาะสมในการผลิตแกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดงคือ ปลาโอ ข่าตาแดง เครื่องแกงกะทิ ไตปลาช่อน น้ำมันพืช น้ำตาลทรายและเกลือป่น ร้อยละ 57.5 9.0 8.1 22.0 2.0 1.2 และ 0.2 ตามลำดับ ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) เท่ากับ 31.23 7.89 และ 28.32 ตามลำดับ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าน้ำอิสระ (a<sub>w</sub>) และความชื้น เท่ากับ 6.19 0.69 และ ร้อยละ 37.89 ตามลำดับ มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด 5.2 x 10<sup>2</sup> CFU/g และปริมาณยีสต์และราน้อยกว่า 10 CFU/g คุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดง 1 หน่วยบริโภค (40 กรัม) ให้พลังงานทั้งหมด 86.44 กิโลแคลอรี ไขมัน 1.16 กรัม โปรตีน 10.39 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.61 กรัม โซเดียม 563.20 มิลลิกรัม ความชื้น 15.15 กรัม เถ้า 3.54 กรัม และเยื่อใย 1.15 กรัม ผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้งจากข่าตาแดงได้รับคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คนที่ระดับชอบปานกลางถึงชอบมากที่สุดร้อยละ 88</p> 2024-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/262585 สารพฤกษเคมี สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดยอดและลำต้นของบัวบกโขด 2024-03-20T14:26:12+07:00 ศิริลักษณ์ กมลวรรณสิทธิ์ agratk@go.buu.ac.th เอกรัฐ คำเจริญ agarat.kam@gmail.com <p>สารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาทในการทำลายอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย สารต้านอนุมูลอิสระสามารถพบได้ในผักและผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสมุนไพร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสารพฤกษเคมี วิเคราะห์สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TF) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดยอดและลำต้นของ บัวบกโขด (<em>Stephania pierrei</em>) ซึ่งสกัดด้วยน้ำ เอทานอล และคลอโรฟอร์ม จากการศึกษาพบว่า สารสกัดทั้งสองส่วน มีสารพฤกษเคมีกลุ่มแอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน และแทนนิน สารสกัดลำต้นมี TFC มากกว่าสารสกัดยอด โดยเฉพาะสารสกัดเอทานอลจากลำต้นมี TPC มากที่สุดเท่ากับ 210.52 มิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด ขณะที่สารสกัดยอดมี TF มากกว่าสารสกัดจากลำต้น โดยสารสกัดคลอโรฟอร์มจากลำต้นมี TF เท่ากับ 44.78 มิลลิกรัมเควอซิตินต่อกรัมสารสกัด เมื่อนำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH assay) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP assay) พบว่า สารสกัดลำต้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดยอด โดยสารสกัดเอทานอลจากลำต้นมีค่า SC<sub>50</sub> และค่า FRAP เท่ากับ 0.186 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 1.622 มิลลิโมลของเหล็ก (II) ต่อกรัมสารสกัด ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า สารสกัดยอดและลำต้นของบัวบกโขดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และควรมีการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดและสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่อไป</p> 2024-09-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย.