วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. เป็นเอกสารวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในลักษณะของบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (เคมี ฟิสิกส์) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ชีววิทยา จุลชีววิทยา เทคโนโลยีการอาหาร) เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ วาริชศาสตร์ การจัดการศัตรูพืช) และสิ่งแวดล้อม <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน</strong><strong> 2 หรือ 3 คน </strong><em>(ขึ้นกับความประสงค์ของผู้นิพนธ์) </em>โดย<strong>ประเมินแบบ Double-Blinded review</strong> เผยแพร่แบบออนไลน์ (ISSN: 2985-1416 Online) ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม) </p> สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 2985-1416 <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย.&nbsp;นี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. ก่อนเท่านั้น</p> จลนพลศาสตร์ของความคงตัวและผลกระทบของรงควัตถุจากเชื้อรา Monascus sp. YRU01 ที่ใช้เป็นสีผสมอาหารในไส้กรอกไก่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/258599 <p>ความคงตัวของสีและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคงตัวของสีที่สภาวะแปรรูปต่าง ๆ มีความสำคัญต่อการประยุกต์สีกับอาหาร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของพีเอชและอุณหภูมิต่อความคงตัวของสีจากเชื้อรา <em>Monascus</em> sp. YRU01 เพื่อประยุกต์สีเป็นสีผสมอาหารในไส้กรอกไก่ โดยศึกษาค่าพีเอชในช่วงครอบคลุมช่วงค่าพีเอชอาหารแปรรูปชนิดกรดสูงและกรดต่ำ (พีเอช 3.0 – 8.0) และศึกษาอุณหภูมิที่ครอบคลุมอุณหภูมิอาหารแปรรูป (-20 0 63 100 และ 121 องศาเซลเซียส) จากการศึกษาพบว่าสีมีความคงตัวสูงที่พีเอช 7.0 - 8.0 โดยให้ค่าครึ่งชีวิตยาวนานถึง 16 - 29 วัน และมีความคงตัวสูงที่อุณหภูมิต่ำ 0 องศาเซลเซียส โดยให้ค่าครึ่งชีวิตยาวนานถึง 4 เดือน อีกทั้งยังมีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง 63 - 100 องศาเซลเซียส สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์สีเป็นสีผสมอาหารในไส้กรอกไก่ ซึ่งพบว่า การเติมสีทำให้ไส้กรอกไก่มีค่าสีแดง (a*) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em>≤0.05) และยังได้คะแนนการยอมรับทางด้านสีและกลิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em>≤0.05) ผลการวิจัยบ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของสีจากเชื้อรา <em>Monascus</em> sp. YRU01 ที่สามารถใช้เป็นสีผสมอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารได้</p> ยาสมี เลาหสกุล อาซียัน กอเดร์ โซเฟียนี สาแม นุชเนตร ตาเย๊ะ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 9 1 1 10 การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากกาแฟ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/259636 <p>กากกาแฟเป็นวัสดุเหลือทิ้งและมูลค่าต่ำ เมื่อนำมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิค FTIR พบว่า กากกาแฟปรากฏแถบการยืดพันธะคู่คาร์บอนกับออกซิเจน (C=O) พันธะคู่คาร์บอน (C=C) และพันธะระหว่างคาร์บอนกับไฮโดรเจน (C-H) ของวงแหวนอะโรมาติกเป็นองค์ประกอบเหมือนกับถ่านชนิดอื่น จึงสนใจศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากกาแฟขึ้นรูปโดยใช้แป้งเปียกเป็นตัวประสานใช้อัตราส่วนกากกาแฟต่อแป้งมันสำปะหลัง 8:2 ผลการทดสอบค่าพลังงานความร้อนพบว่า กากกาแฟให้ค่าความร้อน 5,262.97 แคลอรีต่อกรัม และเชื้อเพลิงอัดแท่งให้ค่าความร้อน 5,033.92 แคลอรีต่อกรัม ทดสอบปริมาณคาร์บอนเสถียรด้วยวิธี ASTM D3172 เท่ากับ 0.07 กรัมต่อ 100 กรัม มีความหนาแน่นเท่ากับ 0.48 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร นำเชื้อเพลิงอัดแท่งมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีโดยเทคนิค FTIR พบว่า ปรากฏแถบการยืดพันธะคู่คาร์บอนกับออกซิเจน (C=O) พันธะคู่คาร์บอน (C=C) และพันธะระหว่างคาร์บอนกับไฮโดรเจน (C-H) ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 1,697.19 ต่อเซนติเมตร 1,643.64 ต่อเซนติเมตร และ 1,370.68 ต่อเซนติเมตร ตามลำดับ แถบการยืดพันธะคาร์บอนกับออกซิเจน (C-O) ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 1,023.84 ต่อเซนติเมตร แถบการยืดพันธะคาร์บอนไฮโดรเจน (C-H) ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 2,853.88 ต่อเซนติเมตร และ 2,920.36 ต่อเซนติเมตร ทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานทางความร้อนด้วยการต้มน้ำพบว่า อุณหภูมิของน้ำสูงสุดเท่ากับ 101.2 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการเผาไหม้ 100 นาที อัตราการเผาไหม้เท่ากับ 5.03 กรัมต่อนาที และมีค่าประสิทธิภาพการใช้งานจริงเท่ากับ 21.90 เปอร์เซนต์ ถ่านอัดแท่งจากกากกาแฟมีการติดไฟได้ดี มีควัน มีอัตราการเผาไหม้ที่สูง จากข้อค้นพบนี้สามารถเป็นทางเลือกสำหรับการผลิตถ่านอัดแท่งจากกากกาแฟเพื่อลดปริมาณขยะ และสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งได้</p> มัลลิกา หล้าพันธ์ สังสรรค์ หล้าพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 9 1 11 19 การประยุกต์ใช้สารสกัดหยาบจากหอมแดงในการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อไก่อบ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/259962 <p>การแก้ปัญหาเชื้อ <em>Salmonella</em> spp. ปนเปื้อนในเนื้อไก่โดยการใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมีสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดกับผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากหอมแดงในการยับยั้งเชื้อ<em> Salmonella</em> spp. และการยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อไก่อบ จากการทดสอบพบว่าสารสกัดหยาบจากหอมแดงที่ความเข้มข้น 2,500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ <em>Salmonella</em> spp. โดยวิธี Disc diffusion จำนวน 17 สายพันธุ์ มีช่วงโซน การยับยั้ง 15-18 มิลลิเมตร สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ <em>Salmonella</em> spp. จำนวน 17 สายพันธุ์ และทำลายเชื้อ <em>Salmonella</em> spp. จำนวน 15 สายพันธุ์โดยวิธี Broth microdilution เมื่อนำเนื้อไก่อบผสมสารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้จำนวนเชื้อ <em>Salmonella</em> sp. (S4) ลดลงจาก 6.40 เป็น 3.40 log CFU ต่อกรัม ในการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 วัน สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 4,000 และ 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้ค่าความสว่าง (L*) ของเนื้อไก่อบลดลง แต่ค่า a* และค่า b* ของเนื้อไก่อบเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับชุดควบคุม สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลทำให้เนื้อไก่อบมีค่าความสว่าง (L*) ค่า a* และค่า b* อยู่ในช่วง 51.31-52.16, 3.19-3.38 และ 18.65-18.93 ตามลำดับ ค่าความหืนของเนื้อไก่อบลดลง เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ความหืนของเนื้อไก่อบที่ใช้สารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 8,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรอยู่ในช่วง 3.17-3.29 และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 6 วัน ดังนั้นสารสกัดหยาบจากหอมแดงสามารถประยุกต์ใช้ในการยืดอายุเนื้อไก่อบต่อไป</p> อัจฉรา เพิ่ม อภิญญา บุญรอง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 9 1 20 29 การพัฒนาแผ่นแปะเจลาตินเกล็ดปลาที่มีส่วนผสมของสารสกัดลูกประคบสมุนไพรไทย https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/258464 <p>ลูกประคบสมุนไพรไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่วิธีการเตรียมและการใช้งานนั้นค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เวลานานและมีหลายขั้นตอน คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรให้มีรูปแบบที่ทำง่ายและใช้งานสะดวก จึงได้พัฒนาแผ่นแปะเจลาตินจากเกล็ดปลาที่มีส่วนผสมของสารสกัดลูกประคบสมุนไพรไทย โดยการสกัดเจลาตินจากเกล็ดปลาและการสกัดสารจากสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของลูกประคบด้วยคลื่นไมโครเวฟ ผู้วิจัยได้ตั้งตำรับแผ่นแปะที่มีส่วนผสมของสารสกัดลูกประคบสมุนไพรจำนวน 7 สูตร และประเมินคุณภาพแผ่นแปะโดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพที่ดัดแปลงมาจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (1622/2565) ผลการศึกษาพบว่า สูตรตำรับที่ 5 ประกอบด้วยเจลาติน 15 กรัม สารสกัดลูกประคบ 5 กรัม คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส 1 กรัม โพรพิลีน ไกลคอล 2 กรัม ไกลแดนท์ 1 กรัม และน้ำกลั่น 76 กรัม เป็นสูตรตำรับที่มีคุณภาพดีที่สุด แผ่นแปะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน กึ่งแข็งมีความยืดหยุ่นอย่างชัดเจน และเมื่อแปะลงบนผิวหนังไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว และสามารถลอกออกได้ง่าย มีความคงตัวที่ดีเมื่อเก็บในที่เย็นและป้องกันแสง และยังคงสภาพที่อุณหภูมิห้องในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งสามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปศึกษาประสิทธิผลในการรักษาในอาสาสมัครต่อไปในอนาคต</p> พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม นูรอามาลีน เด็งซียอ นูรฮาซีกิน สะอิ ไมมูณา อิสายะ สุกาญจนา กำลังมาก ฮุซนา บือโต Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 9 1 30 39 ผลของเอทธิฟอนต่อการชักนำการออกดอกของสับปะรดสี (Tillandsia cyanea) https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/259654 <p>ปัจจุบันการผลิตสับปะรดสีเพื่อการค้าจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นการออกดอก สารที่นิยมใช้ คือ เอทธิฟอน ซึ่งอาจจะให้ผลแตกต่างกันตามระดับความเข้มข้นและวิธีการ การใช้เอทธิฟอนในระดับความเข้มข้นสูงมีผลในการยับยั้งการเติบโตและพัฒนาการของช่อดอก ในขณะเดียวกันสายพันธุ์ของสับปะรดสีมีผลต่อการตอบสนองสารเอทธิฟอนแตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาความเข้มข้นของเอทธิฟอนและวิธีการให้สารเอทธิฟอนที่เหมาะสมต่อการชักนำให้เกิดตาดอกและขนาดช่อดอกของ <em>Tillandsia cyanea</em> โดยวางแผนการทดลองแบบ (4x2) 10 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) มี 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 ความเข้มข้นของเอทธิฟอน 4 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม) 100 200 และ300 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ผสมปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กรัมต่อลิตร ปัจจัยที่ 2 วิธีการให้สาร 2 วิธี คือ การฉีดพ่นทางใบ และการหยอดที่ยอดรวม 8 ทรีตเมนต์ ๆ ละ 10 ต้น จำนวน 80 ต้น ให้สาร 20 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง โดยให้สารครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า <em>T. cyanea</em> ที่ได้รับสารเอทธิฟอนทุกความเข้มข้น มีตาดอกเกิดขึ้นหลังจากการให้สารเป็นเวลา 59.33-72 วัน หรือ 8-9 สัปดาห์ โดยต้นที่ได้รับสารเอทธิฟอน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ด้วยการหยอดที่ยอดทำให้เกิดตาดอกเร็วที่สุด คือ 59.33 วัน ส่วนชุดควบคุมที่ไม่ให้สารเอทธิฟอนไม่เกิดตาดอก ในขณะที่ความเข้มข้นของสารเอทธิฟอนและวิธีการให้สารไม่มีผลต่อความยาวและความกว้างของช่อดอกซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อ ชักนำการออกดอกของสับปะรดสีชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร พิมล เที่ยงธรรม สุดนัย เครือหลี พิมพ์ชนา วงศ์พิศาล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 9 1 40 46 ผลสะสมของกากแป้งมันสำปะหลังและหินปูนบด และปุ๋ยเคมีต่อผลผลิต และการดูดใช้ธาตุอาหารของมันสำปะหลังที่ปลูกในชุดดินยโสธร https://li01.tci-thaijo.org/index.php/yru_jst/article/view/259867 <p>มันสำปะหลังที่ปลูกในดินเนื้อหยาบได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำเนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและขาดความชื้นได้ง่าย จึงดำเนินทดสอบผลสะสมของกากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) และหินปูนบด (GL) และปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักที่ใส่ต่อเนื่อง 7 ปี ต่อผลผลิตและการดูดใช้ธาตุอาหารหลักของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ที่ปลูกในชุดดินยโสธร การศึกษานี้เป็นผลของปีที่ 7 วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ แปลงหลัก ประกอบด้วยการใส่กากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) และหินปูนบด (GL) จำนวน 6 ตำรับการทดลอง แปลงรองเป็นการเปรียบเทียบปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลัก 4 อัตรา ผลการศึกษาพบว่า การใส่กากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) ผสมกับหินปูนบด (GL) อัตรา 6.25 และ 1.25 ตัน/เฮกตาร์และปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักอัตรา 100:50:100 กิโลกรัม N:P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>:K<sub>2</sub>O/เฮกตาร์ซึ่งเป็นอัตราแนะนำมีอิทธิพลร่วมส่งเสริมให้ได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผลผลิตแป้งสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 29.22 และ 6.92 ตัน/เฮกตาร์ตามลำดับ โดยค่าสูงสุดดังกล่าวสูงกว่าที่ได้จากแปลงควบคุมที่ไม่มีการใส่วัสดุปรับปรุงดินตลอดระยะเวลา 7 ปีแต่ได้รับปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักตามอัตราแนะนำ และการไม่ใส่ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักถึงร้อยละ 78.4 และ 114.9 ตามลำดับ การดูดใช้ทั้งหมดในมันสำปะหลัง พบว่า มีการดูดใช้ไนโตรเจนสูงสุด รองลงมาคือ โพแทสเซียม ส่วนฟอสฟอรัสถูกดูดใช้ในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับอีก 2 ธาตุ โดยมันสำปะหลังมีการสะสมไนโตรเจนในส่วนกิ่งก้านใบค่อนข้างมากเกินไป ขณะที่การดูดใช้ไนโตรเจนและโพแทสเซียมในหัวค่อนข้างน้อยเกินไป ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังในดินทรายจำเป็นต้องใส่กากแป้งมันสำปะหลัง (CSW) ผสมกับหินปูนบด (GL) อัตรา 6.25 และ 1.25 ตัน/เฮกตาร์และปุ๋ยเคมีธาตุอาหารหลักอัตรา 100:50:100 กิโลกรัม N:P<sub>2</sub>O<sub>5</sub>:K<sub>2</sub>O/เฮกตาร์ต่อเนื่องทุกปีเพื่อรักษาระดับของผลผลิต</p> ณัฐปคัลภ์ ทานะวงศ์ สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม ศุภิฌา ธนะจิตต์ เอิบ เขียวรื่นรมณ์ มัชฌิมา พันธุ์เอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 9 1 47 61