Prevalence of Maxillofacial Injuries in Pathumthani Hospital: An 8-year Retrospective Study

Authors

  • Danuyot Srisumpuwong

Keywords:

maxillofacial injury, fracture, trauma, การบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า

Abstract

Background and Objective: There are a tendency that Maxillofacial injuries capable to affects habits of patients in the way that sufficient to leads in both physique and mentality, including a subsequence of economic issues. Research aims to investigate relations between epidemiology of maxillofacial injuries as well as association of alcoholic consumption with a trauma.

Method: This retrospective study analyzed medical records of 419 maxillofacial trauma cases which were treated at Pathumthani hospital between 1stJanuary 2009 and 31st  December 2016.  The data was analyzed by using percentage and significance of risks determined using chi square test.

Results: The most common of the injury sample was age between 16-30 years (57.8%) mean 28.53 year (SD 11.3) ratio between male: female are 5:1, 62.5% of them injured by a motorcycle accident. Mandible was common site of fracture (67.5%). The main operations of treatments were open reduction and internal fixation (79.2%).  The factors related to alcohol consuming are patterns of fractures,injuries in other system, length of stay in hospital and cost of treatment.

Conclusions:  Maxillofacial injuries were a common occurrence in male teenagers. The majority constituent was a motorcycle accident,meanwhile mandible was a greatest spot of fracture.  To prevent consuming alcohol tends to decrease severity of injuries and expense in treatment.

ความชุกของการบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลปทุมธานี การศึกษาย้อนหลังระยะเวลา 8 ปี

ดนุยศ ศรีศัมภุวงศ์

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาล ปทุมธานี อ.เมือง จ.ปทุมธานี 

หลักการและวัตถุประสงค์: การบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า เป็นผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร่างกายและอารมณ์ เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมา  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อมูลทางระบาดวิทยาการบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการบาดเจ็บ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่บาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้าที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาล ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 ถึง 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 419 ราย มีการวิเคราะห์หาข้อมูลความถี่ร้อยละและความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแคว์

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 28.53 ±11.3 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 16-30 ปี (ร้อยละ57.8)  พบเพศชายมากกว่าหญิงในอัตราส่วน 5:1 สาเหตุจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์(ร้อยละ62.5) พบการบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรล่างมากที่สุด (ร้อยละ 67.5) การรักษาส่วนมากเป็นการผ่าตัดใส่แผ่นโลหะยึดกระดูกขากรรไกร (ร้อยละ79.2) พบว่ากลุ่มผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับลักษณะการบาดเจ็บ การบาดเจ็บร่วมของอวัยวะอื่น ระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาลและค่ารักษาพยาบาล

สรุป: การบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าพบบ่อยในเพศชาย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์ กระดูกส่วนที่พบการบาดเจ็บมากที่สุดคือกระดูกขากรรไกรล่างการรณรงค์งดการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บและค่าใช้จ่ายในการรักษาได้

Downloads

How to Cite

1.
Srisumpuwong D. Prevalence of Maxillofacial Injuries in Pathumthani Hospital: An 8-year Retrospective Study. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Oct. 23 [cited 2024 Dec. 25];32(5):422-6. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/101962

Issue

Section

Original Articles