Knowledge about Fire Extinguishment of Medical Students, Khon Kaen University

Authors

  • Thanatorn Sawatdiphan
  • Parichat Mhusakunchai
  • Suriya Charasri
  • Piengpitch Naunsilp
  • Noppanai Lertwongsub
  • Isaraporn Thepwongsa
  • Arkhom Boonlert

Abstract

Background and objectives: Conflagration is a disaster that causes major losses. When fire occurs in medical school, medical students ought to have a role in primary fire extinguishment in order to minimize those losses. This study, therefore, aimed to examine the proportions of medical students in the Faculty of Medicine, Khon Kaen University, who have knowledge about fire extinguishment and a relationship between participating in fire training courses and knowledge in fire extinguishment.

Methods: A descriptive study was conducted in 1,579medical students of the first to third year and the fourth to sixth year of Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University which was systematic sampled into 324.A self-administered questionnaire was utilized. Data were analyzed for percentage (proportion), Odds ratio, 95% CI, mean, median, interquartile range, standard deviation, Pearson’s chi-square test, Fisher's exact test and Mann-Whitney U test.

Results: The response rate was 94.1% (305/324). The proportions of medical students who had knowledge about fire extinguishment was 35.4% (95% CI: 30.1,41.1). Those who participated in fire training courses had statistically significant knowledge in fire extinguishment than those who did not. (OR = 2.03, 95% CI: 1.09, 3.78, p<0.05).

Conclusions: One-third of the medical students had knowledge about fire extinguishment. Participating in fire training course had statistical significance in the knowledge about fire extinguishment.

ความรู้ด้านการระงับอัคคีภัยของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ธนธรณ์ สวาสดิพันธ์1, ปาริฉัตร หมู่สกุลชัย1, สุริยะ ชราศรี1, เพียงพิชญ์ นวลศิลป์1,

นพภนัย เลิศวงศ์ทรัพย์1, อิสราภรณ์  เทพวงษา2*, อาคม บุญเลิศ2

1นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ²ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

หลักการและวัตถุประสงค์: อัคคีภัยเป็นภัยพิบัติที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สิน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงเรียนแพทย์นักศึกษาแพทย์น่าจะมีบทบาทในการระงับอัคคีภัยเพื่อลดความสูญเสีย จึงนำไปสู่การศึกษาสัดส่วนของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (นศ.พ.) ที่มีความรู้ด้านการระงับอัคคีภัย และความสัมพันธ์ของการเข้าร่วมอบรมการจัดการอัคคีภัยกับการมีความรู้ในด้านการระงับอัคคีภัย

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาใน นศ.พ. ชั้นปีที่ 1-6 สังกัดโรงพยาบาลศรีนครินทร์จำนวน 1,579 ราย คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 324 ราย และสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ใช้แบบสอบถามชนิดตอบเองวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณร้อยละ (สัดส่วน) Odds ratio ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่ากลาง ค่าพิสัยควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson’s chi-square test, Fisher's exact test และ Mann-Whitney U test

ผลการศึกษา: อัตราการตอบกลับร้อยละ 94.1 (305/324) พบว่า นศ.พ. ที่มีความรู้ด้านการระงับอัคคีภัยมีจำนวนร้อยละ 35.4 (95% CI: 30.1, 41.1) และเคยรับการอบรมด้านการจัดการอัคคีภัยสัมพันธ์กับการมีความรู้ด้านการระงับอัคคีภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 2.03, 95% CI: 1.09,3.78, p<0.05)

สรุป: 1 ใน 3 ของ นศ.พ. มีความรู้ด้านการระงับอัคคีภัย และที่เคยได้รับการอบรมการจัดการอัคคีภัยสัมพันธ์กับการมีความรู้ด้านการระงับอัคคีภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

How to Cite

1.
Sawatdiphan T, Mhusakunchai P, Charasri S, Naunsilp P, Lertwongsub N, Thepwongsa I, Boonlert A. Knowledge about Fire Extinguishment of Medical Students, Khon Kaen University. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Oct. 23 [cited 2024 Apr. 24];32(5):461-8. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/101968

Issue

Section

Original Articles