Satisfaction with Anesthesia Services of Patients at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province

Authors

  • Winita Jeerararuensak
  • Sirirat Tribuddharat
  • Thepakorn Sathitkarnmanee
  • Narin Plailaharn
  • Apinya Unchulee
  • Duangthida Nonlhaopol

Keywords:

Satisfaction, patient, anesthesia service, quality improvement

Abstract

Background and objective: The satisfaction of patients, the external customer, is one of the indicators for quality assurance of the department of Anesthesiology, Srinagarind hospital. The objective of this study was to assess the patients’ satisfaction regarding perianesthetic service.  We also identified the subjects that need continuous quality improvement.

Methods: This was a prospective, descriptive study performed during May to July, 2016. The inclusion criteria were patients who were 15 years old and above undergoing elective surgery at Srinagarind hospital. We distributed 400 questionnaires. The questionnaire included 2 parts; part 1 contained demographic data, while part 2 covered levels of satisfaction with score 1 to 4, as well as open-ended comments on subjects that needed improvement. The questionnaire was validated by 2 senior anesthesiologists. The data were analyzed and presented as number (%) and mean ± SD using program SPSS 16.

Results: Four hundred patients, 174 males and 226 females, gave response to the questionnaire, The overall satisfaction score of patients to anesthetic service was 3.99 ± 0.19.  The score regarding anesthetic service in operating room was 3.98 ± 0.19 to 3.99 ± 0.15. At post-anesthetic care unit (PACU), the score was 3.95 ± 0.26 to 3.96 ± 0.23.  As for postoperative visit, the score was 3.98 ± 0.22 to 3.99 ± 0.19.  The identified subjects that need further improvement were: 85.0% of patients did not recognized anesthetic team; 50.0% of patients did not understand about of postoperative pain management; and 85.0% of patients did not participate in selecting choice of anesthesia. 

Conclusions: The majority of the patients had very high level of satisfaction.  However, there are some subjects that need improvement, i.e., recognition of anesthesia team, information regarding postoperative pain management and participation in selecting choice of anesthesia. 

 

ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับบริการวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น

วินิตา จีราระรื่นศักดิ์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, นรินทร์ พลายละหาร, อภิญญา อัญชุลี, ดวงธิดา นนท์เหล่าพล

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: ความพึงพอใจผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับบริการภายนอก (external customer) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดงานพัฒนาคุณภาพของภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจรวมทั้งปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยที่มาใช้บริการ

วิธีการศึกษา: เป็นวิจัยเชิงพรรณนาชนิดศึกษาไปข้างหน้า ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ศึกษาในผู้ป่วยที่มาใช้บริการวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมาใช้บริการวิสัญญีแบบไม่เร่งด่วนที่ห้องผ่าตัด อายุ 15 ปีขึ้นไป โดยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 400 ราย แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1  ข้อมูลพื้นฐาน และตอนที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่องานวิสัญญีรวมถึงคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงของเนื้อหาจากวิสัญญีแพทย์อาวุโส 2 ท่าน โดยมีค่าคะแนน 1 ถึง 4 และนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS 16

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามจำนวน 400 ราย เป็นเพศชาย 174 ราย เพศหญิง 226 ราย พบว่าความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการวิสัญญีโดยภาพรวมอยู่ในระดับ 3.99 ± 0.19  ที่ห้องผ่าตัดพบความพึงพอใจอยู่ในระดับ 3.98 ± 0.19 ถึง 3.99 ± 0.15  ที่ห้องพักฟื้นพบความพึงพอใจอยู่ในระดับ 3.95 ± 0.26 ถึง 3.96 ± 0.23   การติดตามเยี่ยมหลังผ่าตัดพบความพึงพอใจอยู่ในระดับ 3.98 ± 0.22 ถึง 3.99 ± 0.19   ปัญหาสำคัญที่พบได้แก่ ไม่รู้จักทีมวิสัญญีมีร้อยละ 85.0   ไม่เข้าใจเทคนิคการระงับปวดหลังผ่าตัดมีร้อยละ 50.0 และ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกวิธีการดมยาสลบ/การบล็อคหลังมีร้อยละ 85.0

สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่มีบางหัวข้อที่ได้คะแนนน้อย ควรปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การไม่รู้จักทีมวิสัญญี การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด และการมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีระงับความรู้สึกของผู้ป่วย

Downloads

How to Cite

1.
Jeerararuensak W, Tribuddharat S, Sathitkarnmanee T, Plailaharn N, Unchulee A, Nonlhaopol D. Satisfaction with Anesthesia Services of Patients at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Oct. 23 [cited 2024 Apr. 20];32(5):476-81. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/101970

Issue

Section

Original Articles