Perception level toward Stroke Signs among Hypertension Patients of Botong Sub-District Health, Pakchong District, Nakhon Ratchasima Province
Keywords:
Perception level of Stroke Signs, Hypertension Patients, การรับรู้อาการเตือน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงAbstract
Background and objectives: Stroke signs perception among hypertension patients Lead to prevent stroke and improve their health behaviors. The objective of this study was to assess the Perception level of Stroke Signs and its factors among hypertension patients were Botong Sub-District Health, Pakchong District, Nakhon Ratchasima Province.
Methods: Descriptive study design was conducted. The study Sample were 146 hypertension patients in hypertension patients’ clinic of Botong Sub-District Health, Pakchong District, Nakhon Ratchasima Province. The study tool was questionnaires which compose of two parts: general information and the perception of stroke sign questionnaire with approved by content experts and reliability test was 0.71. Data collection was done by trained interviewers. Statistical method used were frequency, percentage, mean, SD, Student t-test and 95%CI.
Results: Response rate was 100.0% Majority of respondent were female, mean age 62.32 ± 12.06 year olds completed primary school, employee and the hypertension sick periods was 6-10 years. This study found the perception level of stroke signs among the hypertension patients was good, score 3.13 ± 0.42, 95%CI (3.06, 3.19). Factors related perception level of stroke signs among the hypertension patients were education level, co-morbidity and obtaining Stroke preventive information from public health officers with statistically significant (p<0.05).
Conclusions: To promote the level of perception of stroke signs, public health officers should priorities for the patients’ education level, the hypertension with co morbidity and develop the health education in stroke warning signs for the patient and their caregiver.
ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สายฝน เติบสูงเนิน1, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์2
1โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะช่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทองทั้งหมดจำนวน 154 ราย ผ่านเกณฑ์คัดเข้าคัดออกแล้วคงเหลือ จำนวน 146 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดตอบเอง มี 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเที่ยง คิดเป็น 0.71 เก็บข้อมูลโดยผู้ช่วยนักวิจัยที่ผ่านการอบรมแล้ว สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ student t-test และ 95%CI
ผลการศึกษา: อัตราตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศหญิง อายุเฉลี่ย 62.32 ± 12.06 ปี การศึกษาสูงสุดประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง มีระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ 6-10 ปี พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 3.13 คะแนน ± SD 0.42 95%CI (3.06, 3.19) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองคือ ระดับการศึกษา การมีโรคประจำตัวอื่นๆ และการได้รับข้อมูลข่าวสาร การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป: เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ควรให้ความสำคัญกับการศึกษาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคอื่นร่วม และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรพัฒนารูปแบบในการให้ข้อมูล เรื่องอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยต่อไป