Perception Regard to Childhood Vaccination in Junior High School Students from Extended Schools in Nonthai District, Nakhonratchasima Province

Authors

  • Khomsan Somthep กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองระเวียง
  • Sauwanan Bumrerraj ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Pat Nonjui ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

vaccination; childhood

Abstract

Background and Objective: Patient’s awareness of their childhood vaccination history is a method to reduce unnecessary vaccination. It was found that in one area with 100 percent coverage of childhood vaccination, there were 26 clients aged 12-22 with wounds who had received unnecessary tetanus vaccines. The purpose of this study was to study knowledge and awareness of childhood vaccination among junior high school students who recently received the last tetanus vaccine during the sixth grade.

Methods: This was a descriptive study in 228 junior high school students in extended schools Non ThaiDistrict in NakhonRatchasima province using self-administrated questionnaire. Descriptive statistics were analyzed.

Results : Only 53.2% of respondents were aware of their childhood vaccines. Among the respondents who reported that they had received vaccines in childhood, 38.3% knew from their parents,32.7% knew from their vaccination records, and 29% knew about vaccines from their teachers.

Conclusion:  The results show that there are slightly more than half of junior high school students know their vaccination history.

หลักการและวัตถุประสงค์:การที่ผู้ใช้บริการทราบประวัติวัคซีนในวัยเด็กของตนเป็นหนึ่งวิธีการที่จะช่วยลดการจ่ายวัคซีนที่ไม่จำเป็นได้ ตัวอย่างเช่น พบว่าในพื้นตำบลถนนโพธิ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา มีความครอบคลุมของวัคซีนในวัยเด็กร้อยละ 100 แต่ก็ยังมีผู้ป่วยกลุ่มอายุ 12-22 ปี ที่ได้รับวัคซีนบาดทะยัก เมื่อเกิดบาดแผลถึง 26 ราย ซึ่งน่าจะเป็นการได้รับวัคซีนบาดทะยักที่ไม่จำเป็น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการได้รับวัคซีนในวัยเด็กของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเพิ่งได้รับวัคซีนบาดทะยักครั้งสุดท้ายในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 228 ราย โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการได้รับวัคซีนในวัยเด็ก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ และความถี่

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 53.2 ทราบว่าตนเองได้รับวัคซีนในวัยเด็ก ในจำนวนนักเรียนที่ตอบว่าทราบว่าได้รับวัคซีนในวัยเด็ก ร้อยละ 38.3 จากผู้ปกครองบอก ร้อยละ 32.7 จากการเห็นประวัติวัคซีนตนเอง และร้อยละ 29 จากครูบอก

สรุป: พบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนมากกว่าครึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนในวัยเด็ก

Downloads

Published

2017-12-21

How to Cite

1.
Somthep K, Bumrerraj S, Nonjui P. Perception Regard to Childhood Vaccination in Junior High School Students from Extended Schools in Nonthai District, Nakhonratchasima Province. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Dec. 21 [cited 2024 Apr. 25];32(6):579-83. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/106324

Issue

Section

Original Articles