Transcranial Direct Current Stimulation on Prophylactic Treatment in Migraine Patients, an Open-Label Pilot Study

Authors

  • Paradee Auvichayapat Department of Physiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand. 40002
  • Taweesak Janyacharoen Department of Physical therapist, Faculty of Associated Medical Science, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.
  • Somsak Tiamkao Division of Neurology, 4Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand 40002
  • Thawatchai Krisanaprakornkit Department of Biostatistics and Demography, Faculty of Public Health, Khon Kaen University, Thailand. 40002
  • Bandit Thinkhamrop Division of Pediatric Neurology, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand. 40002
  • Narong Auvichayapat Division of Pediatric Neurology, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand. 40002

Keywords:

ไมเกรน, การป้องกันไมเกรน, การกระตุ้นสมองแบบไม่รุกราน, การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลก. Migraine, Migraine prophylaxis, Noninvasive brain stimulation, Transcranial direct current stimulation

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : ไมเกรนเป็นกลุ่มอาการปวดศีรษะเป็นๆหายๆที่มีความชุกทั่วโลกประมาณร้อยละ  3–12 ในเพศชาย และ 6–29 ในเพศหญิง  การป้องกันเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มคุณภาพชีวิต  แต่ผู้ป่วยไมเกรนบางรายมีข้อห้ามหรือมีอาการข้างเคียงจากยาป้องกันไมเกรน  ดังนั้นการป้องกันโดยวิธีไม่ใช้ยาจึงเป็นสิ่งจำเป็น  ในการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกบริเวณเปลือกสมองส่วนมอเตอร์ด้านซ้ายสามารถลดอาการปวดเรื้อรังในอาการปวดจากระบบประสาทได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะประเมินว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกบริเวณเปลือกสมองส่วนมอเตอร์ต่อเนื่องกัน 20 วัน จะสามารถป้องกันอาการปวดในไมเกรนได้หรือไม่

วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยไมเกรนที่มีและไม่มีออร่า (aura) จำนวน 13 รายตามนิยามของสมาคมปวดศีรษะนานาชาติ ถูกคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าคือ 1) อายุระหว่าง 18-65 ปี 2) ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์มาแล้วอย่างต่ำ 1 ปี  3) มีอาการเกิดขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งใน 4 สัปดาห์  โดยอย่างน้อย 3 เดือนที่แล้ว ผู้ป่วยจะต้องมีอาการเกิดขึ้นด้วย  4) ไม่เคยได้รับยาป้องกัน หรือเคยได้รับยาป้องกันแต่ล้มเหลวอย่างต่ำ 3 เดือนก่อนจะมาเข้าการศึกษา 5) ยอมรับที่จะไม่รับการรักษาด้วยวิธีป้องกันอื่นทั้งแบบการใช้ยาและไม่ใช้ยาตลอดการวิจัย  6) ยอมรับการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยจะได้รับการกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงอย่างอ่อนขนาด 1 มิลลิแอมแปร์ เป็นเวลา 20 นาทีทุกวันต่อเนื่องกัน 20 วัน  และได้รับการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยติดตามทุกๆ 4 สัปดาห์  ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการรักษาใช้สถิติ repeated measures ANOVA.

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยไมเกรนที่สามารถเข้าร่วมโครงการศึกษาจนสิ้นสุดโครงการมีจำนวน 10 ราย ผลการศึกษาแสดงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของความถี่ของการเกิดอาการ ในสัปดาห์ที่ 4 หลังรักษา(0.86, 95%CI: 0.84 to 1.01, p =0.02) และสัปดาห์ที่ 8 หลังรักษา (0.68, 95%CI: 0.62 to 0.84, p =0.03) ในขณะที่ไม่มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 12 หลังรักษา (-0.25, 95%CI: -0.32 to 0.18, p =0.41) ผู้ป่วยทุกรายทนต่อการกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง

สรุป: ผลการศึกษานำร่องนี้แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงอย่างอ่อนบริเวณเปลือกสมองส่วนมอเตอร์อาจจะเป็นประโยชน์และปลอดภัยในการป้องกันอาการปวดในไมเกรนโดยกลไกการเพิ่มการยับยั้งและปรับเปลี่ยนการรับความรู้สึกเจ็บปวดในสมอง  แต่อย่างไรก็ดีควรมีการศึกษาเพิ่มเติม โดยการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ

คำสำคัญ : ไมเกรน, การป้องกันไมเกรน, การกระตุ้นสมองแบบไม่รุกราน, การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลก

 

 

Background and Objective: Migraine is a common episodic headache syndrome with estimated prevalence ranging 3–12% in men and 6–29% in women. Prophylaxis is necessary to improve the quality of life but some patients with migraine have contraindication or suffer from side effects of medications, and therefore, establishing non-medical, neuromodulatory approaches is necessary. Past evidence has shown that stimulation of motor cortex (M1) with anodal transcranial direct current stimulation (tDCS) is effective to relieve central pain. This study aims to determine whether 20 consecutive days of the left M1 can be an effective prophylactic treatment for migraine.

Method: Thirteen migraine patients with/without aura were identified according to the International Headache Society. Inclusion criteria were 1) ages between 18 and 65 years; 2) diagnosed by a physician and present for at least one year before enrollment; 3) three or more migraine episodes per 4 weeks during at least the previous 3 months; 4) had never received any prophylactic treatment, failure of the previous prophylactic treatment, or discontinuation of treatment due to adverse events for at least 3 months prior to the start of the stimulation; 5) agreement not to take any concurrent prophylactic treatment for headaches both by pharmacological and non-pharmacological treatments; and 6) agreement to be available for a follow-up period at least 3 months. Patients received 1mA, 20 m anodal tDCS for 20 consecutive days and followed up for 12 weeks. The differences between before and after study were determined using repeated measures ANOVA.

Results: Only 10 patients could participate up to the final analyses. The results showed statistically significant reduction in the attack frequency at week 4 (0.86, 95%CI: 0.84 to 1.01, p =0.02) and week 8 (0.68, 95%CI: 0.62 to 0.84, p =0.03) while there was no statistically significant reduction in the attack frequency at week 12 (-0.25, 95%CI: -0.32 to 0.18, p =0.41). All patients could tolerate the tDCS well without any serious adverse events.

Conclusion : Our pilot study suggests that anodal motor cortex tDCS may be a safe and useful clinical tool in migraine prophylaxis. Increased cortical inhibition and modulated pain perception through corticothalamic loop may underlie these effects. However, further study with a randomized controlled trial is suggested.

Key words : Migraine, Migraine prophylaxis, Noninvasive brain stimulation, Transcranial direct current stimulation

Downloads

How to Cite

1.
Auvichayapat P, Janyacharoen T, Tiamkao S, Krisanaprakornkit T, Thinkhamrop B, Auvichayapat N. Transcranial Direct Current Stimulation on Prophylactic Treatment in Migraine Patients, an Open-Label Pilot Study. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Aug. 22 [cited 2024 Sep. 20];27(1):49-57. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/11082

Issue

Section

Original Articles