Effectiveness of Vocal Education from Videodisk in Patients with Vocal Nodule

Authors

  • Kalyanee Makarabhirom Speech Clinic, Chiangrai Prachanukroh Hospital
  • Chuan Cheepjareonrat Department of Otolaryngology, Chiangrai Prachanukroh Hospital

Keywords:

ตุ่มเนื้อของสายเสียง, การรักษาเสียง, การให้ความรู้เรื่องเสียง, vocal nodule, voice therapy, vocal education

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : เสียงนับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่ใช้เสียงในการประกอบอาชีพ การใช้เสียงบ่อยหรือใช้เสียงมากเกินไปมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดตุ่มเนื้อขึ้นที่สายเสียง มีหลายการศึกษาพบว่าการฝึกพูดโดยใช้โปรแกรมการสอนให้ผู้ป่วยสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับสายเสียงจะช่วยสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่องตุ่มเนื้อของสายเสียงเพื่อใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการให้ความรู้เรื่องเสียงจากแผ่นวีดิทัศน์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีตุ่มเนื้อของสายเสียง

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Two–Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้เป็นผู้ป่วยที่มีตุ่มเนื้อของสายเสียงจากคลินิกฝึกพูด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีการสุ่มซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่ม  กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มศึกษาจะได้รับการสอนความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสียงแบบใหม่จากแผ่นวีดิทัศน์ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสียงแบบเดิมจากแผ่นพับ ผู้ป่วยทุกคนได้รับการประเมินคุณภาพเสียงและขนาดของตุ่มเนื้อของสายเสียงในครั้งแรกที่มาพบแพทย์ และในครั้งติดตามผลในเดือนที่ 3  เก็บรวมรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลทั่วไป คุณภาพเสียงและขนาดของตุ่มเนื้อของสายเสียง แล้ววิเคราะห์ผลด้วยสถิติ pair t-test และ ordinal continuous logistic regression ที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ p<0.05

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 46 ราย (เป็นกลุ่มศึกษา 27 ราย กลุ่มควบคุม 19 ราย) มีอายุเฉลี่ย 43.5 ปี มากกว่าร้อยละ 66.7 ใช้เสียงในการประกอบอาชีพ และมีอาการเสียงผิดปกตินานกว่า 3 เดือน ร้อยละ 51.9 ของกลุ่มศึกษา และร้อยละ 63.1 ของกลุ่มควบคุม พบก้อนตุ่มเนื้อขึ้นที่สายเสียงทั้งสองข้าง  จากการศึกษาพบว่าในกลุ่มศึกษามีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเสียงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005) ตุ่มเนื้อของสายเสียงมีขนาดลดลงหรือก้อนหายไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.005) และมีอัตราการเพิ่มระดับขนาดของก้อนตุ่มเนื้อช้าลงกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 45 (OR = 0.45, 95%CI; 0.23, 0.89, p = 0.022)

สรุป : ในการรักษาผู้ป่วยที่มีตุ่มเนื้อของสายเสียงที่สอนด้วยโปรแกรมการสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับสายเสียงโดยการใช้สื่อวีดิทัศน์มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้สื่อแผ่นพับ

คำสำคัญ : ตุ่มเนื้อของสายเสียง, การรักษาเสียง, การให้ความรู้เรื่องเสียง

 

 

Background and objective : Voice is an important tool for professional voice users. Frequent voice usage or over use is high risk claimed to be the causes of vocal nodules. Numerous citations demonstrated that voice therapy by using voice hygiene program would increase patients’ understanding. The videodisk about vocal nodules applying was developed  for this study. The aim of this study was to evaluate effectiveness of vocal education from videodisk for the treatment of patients with vocal nodule.

Methods : It was Two–Group Pretest Posttest Design study. The studied subjects were patients with vocal fold nodules from speech clinic, Chiangrai Prachanukroh Hospital. They were randomized divided into two groups. Group I, studied group received vocal education with new method from videodisk. Group II, control group received vocal education with original method from the leaflet. All subjects were assessed voice qualities and size ofvocal nodules in the first and three months follow up periods. Data collection were general informations, voice qualities and the size of vocal nodules and then statistical analysis, pair t-test and ordinal continuous logistic regression were run on these subjects at p-value < 0.05

Results : There were 46 subjects  participated in this study (27 in Group I and 19 inGroup II). Their age average were 43.5+8.9 years. More than 66.7 % were professional voice users, and had voice problem which onset longer than three months. 51.9 % of Group I and 63.1 % of Group II  were judged to display bilateral vocal nodules. In Group I: the change of voice qualities was shown significantly better (p < 0.005); the nodules had decreased in size or disappeared (p < 0.005). Rate of the level of size increasing wasslower than Group II 45 % (OR = 0.45, 95%CI; 0.23, 0.89, p = 0.022).

Conclusion : In vocal nodule treatment with voice hygiene program; using videodisk is much more effective than using leaflet.

Keywords : vocal nodule, voice therapy, vocal education

Downloads

How to Cite

1.
Makarabhirom K, Cheepjareonrat C. Effectiveness of Vocal Education from Videodisk in Patients with Vocal Nodule. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Aug. 22 [cited 2024 Dec. 27];27(2):147-56. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/11107

Issue

Section

Original Articles